“เวียดนาม-สปป.ลาว” ตั้งเป้าดันการค้าแตะ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในปัจจุบัน สปป.ลาวเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับที่ 7 ของเวียดนามในกลุ่มประเทศอาเซียน และทั้งสองประเทศยังพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายทางการค้า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เวียดนามและลาวมีพรมแดนร่วมกันมากกว่า 2,300 กม. โดยเฉพาะประตูชายแดนระหว่างประเทศ มีจำนวน 9 แห่ง, ประตูหลัก 6 แห่ง, ประตูอื่นๆ อีก 18 แห่ง และเส้นทางต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันของทั้งสองประเทศ รวมถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 9 แห่ง

ทั้งนี้ การส่งออกของเวียดนามไปยังสปป.ลาว มีมูลค่า 594.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4% ในขณะที่การนำเข้า 778.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 69.8%

นอกจากนี้ นาย โด ทั้งห์ หาย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าเวียดนามพร้อมที่จะช่วยเหลืออุปสรรคของสปป.ลาว ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจและการเมืองทั่วโลก

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-laos-aiming-fo-2-billion-usd-in-bilateral-trade-2056831.html

“เวียดนาม” กลายเป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญของห่วงโซ่อุปทานในเอเชีย

Nikkei Asia สื่อยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น รายงานว่าเวียดนามกำลังดึงดูดกลุ่มผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลก นอกจากบริษัทระดับโลกอย่างแอปเปิล (Apple), ซัมซุง (Samsung) และพานาโซนิค (Panasonic) ซึ่งวางแผนที่จะขยายกำลังการผลิต ในขณะที่บริษัทออกแบบชิบรายใหญ่ของสหรัฐฯ “Synopsys” เพิ่งจะประกาศว่าจะช่วยเหลือในการฝึกอบรมด้านวิศวกรและจัดตั้งศูนย์การออกแบบชิปในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากตั้งข้อสังเกตจะเห็นได้ว่าเวียดนามดึงดูดกลุ่มธุรกิจไฮเทคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ คุณ Okuda Yoshiki ที่ปรึกษาขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) กล่าวว่าในอดีตไม่เพียงแต่ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายประเทศที่พึ่งพาการผลิตของจีน อย่างไรก็ตาม COVID-19 ทำให้เกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ทำให้เกิดการย้ายโรงงานไปยังเวียดนามและยังถือว่าเป็นข้อกังวลอย่างมากต่อมุมมองของประเทศญี่ปุ่น

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-an-important-link-in-asian-supply-chain-post967774.vov

“ลอตเต้ กรุ๊ป” เล็งสร้างเมืองอัจฉริยะเชิงนิเวศและศูนย์โลจิสติกส์ในเวียดนาม

ธุรกิจค้าปลีกขนาดยักษ์ของประเทศเกาหลีใต้ “ล็อตเต้ กรุ๊ป” ประกาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ว่าจะสร้างเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและศูนย์โลจิสติกส์ในเวียดนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจที่ขยายกิจการ เพื่อวางรากฐานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อยู่ภายใต้โครงการ “Thu Tiem Eco Smart City” ด้วยมูลค่า 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัทมีแผนที่จะสร้างอาคารสูง 60 ชั้น และมีชั้นใต้ดิน ประกอบไปด้วยห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ พื้นที่สำนักงาน โรงแรม ที่พักอาศัยและอพาร์ทเมนท์ในเมืองโฮจิมินห์ นอกจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่แล้วนั้น บริษัทวางแผนที่จะสร้างศูนย์โลจิสติกส์อัจฉริยะในจังหวัดด่งนาย (Dong Nai) ภายในปี 2567 เพื่อยกระดับการนำเข้าและส่งออก

ที่มา : http://www.theinvestor.co.kr/view.php?ud=20220905000144

“นครโฮจิมินห์” ติดอันดับเมืองชั้นนำที่เป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

กรมส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศ (FIA) กระทรวงการวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 เมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม อยู่ในอันดับที่ 1 ของเมืองทั่วประเทศที่เป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มีสัดส่วน 16.1% ของเม็ดเงินทุนรวม ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ส.ค. เวียดนามดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 2.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และประมาณ 309.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไหลเข้าไปยังโครงการที่จดทะเบียนใหม่ที่มีจำนวน 479 โครงการ เพิ่มขึ้น 17.6% และ 24.1% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังคงเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของเมืองโฮจิมินห์ คิดเป็น 37.68% ของเงินทุนทั้งหมด รองลงมาญี่ปุ่น (17.9%) และเกาหลีใต้ (13.45%)

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-exports-to-cptpp-members-amount-to-us31-billion/

 

“ตลาดท่องเที่ยวเวียดนาม” กลับมาสู่สภาวะปกติ

ตามข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติเวียดนาม (VNAT) แสดงให้เห็นถึงตัวเลขของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง นักท่องเที่ยวภายในท้องถิ่นในเดือน ส.ค. มีจำนวนราว 8 ล้านคน ทำให้นักท่องเที่ยวรวม อยู่ที่ 79.8 ล้านคนในช่วงเดือน ม.ค.-ส.ค. และเกินกว่าที่ตั้งป้าไว้ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 60 ล้านคน เพิ่มขึ้น 33.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ถือว่าอยู่ในระดับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากนี้ รายได้รวมจากการท่องเที่ยวในช่วงเวลาดังกล่าว อยู่ที่ 356.6 ล้านล้านดอง รายได้ส่วนใหญ่มาจากนักท่องเที่ยวในประเทศ ขณะที่ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติมีจำนวนมากกว่า 1.44 ล้านคน หดตัว 87.3% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 ส่วนใหญ่เป็นชาวเกาหลีใต้ 369,800 คน และชาวอเมริกัน 139,400 คน

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-domestic-tourism-market-back-on-track/

“ไทย-เวียดนาม” จับมือดันราคาข้าวตลาดโลก

สำนักข่าวรอยเตอร์ เปิดเผยว่าไทยและเวียดนามเห็นด้วยที่จะร่วมมือกันในการยกระดับราคาข้าวในตลาดโลก นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่านับว่าเป็นครั้งแรกที่ไทยและเวียดนาม ตกลงร่วมมือกันเพื่อยกระดับราคาข้าวในตลาดโลก โดยไทยและเวียดนามได้ริเริ่มในการเจรจาเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีเป้าหมายตรงกันว่าเรื่องการปรับขึ้นราคาส่งออกข้าว เพื่อยกระดับอำนาจในตลาดโลกและเพิ่มรายได้เกษตรกร นอกจากนี้ ตามข้อมูลของกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA) ชี้ว่าทั้งสองประเทศมีสัดส่วนการผลิตข้าวประมาณ 10% ของผลผลิตทั่วโลก และราว 26% ของการส่งออกโลก

ที่มา : https://www.nasdaq.com/articles/thailand-vietnam-to-cooperate-in-raising-rice-price-in-global-

“เวียดนาม” เผยยอดส่งออกไปยังประเทศสมาชิก CPTPP มีมูลค่า 31 พันล้านดอลลาร์

สถานการณ์การส่งออกของเวียดนามในกลุ่มประเทศสมาชิกความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เพิ่มขึ้นอย่างมาก แม้ว่าเผชิญกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก โดยจากตัวเลขการส่งออกของเวียดนามไปยังสมาชิก CPTPP ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 21.43% เมื่อเทียบปีต่อปี ด้วยมูลค่า 31.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (14.48% ของการส่งออกรวม) ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่านับตั้งแต่ CPTPP มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวพุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นที่เป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีมูลค่า 13.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 13.39%YoY รองลงมาแคนาดาและมาเลเซีย เป็นต้น

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-exports-to-cptpp-members-amount-to-us31-billion/

 

“เวียดนาม” กวาด FDI 16.8 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้

กรมส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ (FIA) กระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (MPI) เปิดเผยข้อมูล ณ วันที่ 20 ส.ค. พบว่าเวียดนามมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ประมาณ 16.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 12.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี และมูลค่าของทุนจดทะเบียนใหม่ปรับตัวลดลงอย่างมีข้อน่าสังเกต 43.9% คิดเป็นมูลค่า 6.35 พันล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกัน มูลค่าการปรับเพิ่มเงินทุนในโครงการที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน อยู่ที่ 7.5 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 50.7% และการเข้าซื้อหุ้นกิจการ 2.9 พันล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญมองว่าเวียดนามยังคงเป็นจุดหมายปลายทางด้านการลงทุนที่น่าสนใจ แต่สถานการณ์ทั่วโลกในปัจจุบัน อาทิ ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานและภาวะเงินเฟ้อ ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการไหลเข้าของเม็ดเงินทุนจากต่างประเทศในเวียดนาม และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-attracts-nearly-16-8-bln-usd-in-fdi-in-eight-months-2053966.html

“เวียดนาม” เผยภาคเครื่องนุ่งห่ม จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน FDI เหตุบรรลุเป้าส่งออก

ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในชุมชน มีความต้องการเม็ดเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ไหลเข้าสู่กระบวนการผลิตผ้า เส้นด้ายและวัตถุดิบอื่นๆ เนื่องจากธุรกิจต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านการส่งออกจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) โดยจากข้อมูลของกระทรวงวางแผนและการลงทุน เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีจำนวนโครงการ FDI ทั้งสิ้น 2,787 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 31.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ณ 18 พ.ค.) ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจเครื่องนุ่งห่ม กล่าวว่าโครงการ FDI มีส่วนร่วมในการเพิ่มกำลังการผลิตและขนาดการส่งออกของอุตสาหกรรมนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออก จะพบว่าเพิ่มขึ้นจาก 36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2561 มาอยู่ที่ 40.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2564 คิดเป็นสัดส่วนราว 60% ของมูลค่าการส่งออกรวม

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/garment-sector-requires-greater-fdi-for-export-target-fulfilment-post965641.vov

ราคากาแฟโลก พุ่ง! ท่ามกลางอุปทานของกาแฟเวียดนามลดลง

ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ค้ากาแฟ ซึ่งจัดทำโดย Bloomberg คาดการณ์ไว้ว่าสต็อกของวัตถุดิบจะลดลงครึ่งหนึ่งภายในสิ้นเดือนก.ย. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ฝั่งด้านผลผลิต เวียดนามจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกกาแฟโรบัสตารายใหญ่ที่สุดของโลกและผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ทั้งนี้ ปริมาณสำรองที่ลดลงและช่วงเวลาที่ไม่เหมาะกับการเก็บเกี่ยวพืชผล แต่สถานการณ์การบริโภคกาแฟทั่วโลกเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หลังการระบาดปรับตัวลดลง ด้วยเหตุนี้ พันธุ์กาแฟโรบัสต้า (Robusta) ที่ถูกนำมาใช้โดยบริษัทกาแฟรายใหญ่ของโลก ได้แก่ เนสท์เล่ และเอสเพรสโซ่ เบลนด์ จะกลับมาเริ่มดำเนินกิจการ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2022/08/25/global-coffee-prices-to-rise-amid-drop-in-vietnam-supply/