เรือบรรทุกน้ำมันจากต่างประเทศไหลเข้าท่าเรือเมียนมาอย่างต่อเนื่อง

เรือบรรทุกน้ำมันจากต่างประเทศได้เข้าเทียบท่าที่ท่าเรือติละวาในเขตย่างกุ้งอย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 19 และ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยเรือบรรทุกน้ำมัน 3 ลำ ที่เข้าเทียบท่าได้ทำการขนถ่ายน้ำมันลงในถังเก็บตามลำดับ ด้านคณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้า การจัดเก็บ และการจัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ประสานงานกับสมาคมนำเข้าและจัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของเมียนมา กำลังจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับปั๊มน้ำมันในภูมิภาค/ภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเขตย่างกุ้ง ซึ่งได้ใช้รถหัวจ่ายน้ำมันในการขนส่งตลอดทั้งวันทั้งคืน อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน มีรายงานปริมาณน้ำมันทั้งหมดที่เข้ามายังถังเก็บน้ำมัน แบ่งออกเป็น น้ำมัน 92 RON (Research Octane Number บอกค่าออกเทนของน้ำมัน) กว่า 1,470,000 แกลลอน, 95 RON กว่า 300,000 แกลลอน, น้ำมันดีเซล กว่า 1,040,000 แกลลอน และดีเซลแบบพรีเมียม กว่า 1,020,000 แกลลอน ซึ่งถูกส่งโดยรถหัวจ่ายน้ำมันกว่า 1,311 คัน ไปยังสถานีจำหน่ายเชื้อเพลิง 1,960 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงในเขตย่างกุ้ง ทั้งนี้มีรายงานว่าประชาชนสามารถซื้อและใช้เชื้อเพลิงได้สะดวกมากขึ้น และเจ้าหน้าที่กำลังให้ความช่วยเหลือในการอำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/steady-inflow-of-foreign-oil-tankers-ensures-smooth-distribution-nationwide/

คณะผู้แทนเมียนมาเข้าร่วมงาน China International Travel Mart 2023

คณะผู้แทนเมียนมา นำโดย ดร. Thet Thet Khine รัฐมนตรีสหภาพการโรงแรมและการท่องเที่ยว ได้เดินทางเข้าร่วมงาน China International Travel Mart ประจำปี 2023 และการประชุมการลงทุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอาเซียน-จีน ที่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน งานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 พฤศจิกายน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างจีนและประเทศอื่นๆ ในระหว่างการเยือน คณะผู้แทนจากเมียนมาได้หารือกับเจ้าหน้าที่มณฑลยูนนานเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว โดยมุ่งเน้นไปที่ประเด็นทวิภาคีและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านโรงแรมและภาคการท่องเที่ยวของเมียนมา ทั้งนี้ รัฐมนตรีสหภาพฯ ยังได้กล่าวปราศรัยกับสื่อ โดยเน้นถึงโอกาสในการลงทุนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเมียนมา รวมทั้งกล่าวถึงความสำคัญเชิงกลยุทธ์ในการดึงดูดการลงทุนด้านการท่องเที่ยวสู่ภูมิภาคอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์หลักด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (พ.ศ. 2559-2568) นอกจากนี้ ผู้อำนวยการฝ่ายโรงแรมและการท่องเที่ยวได้มีการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานการณ์การลงทุนด้านการท่องเที่ยวของเมียนมาภายในงาน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-delegation-participates-in-2023-china-intl-travel-mart-asean-china-tourism-investment/

สปป.ลาว แสวงหาการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อ ‘ส่งเสริมการส่งออกปศุสัตว์’

ปศุสัตว์มีบทบาทสำคัญในภาคเกษตรกรรมของ สปป.ลาว ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากกว่าหนึ่งในสามของผลิตภัณฑ์ตามการระบุของเจ้าหน้าที่อาวุโส นายกวิพล ภูธาวงศ์ อธิบดีกรมปศุสัตว์และประมง กล่าวในระหว่างการประชุมระดับชาติว่าด้วยการลงทุนในการปฏิรูปปศุสัตว์อย่างยั่งยืนในประเทศลาวว่า การส่งออกปศุสัตว์ของลาวในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมามีมูลค่ามากกว่า 61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และได้กล่าวเน้นย้ำว่า สปป.ลาว มีศักยภาพอย่างมากในการเพิ่มการผลิตปศุสัตว์เพื่อการส่งออกภายหลังการเปิดทางรถไฟลาว-จีนในปี 2564 ประเทศนี้มีที่ดินขนาดใหญ่ที่เหมาะสำหรับโครงการผลิตปศุสัตว์ที่มุ่งสู่ตลาดส่งออก ความต้องการปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ รวมถึงเนื้อสัตว์ นม และไข่ กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศและในตลาดเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะจีนและเวียดนาม

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2023/11/20/laos-seeks-more-investments-to-boost-livestock-exports?fbclid=IwAR2Qz4mZsmQeozsmqfdFhEho-J-gJgddYfbG06n7zObSEwrgY6IkxLKqCrA

‘สปป.ลาว มีแผนเสริมสร้างภาคอุตสาหกรรมและบริการ’ เพื่อก้าวสู่ความทันสมัย

คำเจน วงโพธิ์ รัฐมนตรีกระทรวงการวางแผนและการลงทุน สปป.ลาว กล่าวในการประชุมสามัญครั้งที่ 6 ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยระบุว่ารัฐบาลกระตือรือร้นที่จะก้าวไปสู่ความทันสมัยและการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยรับประกันการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยส่วนแบ่งของภาคอุตสาหกรรมและบริการขยายตัว และส่วนแบ่งของภาคเกษตรกรรมลดลง โดยรัฐบาลมีเป้าหมายที่กำหนดไว้ว่าภายในปี 2568 ภาคเกษตรกรรมและป่าไม้จะมีสัดส่วน 15.3% ของจีดีพี ภาคอุตสาหกรรม 33.3% ของจีดีพี ภาคบริการ 41.3 ของจีดีพี และส่วนที่เหลือมาจากภาษีและภาษีศุลกากร โดยในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมาของปี 2566 ภาคเกษตรกรรมขยายตัว 3.4% คิดเป็น 17.3% ของจีดีพี ขณะเดียวกัน ภาคอุตสาหกรรมขยายตัว 3.5% คิดเป็น 34.5% ของจีดีพี ภาคบริการขยายตัว 5.6% คิดเป็น 37.2% ของจีดีพี ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ได้แนะนำรัฐบาล โดยจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นกว่าปัจจุบัน นอกจากนี้ จำเป็นต้องทบทวนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ชาวลาวหลายพันคนเดินทางออกนอกประเทศเพื่อหางานที่ดีกว่าในต่างประเทศ

ที่มา : https://english.news.cn/20231120/bf08707a214a49439b1653b65908aaf7/c.html

GDT จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซในกัมพูชาเกือบ 63 ล้านดอลลาร์

กรมสรรพากร (GDT) รายงานการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มูลค่ารวมกว่า 62.8 ล้านดอลลาร์ จากภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี โดยเริ่มจัดเก็บนับตั้งแต่ในช่วงเดือนเมษายนปีนี้ จากบริษัทต่างๆ เช่น Google, Facebook, YouTube, Alibaba, Microsoft และ TikTok หลังแพลตฟอร์มด้านการช้อปปิ้งออนไลน์ดังกล่าวกลายเป็นเทรนด์หรือไลฟ์สไตล์ที่สำคัญของคนกัมพูชามากขึ้นเรื่อยๆ โดยสร้างโอกาสมากมายสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก รวมถึงตอบสนองต่อความต้องการของคนในประเทศ สำหรับการจัดเก็บภาษีทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกันมีมูลค่ารวมกว่า 3 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 85.8 ของเป้าหมายการจัดเก็บประจำปี ที่ได้กำหนดไว้มูลค่า 5.5 พันล้านดอลลาร์ จากการจัดเก็บภาษีและศุลกากร ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับปี 2022

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501394733/gdt-collects-63-million-vat-on-e-commerce/

นายกฯ เร่งลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับอาลีบาบา หวังดันสินค้ากัมพูชาโต

ดร. ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา กล่าวในระหว่างการไปเยือนประเทศจีนครั้งล่าสุดว่าปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกับอาลีบาบาเพื่อผลักดันการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาไปยังตลาดจีนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันอาลีบาบามีลูกค้าเข้าใช้บริการนับหลายร้อยล้านรายทั่วโลก ผ่านระบบออนไลน์ โดยไม่จำเป็นต้องซื้อขายผ่านตัวกลาง ด้านนายกฯ กล่าวเสริมถึงโอกาสในการขายสินค้าเกษตรของกัมพูชาโดยเฉพาะลำไยจากจังหวัดไพลินของกัมพูชาที่ได้เริ่มวางขายบนเว็บไซต์อาลีบาบาแล้ว ซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากตลาดดังกล่าว อีกทั้งทางการยังพร้อมที่จะผลักดันสินค้ากลุ่มหัตถกรรม และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อให้เป็นที่รู้จักในตลาดโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501394994/pm-reminds-signing-an-agreement-with-alibaba-to-sell-cambodian-products/

‘เศรษฐีหญิงชาวเวียดนาม’ ถูกแจ้งข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง เงินกว่า 6% ของ GDP เวียดนาม

เจือง หมี ลาน (Nguyen Thi Phuong Thao) เศรษฐีหญิงชาวเวียดนามที่ร่ำรวยที่สุดในเวียดนาม และยังเป็นประธานกลุ่มบริษัท Wan Sheng Huat ซึ่งเป็นที่รู้จักในท้องถิ่นในชื่อ “เจ้าสัวอสังหาริมทรัพย์” ได้ถูกรัฐบาลเวียดนามจับกุมเมื่อเดือน ต.ค. ปีที่แล้ว ในข้อหาฉ้อโกงหลักทรัพย์ ติดสินบน และการยักยอกทรัพย์สินของบริษัท ทั้งนี้ จากการสอบสวนครั้งล่าสุด แสดงให้เห็นว่ามหาเศรษฐีหญิงชาวจีน Zhang Meilan ถูกสงสัยว่าจะบ่อนทำลายธนาคาร Saigon Commercial Bank (SCB) และยักยอกเงินของลูกค้าจำนวน 304 ล้านล้านดอง หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 6% ของ GDP เวียดนามในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้

ที่มา : https://www.world-today-news.com/vietnams-richest-woman-arrested-for-fraud-the-amount-actually-accounts-for-6-of-vietnams-gdp/

‘เวียดนาม-กัมพูชา’ การค้าพุ่ง 5%

จากข้อมูลของกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา (GDCE) เปิดเผยว่าการค้าระหว่างเวียดนามกับกัมพูชา ในช่วง 10 เดือนของปีนี้ (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่าราว 5.58 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การส่งออกของกัมพูชามีมูลค่าอยู่ที่ 2.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 35.9% ในขณะที่เวียดนามส่งออกไปยังกัมพูชามีมูลค่าอยู่ที่ 3.01 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 9.7% ส่งผลให้ในช่วงเวลาดังกล่าว กัมพูชาขาดดุลการค้าประมาณ 753.84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงอย่างมาก 1.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

นอกจากนี้ คุณลิ้ม เฮง รองประธานหอการค้ากัมพูชา (CCC) ได้ตั้งข้อสังเกตว่ากำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นในประเทศ พร้อมด้วยการขาดแคลนคลังสินค้า โรงงานแปรรูป และการจัดซื้อจัดจ้าง  ตลอดจนการปรับปรุงความสัมพันธ์ทางชายแดน ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดความมั่นคงและการเติบโตของการค้า โดยเฉพาะการส่งออกของประเทศ

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/vietnam-trade-up-5-on-last-year

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไฟฟ้าแห่งสหภาพเมียนมาร์ กลับจากการประชุมกำกับดูแลพลังงานระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกครั้งที่ 6

ตามคำเชิญของนาย Zhang Jianhua หัวหน้าคณะบริหารพลังงานแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน คณะผู้แทนที่นำโดย U Nyan Tun รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไฟฟ้าแห่งสหภาพเมียนมาร์ ได้เดินทางเยือนเซินเจิ้นและคุนหมิงระหว่างวันที่ 15-19 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เพื่อเข้าร่วมการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 6 – ด้านกำกับดูแลพลังงานระดับภูมิภาคแปซิฟิก และเรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตพลังงานลม จากนั้น รัฐมนตรีสหภาพฯ ได้พบกับนาย Zhang Jianhua หัวหน้าสำนักงานบริหารพลังงานแห่งชาติ (NEA) และหารือเกี่ยวกับการพัฒนาภาคส่วนพลังงานไฟฟ้า ทั้งนี้ยังได้เยี่ยมชมศูนย์นิทรรศการ Shenzhen Huawei Digital Power Edison Exhibition Hall และสถานีชาร์จรถยนต์ EV ที่จัดเก็บพลังงานแสงและการชาร์จ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกริดและยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ พวกเขายังได้เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าพลังงานลมฝูหยวนซี ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้ง 800 เมกะวัตต์ ซึ่งสร้างโดย State Power Investment Corporation ในมณฑลยูนนาน นอกจากนี้ ในระหว่างการเยือนยังได้พบเพื่อหารือเกี่ยวกับข้อกำหนดและแผนสำหรับการดำเนินโครงการที่กำลังดำเนินอยู่ กับบริษัท China Southern Power Grid ซึ่งเป็นบริษัทของรัฐของจีน ร่วมมือกับกระทรวงพลังงานไฟฟ้า และบริษัทด้านพลังงานอื่นๆของจีนอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moep-union-minister-returns-from-6th-asia-pacific-regional-energy-regulatory-forum/

การส่งออกภาคการผลิตของเมียนมาร์มีมูลค่า 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนเม.ย.-ต.ค

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ เผยสถิติของมูลค่าการส่งออกจากภาคการผลิตว่า มีมูลค่าถึง 5.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบันปี 2565-2566 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 ทั้งนี้ ตัวเลขในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาบ่งชี้ว่ามูลค่าการส่งออกของภาคการผลิตลดลงมากถึง 1.45 พันล้านดอลลาร์ หากเทียบกับ 7 พันล้านดอลลาร์ ที่บันทึกไว้ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อนหน้า โดยในบรรดาสินค้าส่งออก 10 อันดับแรกการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปอยู่ในอันดับที่ 1 รวมถึงก๊าซธรรมชาติและแร่ธาตุ ในขณะเดียวกันเมียนมาร์มีการส่งออกผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปเป็นหลัก กับคู่ค้าต่างประเทศ ในขณะที่มีการนำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า CMP และสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นหลักเช่นกัน  อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ได้ดำเนินนโยบายตามยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) พ.ศ. 2563-2568 เพื่อสนับสนุนการส่งออก ซึ่งภาคส่วนที่มีความสำคัญตามนโยบายดังกล่าว ประกอบด้วยการผลิตทางการเกษตร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ การผลิตและบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรม และภาคผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/manufacturing-sector-exports-earn-us5-5-bln-in-apr-oct/#article-title