10 อันดับตลาดนำเข้ายางพารารายใหญ่ ของ ‘เวียดนาม’

จากข้อมูลของศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศ (ITC) เปิดเผยว่าภาวะการนำเข้ายางพารา (Rubber) ของตลาดสำคัญในปี 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะตลาดที่มีมูลค่าการนำเข้าสูง ได้แก่ มาเลเซีย อินเดีย ตุรกี บราซิลและสหรัฐฯ ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 จีนยังคงเป็นตลาดนำเข้ายางพาราใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยมูลค่า 11.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.2%YoY โดยเวียดนามมีส่วนแบ่งการตลาดยางพารา 17.7% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดจากจีนในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 15.5%YoY ในขณะที่ตลาดยางพาราของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วน 9.4% ของมูลค่าการนำเข้ายางพาราทั้งหมดจากกลุ่มประเทศในอาเซียน เพิ่มขึ้น 6.9%YoY นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าการนำเข้ายางพาราของเวียดนามจาก 10 ตลาดนำเข้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกทั้งหมด มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับปี 2563

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/10-biggest-rubber-import-markets-increase-purchase-of-vietnamese-rubber-post922643.vov

‘Fitch Ratings’ ประเมินเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในปี 65

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch Ratings เปิดเผยรายงานพบว่าระดับการฉีดวัคซีนในประเทศที่เพิ่มขึ้น ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงที่การระบาดจะมีผลต่อการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในอนาคต อย่างไรก็ตามสถานการณ์ยังคงอยู่ในความไม่แน่นอน โดยเฉพาะจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในปี 2564 ขยายตัว 2.6% ซึ่งเติบโตต่ำกว่าที่สถาบันฯคาดการณ์ไว้ที่ 7% เมื่อเดือนเม.ย.64 รวมถึงได้ประกาศอันดับเครดิตของเวียดนามที่ ‘BB’ และมีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวม ทั้งนี้ สถาบันฯ Fitch มองว่าปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า GDP Q3/64 หดตัวลง 6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เป็นผลมาจากรัฐฯ ควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเมื่อตั้งแต่ครั้งก่อน โดยภาครัฐได้ปรับแนวนโยบายจาก “ZERO COVID” ให้ทำการปรับแบบยืดหยุ่น เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamese-economy-to-recover-fast-in-2022-fitch-ratings/221688.vnp

ศรีลังกานำเข้าข้าวกว่า 100,000 ตัน จากเมียนมา

กระทรวงการค้าของศรีลังกา เผย ได้ตัดสินใจนำเข้าข้าวขาว 100,000 ตันจากเมียนมาเพื่อควบคุมราคาข้าวที่พุ่งขึ้นในประเทศ โดยราคาการนำเข้าราคา 445 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ผ่านบริษัท Sri Lanka State Trading (General) Corporation และมีแผนจะนำเข้าข้าวครั้งละ 20,000 ตัน จากการให้ข้อมูลของกระทรวงฯ พบว่าการนำเข้าข้าวในศรีลังกามักจำกัดไว้เพียงปริมาณเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวบาสมาติ

ที่มา:https://english.news.cn/asiapacific/20220207/4b0782f17ce940e998054617832c610a/c.html

4 เดือนของงบประมาณฯ สิงคโปร์นำโด่งเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดของเมียนมา

จากข้อมูลคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท ( DICA) พบว่า สิงคโปร์กลายเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเมียนมาในช่วงสี่เดือนของบประมาณปัจจุบัน (2564-2565) ซึ่งเริ่มในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว โดยดึงดูดเงินลงทุนกว่า 506 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากวิสาหกิจต่างชาติที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาลงทุนในประเทศ ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 64 ถึงวันที่ 31 ม.ค. 65 ภาคบริการครองอันดับหนึ่งของเงินลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุดด้วยเงินลงทุนกว่า 206 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  รองลงมาคือภาคการผลิตมีมูลค่าการลงทุนกว่า 114 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และภาคการก่อสร้าง 65 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสิงคโปร์เป็นผู้นำด้านการลงทุนด้วยเม็ดเงินกว่า 275 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ในปีงบประมาณที่แล้ว เมียนมาได้รับเงินลงทุนในประเทศกว่า 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://english.news.cn/asiapacific/20220207/812846d52591466085c5fa7840faf7a1/c.ht

กสิกรฯฟันธงบอร์ดกนง. คงดอกเบี้ย ไว้ที่เดิม 0.50%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 9 ก.พ. 2565นี้ กนง. จะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโอมิครอนในระดับหนึ่ง แต่คาดว่าผลกระทบจะมีจำกัดและน้อยกว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ก่อนหน้า นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นนั้นเกิดจากปัจจัยด้านอุปทานที่ตึงตัวเป็นหลัก ซึ่งการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอาจไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้อย่างตรงจุดเท่าใดนัก คาดว่าจะยังไม่พิเลือกใช้นโยบายการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดกันเงินเฟ้อตามทิศทางธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก

ที่มา: https://www.naewna.com/business/633909

หอการค้าแนะขยายช้อปดีมีคืน เพิ่มเงินคนละครึ่ง สู้วิกฤตของแพง

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สิ่งที่หอการค้าไทยอยากส่งสัญญาณไปยังรัฐบาล เพื่อให้ช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจในระยะสั้นนี้ คงต้องเน้นไปที่การลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลและแก๊สหุงต้ม เพื่อไม่ให้กระทบต่อต้นทุนการผลิต และจำเป็นต้องจัดแพคเกจมากระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption ) ในระยะสั้นนี้ควบคู่กันไปด้วยส่วนมาตรการเสริมกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจ คือ โครงการคนละครึ่ง ซึ่งที่ผ่านมาเฟส 4 ได้อนุมัติเงินเพิ่มเติมเป็นคนละ 1,200 บาท ซึ่งมองว่าน้อยเกินไป และควรพิจารณาเฟส 5 เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อให้เกิดขึ้นต่อเนื่องด้วย ส่วนโครงการช๊อปดีมีคืน ที่ได้เริ่มต้นเมื่อ 1 มกราคม และจะสิ้นสุดใน 15 กุมภาพันธ์นี้ จึงเสนอขยายเวลาช๊อปดีมีคืนออกไป รวมถึงพิจารณาเพิ่มวงเงินให้ด้วย

ที่มา : https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3170849

‘เวียดนาม’ เผย 1-3 ก.พ. ส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีน 287 ตัน ทะลุชายแดนหล่าวกาย

เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีน ปริมาณกว่า 287 ตัน ผ่านด่านชายแดน Kim Thanh ในจังหวัดหล่าวกาย (Lao Cai) ที่มีพรมแดนติดกับจีน เมื่อเทศกาลตรุษจีน (1-3 ก.พ.) ปริมาณดังกล่าว มีจำนวนแก้วมังกร 38 ตัน, แตงโม 66 ตัน และกล้วย 183 ตัน ในขณะเดียวกัน ผลผลิตทางการเกษตรของจีน ปริมาณราว 877 ตันที่นำเข้ามายังเวียดนาม โดยในช่วงเวลาดังกล่าว มีผู้ขนส่งและผู้ช่วยขับรถมากกว่า 200 คน เกิดหยุดชะงักที่ประตูชายแดน Kim Thanh ส่วนใหญ่ขนส่งสินค้าเกษตรจากจังหวัดในภาคใต้

อย่างไรก็ตาม ตามรายงานทางสถิติของกรมศุลกากร เปิดเผยว่ามูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวมทั้งสิ้นที่ผ่านด่านชายแดน อยู่ที่ 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว รายได้จากการส่งออก 768,000 เหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-exports-287-tonnes-of-farm-produce-to-china-through-lao-cai-from-feb1-3-post922349.vov

‘ศก.เวียดนาม’ กลับมาฟื้นตัว

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ในปีที่แล้ว ส่งผลชะลอตัวการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงสร้างผลกระทบต่อการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานโลก ทำให้ราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น นับว่าเป็นความท้าทายครั้งสำคัญของการผลิตและการดำเนินธุรกิจในหลายๆ ประเทศทั่วโลก

คุณ เหงียน ถิ เฮือง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม กล่าวว่า GDP ของเวียดนามในปี 2564 ขยายตัว 2.58% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นผลมาจากผลกระทบทางลบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมในไตรมาสที่ 3/64

ทั้งนี้ คุณ Jacques Morisset หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์และหัวหน้ากลุ่มโครงการของธนาคารโลกประจำเวียดนาม กล่าวว่าเวียดนามกำลังเผชิญกับอุปสรรคหลายประการในการกลับมาเริ่มต้นฟื้นฟูเศรษฐกิจอีกครั้ง หลังจากเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม มีสัญญาเชิงบวกจากเดือนสุดท้ายของปี 2564 ที่บ่งชี้ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและจะกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11135102-vietnamese-economy-on-the-rebound.html

งานหัตถกรรมไม้เริ่มเป็นที่นิยมอย่างมากในเมียนมา

งานหัตถกรรมไม้เหล่านี้มีการผลิตและจำหน่ายในราคาถูกในตลาด
ท้องภายใยนประเทศ ราคาของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทมีราคา
ตั้งแต่ 1,000 ล้านจัต ปัจจุบันการค้าขายผ่านระบบออนไลน์ใน
ประเทศเริ่มเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก ปัจจุบันยอดขายถาดรองอาหาร
ออนไลน์เริ่มเป็นนิยมในต่างประเทศ ยอดขายในท้องถิ่นส่วนใหญ่จะ
เป็นบาตรที่ใช้สำหรับพระไว้บิณฑบาต งานหัตถกรรมของเมียนมาที่
ทำจากไม้และสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นที่นิยมอย่างมากในขณะนี้
นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะจัดงานแสดงและขายงานหัตถกรรมจาก
ผู้ค้าในท้องถิ่นอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-wooden-handicrafts-marketable-at-domestic-market/#article-title

การค้าระหว่าง กัมพูชา-เกาหลีใต้ มูลค่าแตะ 965 ล้านดอลลาร์ ในปี 2021

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้มูลค่าแตะ 965 ล้านดอลลาร์ ในปี 2021 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยสมาคมการค้าระหว่างประเทศของเกาหลี ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังเกาหลีใต้มูลค่าแตะ 341 ล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ในทางกลับกันกัมพูชานำเข้าสินค้าจากเกาหลีใต้มูลค่า 623 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยกัมพูชาส่งออกรองเท้า เครื่องแต่งกาย สินค้าเพื่อการเดินทาง เครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยาง ยา และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเป็นหลัก ซึ่งกัมพูชานำเข้ายานพาหนะ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ในครัว เครื่องดื่ม ยา และผลิตภัณฑ์พลาสติกสำเร็จรูปเป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501019818/cambodia-korea-trade-tops-965-million-in-2021/