‘อีสปอร์ตเวียดนาม’ เล็งเห็นโอกาสทองทางธุรกิจ ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19

ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ว่าองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์และเอกลักษณ์ที่ผสมผสานของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ทำให้เวียดนามสามารถตามทันกระแสของอีสปอร์ตและยังเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจ โดยเวียดนามมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ 77% ของทั้งประเทศ จำนวนผู้คนกว่า 61 ล้านคนที่ใช้สมาร์ทโฟน และพบว่าเด็กรุ่นใหม่ “Gen Z” ส่วนใหญ่ 90% เป็นฐานลูกค้าหลักของธุรกิจเกมหรืออีสปอร์ต (E-Sport) ทั้งนี้ ตามรายงานการวิจัย เปิดเผยว่าตลาดเกมส์ในประเทศ ปี 2563 สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานราว 40 ล้านคน ในขณะที่ผู้เล่นอีก 18 ล้านคนที่ชอบแข่งขันอีสปอร์ตและอีกประมาณ 86 ล้านคนที่เป็นผู้ชมอีสปอร์ต ซึ่งจากผลงานวิจัยชี้ให้เห็นถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์สินค้าอีกด้วย นอกจากนี้ ตามรายงานของผู้ให้บริการอย่าง Appota ชี้ว่าผู้คนกว่า 80% ส่วนใหญ่ชื่นชอบดูผลงานของครีเอเตอร์เกมในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโรค โดยใช้เวลาเล่นเกมและดูการแข่งขัน E-Sport เฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1164078/viet-nams-e-sports-present-golden-opportunities.html

 

โอกาสผลผลิตทางการเกษตร ‘เวียดนาม’ ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งในตลาดโลก

ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกผลผลิตทางการเกษตรเติบโตเป็นบวกอย่างต่อเนื่องและหวังว่าจะไปในทิศทางที่เป็นบวกต่อไป มูลค่าการส่งออกของภาคการเกษตร ป่าไม้และประมงอยู่ที่ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ ตามรายงานของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าการส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังตลาดสหภาพยุโรป (EU) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกในอนาคต และเมื่อปี 2564 เวียดนามมีโควตาไม่เกิน 80,000 ตัน ยกเว้นภาษีนำเข้าให้เวียดนามภายใต้ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) โดยการส่งออกสินค้าประเภทข้าว กาแฟ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ยางพาราและผัก ไปยังตลาดอียูจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีนี้ นอกจากนี้ นายฝุ่ง ดึ๊ก เตี่ยน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนาม กล่าวว่าภาคการเกษตรเล็งเห็นโอกาสทางการส่งออกไปยังจีนและแสวงหาตลาดใหม่ดเผยว่าการส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังตลาดยุ างการเกของเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/chances-for-vietnam-farm-produce-to-strengthen-position-in-global-market-insiders/223258.vnp

 

‘เวียดนาม’ เผยอุตสาหกรรมป่าไม้ เตรียมรับมือวัตถุดิบในประเทศให้เพียงพอ

การประชุมสัมมนาออนไลน์ ภายใต้หัวข้อเรื่อง “วิกฤติความขัดแย้งรัสเซีย – ยูเครน ส่งผลกระทบแฝงต่ออุตสาหกรรมไม้ของเวียดนาม” จัดขึ้นโดยสมาคมไม้และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้เวียดนาม เมื่อวันที่ 9 มี.ค. ผู้เข้าร่วมการประชุมกล่าวว่าวัสดุไม้จากรัสเซียเข้ามายังเวียดนามมีปริมาณน้อยมากและในอนาคตคงจะหมดไป ดังนั้น ผลกระทบดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไม้ของเวียดนาม นอกจากนี้ รัสเซียไม่ได้เป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ไม้รายใหญ่ของเวียดนาม คาดว่าจะไม่สร้างผลกระทบในเชิงลบมากเท่าไร อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมการประชุม ชี้ว่าความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน จะทำให้อุปทานวัสดุไม้จากรัสเซียลดลง ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนวัสดุไม้ไปยังทั่วโลกในอนาคต

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11260602-vietnam-s-wood-industry-seeks-to-ensure-self-sufficiency-in-domestic-materials.html

‘เวียดนาม’ ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางของนักลงทุนสหรัฐฯ

จากงานสัมมนาออนไลน์ที่จัดขึ้นโดย ‘Asia Group’ เปิดเผยว่าเวียดนามยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าดึงดูดของนักลงทุนสหรัฐฯ ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก จุดมุ่งหมายของงานสัมมนาครั้งนี้เพื่อแบ่งปันโอกาสทางธุรกิจและข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ตลอดจนแนวโน้มทางเศรษฐกิจเวียดนาม โดยมีผู้ร่วมงานที่เป็นตัวแทนบริษัทสหรัฐฯกว่า 40 คน มาจากกลุ่มพลังงาน การเงิน เทคโนโลยีและการผลิต อาทิ Blackstone Group, Google, Facebook , Ford, UPS และ Walmart เป็นต้น ทั้งนี้ นาย ฮา กิม หง็อก เอกอัครราชทูตประจำสหรัฐฯ กล่าวถึงความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจของเวียดนามและแจ้งข้อมูลเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เข้ามาลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) อย่างไรก็ดี สำหรับนักลงทุนสหรัฐฯ เวียดนามดำเนินการร่วมมือทางหุ้นส่วนการค้าและเครือข่ายความตกลงการค้าเสรี จะช่วยให้กิจกรรมของประเทศดีขึ้น

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11255702-vietnam-remains-attractive-destination-for-us-investors.html

‘เวียดนาม’ มองสหรัฐฯ เป็นพันธมิตรใกล้ชิด

เมื่อวันที่ 8 มี.ค. การประชุม Business Summit สหรัฐฯ-เวียดนาม ครั้งที่ 5 นาย ฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม กล่าวว่าเวียดนามถือว่าสหรัฐฯ เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดเสมอมา รวมถึงร้องขอให้ภาคธุรกิจของทั้งสองประเทศทำการกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคี ทั้งนี้ ตามตัวเลขการค้าระหว่างประเทศ พบว่ามูลค่าการค้าระหว่างเวียดนามกับสหรัฐฯ อยู่ที่ 111 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564 โดยสหรัฐฯ เป็นผู้ซื้อสินค้าจากเวียดนามรายใหญ่ที่สุด ในขณะที่เวียดนามเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับที่ 9 ของสหรัฐฯ นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังเป็นหนึ่งในนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยจำนวนโครงการในปัจจุบัน 1,150 โครงการ คิดเป็นมูลค่ากว่า 10.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnam-always-regards-u-s-as-leading-partner/

ทำไมเวียดนาม มีผู้หญิงเก่งจำนวนมาก | สัดส่วนผู้บริหารหญิง แซงหน้าไทยไปแล้ว

ข้อมูลจาก “CS Gender 300”  รายงานของ Credit Suisse ทำการสำรวจประเด็นเพศสภาพของผู้บริหารทั่วโลก เพื่อศึกษาดูว่า ในโลกธุรกิจมีความหลากหลายทางเพศ และได้สะท้อนภาพทางสังคม รวมถึงส่งผลต่อการดำเนินงานทางธุรกิจอย่างไร ในงานวิจัยพบว่าเวียดนามแซงไทยไปแล้วในทุกด้าน ทั้งตำแหน่งประธานบริหารสูงสุดหรือซีอีโอ (CEO), ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดด้านการเงินหรือซีเอฟโอ (CFO) และตำแหน่งผู้บริหารทั่วไป (Business Management)

ทั้งนี้ ดร.พิสิฐ อำนวยเงินตรา ผู้เชี่ยวชาญด้านเวียดนามศึกษา กล่าวว่าสังคมเวียดนามเชื่อมั่นว่าผู้หญิงทำมาค้าขายเก่งกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะเรื่องการเงิน และทุกวันนี้ มีกระแสสังคมในเวียดนาม ที่ต้องการผลักดันให้สัดส่วนของผู้หญิงมีมากขึ้นในทุกองค์กร ในทุกส่วนของสังคม ตลอดจนวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับผู้หญิงอย่างมาก บ่งชี้ได้จากมีวันสตรีสากลที่ทำการเฉลิมเฉลิงอย่างยิ่งใหญ่และซึมงึกข้าไปในวัฒนธรรม คนเวียดนามจะซื้อดอกไม้ไปให้เพื่อนร่วมงานหญิง เพื่อแสดงความชื่นชมยินดี

ที่มา : https://workpointtoday.com/women-vietnam-ceo/

อ้างอิง – Credit Suisse, BBC, Bloomberg, WorldBank, งานวิจัยผู้หญิงในเวียดนาม, VNexpress, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

‘ADB’ ชี้ 3 ทางเลือกที่ยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการหญิงในเวียดนาม

นายโดนัลด์ แลมเบิร์ต ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาธุรกิจภาคเอกชนของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้เปิดเผย 3 ทางเลือกให้กับคณะกรรมการธนาคารเกี่ยวกับการส่งเสริมผู้ประกอบการหญิงในเวียดนาม ธุรกิจที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของนั้นกลายมาเป็นตัวเร่งให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเวียดนามมีผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจกว่า 24% อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน ผู้ประกอบการ SMEs ที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจต้องเผชิญกับอุปสรรคทางการเงิน ถึงแม้ว่าผลการดำเนินงานจะคล้ายกับผู้ชายที่เป็นเจ้าของธุรกิจและมีโอกาสต่ำกว่า 10% เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการชายที่ต้องการกู้เงินจากธนาคาร ข้อจำกัดเหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาสำหรับผู้ประกอบการหญิงเท่านั้น แต่สิ่งเหล่านี้กลายมาเป็นปัญหาในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญของธนาคาร ADB ได้เสนอทางเลือก 3 ด้านในการส่งเสริมผู้ประกอบการหญิงในเวียดนาม ได้แก่ 1) กลยุทธ์ เจ้าหน้าที่ธนาคารต้องทำความเข้าใจถึงความต้องการที่แตกต่างกันของผู้ประกอบการหญิง 2) กลยุทธ์ขององค์กรว่ามีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จ 3) ข้อมูลพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ โครงสร้างลูกค้า ฯลฯ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/adb-specialist-proposes-ways-to-empower-women-owned-firms-in-vietnam-post928967.vov

‘เวียดนาม-สหรัฐฯ’ มุ่งสร้างความสัมพันธ์ทางการค้า

การประชุมสุดยอด “The Vietnam-US Business Summit 2022” ว่าด้วยการปรับโฉมอนาคตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในระดับทวิภาคี จะมีขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม และจะหารือเกี่ยวกับวิธีการส่งเสริมการค้าและการลงทุน โดยมีหอการค้าอเมริกันในกรุงฮานอย (AmCham Hanoi) และสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ทั้งนี้ นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ พร้อมที่จะต้อนรับนาย ฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม และผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ โดยประเด็นสำคัญที่จะหารือในครั้งนี้ ได้แก่ การขับเคลื่อนนวัตกรรมในอนาคตผ่านเศรษฐกิจดิจิทัลและส่งเสริมการลงทุนที่ยั่งยืน ตลอดจนการใช้นโยบายเพื่อฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้แล้ว กรมศุลกากร เปิดเผยว่าการส่งออก-นำเข้าของทั้งเวียดนามและสหรัฐฯ มีมูลค่า 111.56 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นราว 21 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับปี 2563 ส่งผลให้สหรัฐฯ เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของเวียดนามที่มีมูลค่าการค้ารวมกันมากกว่า 100 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองจากจีน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-us-seek-to-propel-trade-ties-forward-post928764.vov

 

ทำไมนักลงทุนต่างชาติเลือก ‘เวียดนาม’ แทนตลาดเพื่อนบ้าน?

บริษัทที่ปรึกษา PwC เผยแพร่รายงาน Vietnam Outlook: “โอกาสทางเศรษฐกิจท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19” ระบุว่าหลังจากรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสเป็นเวลานาน เวียดนามยังคงเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตของ GDP ที่ 2.58% ในปี 2564 และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตติดต่อกัน 2 ปีติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม การเติบโตของเศรษฐกิจไม่ได้แสดงถึงผลกระทบจากโควิด-19 ที่แท้จริง เนื่องจากเศรษฐกิจจะฟื้นตัวรูปตัว K โดยภาคเศรษฐกิจสำคัญของประเทศได้รับผลกระทบในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว โรงแรม บริการอาหารและเครื่องดื่มที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ตลอดจนภาคการส่งออก นอกจากนี้ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ส่งผลให้ความสัมพันธ์ทางการค้ากับตลาดโลกดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับตลาดเพื่อนบ้านแล้ว เวียดนามยังคงเป็นจุดหมายปลายทางของห่วงโซ่อุปทานจำนวนมากและคลื่นการย้ายฐานการผลิต

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/business/what-makes-foreign-investors-choose-vietnam-instead-of-neighboring-markets-820867.html

 

‘เวียดนาม’ เผยอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสงครามยูเครน-รัสเซีย

บริษัท Agribank Securities JSC (Agriseco) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมปศุสัตว์เวียดนาม มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบและราคาอาหารสัตว์ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่เกิดความขัดแย้งของสมรภูมิรัสเซีย-ยูเครน โดยประเทศรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีชั้นนำของโลกและอยู่ในอันดับที่ 3 ของผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก ทำให้ระดับราคาสูงขึ้น 17.8% อีกทั้ง ยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดรายใหญ่อันดับที่ 4 ของโลก หรือคิดเป็นสัดส่วน 22% ของอุปทานทั่วโลก ดังนั้นราคาข้าวโพดจึงเพิ่มขึ้น 8.4% นับตั้งแต่เริ่มเกิดสงคราม ทั้งนี้ ตามรายงานของ Agriseco ชี้ว่าความตึงเครียดของสงครามยูเครนและรัสเซีย ส่งผลกระทบอย่างมากต่อราคาอาหารทั่วโลก โดยทั้งสองประเทศมีสัดส่วนการส่งออกข้าวสาลี 29% ของการส่งออกทั่วโลก และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 19% ในขณะที่อุตสาหกรรมปศุสัตว์ในประเทศส่วนใหญ่จะนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ตั้งแต่ข้าวสาลีไปจนถึงธัญพืช ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่าราคาอาหารที่สูงขึ้นจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของธุรกิจปศุสัตว์และอาหารสัตว์ในท้องถิ่น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1161595/russia-ukraine-crisis-hits-local-livestock-industry.html