ตลาดผลไม้มัณฑะเลย์ ยอดขายพุ่ง

ผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเมียนมาเปลี่ยนไป ผลไม้ตามฤดูกาล เช่น ส้มโอ น้อยหน่า สับปะรด เสาวรส อะโวคาโด ส้มเขียวหวาน แอปเปิล ลูกแพร์ ทับทิมโดยถูกนำเข้าจากไทยมากกว่านำเข้าจากจีน ซึ่งมีให้เห็นแล้วในตลาดมัณฑะเลย์ และที่สำคัญคนในพื้นที่ชอบกินผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพกันมากขึ้น โดยปกติตลาดผลไม้ในประเทศจะคึกคักในช่วงเทศกาลทาดิงยุต (Thadingyut) และสงกรานต์ตะจาน (Thingyan) ทั้งนี้ราคาขึ้นอยู่กับขนาดของผลไม้ เช่น น้อยหน่าราคา 100-200 จัต, แอปเปิ้ลราคา 600- 800 จัต, ทับทิมราคา 1,200 จัต, ผลไม้ซันคิสต์ราคา 800 จัต, อะโวคาโดราคา 400 จัต, ลูกแพร์ราคา 1,000-1,200 จัต, สับปะรดราคา 400-500 จัต, ส้มโอไทยราคา 2,500 จัต, ส้มโอเมียนมาราคา 1,000 จัต, ส้มเขียวหวานราคา 500 จัต และเสาวรสราคา 500 จัต ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mandalay-seasonal-fruit-market-records-brisk-sales/

รัฐบาลสปป.ลาวพันธมิตรสำคัญ Star Telecom ในการพัฒนาดิจิทัลในประเทศ

ศูนย์รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร และสตาร์ เทเลคอม (ยูนิเทล) ได้บรรลุข้อตกลงเพื่อเร่งรัดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของรัฐบาลและปรับปรุงเทคโนโลยีดิจิทัลสปป.ลาว ข้อตกลงดังกล่าวลงนามโดยอธิบดีศูนย์รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวง ดร.ทวีศักดิ์ มโนธรรม และรองอธิบดี Star Telecom นายบุญมี มาลาวงษ์ ภายใต้ข้อตกลงนี้ พันธมิตรจะทำการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์เพื่อประยุกต์ใช้กับบริการที่ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชนทั่วไปใช้ พวกเขายังจะทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาแพลตฟอร์มการชำระเงินและการค้าดิจิทัลเพื่อรวมเข้ากับระบบดิจิทัลของรัฐบาลและระบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (แพลตฟอร์มลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์) ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 การจัดการและบริการที่ได้รับการปรับปรุงรวมถึงบริการภาครัฐและสังคมจะมีบทบาทสำคัญในการตอบสนองความต้องการในการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล การร่วมมือดังกล่าวจะนำพาสปป.ลาวไปสู่การพัฒนาที่สำคัญด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govtstar_163.php

ราคาอาหารสัตว์พุ่ง! หนุนราคาสินค้าปศุสัตว์ขยับเพิ่มขึ้น

ราคาสินค้าปศุสัตว์มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากราคาอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งราคาอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยสูงขึ้นจาก 24,000 จัตเป็น 32,500 จัตต่อถุง ทำให้ต้นทุนการผลิตจึงสูงขึ้น ในทำนองเดียวกันราคาวินค้าก็สูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ราคาตกต่ำลงจากการระบาดของโควิด-19  ณ วันที่ 30 ก.ค. 64 ราคาไข่ไก่เพิ่มขึ้นเป็น 130 จัตต่อฟอง ในขณะที่ไข่เป็ดเพิ่มขึ้นเป็น 150 จัตต่อฟอง เหตุที่ราคาสินค้าสูงขึ้นไม่ใช่เพราะผู้ค้าส่ง แต่เป็นเพราะราคาที่เพิ่มขึ้นในตลาดค้าปลีกของท้องถิ่น ราคาผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์มีแนวโน้มสูงขึ้นหากราคาอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการจึงอาจยืนอยู่ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ต่อไปได้ยาก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/livestock-products-prices-likely-to-go-up-as-feed-prices-incessantly-increase/

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เวียดนาม ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ

รายงานจากเว็บไซต์ newswire vendor.com เปิดเผยบทความว่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เวียดนาม ยังคงเติบโตได้ดี แม้ว่าจะได้รับผลกระทบของโควิด-19 บทความดังกล่าวชี้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เวียดนามได้ลงนามความตกลงการค้าเสรีกับประเทศอื่นๆ และนโยบายที่มีความยืดหยุ่น เพื่อจะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติและเปิดโอกาสแก่ผู้ประกอบการ เนื่องจากอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเวียดนาม อีกทั้ง คาดว่าเวียดนามจะเป็นหนึ่งผู้ส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่อันดับที่ 12 ของโลก ประกอบกับยอดการส่งออกเติบโตอย่างต่อเนื่อง มูลค่าเฉลี่ย 12 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ขณะที่การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นราว 2 เท่า ตั้งแต่ปี 2558-2562 นอกจากนี้ เวียดนามได้ลงนามความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม ซึ่งจะสร้างโอกาสอันดีแก่ทั้งสองฝ่าย

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnams-electronics-industry-appeals-to-foreign-investors-entrepreneurcom-884404.vov

ธุรกิจในโฮจิมินห์ปิดตัวลง เหตุขาดแคลนแรงงาน

ธุรกิจหลายแห่งในเมืองโฮจิมินห์ถูกบีบให้ปิดกิจการ เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน ตามข้อมูลของสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) รายงานว่าห่วงโซ่อุปทานการผลิตสิ่งทอของเวียดนาม มีกำลังการผลิตเพียง 10-15% “คนงานหลายพันคนหนีออกจากเมืองหลวง เป็นผลมาจากการระบาดอย่างหนัก ทำให้กิจการเผชิญกับปัญหาเกี่ยวกับการจัดหาคนงานให้กลับมาปฏิบัติงานอีกครั้ง ซึ่งคาดว่ากิจการอย่างน้อย 40% จะเผชิญกับการขาดแคลนแรงงาน” ทั้งนี้ ศูนย์พยากรณ์กำลังคนและแรงงาน เปิดเผยว่าตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงสิ้นปี บริษัทในเมืองโฮจิมินห์ ต้องการแรงงานเพิ่มกว่า 150,000 ตำแหน่ง โดยภาคธุรกิจที่ยังมีความต้องการแรงงานไม่ลดลงในช่วงการระบาดนั้น ได้แก่ พาณิชย์ ไอที เวชภัณฑ์ สิ่งทอและรองเท้า เป็นต้น มีแนวโน้มว่าจะกลับมาฟื้นตัวและต้องการรับคนงานเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1016894/hcm-city-firms-forced-to-close-down-due-to-lack-of-workers.html

กัมพูชาสร้างทางด่วนสายพนมเปญเชื่อมสีหนุวิลล์ แล้วเสร็จแล้วร้อยละ 65

ขณะนี้โครงการก่อสร้างทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์เสร็จสมบูรณ์แล้วร้อยละ 65 รายงานโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งประจำกัมพูชา ในการประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคโครงสร้างพื้นฐานและการบูรณาการระดับภูมิภาค (IRITWG) ซึ่งขั้นตอนการก่อสร้างทางด่วนยังคงดำเนินต่อไปตามแผนที่วางไว้ แม้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากนี้ กระทรวงยังได้ดำเนินการศึกษาการก่อสร้างทางด่วนพนมเปญ-บาเวต อีกด้วย โดยโครงการทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ เปิดตัวเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2019 ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 48 เดือน มูลค่าโครงการรวม 1.9 พันล้านดอลลาร์ มีระยะทางทอดยาวกว่า 190 กิโลเมตร เชื่อมต่อเมืองหลวงของพนมเปญและท่าเรือน้ำลึกในจังหวัดสีหนุวิลล์ ลงทุนโดย China Road and Bridge Corporation (CRBC) ผ่าน Cambodian PPSHV Expressway Co., Ltd.

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50920581/phnom-penh-sihanoukville-expressway-construction-65-percent-completed/

กระทรวงเกษตรกัมพูชา เชิญชวนนักธุรกิจลงทุนแปรรูปลำไยภายในประเทศ

กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง เรียกร้องให้ภาคเอกชนลงทุนในโรงงานแปรรูปลำไย โดยกัมพูชามีพื้นที่ปลูกลำไยทั่วประเทศรวม 8,816 เฮกตาร์ ในขณะเดียวกันก็อยู่ระหว่างการเจรจากับประเทศคู่ค้าเพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออกผลไม้ของกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศมากขึ้น โดยความเคลื่อนไหวในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อขยายตลาดให้รองรับกับผลผลิตของเกษตรกรชาวกัมพูชาที่กำลังประสบกับปัญหาในการขายผลผลิต ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ทราบถึงปัญหาดีจึงเร่งเข้าแก้ปัญหา โดยกล่าวเสริมว่า ลำไยถือเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ต้องมีใบรับรองด้านสุขอนามัย สำหรับการส่งออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศได้หารือกับประเทศผู้นำเข้ารายสำคัญ อาทิเช่น จีนและไทย เกี่ยวกับข้อกำหนดการส่งออกผลไม้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการส่งออกผลไม้ของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50920608/ministry-of-agriculture-calls-for-investments-in-longan-processing/

หนุนคลาย‘ล็อกดาวน์’ หากผู้ป่วยในรพ.ต่ำกว่าแสนราย

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังและอดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต หนุนรัฐบาลคลายล็อกดาวน์ในทุกพื้นที่ให้ประชาชนมีงานทำและธุรกิจมีรายได้ หากผู้ป่วยลดลงมาเหลือต่ำกว่า 100,000 ราย จากปัจจุบันอยู่ที่ 200,339 ราย โดยคาดว่าผู้ติดเชื้อรายวันน่าจะเลยจุดพีคมาแล้วมีสัญญาณดี ส่วนกรณีที่ขยายล็อกดาวน์เพราะตัวเลขติดเชื้อไม่ลดลงไปจนถึงปลายปี 64 -ในช่วงที่รอฉีดวัคซีนต้องภาครัฐควรเตรียมงบประมาณในการเยียวยาธุรกิจและประชาชน ซึ่งควรประกาศและเตรียมเงินงบประมาณไม่ต่ำกว่าอีก 300,000 ล้านบาท ในการล็อกดาวน์ครั้งนี้

ที่มา: https://www.naewna.com/business/596818

CLMVT+Forum 2021 ฟื้นฟูเศรษฐกิจฝ่าโควิด

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจประเทศกลุ่มกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย หรือ CLMVT ในปี 2563 โดยเฉพาะเวียดนาม ไทย และกัมพูชา มีการชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ในขณะที่เศรษฐกิจลาวและเมียนมาเผชิญการหดตัวจากปัจจัยด้านลบรายประเทศด้วย ในปีนี้การฟื้นตัวในภาพรวมจะยังคงเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปและไม่ทั่วถึง โดยจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 และความคืบหน้าของการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศจะต้องอาศัยขนาดและประสิทธิภาพของมาตรการภาครัฐในการบรรเทาผลกระทบจากแผลเป็นทางเศรษฐกิจ (scarring effects) ระหว่างรอการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ภายในภูมิภาค (herd immunity) นับได้ว่า CLMVT Forum เป็นเวทีหารือสำคัญที่รวบรวมสุดยอดผู้นำทางความคิด เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าการลงทุนในภูมิภาค CLMVT ซึ่งเป็นทั้งฐานการผลิตที่เข้มแข็งตลาดที่กำลังเติบโต ประชากรรวมกว่า 244 ล้านคน ให้สามารถฝ่าวิกฤตกลับมาเป็นภูมิภาคแห่งการค้าและการลงทุนที่เข้มแข็งกว่าเดิมได้

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-741200

‘เวียดนาม’ ชี้ธุรกิจเตรียมแผนปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

นาย Tô Hoài Nam รองประธานและเลขาธิการสมาคมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งเวียดนาม (VINASME) กล่าวว่าการระบาดของโควิด-19 ทำให้ธุรกิจเวียดนามต้องปรับตัวหลายอย่างให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน บริษัทส่วนใหญ่จะมีการหมุนเวียนพนักงาน ลดค่าใช้จ่ายและควบคุมต้นทุน นอกจากนี้ ธุรกิจต่างๆ จัดทำแผนการใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและปรับแผนการลงทุนให้เข้ากับสถานการณ์การระบาดของไวรัส ตลอดจนปรับตัวให้ทันต่อพฤติกรรมผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม นาย Trần Thoa รองผู้อำนวยการ บริษัท Thien Tâm Thảo ชี้ว่าการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำเนินธุรกิจของทุกองค์กร และธุรกิจจำเป็นที่จะต้องปรับกลยุทธ์มาช่องทางออนไลน์ที่ผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ซึ่งจะช่วยให้กิจการสามารถรักษารายได้และกำไรต่อไปได้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1015327/enterprises-diversify-plans-to-adapt-to-covid-19-pandemic.html