สหภาพยุโรปวางแผนสนับสนุนกัมพูชาด้านการพัฒนาประเทศ

สหภาพยุโรป (EU) กล่าวถึงแผนให้ความช่วยเหลือกัมพูชาอีก 510 ล้านดอลลาร์ ช่วยเหลือในด้านการพัฒนาประเทศของกัมพูชา ในช่วงปี 2021-2027 ตามคำแถลงของสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) โดยจะนำไปสู่การปรับปรุงภาคการเกษตร การศึกษา และการปกครองของประเทศเป็นหลัก ซึ่งกัมพูชาเล็งเห็นถึงความสำคัญกับความสำเร็จที่เกิดขึ้นในความร่วมมือด้านการพัฒนาของสหภาพยุโรปสำหรับกัมพูชาในช่วงปี 2014-2020 ที่ผ่านมา ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาที่ยั่งยืนของกัมพูชา นอกจากนี้กัมพูชาได้กล่าวขอบคุณสหภาพยุโรปและพันธมิตรทั้งหมดของสหภาพยุโรปที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลกัมพูชาในการตอบสนองต่อการระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะในด้านสาธารณสุข การเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้คน ความมั่นคงด้านอาหาร การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการสร้างงานภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/820485/eu-pledges-510-million-to-cambodia-in-2021-2027/

โฮจิมินห์ซิตี้: ยอดเงินลงทุนจากต่างประเทศ 337.8 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำนักงานวางแผนและการลงทุนประจำเมือง ระบุว่าภาคอสังหาริมทรัพย์มียอดเงินลงทุนสูงสุด ด้วยมูลค่า 145.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 43% ของเงินลงทุนรวม รองลงมาโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (57.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) และอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป (41 ล้านเหรียญสหรัฐ) ทั้งนี้ เมืองโฮจิมินห์ถือเป็นศูนย์กลางดึงดูดเม็ดเงินทุนจากต่างชาติ แต่เมื่อประเมินในช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. พบว่ามีจำนวนเพียง 3 โครงการ เป็นมูลค่า 115 ล้านเหรียญสหรัฐ สาเหตุหลักมาจากการระบาดของโควิด-19 ไปทั่วโลก นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติเข้ามาซื้อหุ้นในบริษัทเวียดนาม กว่า 169.5 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงเวลาดังกล่าว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/890438/viet-nam-racks-up-129-billion-in-trade-surplus-in-two-months.html

รองผู้ว่าธนาคารกลางเวียดนาม เตือนบิตคอยน์ยังผิดกฎหมาย

ดาว มินท์ ตู (Dao Minh Tu) รองผู้ว่าการธนาคารชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม กล่าวว่าบิตคอยน์ (Bitcoin) หรือสุกลเงินดิจิตอลอื่นๆ มิใช้สกุลเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย “สกุลเงินดิจิตอลไม่สามารถชำระเงินได้และไม่อนุญาตให้ใช้แทนสกุลเงินเวียดนาม” ในปัจจุบันธนาคารกลางเวียดนาม กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงการคลัง ดำเนินการชี้แจ้งข้อมูลทางกฎหมายที่เกี่ยวกับเงินเสมือนและสินทรัพย์ทางธุรกิจเสมือน นอกจากนี้ รองฯ ยังกล่าวย้ำว่าในมุมมองของธนาคารกลางต่อการลงทุน Forex (ตลาดซื้อขายสกุลเงินตราต่างประเทศ) เป็นเพียงการให้บริการซื้อขายเงินตราต่างประเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสถาบันสินเชื่อและธนาคารพาณิชน์ ดังนั้น ถ้าหน่วยงานใดไม่ได้รับใบอนุญาตให้ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ จะถือว่าทำผิดกฎหมาย

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/state-bank-deputy-governor-bitcoin-is-not-legal-in-vietnam-28767.html

รถบรรทุกแตงโมกว่า 1,300 คันติดค้างที่ด่านมูเซ กระทบผลผลิตล้นตลาด

Khwar Nyo Fruit Depot เผยแม้หลังตรุษจีนแตงโมจะได้ราคาดี แต่ตอนนี้รถบรรทุกประมาณ 1,300 คัน ติดอยู่ในเขตการค้า 105 ไมล์ของด่านมูเซเนื่องจากด่านชายแดนจีนปิด 2 วัน ดังนั้นอุปทานแตงโมจึงเกินความต้องการ ตอนนี้แตงโมหนึ่งตัน (855 สายพันธุ์) ราคาสูงสุดอยู่ที่ 65,000 หยวน ในขณะที่ราคาปกติอยู่ที่ประมาณ 45,000 หยวน นอกจากนี้รถบรรทุกแตงโมประมาณ 200 คันต่อวันต่อคิวเดินทางผ่านด่านมูเซไปยังจีน ก่อนหน้านี้ตลาดแตงโมพึ่งพาจีนมาตลอด เมียนมาส่งแตงโมไร้เมล็ด 45 ตันไปยังตลาดดูไบเมื่อธันวาคม 63 และมกราคม 64 และแผนที่จะขยายตลาดไปยังฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564 ศูนย์ค้าส่งผลไม้เขตการค้า 105 ไมล์ ได้แถลงการณ์ว่าจำนวนรถบรรทุกส่งออกแตงโมและแตงเมลอนมีกำหนดควบคุมตลาด ในช่วงปีที่ผ่านมาเกษตรกรและผู้ค้าประสบปัญหาขาดทุนเนื่องจากความไม่แน่นอนของราคาและความลำบากในการขนส่งซึ่งเกิดจากการระบาดของ COVID-19 แตงโมและแตงเมลอนจะเก็บเกี่ยวได้จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคมทั่วประเทศยกเว้นรัฐคายาห์และชิน เมียนมาส่งออกแตงโมมากกว่า 800,000 ตันต่อปีและแตงเมลอนประมาณ 150,000 ตันไปยังจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/watermelon-supply-exceeds-demand-as-about-1300-trucks-stuck-in-muse-depot/#article-title

สปป.ลาว-UN เสริมสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาประเทศ

องค์การสหประชาชาติ (UN) ยืนยันว่าจะยังคงให้การสนับสนุนรัฐบาลสปป.ลาวภายใต้กรอบความร่วมมือเพื่อให้รัฐบาลสามารถออกแบบยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนในการพัฒนาสปป.ลาวได้ยังยั่งยืน โดยกรอบความร่วมมือสร้างขึ้นจากการนำความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญทั้งหมดมาพิจารณา รวมถึงระบบการพัฒนาของสหประชาชาติที่จะตอบสนองต่อลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์ระดับชาติที่พูดถึงความต้องการและลำดับความสำคัญในการพัฒนาและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งนี้ในที่ประชุมยังได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเพิ่มความเป็นเจ้าของของรัฐบาลในการออกแบบกรอบความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจนซึ่งตอบสนองต่อลำดับความสำคัญของประเทศและวางรากฐานสำหรับด้านการศึกษาโดยยึดรูปของประเทศที่พัฒนาแล้ว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos44.php

กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้าไปยัง EAEU ลดลงอย่างมากในปี 2020

การส่งออกเสื้อผ้าของกัมพูชาไปยัง EAEU (สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย) ลดลงกว่าร้อยละ 36.6 เมื่อเทียบเป็นรายปีในระหว่างปี 2019 ตามรายงานของ Fibre2Fashion Pvt Ltd. ผู้ดำเนินธุรกิจแบบ B2B ขับเคลื่อนตลาด โดย EAEU ประกอบด้วย 5 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย เบลารุส คาซัคสถาน อาร์เมเนีย และ คีร์กีซสถาน ซึ่งการลดลงของภาคการส่งออกไปยัง EAEU เกิดขึ้นระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายนของปี 2020 โดยปริมาณการส่งออกเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในเดือนกรกฎาคม Fibre2Fashion กล่าวว่าอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มถือเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมการส่งออกของกัมพูชา ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกสินค้าทั้งหมดของประเทศ โดยในปี 2019 กัมพูชาส่งออกไปยัง EAEU เกือบ 180 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50820107/garment-exports-to-eaeu-drop-significantly-in-2020/

กัมพูชาส่งออกข้าวสารลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

ปริมาณการส่งออกข้าวสารของกัมพูชาในช่วง 2 เดือนแรกของปี มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 64.53 ล้านดอลลาร์ รวม 76,222 ตัน ตามรายงานของสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) โดยปริมาณลดลงร้อยละ 44.16 ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ซึ่งการลดลงส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขาดตู้คอนเทนเนอร์และต้นทุนการขนส่งทางทะเลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราดังกล่าวเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 500 จากปี 2019 เมื่อเทียบกับตัวเลขของเดือนมกราคม โดยการส่งออกข้าวสารในเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย รายงานระบุเพิ่มเติมว่าการส่งออกข้าวสารในเดือนมกราคมมีจำนวน 34,273 ตัน ส่งไปยัง 28 ปลายทาง ในเดือนกุมภาพันธ์การส่งออกข้าวสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 สู่ 41,949 ตัน ส่งออกไปยัง 35 ประเทศ ซึ่งจีนรวมทั้งฮ่องกงและมาเก๊ายังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการส่งออกข้าวของกัมพูชา โดยตลาดดังกล่าวมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 49.37 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับถัดไปคือสหภาพยุโรปโดยมีส่วนแบ่งอยู่ที่ร้อยละ 24.91 คิดเป็น 18,996 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50820068/milled-rice-exports-decline-year-on-year/

ต่างประเทศ – อาเซียนจี้พม่าเปิดคุย-หยุดโหด

วันที่ 2 มี.ค. เอเอฟพีรายงานว่า กลุ่มประเทศอาเซียนมีแนวโน้มจะกดดันคณะรัฐประหารของเมียนมาให้หยุดปราบปรามผู้ประท้วงอย่างนองเลือด หลังจากการปราบปรามเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 ก.พ. มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 18 ราย หลังจากสหประชาชาติประณาม อาเซียนถูกวิพากษ์วิจารณ์มาอย่างยาวนานกรณีนิ่งเฉยไม่ทำอะไรในยามเผชิญวิกฤต เพราะยึดติดกับหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของสมาชิก กระทั่งสิงคโปร์ ชาติที่ลงทุนใน เมียนมามากที่สุดเริ่มแสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลัง นายวิเวียน บาลากริชนัน รมว.การต่างประเทศสิงคโปร์กล่าวต่อรัฐสภาว่าการใช้กำลังอย่างรุนแรงต่อพลเรือนดังกล่าวน่าตกใจอย่างยิ่ง เราเรียกร้องให้ทหารเมียนมาอดทนอดกลั้นอย่างที่สุด ขณะเดียวกันกระตุ้นให้เมียนมาหวนสู่เส้นทางการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย สำหรับเวทีการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการวันที่ 2 มี.ค. แหล่งข่าวจากนักการทูตเผยว่า รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนหลายคนมีแนวโน้มที่จะขอให้ทหารเมียนมาหยุดความรุนแรง หยุดทำร้ายประชาชน โดยอาเซียนจะขอให้กองทัพพูดคุยกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมถึงพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตยหรือเอ็นแอลดีของนางออง ซาน ซู จี ผู้นำเมียนมาด้วย

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/newspaper/newspaper-inside-pages/news_6059441

กัมพูชา-เวียดนาม ตัวเลือกลงทุนแทนเมียนมา

ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองที่ยืดเยื้อในเมียนมาขณะนี้ ทำให้บริษัทต่างชาติเริ่มคิดที่จะถอนการลงทุนออกจากประเทศนี้ ขณะที่มีบริษัทบางแห่งประกาศยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทท้องถิ่นที่มีสายสัมพันธ์กับกองทัพให้เห็นบ้างแล้ว และหันไปมองประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงที่เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากกว่าอย่างกัมพูชาและเวียดนาม ข้อมูลจากสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน)ระบุว่า การลงทุนโดยตรงของต่างชาติ(เอฟดีไอ)ที่ไหลเข้าไปในกลุ่มประเทศ CLMV ขยายตัว 6.3% ในปี 2562 โดยเวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางอันดับ1 ในแง่ของมูลค่าการลงทุนที่ 16,100 ล้านดอลลาร์ และเมียนมา เคยเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวของเอฟดีไอสูงสุดที่ 55.9% แต่เมื่อกองทัพเข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 1ก.พ.ที่ผ่านมา กระแสเอฟดีไอในเมียนมาก็ไม่เพิ่มขึ้นเลย

ทั้งนี้ ฟิลด์ พิคเกอริง หัวหน้าหน่วยงานด้านการลงทุนจากวัลเพส อินเวสต์เมนท์ แมเนจเมน กล่าวว่าความไม่สงบเรียบร้อยที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ ทำให้บรรดาผู้ประกอบการเมียนมาอาจเลือกย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น และเข้าไปสร้างธุรกิจให้เติบโตในดินแดนอื่นภายในภูมิภาคอาเซียน เท่ากับว่าเป็นความสูญเสียของเมียนมาแต่เป็นการได้ประโยชน์ของประเทศอื่นๆในภูมิภาคแทน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/925213

เวียดนามเกินดุลการค้า 1.29 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรก

กรมศุลกากรเวียดนาม เผยว่าช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. เวียดนามีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ 95.81 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 25.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี แบ่งออกเป็นการส่งออก 48.55 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.2% ในขณะที่การนำเข้าประมาณ 47.26 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 25.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว บริษัทจากต่างประเทศมีมูลค่า 37.07 พันล้านเหรียญสหรัฐ (76.4% ของยอดส่งออกรวมของเวียดนาม) ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจในประเทศ มีมูลค่าการส่งออก 11.48 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกประเภทโทรศัพท์และชิ้นส่วน มีมูลค่ามากที่สุด 9.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามมาด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ 6.9 พันล้านเหรียญ, เครื่องจักรและส่วนประกอบ, รองเท้า ไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ ซึ่งสินค้าข้างต้นรวมกันทั้งหมด คิดเป็นสัดส่วน 73% ของยอดส่งออกรวมของเวียดนาม นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 14.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาสหภาพยุโรป อาเซียน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/890438/viet-nam-racks-up-129-billion-in-trade-surplus-in-two-months.html