กัมพูชาส่งออกข้าวลดลงร้อยละ 27 แต่อุปสงค์จากจีนและเวียดนามกลับเพิ่มขึ้น

กัมพูชาส่งออกข้าวไปยังต่างประเทศลดลงร้อยละ 27.3 ในช่วงเดือร ม.ค.-ก.ค. เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร กล่าวว่า การส่งออกลดลงเนื่องจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้นตามมา ซึ่งกัมพูชาส่งออกข้าวสารเกือบ 310,000 ตัน ในช่วงเวลาดังกล่าว สร้างรายได้เกือบ 262 ล้านดอลลาร์ ภายใต้ผู้ส่งออก 58 ราย โดยจีนยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาที่ทำการนำเข้าข้าวกัมพูชาในคิดเป็นเกือบ 154,000 ตัน ซึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามถือเป็นหนึ่งประเทศที่นำเข้าข้าวจากกัมพูชามากที่สุด ซึ่งนำเข้าข้าวมากกว่าปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 81 คิดเป็นมูลค่ากว่า 330 ล้านดอลลาร์ ส่วนทางด้านสหพันธ์ข้าวกัมพูชาได้เรียกประชุมฉุกเฉินเมื่อเดือนที่แล้ว ในการหารือเกี่ยวกับผลกระทบของโควิด-19 ต่อผู้ส่งออกและโรงสี โดยสมาชิกกำลังพยายามหาผู้ซื้อมากขึ้นในจีนและตลาดในภูมิภาคเอเชียอื่นๆ เนื่องจากปัจจุบันกำลังประสบกับปัญหาในการส่งออกข้าวไปยังยุโรป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50907302/rice-exports-plunge-27-percent-but-demand-from-china-and-vietnam-rises/

รัฐบาลกัมพูชาพิจารณาลดโครงการการลงทุนภาครัฐ

รัฐบาลกัมพูชากำลังพิจารณาปรับลดจำนวนโครงการการลงทุนสาธารณะภายใต้งบประมาณภาครัฐ เพื่อรักษาเงินทุนสำหรับใช้ในการต่อสู้กับสถานการณ์การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ลดรายจ่ายลงเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีฮุนเซนกว่าเพิ่มเติมว่าหากในกรณีที่จำเป็น โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับอนุมัติบางโครงการอาจจะถูกยกเลิก เพื่อดำรงเงินทุนไว้สำหรับการตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด-19 โดยปีที่แล้ว รัฐบาลกัมพูชาอนุมัติโครงการลงทุนสาธารณะทั้งหมด 629 โครงการ สำหรับปี 2021-2023 ในจำนวนนี้ 203 โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่มีมูลค่าโครงการรวม 8.397 พันล้านดอลลาร์ และเป็นโครงการใหม่ 426 โครงการที่ต้องใช้เงินทุนถึง 4.399 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50907215/government-considering-reducing-public-investment-projects/

สปป.ลาวรับมอบวัคซีนโควิดครั้งแรกจากอังกฤษ

การส่งมอบวัคซีน AstraZeneca Covid-19 จำนวน 415,000 โด๊สครั้งแรกที่รัฐบาลสหราชอาณาจักร (สหราชอาณาจักร) มอบให้สปป.ลาว ได้มาถึงนครเวียงจันทน์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนความพยายามในการควบคุมการระบาดของโควิด-19 การมาถึงของวัคซีน AstraZeneca ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักรนั้นเหมาะสมมาก เนื่องจากรัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายที่จะฉีดวัคซีนให้กับประชากร 50 เปอร์เซ็นต์ภายในสิ้นปีนี้ การส่งมอบครั้งนี้จะพาเราไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย ปัจจุบันถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในสปป.ลาวจะไม่รุนแรงแต่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลต้องรีบดำเนินการเรื่องการฉีดวัคซีนเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดการระบาดระลอกที่รุนแรง เพราะหากสปป.ลาวเผชิญกับวิกฤตเช่นนั้นจะทำให้ ระบบสาธารณสุขและเศรษฐกิจรับลกระทบอย่างรุนแรงจนนำมาสู่วิกฤตครั้งใหม่ของสปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_receives_149.php

ในช่วง 7 เดือนแรก กัมพูชาส่งออกสินค้าการเกษตรขยายตัวถึงร้อยละ 87

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่ารวมเกือบ 3 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 87 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยกระทรวงเกษตรกัมพูชา โดยคิดเป็นปริมาณของสินค้าเกษตรมากกว่า 5 ล้านตัน ถูกส่งออกไปยัง 64 ประเทศ ทั่วโลก ระหว่างเดือนมกราคมถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม ซึ่งการส่งออกข้าวปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากการขนส่งสินค้าโภคภัณฑ์นั้นลดลงมากกว่าร้อยละ 27 จากสภาวะการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าขนส่งที่สูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการส่งออกที่ไม่ใช่ข้าวกลับปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเกือบร้อยละ 109 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกผลไม้ของกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างมากภายหลังการอนุมัติการจัดส่งผลไม้ไปยังจีนเพิ่มเติมตามข้อตกลงการค้าเสรีเมื่อปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50906370/agricultural-exports-rise-87-in-first-seven-months-despite-rice-shipment-drop/

คาดเศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตร้อยละ 2.5 ในปีนี้

กัมพูชาคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจจะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ในปีนี้ ลดลงจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ได้คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 4 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวรายงานโดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซนในงานแถลงข่าวภายหลังการรณรงค์ฉีดวัคซีนสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้เน้นย้ำถึงภาคส่วนที่สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งการส่งออกข้าวโดยรวมหดตัวลงเล็กน้อย แต่ปริมาณการขนส่งข้าวเปลือกไปยังเวียดนามและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กลับปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 200 รวมถึงการส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 300 พร้อมกับการส่งออกที่เพิ่มขึ้นของมันสำปะหลัง มะม่วง กล้วย และพืชผลเศรษฐกิจตัวอื่นๆ นอกจากนี้ สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ยังได้อนุมัติโครงการลงทุนใหม่ ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวหลังจากทำการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างครบถ้วนตามกำหนด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50906399/cambodias-economy-forecasted-to-grow-by-2-5-percent-this-year/

โลจิสติกส์เวียดนามรั้งอันดับ 3 อาเซียน

ตามการประชุมที่จัดขึ้นโดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เผยว่าการจัดอันดับดัชนีวัดประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ (LPI) ปรากฏว่าเวียดนามอยู่อันดับที่ 39 จาก 160 ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน นาย Tran Quoc Khanh รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ได้กล่าวว่าเวียดนามยังอยู่อันดับท็อป 10 ของตลาดเกิดใหม่ที่มีอัตราการเติบโตราว 14-16% โดยเฉพาะจำนวนธุรกิจโลจิสติกส์ที่เพิ่มขึ้นและการพัฒนางานบริการด้านโลจิสติกส์ สิ่งดังกล่าวเป็นผลมาจากการความพยายามของภาคเอกชนและภาครัฐบาล ทั้งนี้ นาย Tran Thanh Hai รองผู้อำนวยการสำนักงานการค้าต่างประเทศ กล่าวว่าภาคการขนส่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงกิจกรรมการส่งออก-นำเข้า การหมุนเวียนสินค้าและการผลิต

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1001531/viet-nam-ranks-third-in-logistics-performance-index-in-asean.html

เวียดนามเผยยอดจดทะเบียนธุรกิจใหม่ ก.ค. หดตัว

 สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยผลการจดทะเบียนธุรกิจจัดตั้งใหม่ ประจำเดือนกรกฎาคม 2564 พบว่ามีผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่จำนวน 8,740 ราย ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 5.34 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 22.8% และ 25.3% หากเทียบกับเดือนก่อน ตามลำดับ ซึ่งถือว่าตัวเลขข้างต้นนั้น ลดลงอย่างมากนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 ถึงแม้ว่าจะลดลงอย่างมากในเดือนกรกฎาคม แต่ในเรื่องของจำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ยังคงเพิ่มขึ้น 0.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ สถาบันกลางเพื่อการจัดการเศรษฐกิจ (CIEM) ชี้ว่าการระบาดของเชื้อไวรัส ส่งผลกระทบอย่างมากต่อห่วงโซ๋อุปสงค์และอุปทาน ตลอดจนโอกาสการทำธุรกิจ ด้วยเหตุนี้ ทำให้จำนวนผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดลดลง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1001532/newly-established-firms-decreases-in-july.html

ปิดตลาดล่าเสี้ยว หวังหยุดโควิดระบาด

ร้านค้าอย่างร้านขายปลา ร้านเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า และร้านขายของชำอื่นๆ ในตลาดล่าเสี้ยว ทางตอนเหนือของรัฐฉาน จะปิดชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 64 เพื่อลดการแพร่กระจายของโควิด-19 เนื่องจากความแออัดยัดเยียด ซึ่งเกิดจากควบคุมการจราจรในตัวเมือง จากการให้ข้อมูลของเจ้าหน้าที่ การแพร่กระจายของโควิด-19 ในลาเสี้ยวยังมีทีท่าไม่ลดลง ที่ผ่านมาตลาดได้รับอนุญาตให้เปิดอีกครั้งในวันที่ 1 สิงหาคม 64 ตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาด โดยวันที่ 1 สิงหาคม 64 ที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในลาเสี้ยว 1,813 ราย และเสียชีวิต 92 ราย ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

ที่มา: https://news-eleven.com/article/212888

ธพว.อัดฉีดเงินกู้ 1.5 หมื่นล. เติมทุนเสริมสภาพคล่องเอสเอ็มอี

นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเอสเอ็มอีเป็นจำนวนมาก จึงออกมาตรการทางการเงินเสริม ด้วยแพ็กเกจสินเชื่อ “เติมทุน SMEs มีสุข ยิ้มได้”วงเงินรวม 15,000 ล้านบาท ภายใต้ 3 ผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ ได้แก่ “SMEs D เติมทุน” วงเงิน 5,000 ล้านบาท ดอกเบี้ยเริ่มต้น 4% ต่อปี ผ่อนนานถึง 10 ปี  “SMEsมีสุข” วงเงิน 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 5% ต่อปี ผ่อนนานถึง 10 ปี และ “SMEs ยิ้มได้” วงเงิน 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 5.5% ต่อปี ทบทวนวงเงินได้ทุกปี ช่วยเติมทุนหมุนเวียนให้เอสเอ็มอี โดยเปิดรับคำขอกู้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565

ที่มา: https://www.naewna.com/business/592181

อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเกือบสี่เปอร์เซ็นต์ในเดือนมิถุนายนปีนี้

อัตราเงินเฟ้อในสปป.ลาวเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายนปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.96% จากข้อมูลของสำนักสถิติสปป.ลาว อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลโดยตรงต่อค่าครองชีพในสปป.ลาว

ราคาอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 4.09 เปอร์เซ็นต์ในเดือนมิถุนายนปีนี้ ขณะที่ราคาเสื้อผ้าเพิ่มขึ้น 3.06 เปอร์เซ็นต์ ราคาเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้น 3.11 เปอร์เซ็นต์ โดยแอลกอฮอล์และยาสูบเพิ่มขึ้น 4.63%

ค่าขนส่งเพิ่มขึ้น 5% ในขณะที่ค่าไปรษณีย์และค่าโทรคมนาคมเพิ่มขึ้นถึง 8.32% และสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 8.36% ตามรายงานของศูนย์สถิติแห่งชาติภายใต้กระทรวงการวางแผนและการลงทุน ทั้งนี้การขาดแคลนการผลิตในประเทศและการระบาด Covid-19 ระลอก 2 ของสปป.ลาวทำให้อัตราเงินเฟ้อรุนแรงขึ้น อีกทั้งสินค้าส่วนใหญ่ในสปป.นำเข้าทำให้ขาดดุลการค้าในขณะที่ความต้องการเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น (บาทและดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งทำให้ค่าเงินท้องถิ่นอ่อนค่าลง (LAK)

ที่มา : https://laotiantimes.com/2021/08/02/inflation-rate-increased-by-nearly-four-percent-in-june-this-year/