ประตูชายแดนเวียดนาม-ลาว กลับมาเปิดดำเนินการหลายแห่ง หลังโควิด-19 บรรเทาลง

ประตูชายแดนระหว่างเวียดนาม-ลาว ได้แก่ ด่านลาวบ๋าว (Lao Bao), ด่านสากลลาไล้ (La Lay) และด่านนามเกิ่น (Nam Can) กลับมาเปิดให้บริการตามปกติเมื่อวันที่ 9 พ.ค. โดยด่านลาวบ๋าวในจังหวัดกว๋างจิ คนขับรถบรรทุกจากเวียดนามได้แสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อเข้าประเทศสปป.ลาว และการเปิดประตูชายแดนอีกครั้ง จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้คนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ การยกเลิกคำสั่งเปลี่ยนคนขับยังช่วยลดเวลาที่จำเป็นสำหรับพิธีการทางศุลกากรและบรรเทาความแออัดของการจราจรที่หันหน้าไปทางทางหลวงหมายเลข 9 ใกล้ประตูชายแดนลาวบ๋าว อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าตามตามชายแดน คาดการณ์ว่าการเดินทางเข้า-ออกตามด่านพรมแดนจะเพิ่มขึ้นอีกมากในอีกไม่กี่วันข้างหน้า

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/many-vietnam-laos-border-gates-reopen-as-pandemic-subsides/

เดือนเม.ย. ของปีงบประมาณ 65-66 ค้าชายแดนเมียนมา-ไทยลดลง 12.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ระบุเดือนเม.ย.2565 ของปีงบประมาณปัจจุบัน 2564-2565 มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างของเมียนกับไทยลดลง 12.798 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าการส่งออกมีมูลค่ากว่า 240.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้ากว่า 92 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่ารวม 332.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ผ่านมา มีมูลค่าสูงถึง 345.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยผ่านด่านชายแดน 7 แห่ง ได้แก่ ชายแดนท่าขี้เหล็ก เขตการค้าเมียวดี ชายแดนเมียวดี ชายแดนคอทุ่ง ชายแดนตีกี และชายแดนมะริด โดยเมียนมาส่งออกข้าวโพดไปไทยผ่านชายแดนเมียวดีและท่าขี้เหล็ก นอกจากนี้ การส่งออกก๊าซธรรมชาติจากเขตตะนาวศรีมีส่วนทำให้การค้าชายแดนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้เมียนนมาส่งออกก๊าซธรรมชาติ สินค้าประมง ถ่านหิน ดีบุกเข้มข้น (SN ร้อยละ 71.58) มะพร้าว (สด/แห้ง) ถั่ว ข้าวโพด หน่อไม้ งา เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า ไม้อัดและวีเนียร์ ข้าวหัก และสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน อาทิ เครื่องจักร สินค้าวัตถุดิบอุตสาหกรรม อาทิซีเมนต์และปุ๋ย และสินค้าอุปโภคบริโภค อาทิเครื่องสำอาง น้ำมันพืช และผลิตภัณฑ์อาหารจากไทย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-thailand-border-trade-down-by-12-79-mln-in-april/

โอกาสทางอาชีพ “ค่ายในฝันสู้คนตกงาน”

บริษัทจัดหางาน 108Jobs ซึ่งเป็นช่องทางการหางานที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในสปป.ลาว เฉลิมฉลองการครบรอบ 10 ปีในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมาและได้เปิดตัว 108M-Lab ซึ่งเป็นแล็บนวัตกรรมทางสังคมและการจ้างงาน ห้องปฏิบัติการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อขจัดปัญหาการว่างงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยาวชน ในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน 2565 ได้เปิดตัวโครงการแรกที่เรียกว่า Occupational Opportunities (O2) เพื่อฝึกอบรมและฝึกสอนกลุ่มพนักงานขายหน้าใหม่ซึ่งมีเป็นแรงงานที่มีความต้องการสูงในตลาด โครงการ O2 มุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาความไม่ตรงกันของทักษะสำหรับทั้งผู้หางานและนายจ้างในตลาดงาน เช่น ทักษะการขายและทักษะด้านดิจิทัล ทั้งสองทักษะเป็นที่ต้องการอย่างมาก แต่มีการฝึกอบรมในสถาบันการศึกษาอย่างเป็นทางการต่ำ ปัจจุบัน 108Jobs และกลุ่มธุรกิจในเครือกำลังทำงานอย่างเต็มที่เพื่อส่งเสริมการจ้างงานและการสร้างงานมากขึ้นผ่านห้องปฏิบัติการนวัตกรรมทางสังคมที่ก่อตั้งขึ้นใหม่: 108M-Lab เพื่อสังคมสปป.ลาวที่ขึ้นทั้งในแง่ของทุนมนุษย์เพื่อพัฒนารวมถึงกรลดอัตราการว่างงานระบบเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Occupational89.php

กัมพูชา ศรีลังกา วางแผนส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวระหว่างกัน

กัมพูชาและศรีลังกาลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ปูทางให้ทั้งสองฝ่ายส่งเสริมเที่ยวบินตรงและการแลกเปลี่ยนด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน ซึ่งในพิธีลงนามนำโดยนาย Thong Khon รัฐมนตรีกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา โดยปัจจุบันยังไม่มีเที่ยวบินตรงระหว่างสองประเทศ ซึ่งหากนักท่องเที่ยวชาวศรีลังกาต้องการเดินทางมายังกัมพูชาจำเป็นต้องเดินทางมาเปลี่ยนเครื่องยังประเทศไทย มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ ก่อนที่จะเดินทางมาถึงกัมพูชา จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะจัดเที่ยวบินตรง ควบคู่ไปกับกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงศาสนาในอนาคตต่อไป โดยในปัจจุบันกัมพูชาได้ให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างน้อยหนึ่งโดสให้แก่ประชาชนเกือบ 15 ล้านคน หรือร้อยละ 93.7 ของประชากร 16 ล้านคน รายงานโดยกระทรวงสาธารณสุขกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501073247/cambodia-sri-lanka-to-promote-tourism-cooperation/

กัมพูชาเปิดใช้งานโรงไฟฟ้า 3 แห่ง มูลค่าลงทุนรวม 90 ล้านดอลลาร์

กระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกัมพูชา เปิดสถานีสายส่งไฟฟ้าย่อยและเครือข่ายในจังหวัดเกาะกง กัมปงจาม และกระแจะ ซึ่งสร้างขึ้นภายใต้กรอบของโครงการร่วมกับสำนักงานพัฒนาฝรั่งเศส (AFD) โดยโครงสร้างพื้นฐานด้านการส่งและจำหน่ายไฟฟ้า จะทำให้ระบบส่งกำลังในภาคตะวันตกและภาคใต้ของกัมพูชามีความเสถียรมากยิ่งขึ้น ภายใต้ความยั่งยืนทางด้านพลังงานภายในประเทศ ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาได้ลงนามข้อตกลงกับรัฐบาลฝรั่งเศสในการขอสัมปทานเงินกู้มูลค่า 70 ล้านดอลลาร์ และเงินช่วยเหลือ 1 ล้านดอลลาร์ จากสหภาพยุโรปสำหรับการก่อสร้างผ่าน AFD และ Electricité du Cambodge (EDC) มอบเงินบริจาค 15.41 ล้านยูโร (ประมาณ 15.9 ล้านดอลลาร์) เพื่อดำเนินโครงการขยายโครงข่ายส่งและจำหน่ายไฟฟ้าในสามจังหวัด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501073276/90-million-worth-electricity-transmission-and-distribution-infrastructure-in-three-provinces-inaugurated/

สหรัฐผนึกอาเซียน ฟื้นเศรษฐกิจ-พัฒนายั่งยืน

ท่ามกลางวิกฤติซ้ำวิกฤติที่ทุกประเทศเผชิญอยู่ทั้งโรคระบาดโควิด-19 และผลกระทบจากสงคราม ความร่วมมือกันระหว่างประเทศต่างๆ น่าจะเป็นทางออก หรือ บรรเทาผลจากวิกฤติต่างๆ ได้ โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีกำหนดการเดินทางเยือนกรุงวอชิงตัน สหรัฐ ระหว่างวันที่ 12-13 พ.ค. 2565 ตามคำเชิญของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐ สมัยพิเศษ ครั้งที่ 2 (ASEAN-U.S. Special Summit) ร่วมกับผู้นำอาเซียนชาติต่างๆ ด้าน ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การหารือกับผู้นำและผู้แทนระดับสูงของสหรัฐ เพื่อผลักดันความร่วมมือการขับเคลื่อนการฟื้นฟู และการเติบโตอย่างยั่งยืนของภูมิภาค รวมทั้งเป็นโอกาสให้พบกับภาคเอกชนสหรัฐเพื่อย้ำความพร้อมของไทยในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจและเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ย้ำความพร้อมของไทยในการเป็นห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็งกับสหรัฐ ด้านสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในด้านเศรษฐกิจ สหรัฐเป็นคู่ค้าสำคัญของประเทศไทย การเดินทางของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาชาติ ได้ทราบถึงแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจในอนาคต เพื่อการเป็น Regional Hub ทางเศรษฐกิจของภูมิภาค รวมถึงโปรโมท โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพิ่มเติม

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/1003673

กัมพูชาวางแผนเพิ่มการส่งออกกล้วยไปยังเกาหลีมากขึ้น

นักธุรกิจกัมพูชาและเกาหลีใต้ ร่วมหารือถึงความเป็นไปได้ในการส่งออกกล้วยสดของกัมพูชาไปยังเกาหลีใต้ในปีนี้ หลังได้รับสัญญาณเชิงบวกจากตลาด โดยตัวแทนของสมาคมผู้นำเข้าแห่งเกาหลีและผู้ส่งออกในท้องถิ่น Longmate Agriculture ได้หารือถึงความเป็นไปได้ที่จะทำการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นทุนการขนส่ง การผลิต และการตลาด ก่อนที่จะตัดสินใจขยายการผลิตเพื่อการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังเกาหลี ซึ่งตามรายงานของกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง การส่งออกกล้วยสดของกัมพูชาไปยังจีนลดลงร้อยละ 13 มาอยู่ที่ 98,530 ตันในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว จะเป็นจุดสำคัญที่ทำให้กัมพูชาต้องเร่งหาตลาดแหล่งใหม่เพื่อรองรับกับผลผลิตกล้วยที่อาจจะมีแนวโน้มการส่งออกไปยังจีนที่ลดลง โดยตลาดเกาหลีถือเป็นตลาดในอนาคตที่น่าสนใจ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501071993/cambodia-optimistic-about-banana-exports-to-korea/

เปิดพรมแดนกระตุ้นการท่องเที่ยว กัมพูชา-ไทย-เวียดนาม

หลังจากที่รัฐบาลไทยอนุญาตให้เปิดพรมแดนระหว่างกัมพูชาอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สมาคมและบริษัทเอกชนหลายแห่งในภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชา ไทยและเวียดนาม ได้ร่วมมือกันวางแผนกระตุ้นการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวอีกครั้ง โดยในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมสมาชิกในสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (PATA) ได้ร่วมหารือระหว่างกัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจ เกี่ยวกับการเดินทาง ตลอดจนการจัดทำเอกสาร ณ ด่านตรวจชายแดนทั้งฝั่งกัมพูชาและไทย โดยคาดว่าการไหลของนักท่องเที่ยวทางบกจะเพิ่มสูงมากยิ่งขึ้นหากฝ่ายไทยผ่อนคลายเงื่อนไขหรือเอกสารบางอย่าง ซึ่งปัจจุบันข้อกำหนดจากฝั่งไทยยังคงไม่แน่นอนในหลายประเด็น ในขณะที่ทางฝั่งกัมพูชารายงานว่าได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ อย่างนครวัดมีจำนวนนักท่องเที่ยวพุ่งสูงขึ้นกว่าร้อยละ 622 หรือเป็นจำนวน 33,205 คนในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ สร้างรายได้ประมาณ 1.35 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในเดือนเมษายนเพียงเดือนเดียว มีนักเดินทางมาเยือนถึง 13,365 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501072171/border-opening-boost-tourism-among-cambodia-thailand-vietnam/

กระทรวงการวางแผน ADB ประเมินความร่วมมือด้านต่างๆ

สปป.ลาวกำลังทำงานร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เพื่อบรรลุ 24 โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารด้วยเงินมากกว่า 829 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงเงินกู้มูลค่า 470.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินช่วยเหลือมูลค่า 358.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ความร่วมมือระหว่างสปป.ลาวและ ADB เกิดขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระยะยาว 5 ปีตั้งแต่ปี 2560-2564 และแผนธุรกิจ Country Operations Business Plan ซึ่งจะมีการทบทวนทุก 3 ปี นอกจากนี้ สำนักงาน ADB ได้ดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของประเทศเพื่อประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเพื่อเป็นพื้นฐานในการจัดสรรงบประมาณสำหรับแต่ละภาคส่วนอย่างเหมาะสม แนวทางการกำกับของ ADB เป็นเพื่อนำพาสปป.ลาวสู่ความสำเร็จทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจโดยมีแบบแผนและกลยุทธ์ที่สำคัญ ตามกรอบแนวทางที่ ADB เป็นผู้วางและติดตาม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten88_Planning.php

‘พาณิชย์’ ดึงญี่ปุ่นลงทุนไทยชูใช้สิทธิ ‘FTA-RCEP’ ปักหมุดอุตสาหกรรม BCG

นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ ประธานเปิดงานสัมมนาเชิงนโยบาย “ความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้ามิติใหม่ ไทย – ญี่ปุ่น” โอกาสฉลองครบรอบ 135 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – ญี่ปุ่น ว่า ได้มีการแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องนโยบายและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างกัน ในมิติใหม่ที่สอดรับกับสถานการณ์โลกหลังวิกฤตโควิด-19 โดยมีเป้าหมายส่งเสริมอุตสาหกรรมของกลุ่มเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ พลังงานสะอาด สุขภาพและการแพทย์

ทั้งนี้ ไทยมีความตกลงการค้าเสรีกับญี่ปุ่น ได้แก่ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน – ญี่ปุ่น (AJCEP) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก

ที่มา : https://www.thaipost.net/economy-news/138495/