“เวียดนาม” เผยเงินเฟ้อพุ่ง 2.25%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนพ.ค.65 เพิ่มขึ้น 0.38% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน หากพิจารณาในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 2.25% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมัน โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ 2.25% และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีกในอนาคตข้างหน้า อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ทำให้กลุ่มขนส่งมีต้นทุนสูงขึ้น 2.34% ทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวมเพิ่มขึ้น 0.23% ในขณะที่ราคาบ้านและวัสดุก่อสร้างปรับตัวลดลง 0.13% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน นอกจากนี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IIP) เดือนพ.ค.65 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 10.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.sggpnews.org.vn/business/inflation-climbs-by-225-percent-in-five-first-months-99494.html

การค้าระหว่าง กัมพูชา-เวียดนาม ใกล้แตะหมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2021

ปริมาณการค้าระหว่างกัมพูชาและเวียดนามแตะ 9.3 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 75 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2020 แม้จะได้รับผลกระทบจากการระบาดก็ตาม ด้านนายกรัฐมนตรี ฮุน เซน และรัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนาม Bui Thanh Son ได้หารือเกี่ยวกับประเด็นนี้ และตกลงที่จะร่วมมือและรักษาโมเมนตัมนี้ไว้ ซึ่งทั้งคู่ตั้งเป้าการค้าไว้ที่มูลค่า 10,000 ล้านดอลลาร์ ภายในปี 2022 รวมถึงทำการเปิดเที่ยวบินตรงระหว่างเวียดนามและกัมพูชาอีกครั้ง ด้านการลงทุนในปี 2021 บริษัทสัญชาติเวียดนามทุ่มเงินกว่า 88.9 ล้านดอลลาร์ ในโครงการใหม่ 4 โครงการ ที่จัดตั้งในกัมพูชา ส่งผลทำให้เวียดนามมีการลงทุนในกัมพูชารวมกว่า 2.84 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501015577/cambodia-vietnam-trade-volume-inches-closer-to-10-billion-in-2021/

‘เวียดนาม’ เผยส่งออกและนำเข้า 5 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 15.6%

ตามรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าการส่งออกและนำเข้าของเวียดนามในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่า 305.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 15.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน การส่งออกมีมูลค่า 152.81 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 16.3% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 152.29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 14.9% ส่งผลให้เวียดนามเกินดุลการค้า 516 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยกลุ่มสินค้าส่งออกจำนวน 26 รายการที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งใน 6 กลุ่มรายการสินค้าดังกล่าวมีมูลค่ามากกว่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 89.6 ของการส่งออกรวมทั้งหมด สินค้าส่งออกเวียดนามส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม ทั้งนี้ สหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีมูลค่าการค้าราว 76.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือจีน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/five-month-importexport-turnover-up-156-percent/229349.vnp

 

“เซ็นทรัล” เล็งส่งออกลิ้นจี่ 1,000 ตันในเวียดนาม

บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น ในประเทศเวียดนาม วางแผนที่จะขายลิ้นจี่ประมาณ 1 พันตันในปีนี้ โดยผลไม้ชุดแรกมาจากสวนในจังหวัดบั๊กซาง (Bac Giang) วางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วประเทศ ทั้งนี้ Central Retail ในฐานะหนึ่งในผู้นำธุรกิจค้าปลีกของภูมิภาค ได้ร่วมมือกับหน่วนงานท้องถิ่นของจังหวัดเตี่ยนยาง (Tien Giang) ในการจัดงานเทศกาลผลไม้เวียดนาม เพื่อที่จะส่งเสริมลิ้นจี่ ซึ่งเป็นผลไม้ขึ้นชื่อในภาคเหนือและภาคใต้ของเวียดนาม ก่อนหน้าคณะกรรมการประชาชนจังหวัดบั๊กซางและเซ็นทรัลได้ลงนามร่วมกันในข้อตกลงเกี่ยวกับการจำหน่ายลิ้นจี่ในปี 2565 ทั้งหน้าร้านและแพลตฟอร์มออนไลน์

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/thai-retail-corporation-to-sell-some-1000-tonnes-of-lychees/229210.vnp

‘เวียดนาม’ เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังเกิดโรคระบาด

การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในไตรมาสแรกยังไม่กลับเข้าสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาด แต่ถือว่าตัวเลขสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2563 และ 2564 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของเวียดนามจะอยู่ในอัตราการควบคุมไว้ที่ 1.92% ท่ามกลางราคาสินค้าและวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก แต่ว่าการส่งออกของเวียดนามยังคงสดใส ทำให้ยังคงได้เปรียบดุลการค้า 2.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ประกอบกับรัฐบาลจัดเก็บงบประมาณเพิ่มขึ้น 15.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ รัฐบาลเน้นการจัดการการแพร่ระบาดของเชื้คโรค การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมหลักของประเทศเติบโตได้และการลงทุนด้ายโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของประเทศ อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงอยู่ในความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองทั่วโลกและความอ่อนแอของเศรษฐกิจ ตลอดจนการควบคุมเงินเฟ้อ

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11529202-vietnam-accelerates-post-pandemic-economic-recovery.html

‘เวียดนาม’ เผยเขตเศรษฐกิจในภาคใต้ แม่เหล็กดึงดูดต่างชาติลงทุน FDI

ข้อได้เปรียบหลายอย่างทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมและทรัพยากรมนุษย์ของเวียดนาม หลังจากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้แล้ว เขตเศรษฐกิจในภาคใต้ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนชั้นนำของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) โดยกิจการอย่างแพนดอร่า “Pandora” ผู้ผลิตเครื่องประดับสัญชาติเดนมาร์ก ประกาศว่าจะลงทุนก่อสร้างโรงงานใหม่ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม VSIP (Vietnam Singapore Industrial Park) จังหวัดบิน เยือง ภาคใต้ของประเทศ ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) สาเหตุสำคัญที่กิจการเข้ามาลงทุนในครั้งนี้เนื่องมาจากความพร้อมด้านทักษะของแรงงาน โครงสร้างพื้นฐานและสนามบิน ทั้งนี้ ตามรายงานของคณะกรรมการประชาชนประจำจังหวัด เปิดเผยว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ จังหวัดบิน เยือง (Binh Duong) ดึงดูดเม็ดเงินทุนกว่า 2.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีจำนวนโครงการใหม่ 16 โครงการ และโครงการปัจจุบัน 9 โครงการจากจำนวนกิจการรวมทั้งสิ้น 53 แห่ง ในขณะเดียวกัน ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงวันที่ 20 เม.ย. นครโฮจิมินห์ได้ดึงดูดเม็ดเงินทุนได้แล้วกว่า 1.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/key-southern-economic-region-a-magnet-for-fdi/229153.vnp

‘ศก.เวียดนาม’ เผิชญกับความท้าทายใหม่ ท่ามกลางความไม่แน่นอนโลก

The Economic Information Daily ซึ่งเป็นสื่อในเครือของสำนักข่าวซินหัวที่เป็นสื่อของรัฐบาลจีน ได้ตีพิมพ์บทความระบุว่าเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ท่ามกลางสถานการณ์ทั่วโลกที่มีความผันผวน ตามรายละเอียดชี้ให้เห็นว่าเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจท้องถิ่นได้รับความสนใจจากประชาคมระหว่างประเทศ เศรษฐกิจของประเทศมีความยืดหยุ่น โดยเฉพาะเมื่อเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2563 เวียดนามก็เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีการเติบโตของ GDP เป็นบวก นอกจากนี้ เศรษฐกิจเวียดนามกำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และการดำเนินใช้ชีวิตกำลังจะกลับสู่ภาวะปกติเหมือนก่อนเกิดโรคระบาด แต่ก็กำลังเผชิญกับอุปสรรคใหม่ อาทิ ปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกและปัจจัยดังกล่าวเริ่มที่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามอีกด้วย

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-economy-facing-new-challenges-amid-global-uncertainties-post946020.vov

รองนายกฯ เวียดนาม ตั้งเป้า GDP โต 6.5%

การประชุมสมัชชาใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามสมัยที่ 15 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2565 นาย เล วัน แถ่ง (Le Van Thanh) รองนายกรัฐมนตรีเวียดนาม กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามปี 2565 ให้โตได้ตามเป้าหมาย 6-6.5% ถือเป็นเป็นความท้าทายครั้งใหญ่จากสถานการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขณะที่ในปัจจุบันเวียดนามมุ่งรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจในระดับมหภาคและควบคุมอัตราเงินเฟ้อ แสดงได้จากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 2.1% นอกจากนี้ รัฐบาลจะดำเนินงานตามมติของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามและมุ่งป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ตลอดจนขอความร่วมมือกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามนโยบายการเงินและการคลัง เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ควบคุมเงินเฟ้อและเพิ่มรายรับงบประมาณของภาครัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/growth-target-of-65-remains-big-challenge-deputy-pm-post945860.vov

‘เวียดนาม’ ชี้ไตรมาส 3 เศรษฐกิจส่งสัญญาปัญหาเงินเฟ้อ

Trần Toàn Thắng หัวหน้าศูนย์ข้อมูลและวิเคราห์เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่าในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เป็นสถานการณ์ความตึงเครียดมากที่สุดในการรับมือปัญหาเงินเฟ้อ ภายในงานเสวนาเศรษฐกิจเวียดนามแห่งปี 2022 ซึ่งจากรายงานได้เน้นย้ำถึงกระบวนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม แต่ต้องเผชิญกับแรงกดดันกับปัญหาต่างๆ ในปีนี้ แรงกดดันเงินเฟ้อและต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้แล้ว ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย ถือได้ว่าสร้างผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจเวียดนามอีกด้วย ตลอดจนการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างประเทศจีนที่คงเข็มงวดนโยบาย “Zero COVID” กลายเป็นแรงกดดันต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามและส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1194073/q3-set-to-be-tough-period-for-inflation.html

‘ข้าวเวียดนาม’ เร่งสร้างการรับรู้แบรนด์สินค้า

Nguyễn Thị Thu Thủy รองผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม เปิดเผยว่าอาเซียนถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีขนาดตลาดที่ใหญ่สำหรับข้าวเวียดนามและกิจการควรมีกลยุทธ์ในการเข้าถึงตลาดขนาด 700 ล้านประชากร ซึ่งมีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่คล้ายคลึงกัน โดยในกลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกข้าวเวียดนามที่ใหญ่ที่สุด มีปริมาณกว่า 2.45 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 509.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2564 ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ของผู้ส่งออกโลก รองจากอินเดียและจีน แต่อินโดนีเซียก็ยังเป็นตลาดที่มีศักยภาพแก่ข้าวเวียดนาม นอกจากนี้ Cao Xuân Thắng เจ้าหน้าที่ของสำนักงานการค้าเวียดนามประจำสิงคโปร์ กล่าวว่าเวียดนามเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 3 ของสิงคโปร์ รองจากไทยและอินเดีย และได้แนะนำให้ผู้ประกอบการปรับปรุงคุณภาพข้าวและส่งเสริมการรับรู้แบรนด์ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันกับไทยและอินเดีย

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/business-beat/1194075/vietnamese-rice-must-increase-brand-recognition-in-asean.html