กัมพูชาและไทยตกลงส่งเสริมการค้าข้ามพรมแดน

กัมพูชาร่วมกับไทยตกลงส่งเสริมและอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าข้ามพรมแดนระหว่างกัน เพื่อที่จะผลักดันให้บรรลุเป้าหมายทางด้านการค้า ซึ่งในปี 2020 ทั้งสองประเทศกำหนดเป้าหมายไว้ที่ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยกล่าวผ่านการประชุมร่วมกันระหว่างรองนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลทำให้การค้าทวิภาคีมีมูลค่าอยู่ที่เพียง 7.24 พันล้านดอลลาร์ หรือครึ่งหนึ่งของเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งสินค้าเกษตรยังคงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของกัมพูชาไปยังประเทศไทย ในขณะที่การส่งออกของไทยไปยังกัมพูชาส่วนใหญ่ประกอบด้วยพลังงาน ปุ๋ยทางการเกษตร อาหาร และเครื่องสำอาง เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50872147/cambodia-thailand-agree-to-boost-cross-border-checkpoint-trade/

สหรัฐฯ บริจาควัคซีน 500 ล้านโดสให้ 92 ประเทศรวมทั้งสปป.ลาว

สหรัฐฯ ประกาศจะซื้อและบริจาควัคซีนไฟเซอร์ 500 ล้านโดสให้กับ 92 ประเทศ รวมทั้งสปป.ลาว ผ่านโครงการ COVAX ซึ่งเป็นโครงการระดับโลกที่แจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 ไปยังประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง สหรัฐฯ จะจัดสรรและส่งมอบวัคซีนเหล่านี้ให้กับประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางทั่วโลก ปัจจุบันสถานการณ์ในประเทศสปป.ลาวอาจไม่ได้รุนแรงจากผลของมาตรการที่เข้มงวดแต่ถึงอย่างไร รัฐบาลสปป.ลาวได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับโปรแกรมการฉีดวัคซีนเพื่อเป็นอาวุธในการควบคุมการระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ และทุกคนได้รับการสนับสนุนให้ฉีดวัคซีนเพื่อนำพาประเทศกลับสู่สภาวะปกติทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_US_113.php

ไทยจ่อรับอานิสงส์อาร์เซ็ป จากการที่ญี่ปุ่นลดภาษีเพิ่มเติม

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผย ผลวิเคราะห์ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) เจาะเป็นรายประเทศ ล่าสุดได้ศึกษาการลดภาษีของญี่ปุ่น หลังจากที่รัฐสภาญี่ปุ่นอนุมัติเข้าร่วมความตกลงในเดือน เม.ย.64 พบว่ามีสินค้า 207 รายการที่จะลดเหลือ 0% ทันทีที่อาร์เซ็ปมีผลบังคับใช้ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร ได้แก่ ประมง ผลไม้ เช่น ส้ม สับปะรด แป้งจากมันฝรั่ง แป้งสาคู น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันจากเมล็ดดอกทานตะวัน เป็นต้น  ภายใต้อาร์เซ็ป จีนยังลดภาษีเพิ่มเติมอีก 33 รายการ เช่น พริกไทย สับปะรดแปรรูป น้ำมะพร้าว ฯลฯ ส่วนเกาหลีใต้ ลดภาษีเพิ่มเติมอีก 413 รายการ เช่น เช่น ผักผลไม้แปรรูปและไม่แปรรูป น้ำมันที่ได้จากพืช แป้งมันสำปะหลัง ฯลฯ

ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2114956

เวียดนามเผยครึ่งแรกของปี GDP ขยายตัว 5.8%

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนาม คาดว่าจะขยายตัว 5.8% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ซึ่งต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ก่อนหน้านี้ อีกทั้ง สำนักงาน MPI คาดการณ์ว่าภาคเกษตร ป่าไม้และประมง ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนแรก แต่คงเผชิญกับปัญหาทางด้านการบริโภค และคาดว่าจะเติบโตประมาณ 3% ในครึ่งแรก ในขณะเดียวกัน ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง คาดว่าจะเติบโต 7.85% ต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 0.71% สาเหตุจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถึงแม้ว่าจะพยายามฟื้นฟูมาหลายครั้งแล้วก็ตาม ส่วนภาคบริการ คาดว่าจะเติบโตราว 5% นอกจากนี้ สำนักงาน คาดว่าการบริโภคจะยังคงดีดตัวกลับมา ยอดค้าปลีกสินค้าและบริการโดยรวม คาดว่าจะเติบโตราว 7.1% อย่างไรก็ตาม ภาคบริการ (การท่องเที่ยว การคมนาคมและการขนส่ง) จะยังคงประสบปัญหา เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/first-half-gdp-growth-for-vietnam-projected-at-58-865765.vov

ข้าวเวียดนาม เผชิญการแข่งขันจากอินเดียและฟิลิปปินส์

ตามรายงานของสำนักงานส่งเสริมแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ชี้ให้เห็นว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการส่งออกข้าวของเวียดนาม อยู่ที่ 2.7 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าราว 1.48 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 11.3% ในด้านปริมาณ และ 5% ในด้านมูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ ราคาข้าวของเวียดนามนั้น สูงกว่าราคาข้าวของอินเดียและไทยค่อนข้างมาก ข้าวเวียดนาม 1 ตัน สูงกว่าข้าวไทย 20 เหรียญสหรัฐ และสูงกว่าข้าวอินเดีย 100 เหรียญสหรัฐต่อตัน หากเฉลี่ยราคาข้าวของเวียดนามในช่วง 4 เดือยแรกของปีนี้ แตะ 543 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 15.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆนี้ ฟิลิปปินส์ประกาศยกเลิกภาษีนำเข้าแก่กลุ่มประเทศในอาเซียนและนอกอาเซียน ตลอดจนประเทศที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (MFN) โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการนำเข้าข้าวราคาถูกจากอินเดียและปากีสถาน อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังคงเป็นผู้จัดหาข้าวรายใหญ่ที่สุดให้แก่ฟิลิปปินส์ แต่ว่าฟิลิปปินส์ยังรับซื้อข้าวจากไทยและอินเดีย รวมถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/vietnamese-rice-faces-competition-from-india-in-philippines-4293486.html

ราคามะเขือเทศพุ่ง 10,000 จัต ในปีนี้

มะเขือเทศที่เก็บเกี่ยวกำลังเข้าสู่ตลาดขายส่งอาหารสด Thiri Marlar ราคามะเขือเทศเพิ่มขึ้นในปีนี้ ในปีนี้ราคาเพิ่มขึ้น 10,000 จัตจากปีที่แล้ว ก่อนหน้านี้ราคาของมะเขือเทศเหล่านั้นอยู่ระหว่าง 23,000 ถึง 25,000 จัตต่อกล่อง (บรรจุ 18 visses) อย่างไรก็ตามในปีนี้ราคาอยู่ที่ 33,000 หรือ 35,000 จัตต่อกล่อง มะเขือเทศส่วนใหญ่จากอินเลย์ การเพิ่มขึ้นของราคาอาจเกิดจากการค่าขนส่ง นอกจากนี้ ผักสดอื่นๆ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และแครอท ก็ได้ราคาดีจนเป็นที่น่าพอใจให้กับเกษตกร

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/tomato-price-rises-by-over-k-10000-this-year/

ราคาส่งออกข้าวคุณภาพต่ำ ตรึงอยู่ที่ 23,000 จัตต่อถุง เนื่องจากธนาคาร จำกัดการทำธุรกรรมการเงิน

ราคาส่งออกข้าวคุณภาพต่ำยังไม่กระเตื้องขึ้น และถูกตรึงไว้ที่ 23,000 จัตต่อถุง 108 ปอนด์ เนื่องจากไม่สามารถถอนเงินจากธนาคารได้ ดังนั้นผู้ค้าข้าวกำลังเผชิญกับการซื้อขายที่จำกัดและไม่สามารถชำระเงินสดสำหรับการซื้อขายได้ แม้จะมีความพยายามเชื่อมต่อกับ Myanmar Economic Bank และธนาคารเอกชนอื่นๆ แต่ก็ไม่สามารถเบิกเงินสดได้ นอกจากนี้ยังมีบริษัทเพียงไม่กี่แห่งที่สามารถซื้อข้าวได้และยังมีบริษัทที่ซื้อข้าวส่งออกไปยังบังกลาเทศอีกด้วย ดังนั้นราคาข้าวส่งออกจึงไม่สามารถแข่งขันได้มากนัก ก่อนหน้านี้การซื้อขายข้าวและข้าวหักประมาณ 80,000 ถุงทุกวันที่ศูนย์ค้าส่งข้าวบุเรงนอง แต่ปัจุบันเหลือประมาณ 30,000 ถุง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/price-of-exported-low-quality-rice-stands-at-k23000-per-108-pound-bag-due-to-bank-withdrawal-limit/

‘กรมเจรจาฯ’ เตรียมจัดระดมความคิดเห็นออนไลน์ การจัดทำ FTA อาเซียน-แคนาดา

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเตรียมจัดสัมนาเรื่อง “การจัดทำ FTA อาเซียน-แคนาดา” เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนทั้ง แสดงความคิดเห็นก่อนใช้ประกอบในผลการศึกษาข้อดีข้อเสียและใช้เป็นท่าทีประกอบการตัดสินใจในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน-แคนาดา ในเดือน ก.ย. นี้ แคนาดาเป็นประเทศที่ยังไม่มี FTA กับไทยมาก่อน จึงมีบางประเด็นที่ไทยต้องใช้ความรอบคอบในการเจรจาร่วมกับอาเซียน เช่น การเปิดตลาดสินค้าสุกรที่มีสารเร่งเนื้อแดง การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการเข้าถึงยาและการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ซึ่งเป็นทั้งโอกาศที่ดีและน่ากังวลของผู้ส่งออกไทยหากมีการจัดทำ FTA

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/beco/3230284

สมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม เผยยอดขายรถยนต์ พ.ค. ลดลง 15%

จากรายงานของสมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม เผยว่าในเดือนพฤษภาคม ตัวเลขยอดขายรถยนต์ ลดลง 15% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน มาอยู่ที่ 15,585 คัน เนื่องจากได้รับผลกระทบของโควิด-19 และการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ หรือสารกึ่งตัวนำที่ใช้ในอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม สมาชิกของสมาคมดังกล่าว มียอดขายรถยนต์เพียง 126,894 คัน เพิ่มขึ้น 53% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถยนต์เชิงพาณิชย์และรถยนต์เฉพาะกิจ เพิ่มขึ้น 51%, 56% และ 59% ตามลำดับ นอกจากนี้ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรม มองว่าสภาวะโควิด-19 ระบาด จะส่งผลกระทบต่อปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ทั้งในประเทศและตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/auto-sales-down-15-pct-in-may-vama/202847.vnp

ICAEW คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนาม โต 7.6% ปีนี้

ตามรายงานของสมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศอังกฤษ (ICAEW) เปิดเผยว่าถึงแม้จะได้รับผลกระทบทางลบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) คาดว่าจะขยายตัว 7.6% ในปีนี้ ถือเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ สิ่งที่โดดเด่นที่สุด คือ เวียดนามเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่มีการเติบโตไปในทิศทางที่ดีในปี 2563 เนื่องจากประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัส ทำให้เศรษฐกิจของประเทศได้รับอนิสงค์จากการทำกิจกรรมทางธุรกิจระดับโลก พร้อมกับการลงทุนจากต่างชาติ และยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออก

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/icaew-vietnams-gdp-likely-to-expand-76-in-2021-864890.vov