เวียดนามเผยเดือนพ.ย. ส่งออกเหล็กพุ่ง

ข้อมูลจากสมาคมเหล็กเวียดนาม (VSA) รายงายว่ายอดส่งออกเหล็กของเวียดนามในเดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.52 จากช่วงเดียวกันเดือนก่อน และร้อยละ 40 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ด้วยปริมาณมากกว่า 478,300 ตัน ในขณะที่ การผลิตเหล็กทุกชนิดสูงถึง 2.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม การผลิตเหล็ก ยอดขายและการส่งออก ยังคงอยู่ในระดับทรงตัวหรือไม่เปลี่ยนแปลงมากนักในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ โดยเฉพาะการผลิตเหล็กในช่วงเวลาดังกล่าว เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ประกอบกับยอดขายลดลงราวร้อยละ 1 และการส่งออกลดลงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับปี 2562 นอกจากนี้ เศรษฐกิจในเดือนพฤศจิกายนมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี ขณะเดียวกัน การดำเนินธุรกิจ การผลิต การค้าและการบริโภค ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลักดันตลาดเหล็กไปข้างหน้า

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/steel-exports-surge-in-november/193498.vnp

เวียดนามก้าวเป็นผู้ส่งออกเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่อันดับที่ 6 ไปสหราชอาณาจักร

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าเวียดนามเป็นผู้ส่งออกเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ อันดับที่ 6 ไปยังตลาดสหราชอาณาจักร (UK) มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 422 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.6 ของส่วนแบ่งการตลาดนำเข้า เฟอร์นิเจอร์ไม้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมส่งออกที่สำคัญ คาดว่าจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากความตกลงการค้าเสรีสหราชอาณาจักร-เวียดนาม (UKVFTA) ซึ่งเมื่อข้อตกลงมีผลบังคับใช้ จะส่งผลให้ไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ภายในระยะเวลา 5 ปีจากภาษีปัจจุบันร้อยละ 2-10 ทั้งนี้ ความต้องการผลิตภัณฑ์ไม้ของเวียดนามมีอยู่สูง เนื่องจากเทรนด์ของสินค้าดังกล่าวขายได้ดีในตลาดสหราชอาณาจักร สาเหตุสำคัญมาจากมีความสามารถทางด้านราคาในระดับสูงและเป็นสินค้าคุณภาพดี

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-becomes-sixth-largest-furniture-exporter-to-the-uk-825611.vov

จีนเดินหน้าสร้างเขตการค้าชายแดนในมูเซ-หลุ่ยลี่

จีนเดินหน้าสร้างสร้างเขตการค้าสองในสามแห่งที่กำหนดไว้สำหรับการพัฒนาภายใต้ข้อตกลงโครงการ มูเซ-หลุ่ยลี่ (Kyegaung) รัฐบาลทั้งสองได้ตกลงที่จะเป็นพื้นที่หลักสำหรับการค้าระหว่างจีนและเมียนมา ในขณะที่เขต Kyu Kote –Pang Sang –Wantain – Kyin San Kyawt จะถูกกำหนดให้เป็นการแปรรูป การผลิตสินค้าเพื่อส่งออก และคลังสินค้า ซึ่งรัฐบาลจีนได้ร่างแผนสำหรับสองโครงการใน Shweli (Kyegaung) และ Wantain และให้เมียนมาติดตามการพัฒนาในพื้นที่ของทั้งสองโครงการนี้ พื้นที่หลักมูเซ-หลุ่ยลี่ ถูกจินตนาการเป็นพื้นที่รูปสามเหลี่ยมทอดยาวจาก Nam Phat Kar ไปทางตอนเหนือของ Namkham และถึง Kyukote (Pangsang) ทางตอนใต้ เขตการค้าเป็นส่วนหนึ่งของเขตความร่วมมือเศรษฐกิจชายแดนจีน – เมียนมา และเมื่อไม่นานมานี้เมียนมาคาดว่าจะพัฒนาโซนหลักในสามแห่ง ได้แก่ มูเซ, ชินฉ่วยฮ่อ และ กันพิตตี

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-implement-two-three-border-trade-zones.html

DITP สั่ง“ทูตพาณิชย์” ชี้แจงผู้ซื้อ ผู้นำเข้า สินค้าอาหารทะเลไทยมีคุณภาพ ปลอดโควิด-19

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) สั่งการทูตพาณิชย์ที่เป็นตลาดเป้าหมายการส่งออกสินค้าอาหารทะเลไทย เร่งสร้างความเชื่อมั่น สร้างความเข้าใจให้กับผู้ซื้อ ผู้นำเข้าว่าสินค้าไทยมีคุณภาพ มาตรฐาน ปลอดโควิด-19 เพื่อป้องกันผลกระทบต่อการส่งออก นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้หารือร่วมกับผู้ส่งออกและได้ประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้น และได้ประสานงานและกำชับให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศที่เป็นตลาดเป้าหมายการส่งออกสินค้าอาหารทะเลของไทย ให้เร่งดำเนินการสร้างความเชื่อมั่น และสร้างความเข้าใจให้กับผู้ซื้อ ผู้นำเข้า ในการสั่งซื้อสินค้าจากไทยว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และมีมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยในการสร้างความเชื่อมั่นในการส่งออกสินค้าประมง ได้มีการจัดทำ “หนังสือรับรองการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในกระบวนการผลิตอาหารส่งออก (COVID – 19 Prevention Best Practice)” ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้นำเข้าสินค้าอาหารจากไทย และเพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าอาหารของไทยให้เพิ่มมากขึ้น โดยมีข้อมูลล่าสุดจากกรมประมงรายงานว่า มีผู้ส่งออก โรงงาน ได้ประสานงานติดต่อกับประมง เพื่อขอเข้ากระบวนการออกหนังสือรับรองดังกล่าวแล้ว จำนวน 51 ราย อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในสินค้าประมง โดยเฉพาะสินค้ากุ้ง ล่าสุดได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ประสานสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสมุทรสาครและสำนักงานพาณิชย์ในจังหวัดใกล้เคียง ในการทำหน้าที่ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ส่งผลกระทบต่อสินค้าประมงอย่างใกล้ชิด เพื่อนำข้อมูลมาประเมินสถานการณ์และหาวิธีการรับมือต่อปัญหาที่จะตามมาในอนาคตแล้ว

ที่มา: https://mgronline.com/business/detail/9630000130044

ทางด่วนแห่งแรกในสปป.ลาวเปิดตัวแล้ว

ทางด่วนจีน – สปป.ลาวซึ่งเป็นทางหลวงสายแรกในสปป.ลาวร่วมกันสร้างโดยรัฐบาลสปป.ลาวและกลุ่มการก่อสร้างและการลงทุนยูนนาน (YCIH) ของจีนซึ่งได้มีวิธีเปิดตัวไปมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา พิธีเปิดจัดขึ้นในเวียงจันทน์เมืองหลวงของสปป.ลาวและคุนหมิงของมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนผ่านการประชุมทางวิดีโอ ทางด่วนจีน – สปป.ลาวเริ่มต้นที่เวียงจันทน์และสิ้นสุดที่เมืองบอเตนชายแดนสปป.ลาว – ​​จีนความยาวประมาณ 440 กม. โครงการนี้ใช้มาตรฐานทางเทคนิคของจีนสำหรับการก่อสร้างและการดำเนินงานและมีแผนทั้งหมดสี่เฟสซึ่งกลุ่มการก่อสร้างและการลงทุนยูนนาน (YCIH) ลงทุนในโครงการกว่าร้อยละ 95 และรัฐบาลสปป.ลาวลงทุนร้อยละ 5  รัฐบาลสปป.ลาวจะดำเนินการภายใต้โมเดล Build-Operate-Transfer (BOT) เป็นเวลา 50 ปี หลังจากสร้างเสร็จแล้วทางด่วนจีน – สปป.ลาว จะกลายเป็นกระดูกสันหลังของการคมนาคมของลาวตอนกลางและตอนเหนือส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในสปป.ลาวและจะช่วยเร่งการสร้างเครือข่ายการขนส่งที่รวดเร็วครอบคลุมคาบสมุทรอินโดจีนทั้งหมด

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2020-12/20/c_139604815_2.htm

เอกอัครราชทูตอังกฤษยืนยันสถานะ GSP ต่อกัมพูชา

สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือได้ยืนยันถึงสถานะของ Generalized System of Preferences (GSP) สำหรับกัมพูชา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ โดยคำยืนยันดังกล่าวเกิดขึ้นในการประชุมระหว่างรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศกัมพูชากัมพูชา ซึ่งในระหว่างการประชุมเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรแจ้งว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2021 สหราชอาณาจักรจะดำเนินนโยบายการค้าเสรีกับกัมพูชา โดยคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก COVID-19 ต่อสมาชิกประเทศกลุ่มเปราะบางที่สุดสำหรับการพัฒนาประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50795156/uk-ambassador-confirms-gsp-status-for-cambodia/

การลดลงของการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้มีมูลค่าอยู่ที่ 798 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ลดลงกว่าร้อยละ 15 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยตัวเลขมาจากสมาคมการค้าระหว่างประเทศของเกาหลี (KITA) แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน 2020 กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังเกาหลีใต้อยู่ที่มูลค่า 291 ล้านดอลลาร์ หรือลดลงร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะเดียวกันกัมพูชานำเข้าสินค้าจากเกาหลีใต้มูลค่า 507 ล้านดอลลาร์ ลดลงกว่าร้อยละ 20 ซึ่งสินค้าหลักของกัมพูชาที่ส่งออกไปยังเกาหลีใต้ ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า สินค้าสำหรับการเดินทาง เครื่องดื่ม ส่วนประกอบสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ในขณะที่สินค้านำเข้าหลักจากประเทศเกาหลีใต้ ได้แก่ ยานพาหนะ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ภายในครัว เครื่องดื่ม ยา และผลิตภัณฑ์พลาสติก โดยเมื่อปีที่แล้วการค้าทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 6 เป็นมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นการส่งออกสินค้าของกัมพูชาถึง 336 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50795184/cambodia-south-korea-bilateral-trade-reaches-798-million-in-first-11-months/

ปี 64 ค้าข้าวเมียนมารุกตลาดดิจิทัล

จากข้อมูลของ Myanmar Rice Federation (MRF) ตลาดค้าข้าวออนไลน์แห่งแรกของเมียนมาที่พร้อมเปิดซื้อขายข้าว เมล็ดพืช และเป็นศูนย์กลางข้อมูลจะเปิดให้บริการในต้นปี 64 โดยแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เรียกว่า MRF Rice Portal สำหรับการซื้อขายจะเป็นครั้งแรกในเมียนมาและตั้งเป้าว่าจะวางจำหน่ายในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคมหรือสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม ซึ่งการใช้งานจะง่ายและสะดวกสำหรับเกษตรกร ปัจจุบันการซื้อขายเมล็ดพันธุ์และข้าวผ่าน Social Network ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ด้วยแพลตฟอร์มนี้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมจะสามารถรับข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดผ่านทาง MRF Rice Portal นอกจากนี้ยังมีบริการส่งข้อความผ่าน SMS ซึ่งจะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกัน MRF ได้ร่วมมือกับ Welthungerhilfe (WHH) ของเยอรมนีเป็นครั้งแรกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพสูงขึ้นซึ่งคาดว่าจะช่วยให้การเก็บเกี่ยวดีขึ้นและทำให้ราคาข้าวในต่างประเทศสูงขึ้นอีกด้วย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-rice-trading-go-digital-2021.html

เวียดนามนำเข้ารถยนต์เดือนพ.ย. ลดลง 11%

กรมศุลกากรเวียดนาม (GDVC) เปิดเผยว่าในเดือนพฤศจิกายน เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 12,237 คัน เป็นมูลค่า 273 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 นำเข้าจากไทย อินโดนีเซียและจีน มีจำนวน 5,927 , 3,823 และ 1,204 คัน ตามลำดับ ในขณะที่ ช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามนำเข้ารถยนต์ทั้งหมดอยู่ที่ 92,261 คัน ลดลงร้อยละ 30.5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ ตามตัวเลขสถิติของสำนักงานข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าในเดือนพฤศจิกายน เวียดนามนำเข้าอุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นมูลค่า 427 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากเกาหลีใต้ 113 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาไทย 86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, ญี่ปุ่น 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจีน 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ (VAMA) ระบุว่ายอดขายรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 36,359 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยจำนวนทั้งหมด 246,768 คัน

  ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-car-imports-down-11-in-november-315439.html

โควิด-19 ทุบอุตสาหกรรมการบินของเวียดนาม ทรุดหนัก

ตามรายงานของสำนักการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ระบุว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปยังทั่วโลกและสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการเดินทาง ทำให้จำนวนผู้โดยสารในปีนี้ทรุดลงหนัก โดยในปี 2563 สายการบินเวียดนามรองรับจำนวนเที่ยวบิน 340,000 เที่ยวบิน หดตัวร้อยละ 31.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตัวเลขประมาณการผู้โดยสารในปีนี้ อยู่ที่ 66 ล้านคน ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 43.5 ทั้งนี้ ในปี 2564 คาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อยังคงร้ายแรง ด้วยเหตุนี้ ผู้ให้บริการสายการบินในประเทศและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานและดำเนินขั้นตอนขององค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการสายการบินแห่งชาติ ‘Vietnam Airlines’ รวมถึงสายการบินเอกชน ‘Vietjet’ และ ‘Bamboo Airlines’ ได้ร้องขอการสนับสนุนจากรัฐบาลและการกู้เงินรีไฟแนนซ์ โดยสายการบินดังกล่าว ประเมินถึงสถานการณ์ว่าอุตสาหกรรมการบินจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์ภายในปี 2566 อย่างเร็วที่สุด

ที่มา : http://hanoitimes.vn/covid-19-takes-a-heavy-toll-on-vietnam-aviation-industry-in-2020-315448.html