5สัญญาณรัฐประหารทุบเศรษฐกิจเมียนมา

การรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนของกองทัพเมียนมาเมื่อวันที่ 1ก.พ.ที่ทำให้ดินแดนนี้ตกอยู่ในสภาพวุ่นวาย มีการชุมนุมประท้วงทุกวันและมีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและทหาร-ตำรวจแทบทุกวัน ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ที่สำคัญกว่านั้น การรัฐประหารที่เกิดขึ้นกำลังสร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจของเมียนมา จากข้อมูลของสหประชาชาติ(ยูเอ็น)บ่งชี้่ว่าเมียนมา ยังคงเป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดของโลกแต่การที่เมียนมาค่อยๆปรับเปลี่ยนไปสู่ระบอบประชาธิปไตยก็สร้างความหวังแก่โลกว่าในไม่ช้าเศรษฐกิจของเมียนมาจะเติบโตเหมือนเพื่อนบ้านในอาเซียน ขณะที่ ตั้งแต่สิงคโปร์ ประเทศที่เข้าไปลงทุนโดยตรงในเมียนมารายใหญ่สุด จนถึงญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ายังมองไม่เห็นอนาคตของเมียนมา เนื่องจากคนงานจำนวนมากในเมียนมา ถ้าไม่ผละงานออกไปร่วมชุมนุมประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐประหารก็หนีกลับบ้านเกิดในช่วงที่ทางการใช้กำลังเข้าปราบปราม สิ่งเหล่านี้ทำให้กิจกรรมทางธุรกิจสะดุ ทั้งนี้ 5 สัญญาณที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของเมียนมาได้รับผลกระทบจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจของกองทัพ 1) ดัชนีพีเอ็มไอร่วงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 2) การจดทะเบียนธุรกิจใหม่ลดลง86% 3) การลงทุนหดหาย 4) ปริมาณการค้าหุ้นดิ่ง60% 5) ความสามารถในการตรวจโควิดลด90%

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/927525

ญี่ปุ่นพิจารณาตอบโต้การรัฐประหารของเมียนมา

หัวหน้าคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นกล่าวว่ารัฐบาลกำลังติดตามสถานการณ์การรัฐประหารภายในเมียนมาและจะพิจารณาว่าจะตอบสนองต่อสถานการณ์ในเมียนมาอย่างไร ในแง่ของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและนโยบายโดยติดตามความคืบหน้าของสถานการณ์พร้อมทั้งคำนึงถึงผลกระทบจากประเทศที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งคำกล่าวนี้เกิดขึ้นหลังจากเกาหลีใต้กล่าวว่าจะระงับการแลกเปลี่ยนทางด้านกลาโหมกับเมียนมาและทำการห้ามส่งออกอาวุธเข้าประเทศหลังการรัฐประหารเมื่อเดือนที่แล้ว จากการกระทำของรัฐบาลเมียนมาในการจัดการผู้ประท้วงด้วยความรุนแรง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 138 คน ในเมียนมานับตั้งแต่การประท้วงเริ่มต้นขึ้น ตัวเลขผู้เสียชีวิตอ้างอิงจาก กลุ่มสิทธิมนุษยชน สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง (AAPP)

ที่มา : https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/japan-says-considering-response-to-myanmars-military-coup

จีนเรียกร้องให้เมียนมาหยุดสร้างความรุนแรงและปกป้องบริษัทของจีน

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาสถานทูตจีนในเมียนมาเรียกร้องให้เมียนมาใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อหยุดความรุนแรงและลงโทษกับผู้กระทำผิด หลังจากที่โรงงานซึ่งเป็นของนักลงทุนจีนหลายแห่งถูกทำลายรวมถึงถูกเผาในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลทำให้ชาวจีนหลายคนได้รับบาดเจ็บ โดยจีนเรียกร้องให้เมียนมารับรองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบริษัทสัญชาติจีนในเมียนมา รวมถึงจีนยังเรียกร้องให้ประชาชนเมียนมาแสดงข้อเรียกร้องในลักษณะที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ให้ยุยงหรือใช้ในทางที่ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างจีนและเมียนมา ซึ่งจากแถลงการณ์ดังกล่าวมีขึ้นหลังจากโรงงานกว่า 10 แห่ง รวมถึงบริษัทที่ได้รับทุนจากจีนในบางแห่งถูกทำลายในเขตอุตสาหกรรมในเมืองย่างกุ้งของเมียนมา

ที่มา : https://news.cgtn.com/news/2021-03-14/Two-Chinese-funded-garment-factories-set-on-fire-in-Myanmar-YCP1cUIQIE/index.html

กัมพูชาสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธีในเมียนมา

โฆษกของกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศของกัมพูชาได้กล่าวถ้อยแถลงแสดงถึงความสนับสนุนของกัมพูชาในการแก้ไขปัญหาวิกฤตในเมียนมาอย่างสันติ โดยในฐานะเพื่อนและสมาชิกของประชาคมอาเซียนกัมพูชาก็เช่นเดียวกับประเทศสมาชิกอาเซียนและประชาคมอื่น ๆ ซึ่งได้ร่วมติดตามสถานการณ์ในเมียนมาอย่างใกล้ชิดและเสียใจกับความรุนแรงที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิต รวมถึงในขณะที่กัมพูชาเคารพหลักการสำคัญในการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิก กัมพูชาได้ให้การสนับสนุน ถ้อยแถลงของประธานอาเซียนเกี่ยวกับการพัฒนาในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่ออกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2021 และ ถ้อยแถลงของประธานเกี่ยวกับการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2021 ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาวิกฤตในเมียนมาอย่างสันติวิธี โดยกัมพูชาพร้อมที่จะเข้าร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือเมียนมาบนเส้นทางสู่ภาวะปกติในทุกบทบาทและในรูปแบบใด ๆ ก็ตามที่สอดคล้องกับหลักการของกลุ่มสมาคมอาเซียน และให้เป็นที่ยอมรับของทุกคน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50822768/cambodia-supports-peaceful-solution-to-current-crisis-in-myanmar/

โรงงานแปรรูปบุกในรัฐมอญปิดตัว เหตุขาดวัตถุดิบ

โรงงานแปรรูปมันบุก (Elephant foot yam) ในรัฐมอญเผยอาจมีการปิดโรงงานลงจากการขาดวัตถุดิบ ซึ่งการเก็บกี่ยวผลผลิตจะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม ทั้งยังไม่สามารถซื้อวัตถุดิบจากพื้นที่อื่นได้เนื่องจากไม่สามารถทำธุรกรรมเพราะการปิดให้บริการของธนาคาร ก่อนการแพร่ระบาด COVID-19 ราคาพุ่งไปถึง 2,300 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) แต่เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาเหลือเพียง 1,700 จัตต่อ viss มันเทศชนิดนี้ถูกซื้อโดยจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีเป็นหลัก โดยญี่ปุ่นและจีนสร้างมูลค่าด้วยการขนมขบเคี้ยว ก๋วยเตี๋ยว และยา เป็นต้น เพราะมีไขมันต่ำและมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายแต่ไม่ได้รับความนิยมในประเทศเนื่องจากไม่ทราบถึงคุณประโยชน์ของมันบุก จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตและส่งออกผลไม้ดอกไม้และผักของเมียนมา ระบุว่าการส่งออกมันเทศและการสร้างมูลค่าเพิ่มที่ผลิตจากมันจะช่วยให้ตลาดเติบโตได้ในระยะยาว ซึ่งปัจุบันเมียนมาผลิตเพียงมันกึ่งแปรรูปเท่านั้น มันบุกส่วนใหญ่เพาะปลูกในพื้นที่กว่า 8,800 เอเคอร์ของรัฐชิน ผู้ค้าให้ข้อมูลว่าผลผลิตในรัฐชินมีราคาสูงกว่าจากภูมิภาคอื่นเนื่องจากมีคุณภาพและรสชาติที่ดีกว่า จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาส่งออกมันเทศจำนวน 4,200 ตันในปี 57-58 จำนวน 1,300 ตันในปี 58-59 และ 20,000 ตันในปี 59-60

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/elephant-foot-yam-factory-in-mon-state-suspended-due-to-lack-of-raw-material/

พาณิชย์เมียนมา เว้นภาษีนำเข้า-ส่งออกชั่วคราว

กรมการค้า กระทรวงพาณิชย์ (MOC) เผยเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 64 ส่งออกและผู้นำเข้าไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตสำหรับสินค้าส่งออกพิกัดศุลกากร (HS Code) 37 รายการ และการนำเข้า 72 รายสำหรับการนำเข้า ระหว่างวันที่ 8 มีนาคมถึง 9 เมษายน 2564 เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า สินค้าส่งออกที่ได้รับการยกเว้น เช่น หอมกระเทียม ข้าว ปลายข้าว น้ำตาลทรายดิบ ยางธรรมชาติ ฯลฯ สินค้านำเข้า เช่น ปลาหั่นบาง (ปลาแซลมอนและปลาทูน่า) แป้ง เมล็ดถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม ฯลฯ ส่วนภาษีหัก ณ ที่จ่าย 2% ยังได้รับการยกเว้นจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 64 เนื่องจากความยากลำบากในการชำระภาษีจากการปิดทำการของธนาคารเอกชน นอกจากนี้ยังไม่สามารถทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศได้ในระหว่างนี้ อย่างไรก็ตามการลดภาษีและการยกเว้นใบอนุญาตจะไม่สามารถรับมือกับการชะลอตัวของการค้าท่ามกลางสภาวะทางการเมืองในปัจจุบัน ด้านผู้ส่งออกชายแดนมูเซเผย แม้การค้าทางทะเลจะหยุดชะงัก แต่การยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะช่วยการค้าชายแดนกับจีนและไทยราบรื่นมากยิ่งขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/moc-grants-temporary-tariff-exemption-for-export-import-items/

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนลดลงร้อยละ 5.2 ในปี 2020

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 8,118 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2020 ลดลงร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบเป็นรายปีที่มูลค่า 1,086 พันล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกันกัมพูชานำเข้าสินค้าจากจีนรวม 7.031 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับในปี 2019 ซึ่งการนำเข้าจากจีนที่ลดลงส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการชะลอตัวของการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า เนื่องจากมีมาตรการปิดกั้นหรือจำกัดการส่งออกของกัมพูชา รวมถึงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็ส่งผลทำให้กัมพูชานำเข้าสินค้าลดลงไปด้วย ส่วนกัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีนเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าว มะม่วง และมันสำปะหลัง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50821332/8-1-billion-recorded-as-cambodia-china-trade-volume-in-2020-showing-a-5-2-percent-drop/

ผู้เลี้ยงแพะเมืองกะเล่ปลื้ม ราคาพุ่ง ไม่พอขาย

ความต้องการแพะของเนินเขาชิน เมืองกะเล่ เขตเขตซะไกง์ และเขตตะมู่ ส่งผลให้ราคาในตลาดสูงขึ้น ผู้เลี้ยงแพะเผยนมแพะราคาถ้วยละ 1,000 จัต มีรายได้ต่อวันประมาณ 10,000 จัต ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงมีรายได้มากขึ้นเนื่องจากมีผู้ซื้อแพะจำนวนมากในช่วงฤดูกาลนี้ มีผู้เลี้ยงแพะเชิงพาณิชย์เพียง 10 รายเท่านั้นที่ทำธุรกิจธุ์ปศุสัตว์ในเมืองกะเล่ ดังนั้นความต้องการจึงสูงกว่าอุปทานส่งผลให้ราคาสูงขึ้น แพะตัวผู้ขายได้ประมาณ 100,000 จัต ส่วนแพะตัวเมียขายได้ประมาณ 50,000 หรือ 80,000 จัตขึ้นอยู่กับขนาด ปีที่แล้วอินเดียเข้ามาซื้อแพะในเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังมีการขายแพะได้ราคาดีหลายร้อยตัวจากเมืองโมนยวา เมืองปะค็อกกู และเมืองมยิงยานแถบชายแดนพม่า – อินเดีย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/goat-breeders-earn-good-profit-on-upward-market-in-kalay/

การปลูกมัสตาร์ดด้วยระบบน้ำใต้ดิน เพิ่มรายได้เกษตรกรในเมืองมินบู

นาง Daw Mya Kyi เผยเกษตรกรในท้องถิ่นจากหมู่บ้าน Kyauktan ในเมืองมินบู กำลังปลูกผักโดยใช้ระบบน้ำใต้ดิน โดยในปีนี้ผู้คนปลูกมัสตาร์ดและพืชผลอื่น ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ซึ่งใช้เพียงสมาชิกในครัวขเรือน จึงสามารถประหยัดค่าแรงได้ ค่าใช้จ่ายมีเพียงค่าไถและค่าปุ๋ย ตอนนี้มัสตาร์ดกำลังให้ผลผลิตอย่างมากและสามารถขายได้ทุก 2-3 วัน และยังปลูกพืชอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรายได้อีกด้วย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mustard-other-crops-grown-on-manageable-scale-using-underground-water-in-minbu-township/

รถบรรทุกแตงโมกว่า 1,300 คันติดค้างที่ด่านมูเซ กระทบผลผลิตล้นตลาด

Khwar Nyo Fruit Depot เผยแม้หลังตรุษจีนแตงโมจะได้ราคาดี แต่ตอนนี้รถบรรทุกประมาณ 1,300 คัน ติดอยู่ในเขตการค้า 105 ไมล์ของด่านมูเซเนื่องจากด่านชายแดนจีนปิด 2 วัน ดังนั้นอุปทานแตงโมจึงเกินความต้องการ ตอนนี้แตงโมหนึ่งตัน (855 สายพันธุ์) ราคาสูงสุดอยู่ที่ 65,000 หยวน ในขณะที่ราคาปกติอยู่ที่ประมาณ 45,000 หยวน นอกจากนี้รถบรรทุกแตงโมประมาณ 200 คันต่อวันต่อคิวเดินทางผ่านด่านมูเซไปยังจีน ก่อนหน้านี้ตลาดแตงโมพึ่งพาจีนมาตลอด เมียนมาส่งแตงโมไร้เมล็ด 45 ตันไปยังตลาดดูไบเมื่อธันวาคม 63 และมกราคม 64 และแผนที่จะขยายตลาดไปยังฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564 ศูนย์ค้าส่งผลไม้เขตการค้า 105 ไมล์ ได้แถลงการณ์ว่าจำนวนรถบรรทุกส่งออกแตงโมและแตงเมลอนมีกำหนดควบคุมตลาด ในช่วงปีที่ผ่านมาเกษตรกรและผู้ค้าประสบปัญหาขาดทุนเนื่องจากความไม่แน่นอนของราคาและความลำบากในการขนส่งซึ่งเกิดจากการระบาดของ COVID-19 แตงโมและแตงเมลอนจะเก็บเกี่ยวได้จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมทั่วประเทศยกเว้นรัฐคายาห์และชิน เมียนมาส่งออกแตงโมมากกว่า 800,000 ตันต่อปีและแตงเมลอนประมาณ 150,000 ตันไปยังจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/watermelon-supply-exceeds-demand-as-about-1300-trucks-stuck-in-muse-depot/#article-title