ธุรกิจเวียดนามเล็งจัดหาอุปกรณ์ให้กับหน่วยงานทางการแพทย์สหรัฐฯ

Ecom net USA เป็นแบรนด์สัญชาติเวียดนามที่ผลิตอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ (Personal Protective Equipment: PPE) ได้ลงนามเมื่อวันที่ 14 สิ.ค. (ตามเวลาสหรัฐฯ) เพื่อจัดหาหน้ากากและชุดป้องกัน PPE ให้กับทางกลุ่มโรงพยาบาลสหรัฐภายใต้ชื่อ “Spartan” ทั้งนี้ คุณ Vince Proffitt ประธานบริษัท Spartan Medical ชื่นชมคุณภาพของอุปกรณ์ทางการแพทย์จาก Ecom net USA และบริษัทเวียดนามอีกหลายแห่ง รวมถึงจากการประเมินโดย Nelson Lab ระบุว่าหน้ากากที่ผลิตโดยบริษัทเวียดนามนั้น สามารถป้องกันน้ำ,ทนไฟได้ และกรองอนุภาคในอากาศได้ถึงร้อยละ 99 นอกจากนี้ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ทางบริษัท Ecom net USA ได้ให้การสนับสนุนหน้ากาก 10,000 ชิ้น ซึ่งเอกอัครราชทูตเวียดนามประจำสหรัฐฯ มอบเป็นของขวัญเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnamese-firm-seals-deal-to-supply-equipment-for-us-medical-group-417388.vov

ธุรกิจในมัณฑะเลย์ขอสินเชื่อ COVID-19 รอบที่ 2

จากรายงานของหอการค้าและอุตสาหกรรมภูมิภาคมัณฑะเลย์ (MRCCI) มีธุรกิจ 648 ราย ยื่นขอสินเชื่อ COVID-19 รอบที่ 2 เป็นจำนวนเงิน 100 พันล้านจัต โดยสามารถยื่นใบสมัครตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคมถึง 10 สิงหาคม 2563 พบว่าธุรกิจการผลิตอาหารยื่นขอกู้มากที่สุด เงินกู้รอบที่ 2 ส่วนใหญ่จะออกให้กับธุรกิจด้านการเกษต รปศุสัตว์และประมง การส่งเสริมการค้าและห่วงโซ่อุปทาน การแปรรูปอาหารตลอดจนหน่วยงานตัวแทนจัดหางานในต่างประเทศและศูนย์ฝึกอาชีพ ในการปล่อยกู้นอบแรกมีผู้ยื่นขอสินเชื่อผ่าน MRCCI ทั้งหมด 417 ราย แต่มีเพียง 330 รายเท่านั้นที่ได้รับการอนุมัติ มีการปล่อยเงินกู้จำนวน 1 แสนล้านจัต ให้กับธุรกิจทั้งหมด 3,393 แห่ง ตั้งแต่เดือนเมษายน 63 โดยมีอัตราดอกเบี้ย 1% และระยะเวลาชำระคืนหนึ่งปี

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/more-mandalay-businesses-apply-second-covid-19-loan.html

ตระนาวศรีมีแผนส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลไปยังไทย

ตามประกาศของกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทาน แม้ว่าอุตสาหกรรมทั้งหมดในเขตตะนาวศรีจะระงับชั่วคราวในช่วงที่มีการระบาดของโควิด -19 แต่กำลังมีแผนส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลไปยังไทย สมาคมสหกรณ์สามแห่งในเมืองเกาะสอง เขตตะนาวศรี ได้ส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงไปยังต่างประเทศ ดังนั้นพวกเขามีรายได้ 4.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกในปีงบประมาณ 2562-2563 ปัจจุบันเมียนมามีรายได้จากการส่งออกประมงกว่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 10 เดือนของปีงบประมาณนี้ ขณะนี้กรมประมงได้ประสานงานความร่วมมือกับผู้แปรรูปปลาและผู้ส่งออกเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ประมงเป็นไปตามกฎและข้อบังคับของประเทศผู้นำเข้ารวมถึงประเทศในยุโรป

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/taninthari-region-plans-to-export-marine-products-to-thailand

อโกด้า ชี้ เชียงใหม่ครองอันดับ 1 ที่คนอยากเที่ยวในไทย

อโกด้า ชี้ ชาวไทยมีแนวโน้มสูงที่จะเที่ยวในประเทศ เชียงใหม่ครองอันดับ 1 จุดหมายปลายทางยอดนิยม นายเออร์รอล คุก รองประธานฝ่าย Partner Services ของอโกด้า แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว เปิดเผยผลการสำรวจจากแคมเปญ โกโลคอล ที่จัดทำขึ้นเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศของหลายประเทศทั่วโลกพบว่า นักท่องเที่ยวไทย 78% อินโดนีเซีย 76% และสหรัฐอเมริกา 74% เป็น 3 ประเทศแรกที่อยากออกเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากที่สุด โดย 3 จุดหมายปลายทางยอดนิยมแรกของนักท่องเที่ยวไทย คือ เชียงใหม่ ภูเก็ต และหัวหิน  ผลการสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า 3 ใน 4 ของนักท่องเที่ยวมีความพร้อมและอยากออกเดินทางท่องเที่ยวอีกครั้ง นักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม 87% อินโดนีเซีย 78% และไต้หวัน 59% เป็น 3 ชาติแรกที่อยากออกเดินทางมากที่สุด โดยรวมแล้ว ภายในช่วง 12 เดือนข้างหน้านี้ 65% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด อยากเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ส่วนอีก 35% อยากไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ ทั้งนี้ นักเดินทางไทย 41% สะดวกเดินทางในระยะเวลา 3-4 ชั่วโมง ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวทั่วโลก 46% ตามมาด้วย 36% ที่เลือกเดินทาง 2 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่สูงที่สุดของโลก ในส่วนของวิธีเดินทาง นักท่องเที่ยวชาวไทย 50% เลือกการเดินทางด้วยเครื่องบิน และ 41% เลือกรถยนต์ส่วนตัว ส่วนในระดับนานาชาติ นักท่องเที่ยวทั่วโลกมากกว่า 1 ใน 4 รู้สึกสะดวกใจที่จะเดินทางในระยะเวลา 2 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า ตัวเลขนี้รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวอเมริกา 14% และไต้หวัน 15% โดยนักท่องเที่ยวจากสองชาตินี้ยังอยู่ในอันดับ 1 และ 3 ของกลุ่มนักท่องเที่ยวที่พอใจจะเดินทางไม่เกิน 5-8 ชั่วโมง (อเมริกา 25%, ซาอุดีอาระเบีย 22% และไต้หวัน 19%) เนื่องจากพื้นที่อันกว้างใหญ่ของออสเตรเลียจึงไม่น่าแปลกใจที่นักท่องเที่ยวออสเตรเลียมีแน้วโน้มมากที่สุดที่จะเดินทางมากกว่า 8 ชั่วโมง  ส่วนวิธีการเดินทางนั้น นักท่องเที่ยวทั่วโลก 28% เลือกที่จะเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว และ 57% เลือกที่จะเดินทางด้วยเครื่องบิน “ถึงแม้ผู้คนทั่วโลกจะต้องหยุดเดินทางท่องเที่ยวมาเป็นระยะเวลาหลายเดือน แต่ความกระหายในการเดินทางนั้นไม่ได้ลดลง ที่จริงแล้วมันกลับเพิ่มมากขึ้น ขณะนี้การเดินทางในประเทศเป็นทางเลือกในการท่องเที่ยวอันดับต้น ๆ ของผู้คนในหลายภูมิภาค ซึ่งส่วนมากต้องการออกสำรวจประเทศของตนเอง พักอาศัยในชุมชนท้องถิ่น โดยใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า 4 ชั่วโมง” สำหรับเมืองต่างๆจึงต้องหาทางดึงดูดนักท่องเที่ยวในประเทศให้มากขึ้น เพื่อช่วยเติมเต็มช่องว่างของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป ในทางตรงกันข้าม จุดหมายปลายทางที่โด่งดังในระดับภูมิภาคที่ใกล้ชายหาด ธรรมชาติ หรือพื้นที่ชนบท ก็มีโอกาสได้รับประโยชน์จากเทรนด์การท่องเที่ยวนี้ อีกทั้งนักท่องเที่ยวก็มีโอกาสได้ช่วยสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบด้วย

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/790167

‘พาณิชย์’ เผยข่าวดี FTA อาเซียน-จีน ดันส่งออกทุเรียนไปจีนครึ่งปีแรกพุ่ง 140%

 ‘นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยครึ่งปีแรก ไทยส่งออกทุเรียนสดไปตลาดโลก พุ่งถึง 1,411 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะตลาดจีน ขยายตัว 140% ชี้! ผู้ประกอบการขอใช้สิทธิส่งออกด้วย FTA อาเซียน-จีน สัดส่วนเต็ม 100% ของมูลค่าการส่งออกทุเรียนสดไปจีน แนะรักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้า เน้นการผลิตแบบปลอดสารพิษ ใช้ช่องทางขายออนไลน์เจาะตลาดมากขึ้น สินค้าเกษตร ซึ่งเป็นเศรษฐกิจสำคัญของประเทศและรายได้หลักของเกษตรกรไทย พบข่าวดี ไทยยังคงครองแชมป์ประเทศผู้ส่งออกทุเรียนอันดับหนึ่งของโลก ได้รับความนิยมสูงสุดในตลาดต่างประเทศ โดยทุเรียนสดมีสัดส่วนการส่งออก 69% ของการส่งออกผลไม้สดทั้งหมดของไทย ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรก (ม.ค. – มิ.ย. 2563) ไทยส่งออกทุเรียนสดไปตลาดโลก พุ่งถึง 1,411 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ถึง 73% โดยจีนถือเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทย มีมูลค่า 1,022 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนแบ่งตลาด 73% ของการส่งออกทุเรียนสดทั้งหมด ขยายตัวกว่า 140% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ตามด้วยฮ่องกง มูลค่า 207 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนแบ่งตลาด 15% ขยายตัว 34% และอาเซียน มูลค่า 164 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนแบ่งตลาด 12% ขยายตัว 25% (เวียดนามเป็นตลาดส่งออกหลัก)

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/beco/3150029

“ซัมซุง” ครองตำแหน่งผู้นำตลาดสมาร์ทโฟนในเวียดนาม

“ซัมซุง” มีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึงร้อยละ 33 ของส่วนแบ่งการตลาดรวมในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ทำให้ซัมซุงเป็นแบรน์สมาร์ทโฟนรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 แต่บริษัทเกาหลีมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแบรนด์อย่าง Oppo และ Vivo สัญชาติจีน มีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 17 และ 12 ตามลำดับ แต่ว่าเมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มของยอดขาย พบว่า Oppo มียอดขายลดลงร้อยละ 26 ขณะที่ Vivo มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 246 ทั้งนี้ VinSmart ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่เมื่อปลายปี 2562 ด้วยสมาร์ทโฟน 5G ที่ร่วมมือกับทาง “Qualcomm” ผู้ผลิตชิปรายใหญ่จากสหรัฐฯ ซึ่งมุ่งเน้นกลุ่มตลาดระดับต่ำ-ล่าง ด้วยราคาต่ำกว่า 5 ล้านด่ง (212 ดอลลาร์สหรัฐ)

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/companies/samsung-tops-vietnamese-smartphone-market-4145958.html

เวียดนามเผยเดือน ก.ค. เกินดุลการค้าสูงถึง 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กรมศุลกากรเวียดนาม (GDVC) เปิดเผยว่าในเดือน ก.ค. เวียดนามเกินดุลการค้า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่ต้นปีนี้ และสูงกว่าที่ตั้งเป้าไว้ก่อนหน้าประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ข้อมูลตัวเลขข้างต้นนั้น เป็นผลมาจากการค้าระหว่างประเทศรวมที่ 47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในเดือน ก.ค. มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 24.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน ขณะที่ มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 20.10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน ทั้งนี้ ภาพรวม ในเดือน ม.ค.-ก.ค. มูลค่าการส่งออกรวมสูงถึง 147.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมูลค่าการนำเข้ารวมอยู่ที่ 139.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้เวียดนามเกินดุลการค้า 8.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ บริษัทหลักทรัพย์ Bao Viet (BVSC) ระบุว่าท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทั่วโลก ทำให้การส่งออกของกลุ่มประเทศในอาเซียนลดลงร้อยละ 20-40 ได้แก่ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซียและเวียดนามที่มีการส่งออกขยายตัวร้อยละ 1.5 ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งเป็นแรงสนับสนุนทางเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-posts-record-high-monthly-trade-surplus-of-us28-billion-in-july-313859.html

MCDC เปิดประมูลใบอนุญาตประกอบธุรกิจในปี 63-64

กรมสรรพากรของคณะกรรมการพัฒนาเมืองมัณฑะเลย์ (MCDC) จะออกใบอนุญาตธุรกิจทั่วไปสำหรับปีงบประมาณ 2563-2564 สำหรับการประมูลในเร็ว ๆ เช่น ร้านขายเนื้อหมูและเนื้อแกะ บริการเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับห้องอาบน้ำและห้องสุขาสาธารณะ โรงรับจำนำ บริการจัดเก็บภาษีท่าเทียบเรือ ธุรกิจเกสต์เฮาส์และบริการเก็บค่าธรรมเนียมที่จอดรถสำหรับจักรยานรถจักรยานยนต์และยานพาหนะอื่น ๆ โดยจะเริ่มเปิดประมูลตั้งแต่สัปดาห์สุดท้ายของเดือนนี้หรือต้นเดือนกันยายน มีการขายที่จอดมากกว่า 40 แห่งในราคาประมาณ 700 ล้านจัต สำหรับที่จอดรถและมีแผนที่จำเป็นในการเก็บค่าธรรมเนียม 100 จัตสำหรับจักรยาน 200 จัตสำหรับรถจักรยานยนต์ และ 300 จัตสำหรับรถยนต์ต่อคัน หากผู้ชนะการประมูลฝ่าฝืนกฎจะได้รับคำเตือนเป็นครั้งแรกโดยการปรับ 200,000 จัต ครั้งที่ 2 ถึงครั้งที่ 3 อยู่ที่ 500,000 จัต และจะเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจอย่างถาวรหากยังคงฝ่าฝืนกฎต่อไป

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mcdc-auction-general-business-licenses-2020-21.html

การค้าเมียนมาเพิ่มขึ้นแม้มีการระบาดของ COVID-19

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ พบว่าแม้ว่าการระบาดของ COVID-19 แต่รายรับจากการส่งออกของเมียนมากลับเพิ่มขึ้นประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบัน การค้าชายแดนกับบังกลาเทศ อินเดีย ไทยและจีนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีงบประมาณที่แล้วรวมทั้งเส้นทางการเดินเรือการค้ารวมจนถึงปีนี้มีมากกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งมากกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 1.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รายได้จากการส่งออกไปจีนลดลงราว 107 ล้านดอลลาร์สหรัฐระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 24 กรกฎาคมของปีงบประมาณนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันการส่งออกเมล่อนไปยังประเทศจีนลดลงประมาณร้อยละ 20 ในทางกลับกันการส่งออกข้าวโพดได้เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 เมื่อเทียบเป็นรายปีในปีงบประมาณปัจจุบันและแนวโน้มการเติบโตดูสดใส การส่งออกข้าวโพดอยู่ที่ 2.5 ล้านตันเมื่อเทียบกับ 1.5 ล้านตันในปีที่แล้ว ขณะนี้รายได้จากการส่งออกผลไม้ของเมียนมามีมากกว่า 370 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเทียบเท่ากับรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว อีกทั้งความต้องการกล้วยคุณภาพดีที่ผลิตจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อซึ่งชดเชยการส่งออกผลไม้อื่น ๆ เช่น แตงโม และแตงกวาที่ลดลง เมียนมายังเพิ่มความพยายามในการทำตลาดผลไม้อื่น ๆ เช่น อะโวคาโดพันธุ์แฮส (Hass) ตลอดจนอาหารแปรรูปและผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าไปยังตลาดต่างประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-trade-volumes-increase-despite-covid-19.html

สปป.ลาวได้รับเงินทุนเพื่อบรรเทาด้านการศึกษาจากผลกระทบ COVID-19

Global Partnership for Education กำลังจัดสรรเงินช่วยเหลือจำนวน 7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผ่านทาง UNICEF เพื่อช่วยตอบสนองและบรรเทาผลกระทบด้านการศึกษาและสังคมในสปป.ลาวจากการระบาดของ COVID-19 UNICEF สปป.ลาวได้ลงนามข้อตกลงการให้ทุนเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เงินทุนดังกล่าวที่ได้จากการระดมทุนจากหลายๆองค์กรระดับโลก จะนำมาดำเนิน กิจกรรมภายใต้การนำของกระทรวงศึกษาธิการและกีฬาโดย UNICEF จะประสานงานอย่างใกล้ชิดกับภาคีการพัฒนาต่างๆผ่านกลไกของคณะทำงานภาคการศึกษารวมถึงสนับสนุนกิจกรรมต่างๆที่พัฒนาศักยภาพด้านสาธารณสุขของสปป.ลาว Dr.Phouth ตัวแทน UNICEF กล่าวเพิ่มเติมว่า“ เราทุกคนต้องมั่นใจว่าภาคการศึกษาจะกลับมาฟื้นตัวได้ดีอีกครั้งและจะมีส่วนช่วยอย่างยิ่งในการทำให้ประชาชนสปป.ลาวมีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นโครงการที่จะช่วยสนับสนุนพัฒนาการของทุนมนุษย์”

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos157.php