ส่งออกข้าวเมียนมาสร้างรายได้กว่า 642 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบฯ ปัจจุบัน

ข้อมูลของกรมศุลกากรเมียนมา เผย รายได้จากการส่งออกข้าวและข้าวหักในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) ของปีงบประมาณ 2563-2564 มุมูลค่าถึง 642.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีปริมาณการส่งออก 1.2 ล้านตัน แม้การค้าชายแดนจะซบเซา แต่ราคายังคงที่ในตลาดส่งออกชายแดน จากข้อมูลของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) พบว่า ราคาข้าวขาวอยู่ในช่วง 375-405 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ข้าวเหนียวราคา 600-610 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และข้าวหักอยู่ที่ 300-335 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน  ในปีนี้ การส่งออกไปยุโรปลดลง อย่างไรก็ตาม ยังสามารถที่จะส่งออกไปจีนและบังคลาเทศได้ ราคาข้าวหลักอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นตั้งแต่เดือนพ.ค. นอกจากนี้ มาตรการป้องกันแพร่ระบาดของ COVID-19 และภัยธรรมชาติส่งผลกระทบต่อราคา แต่คาดว่าจะยังคงทรงตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ส่วนข้าวคุณภาพสูงยังเป็นที่ต้องการในประเทศ ราคาจะอยู่ระหว่าง 36,000-68,000 จัตต่อถุง ส่วนข้าวคุณภาพต่ำมีราคาอยู่ระหว่าง 23,000 ถึง 28,800 จัตต่อถุง เมียนมากำหนดเป้าการส่งออกข้าวเพียง 2 ล้านตันในปีงบประมาณปัจจุบัน เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวในฤดูร้อนลดลง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อความพร้อมใช้ทรัพยากรน้ำในภาคการเกษตร ทั้งนี้เมียนมามีรายได้กว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวในปีงบประมาณ 2562-2563 ซึ่งก่อนหน้าวันที่ 30 ก.ย.64 คาดว่าจะมีปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 2.5 ล้านตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-rice-export-registers-642-mln-this-fy/#article-title

ปีงบประมาณ 63-64 ไทยขึ้นแท่นคู่ค้าหลักของเมียนมา

จากข้อมูลขององค์การสถิติกลาง (Central Statistical Organization – CSO)  10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) ของปีงบประมาณ 2563-2564 มูลค่าการค้าระหว่างไทยและเมียนมา มีมูลค่า 4.117 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยคู่ค้าสำคัญในภูมิภาค ได้แก่ สิงคโปร์และมาเลเซีย นอกจากนี้ การส่งออกส่วนใหญ่นอกจากไทยแล้วจีนถือเป็นคู่ค้านอกภูมิภาคที่สำคัญของเมียนมา ซึ่งการค้าระหว่างเมียนมาและไทยแบ่งเป็นการส่งออกมีมูลค่ากว่า 2.548 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามีมูลค่ากว่า 1.569 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการส่งออกก๊าซธรรมชาติจากเขตตะนาวศรีส่งผลให้การค้าชายแดนกับไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา และสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ประมง ถ่านหิน ดีบุกเข้มข้น (SN 71.58 เปอร์เซ็นต์) มะพร้าว (สดและแห้ง) ถั่ว ข้าวโพด หน่อไม้ งา เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน เช่น เครื่องจักร สินค้าอุตสาหกรรมดิบ เช่น ซีเมนต์และปุ๋ย และสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น เครื่องสำอาง น้ำมันพืชที่รับประทานได้ และผลิตภัณฑ์อาหาร เมียนมามีการค้าขายชายแดนกับไทยผ่านพื้นที่ชายแดนท่าขี้เหล็ก เมียวดี มะริด มอตอง ตีกี คอทุ่ง และเมเซ ตามลำดับ โดยเมียวดีเป็นชายแดนที่มูลค่าการค้าที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ ตีกี อย่างไรก็ตาม การค้าผ่านชายแดนซบเซาจากวิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้การค้าทางบกลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/thailand-tops-among-trading-partners-in-regional-countries-this-fy/#article-title

‘นครโฮจิมินห์’ อยู่ภายใต้แรงกดดันให้เปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง

นายเหวียน วัน เน็น เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์ กล่าวว่าเมืองโฮจิมินห์อยู่ภายใต้แรงกดดันมหาศาลต่อการเปิดเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งระดับความเลวร้ายของเศรษฐกิจและความทุกข์ยากของประชาชนถึงขีดจำกัดแล้ว เป็นผลมาจากมาตรการล็อกดาวน์ที่ยืดเยื้อ ทำให้เมืองต้องปรับแผนที่จะเปิดเมืองอีกครั้งและใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส ทั้งนี้ ผู้อำนวยการโรงเรียนการนโยบายสาธารณะและการจัดการ กล่าวว่าการเปิดเมือง เพื่อเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่งคงทางสังคมกลายมาเป็นเรื่องเร่งด่วนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากภาคธุรกิจและประชาชน โดยเฉพาะผู้คนยากจนต้องแสวงหาทางรอด ท่ามกลางการล็อกดาวน์

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/hcm-city-under-pressure-to-reopen-economy-municipal-leader-891877.vov

 

คนเวียดนามซื้อของออนไลน์เพิ่มขึ้น ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19

จากการศึกษาของ iPrice เปิดเผยว่าผลการจัดอันดับธุรกิจอีคอมเมิร์ซของเวียดนามเปลี่ยนแปลงไปในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ด้วยจำนวนการค้นหาร้านค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มอย่าง ‘Google’ ที่พุ่งสูงขึ้น ผลการศึกษาดังกล่าว พบว่าร้านค้าปลีกออนไลน์ถือเป็นหมวดหมู่ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส ส่วนหนึ่งมาจากความต้องการเพิ่มขึ้นของร้านค้าออนไลน์ที่ขายสินค้าจำเป็นในช่วงการเว้นระยะทางสังคม ทั้งนี้ จำนวนการค้นหาบนบนแพลตฟอร์ม ‘Google’ ที่เกี่ยวข้องกับร้านค้าปลีกออนไลน์ พุ่งทะยาน 223% ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 จำนวนการค้นหาในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 11 เท่า เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. นอกจากนี้ iPrice พบว่าราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในเวียดนามถูกที่สุดในอาเซียน โดยผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับอาหารสด เครื่องดื่ม สินค้าที่บรรจุเสร็จ ผลไม้และผัก เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamese-consumers-demand-for-shopping-groceries-online-soars-amid-covid19/208202.vnp

 

CBRE เผยมองการลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์เป็นธุรกิจใหม่มาแรงในไทย

ซีบีอาร์อี ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก พบว่าตลาดการลงทุนในดาต้าเซ็นเตอร์ในเอเชียแปซิฟิกสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์จากการซื้อขายโดยตรงรวม 5.9 หมื่นล้านบาท (1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในช่วงครึ่งแรกของปี 64 ขณะที่ความสนใจที่มีต่อตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศไทยมีเพิ่มขึ้นพร้อมกับความท้าทายของผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ในการมองหาแปลงที่ดินที่สามารถตอบสนองความต้องการพิเศษ เช่น การใช้สาธารณูปโภคในปริมาณสูงและการเชื่อมต่อใยแก้วนำแสง

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq03/3257372

‘เวิลด์แบงก์’ ชี้เศรษฐกิจเวียดนามจะฟื้นตัว หลังคลายล็อกดาวน์

Dorsati Madani นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของธนาคารโลก กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะฟื้นตัวจากการเติบโตที่แข็งแกร่งในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ หลังจากผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ถึงแม้ว่าเวียดนามจะเผชิญกับความเสี่ยงทางด้านเศรษฐกิจหลายประการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่เศรษฐกิจเวียดนามก็ได้รับข้อพิสูจน์แล้วว่าเศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นและมีพลวัต ทั้งนี้ เศรษฐกิจเวียดนามจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้หรือไม่ขึ้นอยู่กับการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และการที่วัคซีนมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมาตรการเยียวยาทางการเงินเพื่อช่วยเหลือธุรกิจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์หวังว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะกลับมาฟื้นตัวได้ในอนาคตข้างหน้า อันเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของตลาดสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ จีนและสหภาพยุโรป เป็นต้น

ที่มา : http://baobinhduong.vn/en/vietnam-s-economy-will-recover-after-lockdown-is-lifted-wb-economist-a256151.html

 

‘เวียดนาม’ คาด GDP ปีนี้ โต 3.5-4% หากควบคุมการระบาดได้ภายในเดือน ก.ย.

นาย Nguyen Chi Dung รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวางแผนและการลงทุน กล่าวว่าหากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สามารถควบคุมได้ในเดือนนี้ และเวียดนามจะกลับมาสู่ภาวะปกติใหม่ได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในปีนี้ แตะ 3.5-4% ทั้งนี้ รัฐมนตรีฯ ชี้ว่ามาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ส่งผลกระทบทางลบต่อการผลิต การดำเนินธุรกิจและการจ้างงาน ในขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับสูงสำหรับการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และยังส่งผลกระทบต่อการจดทะเบียนธุรกิจใหม่และการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ การบริโภคสินค้าทางการเกษตรในท้องถิ่นก็เผชิญกับปัญหา รวมถึงราคาอาหารวัวที่ปรับตัวสูงขึ้นก็เป็นอุปสรรคต่อภาคปศุสัคว์ของประเทศ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/minister-predicts-gdp-growth-at-3-5-4-if-pandemic-brought-under-control-in-sept/

 

ถนนเชื่อมมอญ-ตะนาวศรี ยกระดับคมนาคมขนส่งของประเทศ

กรมทางหลวง กระทรวงการก่อสร้างเมียนมา เผย ถนนสายหลักชื่อ Phayagyi-Mawlamyine-Dawei-Myeik-Bokpyin-Kawthoung ซึ่งเชื่อมระหว่างเขตตะนาวศรีและเขตมอญ ได้รับการยกระดับจากความพยายามอย่างต่อเนื่องของเมียนมา ที่ผ่านมาหลายทศวรรษเส้นทางนี้ต้องใช้เรือเร็วเท่านั้น ขณะนี้ถนนสามารถสายนี้สามารถย่นระยะเวลาการสัญจรให้สั้นลง โดยงานก่อสร้างถนนก็กำลังดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดการสะดุด ปัจจุบันคนในท้องถิ่นสามารถเดินทางไปยังเมืองทวาย มะริด และเกาะสองได้อย่างสะดวกง่ายดาย ในทางกลับกัน การพัฒนาและปรับปรุงถนนสามารถสามารถสร้างผลลัพธ์เชิงบวกทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในภาคการศึกษา สาธารณสุข และภาคธุรกิจ ของเมียนมา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/roads-linking-mon-taninthayi-upgraded-for-smoother-transportation/#article-title

อุดมไซ จับตาแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่

เจ้าหน้าที่จาก อ.ไซ ในจังหวัดอุดมไซ วางแผนที่จะเปลี่ยนภูเขาและจุดชมวิวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ตามรายงานของสำนักงานข้อมูล วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวของอำเภอ พื้นที่ในเขต Xay ซึ่งกำลังดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อประเมินความเหมาะสมของพวกเขาในฐานะสถานที่ท่องเที่ยว กรมข้อมูล วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว อุดมไซ มีแผนโฆษณาภูเขาและจุดชมวิวภูหญ้าคา ป่าหินเกตุ (ป่าหินเกตุ) สะพานหิน หินป่าหญ้างูใหญ่ และจุดชมวิวภูเพียง เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม อุดมไซเป็นจังหวัดที่น่าสนใจที่สุดแห่งหนึ่งในลาว ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะดึงดูนักท่องเที่ยวมายังและขับเคลื่อนเศรษฐกิจสปป.ลาวให้ไปข้างหน้า

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Oudomxay182.php

กัมพูชาร้องของการสนับสนุนภาคการเกษตรจากธนาคารโลก

กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงได้ขอความช่วยเหลือจากธนาคารโลก ในการพัฒนาภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการผลิตพืชผักและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งรัฐมนตรี Veng Sakhon ได้ร้องขอในที่ประชุมกับ Maryam Salim ผู้อำนวยการธนาคารโลก ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่ประจำประเทศกัมพูชา โดยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ ขอให้ธนาคารโลกพิจารณาช่วยเหลือการพัฒนาภาคการเกษตรในกัมพูชา ในด้านการสนับสนุนในห่วงโซ่การผลิตผัก ความทันสมัย ​​และการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้วยการเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพและความปลอดภัย และเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่การผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50936038/cambodia-seeking-world-bank-support-for-agriculture/