เวียดนามเผยช่วงครึ่งปีแรก ดัชนี CPI ทำสถิติสูงสุด 5 ปีที่ผ่านมา

สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ถือว่าสูงสุดตั้งแต่ปี 2559-2563 ทั้งนี้ ดัชนี CPI เดือนมิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเดือนที่แล้ว เป็นผลมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันและเนื้อสุกร อย่างไรก็ตาม ดัชนี CPI เดือนมิ.ย. ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.59 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. ซึ่งต่ำที่สุดในช่วงปี 2559-2563 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสสองของปีนี้ ดัชนี CPI ลดลงร้อยละ 1.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว นอกจากนี้ ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นร้อยละ 1.71 เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย. เหตุจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 และข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน

ที่มา : http://dtinews.vn/en/news/018/68638/cpi-records-five-year-high-in-h1.html

ธนาคารในเมียนมาเปิดตัวบัตรเดบิต เครดิตเพื่อผลักดันการใช้เงินสด

ธนาคารประชาชนแห่งเมียนมา (MCB) เตรียมให้บริการบัตรเดบิตโดยร่วมกับสหภาพพม่า Payment Union (MPU) และผู้ให้บริการชำระเงินจากญี่ปุ่นอย่าง JCB ธนาคารประกาศในช่วงสุดสัปดาห์ การร่วมมือกันครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้ใช้บัตรอสามารถเข้าถึงเครือข่ายการค้าของ MPU ทั่วประเทศและถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็ม MCB, ตู้เอทีเอ็มอื่น ๆ ที่รองรับบัตร MPU / JCB และ ATM ที่รองรับบัตร JCB ในประเทศอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการชำระเงินผ่านเครื่อง ณ จุดขาย (POS) ที่เคาน์เตอร์ขายในประเทศและต่างประเทศรวมถึงชำระเงินและเติมเงินออนไลน์ได้ สัปดาห์นี้หลังจากที่ Yoma Bank จับมือกับ Mastercard จะช่วยให้ธนาคารสามารถขยายการให้บริการทางดิจิทัลและความความก้าวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัลของเมียนมา รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการพัฒนาและใช้ผลิตภัณฑ์การชำระเงินแบบไร้เงินสดและแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อผลักดันการเติบโตและการรับมือกับการระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-local-banks-launch-debit-credit-cards-drive-cashless-push.html

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมสนับสนุนแรงงานสปป.ลาวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค Covid-19

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ปฏิญาณว่าจะรักษาผลประโยชน์และสิทธิของแรงงานสปป.ลาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือผู้ที่ถูกปลดออกหรือหยุดงานชั่วคราวในช่วงที่มีการระบาดของ Covid-19 ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคนงานได้รับความช่วยเหลือมากขึ้น เนื่องจากคนส่วนใหญ่ได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันสังคม อย่างไรก็ตามการระบาดใหญ่ของโลกได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและคนงาน ส่วนใหญ่ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิประโยชน์การว่างงานไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียตำแหน่งงานชั่วคราวหรือถาวร  โดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมทั่วประเทศทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นในการให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับจำนวนคนที่ต้องการความช่วยเหลือ กระทรวงยังทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงสมาชิกของระบบประกันสังคมผ่านกลไกความร่วมมือการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการส่งเสริมโครงการแรงงาน กระทรวงได้สั่งให้เจ้าหน้าที่แรงงานในทุกแขวงให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนผู้ว่างงานในปัจจุบัน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานที่มีอยู่ในแต่ละแขวง โดยกระทรวงจะจัดให้มีโครงการสนับสนุนสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานบนพื้นฐานอิสระหรือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระเช่นเดียวกับผู้ที่หวังจะหางานเพิ่มในประเทศอื่นเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น กระทรวงได้ร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มเสี่ยงกับสถานการณ์ Covid-19 ในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ยังคงส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่สูงการเข้าถึงโอกาสที่เป็นธรรมสำหรับทุกคนและส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของเด็กผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry124.php

รัฐบาลสปป.ลาวพยายามรักษาอัตราการเติบโตของการผลิตทางการเกษตร

รัฐบาลจะพยายามรักษาอัตราการเติบโตของการผลิตทางการเกษตรไว้ที่ 2.3-2.5% ในปีนี้เพื่อรับมือกับความท้าทายของภาคธุรกิจที่ต้องเผชิญในปีนี้ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ซึ่งการคาดการณ์ผลิตทางการเกษตรอาจหดตัวลงร้อยละ 0.4 Dr. Lien Thikeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้รายงานเศรษฐกิจภาคเกษตรในที่ประชุมสมัยที่ 9 ของรัฐสภาครั้งที่ 8 ของรัฐสภา (NA) “การผลิตพืชควรถึง 1.8 ล้านตันในปีนี้ โดยผลผลิตผลไม้ 1.3 ล้านตัน เผือก 300,000 ตัน กาแฟ 160,000 ตัน ข้าวโพดหวาน 1 ล้านตัน มันสำปะหลัง 3.3 ล้านตันและอ้อยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1.5 ล้านตัน ปศุสัตว์ควรขยายตัวร้อยละ 6 การเลี้ยงปลาขยายตัวร้อยละ 10” ในเชิงพาณิชย์ของการเกษตรและการป่าไม้รัฐบาลจะสนับสนุนการส่งออกดดยตั้งเป้าหมายที่มากกว่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ Dr. Lien Thikeoสนับสนุนแนวคิดการเกษตรที่สะอาดเพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้และการจ้างงานของเกษตรกรซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt124.php

สหรัฐฯมอบเงินสนับสนุน 56 ล้านดอลลาร์แก่กัมพูชา

รัฐบาลสหรัฐฯได้มอบเงินสนับสนุนโครงการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2563 จำนวน 56 ล้านดอลลาร์ รวมถึงเพื่อส่งเสริมภาคเกษตรกรรมในกัมพูชาอีก 18 ล้านดอลลาร์ ตามแถลงการณ์รัฐบาลกัมพูชาผ่านสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) และรัฐบาลสหรัฐฯผ่านองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) ได้ลงนามในข้อตกลงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อจัดหาโครงการด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โดยรองประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชากล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทั้งสองประเทศเกี่ยวกับความร่วมมือ ซึ่งความร่วมมือด้านการพัฒนาทวิภาคีอย่างต่อเนื่องนี้เป็นเสาหลักที่สำคัญในการส่งเสริมและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ โดยในความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง USAID จะให้ทุนแก่โครงการต่างๆเพื่อช่วยลดจำนวนคนยากไร้ และเพิ่มการผลิตพืชผลที่สำคัญและปรับปรุงโภชนาการให้กับชุมชนในชนบท ซึ่งในภาคการศึกษากระทรวงศึกษาธิการเยาวชนและการกีฬาและโปรแกรม USAID จะสนับสนุนความพยายามในการปรับปรุงความเข้าใจในการอ่านในหมู่เด็กๆ เพื่อลดอัตราการออกกลางคันและจัดหาชาวกัมพูชาให้เข้ามาทำงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50738964/us-gives-56-mln-to-support-kingdom/

การเติบโตของเขตเศรษฐกิจพิเศษในกัมพูชากำลังเผชิญกับอุปสรรค

ประธานเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ (PPSEZ) แถลงในการเปิดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สำหรับปี 2562 การเงินของบริษัทยังคงแข็งแกร่งทั้งในแง่ของกำไรและรายได้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยมองว่าปีนี้จะเป็นปีที่ท้าทายสำหรับบริษัท จากผลกระทบของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อทุกบริษัททั่วโลก ซึ่งคาดว่าหลังจากการระบาดของ COVID-19 รวมถึงความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่อาจจะส่งผลให้มีการเปลี่ยนสายการผลิตย้ายมายังกัมพูชาเร็วขึ้น รายงานแสดงให้เห็นว่าปริมาณการส่งออกจาก PPSEZ เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.9 ในช่วง 4 ปีจากปี 2016 – 2019 รวม 316 ล้านดอลลาร์สู่ 518 ล้านดอลลาร์ บริษัท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 สินทรัพย์รวมของ PPSP มากกว่า 94 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.14 ในขณะที่ส่วนทุนมีมากกว่า 59 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.60 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50739183/after-massive-growth-special-economic-zone-will-face-hurdles/

เศรษฐกิจเวียดนามครึ่งปีแรกเติบโตในระดับต่ำ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวร้อยละ 1.81 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 เป็นอัตราการเติบโตต่ำที่สุดนับตั้งแต่ครึ่งปีแรกปี 2554 ซึ่งในช่วงไตรมาสสองของปีนี้ ชี้ให้เห็นว่า GDP ของเวียดนามเติบโตร้อยละ 0.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสสองของปี 2554-2563 เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในช่วงไตรมาสสอง และรัฐบาลเพิ่มข้อปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรก ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้และประมงมีการขยายตัวร้อยละ 1.19, ภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้างเติบโตร้อยละ 2.98 และภาคบริการเติบโตร้อยละ 0.57 นอกจากนี้ รองผู้อำนวยการ GSO กล่าวว่าผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัส ส่งผลกระทบทางลบทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงระบบการเมือง เป็นต้น รัฐบาลและนายกรัฐมนตรีเห็นถึงความสำคัญในการต่อสู้กับ COVID-19 และแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการปกป้องสุขภาพและชีวิตของผู้คน แม้ว่าจะสูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจก็ตาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-economy-records-decadelow-h1-growth/177673.vnp

เวียดนามเกินดุลการค้าครึ่งปีแรก พุ่ง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ายอดเกินดุลการค้าในเดือนมิ.ย. ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งช่วงเดือนม.ค.-มิ.ย. ชี้ให้เห็นว่ายอดเกินดุลการค้าสูงถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นราว 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน) สำหรับภาคการลงทุนในประเทศนั้นคาดว่าจะขาดดุลการค้าราว 10.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 6 เดือนแรก ในขณะที่ บริษัทต่างชาติ (FDI) มียอดเกินดุลการค้า 14.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เดือนมิ.ย. เวียดนามมีมูลค่าส่งออกประมาณ 21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าประมาณ 20.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 นอกจากนี้ ในบรรดาคูค้ารายใหญ่ของเวียดนาม พบว่าในช่วง 6 เดือนแรก สหภาพยุโรปมียอดเกินดุลการค้าลดงร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ด้วยมูลค่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่จีนขาดดุลการค้าลดลงร้อยละ 19.3 ด้วยมูลค่า 15.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-trade-surplus-widens-to-us4-billion-in-h1-312907.html

อุตสาหกรรมการก่อสร้างเมียนมาพร้อมต้อนรับแรงงานที่อพยพกลับประเทศ

อุตสาหกรรมการก่อสร้างของประเทศพร้อมเตรียมตำแหน่งงานสำหรับแรงงานอพยพที่มีประสบการณ์ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศเนื่องจาก COVID-19 สหพันธ์ผู้ประกอบการก่อสร้างของเมียนมาจะช่วยบริษัทก่อสร้างในท้องถิ่นให้ดำเนินการตามกระบวนการประกวดราคาของรัฐบาลหากพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งรัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการจ้างงานมากขึ้นในประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคมสถานที่ก่อสร้างเอกชนในเขตย่างกุ้งเกือบทั้งหมดหยุดชะงักเนื่องจาก COVID-19 แต่ธุรกิจเปิดใหม่และการก่อสร้างจะเริ่มต้นในช่วงเดือนมิถุนายน องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ออกโรงเตือนว่าแรงงานข้ามชาติหลายล้านคนทั่วโลกอาจเผชิญกับการว่างงานและความยากจนหลังจากเดินทางกลับจากต่างประเทศกลับประเทศบ้านเกิด สองเดือนที่ผ่านมามีแรงงานเดินทางกลับประเทศมากกว่า 71,000 คนจากประเทศไทย หลายพันคนกลับมาจาก จีน มาเลเซีย สิงคโปร์และเกาหลีใต้ โดยค่าแรงขั้นต่ำต่อวันคือ 4,800 จัต ในขณะที่ประเทศไทยค่าแรงขั้นต่ำต่อวันจะอยู่ที่ 325 บาทหรือประมาณ 15,000 จัต ILO กล่าวว่าด้วยนโยบายที่ถูกต้องของแรงงานอพยพอาจเป็นทรัพยากรสำคัญในการฟื้นตัวจากผลกระทบของ COVID-19 แรงงานข้ามชาติเหล่านี้จะนำความสามารถและทักษะใหม่ ๆ มาพัฒนาประเทศเมียนมาต่อไป

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-construction-industry-ready-provide-jobs-returnees.html

อัตราเงินเฟ้อลดลงท่ามกลางความต้องการที่ลดลง

จากรายงานของธนาคารโลกอัตราเงินเฟ้อในประเทศลดลงเหลือร้อยละ 8.3 ในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่ลดลงของผู้ประกอบการในเมียนมา เนื่องจากผู้บริโภคลดการใช้จ่ายลงท่ามกลางวิกฤติ COVID-19  ปัจจุบันอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนและคาดว่าจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อรายปี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจากร้อยละ 9.5 ในเดือนธันวาคม 2562 เป็นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนเมษายนเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ที่เป็นตัวฉุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 13 ในเดือนเมษายนนี้คาดว่าเดือนกรกฎาคมจะลดลอีกเนื่องจากอัตราภาษีศุลกากรที่สูงขึ้นเมื่อเทียบเป็นรายปี การใช้จ่ายที่ลดลงและราคาที่ลดลงคาดว่าจะช่วยลดแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อโดยรวมในปีงบประมาณ 2563-2563 ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อควรอยู่ที่ร้อยละ 7.5 ในปีงบประมาณนี้ลดลงจากร้อยละ 8.5 ของปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อโลกที่คาดไว้ที่อยู่ที่ร้อยละ 7.5 ในปีนี้อาจสูงกว่าอัตราของธนาคารกลางในปัจจุบันที่ร้อยละ 7 อัตราเงินฝากขั้นต่ำของธนาคารในเมียนมาคือร้อบละ 5 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ร้อยละ 10

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-inflation-declines-amid-falling-demand.html