Beef Board ทบทวนยุทธศาสตร์ 20 ปี หวังปั้นไทยเป็นผู้นำการส่งออก

นส.พ.อภัย สุทธิสังฃ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยผลประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาโคเนื้อ-กระบือ และผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (Beef Board) ว่า ที่ประชุมได้ทบทวนข้อเสนอยุทธศาสตร์โคเนื้อ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ซึ่งมีวิสัยทัศน์ในภาพรวมคือ การเป็นผู้นำการผลิตโคเนื้ออย่างมั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยในระยะ 5 ปีแรก Beef Board ได้ทบทวนผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่ 1 เป็นการรักษาตลาดการบริโภคโคเนื้อไทย ยุทธศาสตร์ที่ 2 เป็นการกระตุ้นการเพิ่มประชากรโคเนื้อไทย และยุทธ์ศาสตร์ที่ 3 เป็นการบริหารจัดการพืชอาหารสัตว์และอาหารสัตว์สำหรับโคเนื้อ โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นผู้นำการผลิตโคเนื้อที่เพียงพอต่อการบริโภคและส่งของในภูมิภาค ในระยะ 10 ปีประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิต การตลาดโคเนื้อและผลิตภัณฑ์ในอาเซียน+3 ในระยะ 15 ปีประเทศไทยจะเป็นผู้นำการตลาดมูลค่าโคเนื้อด้วยนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และในระยะ 20 ปี ประเทศไทยจะเป็นผู้นำการส่งออกอาหารและผลิตภัณฑ์เนื้อโคในตลาดโลก ปัจจุบันประเทศไทยมีเกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อกว่า 909,324 ราย ซึ่งมีโคเนื้อทั้งหมดกว่า 6,230,140 ตัว โดยประมาณการผลผลิตโคเนื้อในปี 2563 คาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปี 2562 กว่า 1.224 ล้านตัว เนื่องจากประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq03/3159845

FTA ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาเวียดนามพุ่งสูงขึ้น

เมื่อต้นเดือน ก.ย. ปีนี้ พบว่ามูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศอยู่ที่ 19.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม การจดทะเบียนโครงการใหม่ 1,797 โครงการ ด้วยเงินทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 9.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่านโยบายในการดึงดูดนักลงทุนรุ่นใหม่ได้ผลอย่างเห็นได้ชัด ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบในเชิงลบท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่เวียดนามลงนามกับญี่ปุ่น ยุโรปและสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย ล้วนเป็นประโยชน์อย่างสูงสำหรับการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในเวียดนาม นอกจากนี้ การแก้ไขอุปสรรคทางการค้าอย่างรวดเร็ว ตลอดจนแนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสแก่องค์กรต่างๆ ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการต่างชาติต่อสภาพแวดล้อมในการลงทุนดีขึ้น ในขณะเดียวกัน จากรายงาน “Doing Busines” ปี 2563 ได้จัดอันดับเวียดนามอยู่ใน 70 จากทั้งหมด 190 ประเทศ โดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ การส่งเสริมให้เข้าถึงข้อมูลเครดิต และพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/ftas-help-attract-more-foreign-investors-to-vietnam-24468.html

เปิดตัวบูธงานแสดงสินค้าไทยที่ใหญ่ที่สุดในนครโฮจิมินห์

จัดงานแสดงสินค้าและบริการของไทยที่มีคุณภาพสูงกว่า 150 บริษัทชั้นนำในประเทศไทย ภายใต้งาน “Top Thai Brands” เป็นงานแสดงสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม โดยเปิดงานในวันที่ 17 ก.ย. ภายในงานมีการจัดแสดงสินค้าและบริการจากไทย ที่มีความหลากหลายและยังเป็นที่ยอมรับในระดับสากลอีกด้วย ซึ่งขุดประสงค์ของงานดังกล่าว เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสองประเทศ และขยายเครือข่ายทางการค้า รวมถึงหาแนวทางส่งเสริมเพื่อกระตุ้นพาร์ทเนอร์ ทั้งนี้ ด้วยความปลอดภัยของผู้เยี่ยมชม ทางผู้จัดงานได้เตรียมมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ได้แก่ เจลทำความสะอาดมือ การตรวจสอบอุณหภูมิ และแจ้งเตือนให้สวมใส่หน้ากากและล้างมือ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม งานนี้จัดขึ้นโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กับบริษัท Vietnam National Trade Fair และบริษัทหุ้นส่วนโฆษณาและงานแสดงสินค้า (VINEXAD) ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไซง่อน

 ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/772451/biggest-thai-trade-fair-opens-in-hcm-city.html

เมียนมาจ่อเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายถึงธันวาคม 63

คณะกรรมการกลางเพื่อการป้องกัน ควบคุม และรักษาโควิด-19 ของเมียนมาขยายการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย 2% สำหรับสินค้าส่งออกและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำเข้าและส่งออกจนถึงเดือนธันวาคม 63 ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ในวันที่ 15 กันยายน 63 ที่ผ่านมา-เพื่อให้บริษัทต่างๆ สามารถบริหารกระแสเงินสดได้ อีกทั้งกระทรวงการวางแผนและการเงินยังได้ขยายเวลาในการจ่ายรายได้และภาษีการค้า ซึ่งสามารถยื่นได้ทางออนไลน์ โดยแอปพลิเคชั่นการขยายใบอนุญาตจะมอายุห้าปีแม้ว่าค่าธรรมเนียมการขยายใบอนุญาตยังคงเท่าเดิม ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำเข้าจะถูกจำกัด ไว้ที่ 30,000 จัตถึงสิ้นเดือนธันวาคมเช่นกัน ซึ่งค่าธรรมเนียมจะอยู่ระหว่าง 30,000 ถึง 90,000 จัต

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/withholding-tax-exemption-extended-until-december-myanmar.html

สปป.ลาว, IOM เสริมสร้างการตอบสนอง Covid-19 ที่จุดผ่านแดน

รัฐบาลและองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ได้เปิดตัวโครงการ“ การตอบสนองต่อความท้าทายโควิด -19 ณ จุดเข้าประเทศสปป.ลาว” เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสระลอกที่สอง โครงการมีระยะเวลา 6 เดือนจะสนับสนุนการพัฒนาขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน มีการฝึกอบรมเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อเสริมสร้างความพร้อมและความพยายามในการรับมือกับการระบาดของโรคโควิด 19 ของเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้จะมีการพัฒนาสื่อการสื่อสารความเสี่ยงที่เหมาะสม ในขณะที่กิจกรรมต่างๆจะดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการด้านอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลและโครงสร้างพื้นฐาน ณ จุดแรกเข้า รัฐบาลและ IOM ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับผู้ย้ายถิ่นจำนวนมากที่เดินทางกลับทั่วภูมิภาคเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับการตอบสนองต่อความท้าทายอย่างมีประสิทธิผลและทันท่วงที ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการป้องกันการตรวจจับและการตอบสนองต่อการแพร่กระจายของโรค โครงการจะดำเนินการที่จุดเข้าออกระหว่างประเทศ 10 แห่ง ได้แก่ สนามบินนานาชาติวัตไต, สนามบินหลวงพระบาง, สนามบินจำปาสัก, สนามบินสะหวันนะเขต, สะพานมิตรภาพลาว – ​​ไทย 1 ในเวียงจันทน์, สะพานมิตรภาพลาว – ​​ไทย 2 ในสะหวันนะเขต, มิตรภาพลาว – ​​ไทย สะพาน 3 ในคำม่วน, สะพานมิตรภาพลาว – ​​ไทย 4 ในบ่อแก้ว, ด่านพรมแดนระหว่างประเทศวังเตา – ช่องเม็ก ในจังหวัดจำปาสักและจุดผ่านแดนลาว – ​​จีน บ่อเต็น – บ่อฮาน ในแขวงหลวงน้ำทา

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry182.php

การส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัมพูชาและสหภาพยุโรป

กัมพูชาและสหภาพยุโรป ให้คำมั่นที่จะส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าทวิภาคีและเรียกร้องให้ประเทศที่พัฒนาแล้วให้การสนับสนุนกิจกรรมทางการค้าของประเทศที่อยู่ในเกณฑ์พัฒนาน้อยที่สุดต่อไป โดยเสนอการปฏิบัติเฉพาะในระบบการค้า ซึ่งคำมั่นเกิดขึ้นในระหว่างการประชุมของทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และ รองหัวหน้าคณะสถานทูตอังกฤษในกัมพูชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความโปร่งใสและความเท่าเทียมกันระหว่างสมาชิก นอกจากนี้กัมพูชายังเรียกร้องให้สหภาพยุโรปสนับสนุนกิจกรรมการค้าของกัมพูชาต่อไป ซึ่งได้แสดงความคิดเห็นในแง่ดีเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศโดยเฉพาะในด้านการค้าเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบัน โดยการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหภาพยุโรปมีมูลค่าถึง 1.05 พันล้านดอลลาร์ในปี 2019 ซึ่งกัมพูชาส่งออกไปยังสหภาพยุโรปมากกว่า 978 ล้านดอลลาร์ โดยส่วนใหญ่เป็นจักรยาน เสื้อผ้าและรองเท้า ตามตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50764309/cambodia-uk-vow-to-boost-trade-cooperation/

ผลกระทบจาก COVID-19 ต่อการทำการเกษตรของกัมพูชา

ในปี 2020 ภาคการเกษตรยังคงมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจของกัมพูชาโดยคิดเป็นร้อยละ 22 ของ GDP สร้างการจ้างงานถึง 1 ใน 3 ของภายในประเทศกัมพูชา แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะเกิดโรคระบาดการขยายตัวทางเศรษฐกิจในภาคการเกษตรก็มีการชะลอตัวและหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 15 ปี ในปี 2019 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากภัยแล้งที่ยืดเยื้อตั้งแต่ในปี 2013 ซึ่งมีเกษตรกรชาวกัมพูชาจำนวนมากเคลื่อนย้ายไปต่างประเทศเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพ โดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้โน้มน้าวให้ภาคการเกษตรถือเป็นภาคสำคัญทางเศรษฐกิจที่จะเผชิญกับแรงกดดันจากการแพร่ระบาด ซึ่งในแง่ของผลิตภัณฑ์ข้าวถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด โดยมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของ GDP ในภาคการเกษตร ซึ่งผลกระทบของ COVID-19 ต่อผลผลิตทางการเกษตรในห่วงโซ่คุณค่าและความมั่นคงเป็นสิ่งสำคัญ โดยจากผลการวิจัยสรุปได้ว่ารายได้จากการทำฟาร์มลดลงอย่างมีนัยสำคัญกว่าร้อยละ 30 จาก 283 ดอลลาร์ ในเดือนมกราคมสู่ 195 ดอลลาร์ ภายในเดือนเมษายน ซึ่งหากแนวโน้มนี้ยังคงดำเนินต่อไปจะส่งผลกระทบเชิงลบต่ออุตสาหกรรมการเกษตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50764323/the-effects-of-covid-19-on-farming/

จังหวัดบิ่นห์ดิ่นห์ส่งออกไม้พุ่ง 21% ถึงแม้เผชิญโควิด-19

จังหวัดบิ่นห์ดิ่นห์ส่งออกไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ด้วยมูลค่า 373 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือน ม.ค.-สิ.ค. ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม ซึ่งประธานสมาคมผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ กล่าวว่าจังหวัดข้างต้น มีสัดส่วนของการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 72.6 ของแผนรายปี ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าประจำจังหวัด ให้การสนับสนุนไปยังบริษัทไม้ในการปรับโครงสร้างการผลิตและส่งเสริมการปกป้องพื้นที่ป่าอย่างยั่งยืน เพื่อให้มั่นใจว่าจังหวัดบิ่นห์ดิ่นห์ยังคงรักษาต่ำแหน่งที่เป็นศูนย์กลางแปรรูปไม้ที่ใหญ่ที่สุดในภาคกลางของเวียดนาม โดยปัจจุบัน ทางจังหวัดดังกล่าวเป็นที่ตั้งของธุรกิจแปรรูปไม้ 200 แห่ง และสร้างงานให้กับคนในพื้นที่ประมาณ 20,000 คน อีกด้วย

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/binh-dinhs-wood-exports-surge-21-percent-despite-pandemic/183069.vnp

เวียดนามส่งออกกาแฟชุดแรก ภายใต้ข้อตกลง EVFTA

ผู้ประกอบการเวียดนามได้แถลงการณ์เมื่อวันพุธว่าทำการส่งออกเสาวรสและกาแฟชุดแรกไปยังสหภาพยุโรป ตามข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVFTA) ทำให้ภาษีของเมล็ดกาแฟคั่วหรือไม่ได้คั่วลดลงจากร้อยละ 7-11 มาจนถึงร้อยละ 0 ในขณะเดียวกัน ภาษีของผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปลดลงจากร้อยละ 9-12 มาจนถึงร้อยละ 0 ตามข้อตกลงดังกล่าวที่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 สิ.ค. 2563 ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจึงมีความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างมากในตลาดยุโรป ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ระบุว่าได้ดำเนินการสร้างโครงการในการพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านกาแฟ และการส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปกาแฟ รวมถึงยกระดับแบรน์ผลิตภัณฑ์กาแฟให้ทัดเทียมกับนานาชาติ นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกกาแฟของเวียดนามไปสหภาพยุโรป อยู่ที่ราว 76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือน สิ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน “นับว่าตัวเลขส่งออกข้างต้นอยู่ในระดับน่าพึงพอใจ”

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/772409/viet-nams-first-batch-of-coffee-under-evfta-exported.html

การปิดเมืองชายแดนอาจส่งผลต่อการค้าเมียนมากับจีน

การค้าระหว่างเมียนมาและจีนอาจหยุดชะงักหลังจากชายแดนหลุ่ยลี่ (RUILI) ซึ่งเป็นจุดผ่านแดนสำคัญใกล้กับมูเซในรัฐฉานถูกปิดไปเมื่อวันที่ 15 กันยายน 63 หลังตรวจพบเชื้อ COVID-19  คาดว่าจะปิดเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์และห้ามเดินทางออกนอกเมือง ซึ่งการซื้อขายผ่านชายแดนผ่านกำลังดำเนินการในเมือง Wan Ting ทางฝั่งจีน อย่างไรก็ตามสำนักงานศุลกากรของจีนส่วนใหญ่ปิดตัวการซื้อขายลง แต่ยังสามารถซื้อขายผลไม้ได้ ในขณะที่ทางหลวงของจีนถูกปิดกั้นการขนส่งจึงจำเป็นต้องใช้ถนนเส้นเก่าในการค้าขาย และหากยืดเยื้อต่อไปการค้าชายแดนอาจส่งผลเสียหายสำหรับผู้ค้าในพื้นที่ ผู้ค้าในมูเซให้ข้อมูลว่าการปิดชายแดนเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐได้ทำการตรวจสอบประชากรราว 400,000 คน ในเมืองซ่วยหลี่ (Shweli )เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดจากการติดไวรัสหากพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอาจขยายระยะเวลาการปิดชายแดนออกไป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/border-town-lockdown-might-affect-myanmar-china-trade.html