GDP เมียนมา โดยได้แรงหนุนจากภาคบริการถึง 58%

ระหว่างพิธีเปิดตัวแว็บไซต์เวอร์ชันใหม่ของ Services Trade and Investment Portal-STIP ที่จัดขึ้น ณ กรุงเนปยีดอ เมื่อวานนี้ (25 พ.ค.2565) โดย Dr. Pwint San รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา กล่าวว่า GDP ของประเทศมาจากการค้าบริการคิดเป็นร้อยละ 58 และรั้งอันดับ 4 ของประเทศอาเซียนในปี 2562  ซึ่ง  STIP Web Portal เป็นเว็บไซต์ที่เสนอกฎหมาย กฎและข้อบังคับของของการค้าบริการ และการบังคับใช้ตามพันธสัญญาของเขตการค้าเสรี ไว้ในแพลตฟอร์มเดียว ซึ่งการค้าและการบริการมีบทบาทสำคัญในเมียนมาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสนับสนุนอย่างเต็มที่

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-gets-58-of-gdp-growth-from-services-trade/

สปป.ลาวเล็งปลดล็อกศักยภาพความเชื่อมโยงระดับภูมิภาค

สปป.ลาวไม่เพียงหวังที่จะปลดล็อกศักยภาพของการเชื่อมต่อระดับภูมิภาค แต่ยังมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่ยังส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญอีกด้วย รัฐบาลกำลังพัฒนาเครือข่ายถนนและทางรถไฟสายสำคัญเพื่อเชื่อมต่อลาวกับเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะจีน เวียดนาม และไทย ธนาคารโลกได้เน้นย้ำถึงความท้าทายหลักและการปฏิรูปที่สำคัญบางประการที่จำเป็นสำหรับลาวเพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่โดยเฉพาะจากการเชื่อมต่อที่ดีขึ้นผ่านทางชายแดนและบริการขนส่งมวลชนอย่างรถไฟฟ้าความเร็วปานกลางสปป.ลาว-จีน อีกทั้งธนาคารโลกยังแนะแนวทางปฎิบัติที่สำคัญอีกหลายประเด็นเพื่อทำให้สปป.ลาวเป็นประเทศเศรษฐกิจเชื่อมโยง อาทิ จัดการกับช่องว่างการเชื่อมต่อการขนส่งเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟและลอจิสติกส์ได้เปิดกว้าง การส่งเสริมการขนส่งข้ามพรมแดนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เร่งการปฏิรูปการอำนวยความสะดวกทางการค้าให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นด้วยการกำหนดระบอบการจัดการการผ่านแดนที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laoslook100.php

ราคามันสำปะหลังของกัมพูชา เพิ่มสูงขึ้นในช่วง 4 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไปแล้วมากกว่า 1.8 ล้านตัน ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ตามข้อมูลจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง โดยในจำนวนดังกล่าวแบ่งออกเป็น มันสำปะหลังแห้ง 1.37 ล้านตัน, มันสำปะหลังสด 411,700 ตัน, แป้งมันสำปะหลัง 32,496 ตัน และกากมันสำปะหลัง 6,589 ตัน ซึ่งปัจจุบันราคาของผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลังปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยระหว่าง 20 ถึง 50 เรียลต่อกิโลกรัมในช่วงเวลาดังกล่าว ด้าน Chhim Vachira อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ป่าไม้ และประมงจังหวัดพระตะบอง กล่าวว่า ราคามันสำปะหลังดีกว่าปีที่แล้วโดยเฉพาะราคามันสำปะหลังแห้งที่เพิ่มขึ้นถึง 270 เรียลต่อกิโลกรัม ไปจนถึงมันสำปะหลังสดที่เพิ่มขึ้นกว่า 780-800 เรียลต่อกิโลกรัม ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501082386/cassava-price-rises-in-first-four-months/

1 ปี กัมพูชาปล่อยเงินกู้ประเภทไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันไปแล้ว 38 ล้านดอลลาร์

ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา สถาบันการเงินในกัมพูชาได้ปล่อยเงินกู้รวมจำนวน 38.1 ล้านดอลลาร์ ให้แก่ภาคธุรกิจกว่า 377 แห่ง ในประเทศ โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ตามรายงานของ Credit Guarantee Corporation of Cambodia (CGCC) ซึ่ง CGCC ได้ดำเนินการภายใต้การควบคุมของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง (MEF) โดยได้ออกหนังสือค้ำประกันเงินกู้รวม 377 ฉบับ (LG) ระหว่างเดือนเมษายน 2021 ถึงเมษายน 2022 หลังเปิดพรมแดนหวังกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาฟื้นฟูอีกครั้ง ซึ่งในจำนวนข้างต้นคิดเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) 364 แห่ง และบริษัทขนาดใหญ่ 13 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์หลักสามประการ ได้แก่ เงินทุนหมุนเวียน การลงทุน หรือการขยายธุรกิจ เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501082204/38-million-uncollateralised-loans-released-in-one-year/

‘เวียดนาม’ เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังเกิดโรคระบาด

การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในไตรมาสแรกยังไม่กลับเข้าสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาด แต่ถือว่าตัวเลขสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2563 และ 2564 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของเวียดนามจะอยู่ในอัตราการควบคุมไว้ที่ 1.92% ท่ามกลางราคาสินค้าและวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก แต่ว่าการส่งออกของเวียดนามยังคงสดใส ทำให้ยังคงได้เปรียบดุลการค้า 2.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ประกอบกับรัฐบาลจัดเก็บงบประมาณเพิ่มขึ้น 15.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ รัฐบาลเน้นการจัดการการแพร่ระบาดของเชื้คโรค การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมหลักของประเทศเติบโตได้และการลงทุนด้ายโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของประเทศ อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงอยู่ในความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองทั่วโลกและความอ่อนแอของเศรษฐกิจ ตลอดจนการควบคุมเงินเฟ้อ

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11529202-vietnam-accelerates-post-pandemic-economic-recovery.html

‘เวียดนาม’ เผยเขตเศรษฐกิจในภาคใต้ แม่เหล็กดึงดูดต่างชาติลงทุน FDI

ข้อได้เปรียบหลายอย่างทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมและทรัพยากรมนุษย์ของเวียดนาม หลังจากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้แล้ว เขตเศรษฐกิจในภาคใต้ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนชั้นนำของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) โดยกิจการอย่างแพนดอร่า “Pandora” ผู้ผลิตเครื่องประดับสัญชาติเดนมาร์ก ประกาศว่าจะลงทุนก่อสร้างโรงงานใหม่ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม VSIP (Vietnam Singapore Industrial Park) จังหวัดบิน เยือง ภาคใต้ของประเทศ ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) สาเหตุสำคัญที่กิจการเข้ามาลงทุนในครั้งนี้เนื่องมาจากความพร้อมด้านทักษะของแรงงาน โครงสร้างพื้นฐานและสนามบิน ทั้งนี้ ตามรายงานของคณะกรรมการประชาชนประจำจังหวัด เปิดเผยว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ จังหวัดบิน เยือง (Binh Duong) ดึงดูดเม็ดเงินทุนกว่า 2.35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีจำนวนโครงการใหม่ 16 โครงการ และโครงการปัจจุบัน 9 โครงการจากจำนวนกิจการรวมทั้งสิ้น 53 แห่ง ในขณะเดียวกัน ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงวันที่ 20 เม.ย. นครโฮจิมินห์ได้ดึงดูดเม็ดเงินทุนได้แล้วกว่า 1.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 12.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/key-southern-economic-region-a-magnet-for-fdi/229153.vnp

ยอดจำหน่ายข้าวสาลีในตลาดมัณฑะเลย์ พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว

ผู้ค้าธัญพืชและถั่ว เผย ทุกวันนี้ข้าวสาลีเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดมัณฑะเลย์ ทำให้ราคายังพุ่งขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยราคาเมื่อเดือน ม.ค.65 ที่ผ่านมาราคาอยู่ที่ 90,000 จัตต่อถุง (สามตะกร้า) แต่เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาราคาพุ่งขึ้นเป็น 125,000 จัตต่อถุง ซึ่งข้าวสาลีเป็นพืชที่นิยมบริโภคสูงเป็นอันดับ 2 ในประเทศรองจากข้าว โดยปกติแล้วเมียนมาจะอาศัยการนำเข้าเป็นหลัก เพื่อเป็นการลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ ผู้ค้าข้าวสาลีจึงแนะนำให้เกษตรเพิ่มพื้นที่ในการเพาะปลูกให้มากขึ้นและปรับปรุงกระบวนการการผลิต เพราะการบริโภคข้าวสาลีในประเทศก็เพิ่มขึ้นทุกปีและกลายเป็นพืชผลสำคัญชนิดหนึ่งหนึ่งของประเทศ ทั้งนี้ เมียนมาสามารถปลูกข้าวสาลีได้ปีละครั้ง และพบได้ทั่วไปในรัฐฉานทางตอนใต้และตอนเหนือ รัฐชิน และรัฐกะยา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mandalay-market-sees-brisk-sales-of-wheat-crops/#article-title

รัฐบาลสั่งดำเนินการอำนวยความสะดวกทางการค้า กระตุ้นการขนส่งและการส่งออก

รองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการที่ดูแลการอำนวยความสะดวกทางการค้า ลงนามคำสั่งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรับปรุงขั้นตอนเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและเร่งรัดการขนส่งสินค้าและการส่งออกสินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ไม้และผลิตภัณฑ์จากป่าที่ไม่ใช่ไม้ และแร่ธาตุ ดร.ซนไซ สิภาโดน แนะนำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดกฎระเบียบที่ชัดเจนและคล่องตัว เพื่อลดขั้นตอนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและลดการใช้จ่าย ซึ่งจะทำให้การขนส่งสินค้าเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม การขนส่งพืชผลทางการค้า เช่น ข้าว กาแฟ ถั่ว มันสำปะหลัง ข้าวโพดหวาน ผลไม้ และผัก ไม่จำเป็นต้องให้ผู้ขนส่งต้องขออนุญาตจากทางการอีกต่อไป ซึ่งหมายความว่าสามารถขนส่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เพื่อความคล่องตัว การปรับปรุงวิธีการและกฎระเบียบต่างๆ เป็นไปเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการค้าสอดรับกับการเติบโตของประเทศและการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt99.php

คาดราคาข้าวในกัมพูชาพุ่งสูงขึ้น

คาดราคาข้าวสารในกัมพูชาอาจจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 20 ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เนื่องจากสงครามระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน ที่ยืดเยื้อ และต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตข้าวที่สูงขึ้น ด้าน Lun Yeng เลขาธิการสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) กล่าวถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ระหว่างร้อยละ 10-20 ของราคาปัจจุบัน หลังจากราคาน้ำมันเบนซินและปุ๋ยยังเป็นปัจจัยผลักดันให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงสต็อกข้าวสารในตลาดต่างประเทศกำลังลดต่ำลง เนื่องจากการผลิตลดลงจากเหตุผลข้างต้น โดยราคาข้าวพรีเมียมของกัมพูชาในปัจจุบันอยู่ที่ 840 ดอลลาร์ต่อตัน ด้าน CRF ก็ได้พยายามอย่างมากในการกระตุ้นการส่งออกข้าวไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะยุโรป แม้ว่าค่าขนส่งจะสูงขึ้นก็ตาม โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2022 กัมพูชาส่งออกข้าวมากกว่า 220,000 ตันไป ยังตลาดต่างประเทศ โดยมีรายได้มากกว่า 139 ล้านดอลลาร์ รายงานโดย CRF นอกจากนี้ กัมพูชายังได้ส่งออกข้าวเปลือกปริมาณรวมกว่า 1.6 ล้านตัน ในช่วงเวลาเดียวกันไปยังเวียดนาม สร้างรายได้ 376.6 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501081588/rice-price-expected-to-go-up/

กัมพูชา-เมียนมา เร่งเจรจาข้อตกลงทางการค้า 2 ฉบับ

เมียนมาและกัมพูชาเร่งการเจรจาร่างข้อตกลง 2 ฉบับ เพื่อยกระดับความร่วมมือทางด้านการค้า โดย Pan Sorasak รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างกัน ภายใต้กรอบระดับภูมิภาคและทวิภาคีที่มุ่งเพิ่มปริมาณการค้าและส่งเสริมการฟื้นทางเศรษฐกิจ ซึ่ง Aung Naing Oo รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเมียนมา เห็นด้วยกับความร่วมมือที่จะเกิดขึ้น หลังเห็นถึงความสำคัญของข้อตกลงที่ผ่านมา โดยเฉพาะครั้งล่าสุดของกัมพูชาที่ได้ทำข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีกับจีนและเกาหลีใต้ ซึ่งการเจรจาร่างข้อตกลงการลงทุน กัมพูชา-เมียนมา และข้อตกลงการยกเว้นภาษีระหว่างสองประเทศกำลังอยู่ในกระบวนการ โดยปริมาณการนำเข้าและส่งออกของกัมพูชาไปยังเมียนมาร์ในปี 2020 อยู่ที่ 24.93 ล้านดอลลาร์ และ 3.27 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ ลดลงเล็กน้อยจากปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501081773/myanmar-cambodia-expedite-talks-on-two-trade-cooperation-deals/