โครงการทางพิเศษสีหนุวิลล์ของกัมพูชาคาดว่าแล้วเสร็จก่อนกำหนด

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและคมนาคมกัมพูชา กล่าวว่าการก่อสร้างทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ที่ลงทุนโดยนักลงทุนชาวจีน ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นแม้จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จก่อนกำหนด ลงทุนโดย China Road and Bridge Corporation (CRBC) มูลค่าโครงการ 2 พันล้านดอลลาร์ โดยทางพิเศษนี้จะเชื่อมต่อกับเมืองหลวงของกรุงพนมเปญสู่ท่าเรือน้ำลึกในจังหวัดสีหนุวิลล์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ซึ่งเริ่มก่อสร้างขึ้นในเดือนมีนาคม 2019 และมีกำหนดจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2023 โดยบริษัทผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างคาดว่าจะสามารถสร้างทางพิเศษให้แล้วเสร็จได้ภายในเดือนกันยายน 2023 จนถึงขณะนี้ การก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณร้อยละ 55 ซึ่งหากโครงการแล้วเสร็จจะใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง ในการเดินทางระหว่างจุดหมายปลายทางทั้งสอง เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ใช้ระยะเวลาถึง 5 ชั่วโมง โดยรัฐมนตรีกล่าวเสริมว่า ถนนสายนี้จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา เนื่องจากเป็นการเชื่อมโยงเมืองหลวงกับท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50878781/sihanoukville-expressway-cooperation-project-expected-to-be-completed-ahead-of-schedule/

สมัชชาแห่งชาติกัมพูชา อนุมัติข้อตกลงการค้าเสรี RCEP

สมัชชาแห่งชาติกัมพูชาได้อนุมัติความตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งกัมพูชาได้เตรียมขั้นตอนสำหรับการเข้าร่วมข้อตกลงที่จะมีผลบังคับใช้ภายในต้นปีหน้า โดยการเข้าร่วม RCEP ของกัมพูชา ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรักษาตลาดระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกผู้ลงนามในข้อตกลง RCEP สร้าง ด้วยการกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างกันที่จะให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการขยายห่วงโซ่อุปทานการค้าและการลงทุนระดับภูมิภาค ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนทำให้เศรษฐกิจกัมพูชาและภูมิภาคฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจากวิกฤตโควิด-19 โดย RCEP ถูกกำหนดให้เป็นข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเริ่มแรกประกอบด้วยประเทศสมาชิก 16 ประเทศ คิดเป็นกลุ่มประชากรรวมกว่า 3.6 พันล้านคน หรือร้อยละ 48.1 ของประชากรโลก ซึ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศสมาชิก RCEP รวมกันอยู่ที่ 28.5 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2019 คิดเป็นร้อยละ 32.7 ของ GDP ทั่วโลก โดยการค้ารวมของประเทศที่ลงนามมีมูลค่าเกิน 11.2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือร้อยละ 29.5 ของมูลค่าการค้าโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50878878/assembly-approves-rcep-trade-agreement/

นครหลวงเวียงจันทน์ยืนยันไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19

นครหลวงเวียงจันทน์ ยืนยันไม่พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่เป็นครั้งที่สอง นับตั้งแต่ระลอกที่สองเริ่มขึ้น ดร.พรประเสริฐ สายมงคล นำการบรรยายสรุปประจำวันโดยคณะทำงานเฉพาะกิจในวันนี้ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของไวรัสในสปป.ปลาว จำนวนเคสทั้งหมดที่บันทึกไว้ในสปป.ลาวตอนนี้มียอดสะสมที่ 2,054 ราย ความพยายามอย่างต่อเนื่องของผู้อยู่อาศัยในนครหลวงเวียงจันทน์ในการปฏิบัติตามมาตรการล็อกดาวน์และมาตรการป้องกันโควิด-19 ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อแพร่กระจายในชุมชนมีแนวโน้มลดลง เวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงที่สำคัญของสปป.ลาว ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศทั้งในด้านการลงทุน การค้าขายและการท่องเที่ยว การที่สถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด-19 มีแนวโน้มดีขึ้นถือเป็นสัญญาณที่ดีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปได้อย่างต่อเนื่องเหมือนช่วงปกติก่อนเกิดโควิด-19

ที่มา : https://laotiantimes.com/2021/06/21/vientiane-capital-confirms-zero-cases-of-covid-19/

สมาคมสิ่งทอเวียดนาม เผยยอดการส่งออกเครื่องนุ่มห่ม 15.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 5 เดือนแรก

สมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม (VITAS) เผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการส่งออกของภาคเครื่องนุ่งห่ม เพิ่มขึ้น 21.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ราว 15.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ การส่งออกเส้นใยและเส้นด้าย ตั้งแต่เดือนม.ค.-พ.ค. พุ่ง 60.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี มูลค่า 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่การส่งออกผ้า เพิ่มขึ้น 26.4% สู่ 947 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าได้รับสัญญาเชิงบวกจากตลาดส่งออกสำคัญ ตลอดจนใช้โอกาสจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) สหรัฐฯยังคงเป็นผู้นำเข้าเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม รองลงมาญี่ปุ่น สหภาพยุโรปและเกาหลีใต้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/garmenttextile-exports-hit-152-billion-usd-in-five-months-vitas/203370.vnp

เวียดนามส่งออกไปอียู ‘พุ่ง’ แม้เผชิญโควิด-19 ระบาด

ตามข้อมูลทางสถิติของกรมศุลกากร เผยว่าเวียดนามส่งออกสินค้าไปยังยุโรป เป็นมูลค่า 16.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเดือนม.ค.-พ.ค. ขณะที่ การนำเข้าสินค้าอยู่ที่ 6.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.1% และ 16.8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยปัจจุบันสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 5 ของเวียดนาม และเป็นผู้นำเข้าสินค้าเวียดนามรายใหญ่อันดับสอง รองจากสหรัฐฯ เมื่อปีที่แล้ว ทั้งนี้ ว่าด้วยข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป ทำให้สินค้าทางการเกษตรของเวียดนามได้รับประโยชน์อย่างมาก นอกจากนี้ จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเล (VASEP) ระบุว่าผู้นำเข้ายุโรปหลายราย ได้แสดงความสนใจต่อซัพพลายเออร์อาหารทะเลของเวียดนามมากขึ้น เนื่องจากได้ประโยชน์จากอัตราภาษีของข้อตกลงดังกล่าว และมีแหล่งวัตถุดิบที่มีเสถียรภาพ ทำให้ในช่วง 5 เดือนแรก เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกไปยังยุโรป มากกว่า 380 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-exports-to-eu-surge-amidst-covid19/203374.vnp

เวียดนามวางแผนส่งเสริมการค้าข้ามพรหมแดนระหว่างกัมพูชา

อานซาง ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของเวียดนามในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ตั้งเป้าเพิ่มปริมาณการค้าผ่านชายแดนขึ้นร้อยละ 15 ในปี 2021-2025 สู่ 9 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งจังหวัดอานซางมีพรมแดนติดกับจังหวัดตาแก้วและจังหวัดกันดาลของกัมพูชา รวมระยะทางเกือบ 100 กม. ซึ่งมีประตูชายแดนข้ามระหว่างกัมพูชาอยู่ 2 แห่ง โดยวางแผนที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าผ่านชายแดนระหว่างกัน ควบคู่ไปกับการไหลเวียนของสินค้า ความเชื่อมโยงระดับภูมิภาค และการรวมกลุ่มระหว่างประเทศ ซึ่งจะนำมาตรการทางด้านภาษีและค่าธรรมเนียมมาช่วยให้ภาคธุรกิจฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีในปัจจุบัน รวมถึงช่วยแก้ปัญหาการลักลอบนำเข้าและการฉ้อโกงทางการค้าข้ามพรหมแดนอีกด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50877301/an-giang-province-seeks-to-foster-cross-border-exports-with-kandal-takeo-international-border-gates/

กัมพูชากำหนดนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลประจำปี 2021-2035

รัฐบาลกัมพูชาประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย “เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของกัมพูชา” ประจำปี 2021-2035 โดยระบุว่าภาคดิจิทัลจะเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ การพัฒนา และการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งนโยบายนี้จัดทำขึ้นเพื่อต้องการที่จะเสริมสร้างศักยภาพ ทรัพยากร และความสามารถ ทั้งจากทางภาครัฐและภาคเอกชนภายในประเทศ ผ่านการกำหนดทิศทางการพัฒนาและกระบวนการในการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในกัมพูชาบนรากฐานที่มั่นคง มีเสถียรภาพ ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมควบคู่กันไป ด้วยจุดมุ่งหมายของการเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่และการส่งเสริมสวัสดิการทางสังคมผ่าน “ความปกติใหม่” สู่การพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50877443/cambodias-digital-economic-and-society-policy-for-2021-2035-launched/

เวียดนามตั้งเป้ายอดส่งออกสินค้าเกษตร ปี 64 อยู่ที่ 41 พันล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) คาดการณ์ว่าภาคเกษตรกรรมจะมีมูลค่าการส่งออก 41 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว การแปรรูปถือเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับมูลค่าของสินค้า เพิ่มรายได้จากการส่งออก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการก้าวขึ้นสู่ 15 ประเทศชั้นนำที่มีการเกษตรขั้นสูง และ 10 อันดับแรกที่มีอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรสมัยใหม่ ทั้งนี้ นาย Nguyễn Thanh Tuấn รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร นอกจากนี้แล้ว การเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรี อาทิ CPTPP, EVFTA, UKVFTA และ RCEP ช่วยให้ผลผลิจทางการเกษตรของเวียดนาม สามารถเข้าตลาดขนาดใหญ่ได้ โดยเฉพาะสินค้าประมง ผักผลไม้ ข้าวและชา เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/977045/viet-nam-targets-41b-agriculture-export-in-2021.html

เวียดนามเผยภาคอุตฯ การผลิตและแปรรูป ยังคงเป็นแหล่งดึงดูดที่สำคัญของการลงทุนจากต่างชาติ

ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป เป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) มากที่สุด ตั้งแต่ต้นปีนี้ ด้วยเม็ดเงินราว 6.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 43% ของยอดเงินทุนทั้งหมด จากโครงการลงทุนของต่างชาติ จำนวน 613 โครงการ ส่วนใหญ่ลงทุนในการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า รองลงมาอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ Do Nhat Hoang หัวหน้าหน่วยงานกระทรวงวางแผนและการลงทุน กล่าวว่าเม็ดเงิน FDI ไหลเข้าไปยังสาขาอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ พลังงาน อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป ถือเป็นเครื่องยืนยันว่าเวียดนามมีเสถียรภาพและเป็นที่จับตามองของนักลงทุนต่างชาติ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/manufacturing-and-processing-sector-playing-key-role-in-fdi-attraction/202916.vnp

ราคาถั่วดำในประเทศพุ่งถึง 1.1 พันล้าน จัตต่อตัน

รายงานของหอการค้าและอุตสาหกรรมเขตย่างกุ้ง (Bayintnaung Commodity Depot) เผยราคาถั่วดำในประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 1,110,000 จัตต่อตัน แม้ราคาในวันที่ 1 พฤษภาคม 64 จะอยู่ที่ 888,500 จัตต่อตัน แต่พุ่งไปถึง 1,110,000 K จัตตันในวันที่ 17 มิถุนายน 64 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 221,500 จัตต่อตัน ตั้งแต่ปี 60 อินเดียได้กำหนดโควตานำเข้าถั่ว ซึ่งรวมถึงถั่วดำและถั่วแระ ภายใต้นโยบายการค้าต่างประเทศ ปี 58-63 ขณะที่สวนปลูกถั่วดำให้ผลผลิตประมาณ 400,000 ตันต่อปี ด้านถั่วแระมีผลผลิตประมาณ 50,000 ตันต่อปี ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังอินเดีย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/domestic-black-bean-price-rises-to-k-1-1-bln-per-tonne/