รายได้จากการผลิตไฟฟ้าย่างกุ้งเพิ่ม 65%

ข้อมูลจากย่างกุ้งอีเล็คทริคคอร์ปอเรชั่น (YESC) นครย่างกุ้งมีรายได้ 36 พันล้านจัต จากการจ่ายกระแสไฟฟ้าในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 65% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านี้ รายได้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากกระทรวงไฟฟ้าและค่าไฟฟ้าขอขึ้นค่าไฟฟ้าไปเมื่อวันที่ 1 ก.ค.เพื่อลดภาระของรัฐบาลในการอุดหนุนภาษี ย่างกุ้งซึ่งใช้ไฟฟ้ามากกว่าครึ่งของประเทศมีปริมาณการใช้กว่า 91 พันล้านจัตในเดือน ก.ค.เทียบกับ 55 พันล้านจัตในเดือนมิ.ย. ตามข้อมูลจากกระทรวงไฟฟ้าและพลังงานรัฐบาลแยกใช้เงินมากกว่า 400 พันล้านจัตในการอุดหนุนภาษีของปีงบประมาณ 59-60 และมากกว่า 600 พันล้านจัตในปีงบประมาณ 60-61 คาดว่าจะเกิน 500 ล้านจัตในปีงบประมาณ 61-62 เพื่อบรรลุเป้าหมายในการจัดหาไฟฟ้าทั้งหมดภายใน ธ.ค. 63 รัฐบาลย่างกุ้งวางแผนที่จะใช้จ่ายมากกว่า 100 ล้านจัตระหว่างปีงบประมาณ 61-62และ 63-64 เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/yangon-electricity-revenues-65pc.html

ลักเซมเบิร์กเพิ่มการสนับสนุนสำหรับโครงการพัฒนาใน สปป.ลาว

รัฐบาลลักเซมเบิร์กตกลงที่จะสนับสนุนทุนกว่า 11.7 ล้านยูโรเพื่อดำเนินโครงการพัฒนา จากการลงนามในข้อตกลงสามฉบับเพื่อสนับสนุนสปป.ลาวในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม พิธีลงนามข้อตกลงการระดมทุนได้ดำเนินการภายใต้การประชุมคณะกรรมการความร่วมมือทวิภาคีครั้งที่ 12 ระหว่างสปป.ลาวและรัฐบาลลักเซมเบิร์กในเวียงจันทน์ โดยความช่วยเหลือ 1.3 ล้านยูโรสำหรับโครงการเพื่อการพัฒนาในช่วงปี พ.ศ. 62-65 เงิน 6.99 ล้านยูโรสำหรับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทและการลดความยากจน และ 3.5 ล้านยูโรสำหรับโครงการสนับสนุนภาคสุขภาพ อีกทั้งมีการทบทวนการดำเนินการตามโครงการความร่วมมือในปี พ.ศ. 61-62 รวมทั้งแผนล่วงหน้าสำหรับโครงการความร่วมมือระดับที่ 4 (ICP) ปี 59-63 ที่ผ่านมาลักเซมเบิร์กได้ให้ความช่วยเหลือ เช่น การศึกษา สุขภาพ การท่องเที่ยว การกู้ระเบิดที่ยังหลงเหลืออยู่ การเงินการธนาคาร การพัฒนาชนบทและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ICP โดยรวมที่ดำเนินการ 4 ขั้นตอนโดยมีมูลค่ารวม 178 ล้านยูโร ขั้นที่ 1 เริ่มปี 46-49 มูลค่า 18 ล้านยูโร ครั้งที่ 2 จากปี 50-53 ที่ 35 ล้านยูโร ขั้นที่ 3 ปี 54-58 ที่ 50 ล้านยูโรและขั้นที่ 4 เริ่มในปี 59 และจะเสร็จสิ้นในปีหน้า มูลค่า 75 ล้านยูโร

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Luxembourg.php

น้ำท่วมพิษพายุโพดุลส่งผลราคาข้าวและเนื้อหมูในภาคใต้ของ สปป.ลาว เพิ่มขึ้น

ราคาเนื้อหมูและข้าวเพิ่มขึ้นในจังหวัดทางภาคใต้ของ สปป.ลาวลาวที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม แต่อยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้เนื่องจากการควบคุมของรัฐบาล ราคาข้าวเพิ่มขึ้นประมาณ 500 กีบ เป็น 1,000 กีบต่อกิโลกรัม ส่วนเนื้อหมูเพิ่มขึ้นประมาณ 5,000 กีบต่อกิโลกรัม เนื่องจากผู้ค้าประสบปัญหาในการขนส่งสินค้า ถนนถูกน้ำท่วมท่วมและเสียหาย อย่างไรก็ตาม ราคาเนื้อหมูในปัจจุบันอยู่ในระดับปกติ เนื่องจากหน่วยงานในจังหวัดได้เข้ามาควบคุมราคา ผลกระทบพายุโซนร้อน”โพดุล” ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วมไปยังหกจังหวัดของแขวงคำม่วน สะหวันเขต อัตตะปือ สาละวัน จำปาสัก และเซกอง ฟาร์มปศุสัตว์ ระบบชลประทาน และบ่อปลาก็ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเช่นกัน ปีที่แล้วมีข้าวนาปรัง 101,000 เฮกตาร์ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 12% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 817,800 เฮกตาร์ ประมาณการมีข้าว 66,000 เฮคตาร์ที่ได้รับความเสียหาย น้ำท่วมในปีที่แล้วส่งผลให้ราคาข้าวเพิ่มขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้จาก 1,000 กีบเป็น 2,000 กีบต่อกิโลกรัม ปัจจุบันผู้ประสบอุทกภัยยังต้องการอาหาร น้ำดื่ม อุปกรณ์ครัว ผ้าปูที่นอน และของใช้จำเป็นอื่น ๆ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/floods-lead-increase-prices-rice-and-pork-southern-provinces-103889

ด้วยความช่วยเหลือจากหัวเว่ย 5G ในกัมพูชาจะเปิดตัวตามแผนที่วางไว้

บริษัท โทรคมนาคมรายใหญ่ของกัมพูชากำลังพัฒนาเครือข่าย 5G ตามแผนที่วางไว้โดยความช่วยเหลือของ บริษัท หัวเว่ย ของจีน โดยจะใช้เทคโนโลยีของจีนที่จัดทำโดย Huawei, Metfone, Cellcard และ Smart Axiata ซึ่งในเดือนเมษายนที่ผ่านมา Huawei ได้ทำข้อตกลงกับกระทรวงโทรคมนาคมของกัมพูชาเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 5G โดย โทมัสฮันต์ซีอีโอของ Smart Axiata กล่าวในระหว่างงานว่าภารกิจของ บริษัท คือการเพิ่มคุณภาพชีวิตของชาวกัมพูชานับล้านผ่าน-เครือข่ายระดับโลกและประสบการณ์ดิจิทัลที่ยอดเยี่ยม ซึ่งจะลงทุนถึง 70-80 ล้านเหรียญในทุกปีโดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายเพื่อปรับปรุงการเชื่อมต่อบรอดแบนด์มือถือทั่วกัมพูชาและจะปรับปรุงบริการ 4.5G ที่มีอยู่เพื่อเตรียมพร้อมเทคโนโลยี 5G

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50641998/with-huaweis-help-5g-in-cambodia-rolling-out-as-planned/

กัมพูชามีแนวโน้มส่งออกมะม่วงไปยังจีน

มะม่วงมีแนวโน้มที่จะเป็นสินค้าตัวต่อไปที่กัมพูชาส่งออกไปยังประเทศจีนโดยตรงตามข้อมูลจากกระทรวงเกษตร โดยเมื่อเร็วๆ นี้กระทรวงเกษตรได้เรียกร้องให้เกษตรกรปลูกสินค้าเกษตรที่มีความสำคัญเพื่อลงทะเบียนกับกระทรวงเพื่อแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือตามข้อกำหนดด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ที่เข้มงวดของจีน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวว่ากัมพูชาต้องการเปิดการเจรจาเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าเกษตรที่ได้รับการจัดลำดับความสำคัญทั้งหมดและได้เสนอแนวคิดต่อกรมศุลกากรของจีนซึ่งรับผิดชอบด้านข้อกำหนดของ SPS โดยกัมพูชาเมื่อต้นปีที่ผ่านมาเริ่มส่งกล้วยไปยังตลาดจีน ซึ่งผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่กัมพูชาสามารถส่งออกโดยตรงไปยังกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก คือข้าว, แป้งมันสำปะหลังหั่นบาง และข้าวโพด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50641949/mangoes-next-in-line-for-china-export-ministry/

DEMCO เดินหน้ารับรู้งานในมือตุนไว้แล้ว 3.2 พันลบ. ลุยประมูลงานใหม่-บุก CLMV กระจายแหล่งรายได้เพิ่ม

DEMCO ประเมินผลการดำเนินงานมีทิศทางที่ดี เนื่องจากมีงานในมือรอรับรู้รายได้แล้วกว่า 3.2 พันล้านบาท พร้อมเดินหน้าประมูลงานใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีทั้งภาครัฐ และเอกชนที่เปิดให้ยื่นประมูลราว 1 หมื่นล้านบาท เตรียมแผนรุกตลาดกลุ่มประเทศ CLMV กระจายแหล่งรายได้เพิ่ม หนุนการเติบโตในอนาคต ทั้งนี้ ปัจจุบัน บริษัทฯมีงานในมือที่ยังไม่ได้ส่งมอบ และอยู่ระหว่างดำเนินการ ณ กลางเดือนสิงหาคม 2562 โดยในครึ่งปีหลังบริษัทฯ ยังคงมีแผนที่จะเดินหน้ายื่นประมูลงานใหม่เพิ่มทั้งจากโครงการทั้งภาครัฐ และเอกชนที่เปิดให้ยื่นประมูลราว 1 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ทางกรรมการผู้จัดการ ระบุอีกว่า ขณะนี้บริษัทฯยังอยู่ระหว่างการขยายธุรกิจไปยังประเทศ CLMV มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศมีการขยายการลงทุนโรงไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ถือเป็นโอกาสในการเข้าไปบุกตลาด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้รับงานก่อสร้างสายส่งไฟฟ้า และสถานีไฟฟ้าย่อยมาแล้ว เพื่อเพิ่มฐานรายได้ และกระจายความเสี่ยงธุรกิจในอนาคตได้เป็นอย่างดี

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3039789

กระทรวงฯ สอบสวนการทุ่มตลาดสินค้านำเข้าเหล็กแผ่นรีดเย็นของจีน

จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม เปิดเผยว่าทางกระทรวงฯ ทำการสอบสวนกรณีการทุ่มตลาดของสินค้านำเข้าเหล็กแผ่นรีดเย็นจากประเทศจีน โดยทำการสอบสวนจากข้อเรียกร้องของผู้ผลิตในประเทศ ได้แก่ บริษัท Phu My Flat Steel Company Limited (VNSTEEL), POSCO Vietnam Co., Ltd. และ China Steel Sumikin Vietnam JSC ซึ่งบริษัทดังกล่าวอ้างว่าสินค้านำเข้าเหล็กแผ่นรีดเย็นจากประเทศจีน ทำการกดราคาสินค้าให้ต่ำกว่าตลาดเวียดนาม ทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ได้รับความเดือดร้อนอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯ ได้ทำการหารือ และตรวจสอบจากทุกฝ่ายให้ได้ผลข้อสรุปก่อน ที่จะตัดสินใจในขั้นสุดท้าย ในขณะที่ หน่วยงานอาจดำเนินการเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดย้อนหลังได้ ภายในระยะเวลา 90 วัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ministry-investigates-dumping-of-chinese-coldrolled-steel/160190.vnp

เซ็นทรัลไฮแลนด์ เปิดตัวศูนย์โรงงานแปรรูปผักผลไม้ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม

จากคำแถลงการณ์ของประธานคณะกรรมการบริษัท Dong Giao Foodstuff Export JSC เปิดเผยว่าศูนย์การแปรรูปผักผลไม้จะช่วยด้านการปรับปรุง และควบคุมคุณภาพสินค้าให้มีเสถียรภาพมากขึ้น ซึ่งโรงงานดังกล่าวประกอบไปด้วยสายการผลิตอัตโนมัติ โดยหนึ่งในสายการผลิต จะสามารถผลิตน้ำผลไม้อยู่ที่ 20,000 ตันต่อปี ตามมาด้วยผักผลไม้แช่แข็ง 22,000 ตันต่อปี และผักผลไม้กระป๋อง 10,000 ตันต่อปี เป็นต้น รวมไปขนาดของโรงงานถูกออกแบบให้สามารถผลิตสินค้าได้มากถึง 52,000 ตันต่อปี และครอบคลุมพื้นที่กว่า 6 เฮกตาร์ ในขณะที่ ศูนย์การแปรรูปผักผลไม้จะสามารถสร้างรายได้กว่า 86.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี และช่วยให้คนในพื้นที่มีงานทำอีกหลายหมื่นคนในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้า และการบริการ เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรกรรมและพัฒนาชนบท ระบุว่า ศูนย์การแปรรูปผักผลไม้จะสามารถส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำฟาร์มผักผลไม้ให้ดีมากยิ่งขึ้น และสามารถสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกับทั้งภาคธุรกิจและเกษตรกร เพื่อสนับสนุนสินค้าเกษตร

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/535191/central-highlands-launches-the-largest-fruit-vegetable-processing-centre.html#UqzY7GvJQp3zqrJk.97

เมียนมาเรียกร้องให้พัฒนาประกันภัยสำหรับคนยากจน

หน่วยงาน DaNa Facility ที่ได้รับทุนจากสหราชอาณาจักรและกิจกรรมการพัฒนาภาคเอกชนของ USAID ได้ร่วมกันจัดสัมมนาเรื่องการส่งเสริมการประกันภัยในเมียนมา ณ กรุงย่างกุ้งเมื่อวันที่ 9 ก.ย. ที่ผ่านมา โดยชี้ว่าจะต้องพัฒนาไมโครอินชัวรันซ์เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศที่มีรายได้น้อย การเปิดตัวและขยายตลาด Microinsurance ในเมียนมาจะช่วยสร้างความยืดหยุ่นและป้องกันให้กับครัวเรือนและธุรกิจขนาดเล็กผ่านผลิตภัณฑ์ เช่น ประกันสุขภาพ ประกันชีวิตชีวิตและประกันทรัพย์สิน ซึ่งความไม่แน่นอนนี้เองทำให้ผู้คนไม่สามารถลองทำสิ่งใหม่ ๆ เช่น Mobile money (การใช้จ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิคส์) การปรับปรุงเครื่องมือทำงาน หรือการลงทุนในครัวเรือนที่มีความเสี่ยงมากขึ้นผลกระทบนี้จะยิ่งรุนแรงขึ้นขึ้น บริษัทผู้ให้บริการด้านประกันภัยขนาดเล็กจากสวิสฯ เผย ปีที่แล้วว่ามีการลงทุน 1.1 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ microinsurance ใหม่ ๆ ในเมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-urged-develop-microinsurance-poor.html

ธนาคารกลางเมียนมาเล็งเปิดอัตราดอกเบี้ยเสรีเพิ่ม

ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) จะพิจารณาการเปิดเสรีอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมและอนุญาตให้ธนาคารเอกชนมีอิสระมากขึ้นในการกำหนดอัตราการดอกเบี้ยเพื่อการแข่งขัน โดย CBM จะขอความช่วยเหลือจาก IMF และสังเกตว่าประเทศอื่นเริ่มไปก่อนแล้ว ปัจจุบันธนาคารเอกชนกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 8% และอัตราดอกเบี้ยกู้ยืม 13% ที่กำหนดโดย CBM ขณะที่อัตราของธนาคารกลางคือ 10% ซึ่งการเปิดเสรีอัตราดอกเบี้ยบางประเทศใช้เวลานานถึง 20 ปี และไม่สามารถลดหรือเพิ่มได้ทันที ซึ่งประเทศนั้นต้องมีความเข้าใจในตลาดทุนพอสมควรและยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกนาน ในขณะเดียวกันยังกำหนดและปรับปรุงกฎระเบียบสำหรับสถาบันการเงินเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินและส่งเสริมให้ตลาดทุนมีความสำคัญยิ่งขึ้น ณ สิ้นปีงบประมาณ 60-61 มีทุนชำระแล้วในภาคธนาคาร เกือบ 3 ล้านล้านจัต เพิ่มขึ้น 5.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน ปัจจุบัน CBM กำลังเตรียมการเพื่อกำหนดกรอบการควบคุมสกุลเงินต่างประเทศเพื่อลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/central-bank-will-consider-further-rate-liberalisation.html