COVID-19 ฉุดเศรษฐกิจเวียดนามลงมาอยู่ที่ 6.3% : Fitch Solution

จากรายงานของศูนย์วิจัย Fitch Solutions ในวันที่ 24 มี.ค. เปิดเผยว่าปรับลดอัตราการขยายตัวของ GDP เวียดนาม ในปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 6.3 จากที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.8 ก่อนหน้านี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) อีกทั้ง แนวโน้มของตลาดเกิดใหม่ (EM) ชี้ให้เห็นว่าเวียดนามมีความยืดหยุ่นทางการคลังอยู่ในระดับต่ำ จากการที่หนี้สินภาครัฐสูง รวมถึงทางศูนย์ฯ ยังปรับลดเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่อื่นๆ “แม้ว่าจะไม่แพร่ระบาดของโควิด-19 มากนักในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ แต่คาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจะลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3 ในปี 2563” ทั้งนี้ ความตึงเครียดของตลาดการเงินทั่วโลกจะแสดงให้เห็นจากความรัดกุมของสภาพคล่องในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ซึ่งทางศูนย์วิจัยมองว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ และการเทขายของตลาดหุ้นส่งผลให้ดัชนีหุ้นอ้างอิงของบริษัทในตลาดเกิดใหม่ (MSCI) ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 30 ในขณะที่ ไม่น่าแปลกใจมากนัก จากการที่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าความตึงเครียดของตลาดการเงินในตลาดเกิดใหม่ ส่งผลให้การเติบโตลดลงอย่างมากหลังจากภาวะทางการเงินที่ย่ำแย่

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/covid19-to-pull-vietnams-growth-down-to-63-fitch-solutions-411813.vov

แอลจีเรียเป็นตลาดที่มีศักยภาพของผลิตภัณฑ์เวียดนาม

จากรายงานของสำนักงานการค้าเวียดนามในแอลจีเรีย ระบุว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรียเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการส่งออกลวดเย็บกระดาษของเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กาแฟและข้าว เป็นต้น รายได้จากการส่งออกของเวียดนามไปยังแอลจีเรีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ และเวียดนามอาจขยายส่งออกกาแฟไปยังแอลจีเรีย เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูงสุดของผู้คนในท้องถิ่น ทั้งนี้ กาแฟเป็นหนึ่งในสินค้าส่งออกชั้นนำของเวียดนามไปยังแอลจีเรีย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของตลาดแอลจีเรีย ขณะที่ ข้าวยังคงเป็นสินค้าส่งออกที่มีศักยภาพอย่างมาก เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 โดยแอลจีเรียส่วนใหญ่จะนำเข้าข้าวจากต่างประเทศ 100,000 ตันต่อปี ยิ่งไปกว่านั้น อัตราภาษีนำเข้าของประเทศสำหรับอาหารจะต่ำกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มสินค้าประเภทอื่น นอกจากนี้ ในปี 2562 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังแอลจีเรียราว 17,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 และจำนวนแรงงานชาวเอเชียเพิ่มสูงขึ้นในแอลจีเรีย ทำให้มีความต้องการข้าวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/algeria-a-potential-market-for-vietnamese-products/170720.vnp

เดือนมกราคมเงินเฟ้อเมียนมายังคงเพิ่มขึ้น

จากข้อมูลล่าสุดขององค์การสถิติกลาง (CSO) เดือนมกราคม 2563 อัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2562 ตัวเลขของเดือนมกราคมอยู่ที่ 9.06% เพิ่มขึ้นจาก 8.81% ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่าราคาอาหารรวมถึงข้าว น้ำมัน เนื้อสัตว์ ปลา ผัก และสินค้าพื้นฐานอื่น ๆ ลดลง รายการที่ไม่ใช่อาหารเช่น ทองคำ เครื่องดื่ม บุหรี่ เสื้อผ้าและค่าเช่าบ้านเพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อของประเทศพุ่งสูงถึง 10.6% ในเดือนมิถุนายน 2559 IMF คาดเงินเฟ้อจะลดลงเหลือ 6-7% ในระยะปานกลางเนื่องจากผลกระทบจากภาษีค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นสิ้นสุดลงและแรงกดดันจากราคาอาหารที่สูงขึ้น ธนาคารโลกกล่าวว่าอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำและส่งผลความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจที่ลดลง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/inflation-continued-rise-january-officials-say.html

โรงงานใน Kaixi Myanmar ปลดคนงานกว่า 1,200 คน

สองโรงงานของ Kaixi ในเขตอุตสาหกรรม Ngwepinle ในเมืองไหลตายา และเขตอุตสาหกรรม Shwepyitha (4) ในเมืองชเว-ปยีตา เขตย่างกุ้งปลดพนักงาน 1,200 คนไปเมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากไม่ได้รับคำสั่งซื้อชุดชั้นในสตรีจากประเทศคู้ค้าหลักอย่างอิตาลีและฝรั่งเศษที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 โรงงานทั้งสองเลิกจ้างแรงงาน 300 คนที่ทำงานน้อยกว่าสามเดือน ในการแจ้งเพื่อเลิกจ้างคนงานหากไม่มีคำสั่งซื้อควรแจ้งล่วงหน้าก่อนหนึ่งเดือน ทั้งนี้แรงงานจะได้รับการว่าจ้างอีกครั้งหากมีคำสั่งซื้อเข้ามา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/kaixi-myanmar-factories-cut-1200-workers

บริษัทขนส่งไทยระงับเส้นทางมายังสปป.ลาว

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา บริษัท ขนส่ง จำกัดประเทศไทย (บขส.) ระงับการให้บริการรถบัสระหว่างประเทศหนึ่งในนั้นคือเส้นทางจากไทยไปยังเขตรอยต่อสปป.ลาว-ไทย การระงับการเดินทางดังกล่าวเป็นหนึ่งในมาตราการลดความเสี่ยงในแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ทำให้แรงงานสปป.ลาวหลายรายต้องตกงาน จึงมีการหลั่งไหลกับสปป.จำนวนมากในขณะเดียวกันรัฐบาลไทยมีข้อกำหนดวันที่จะปิดพรหมแดนทำให้แรงงานสปป.ลาว มีความต้องการกลับยังประเทศในสถานการณ์แบบนี้แต่ก็มีบางส่วนไม่ได้กลับไปเพราะคิดว่าตัวเองอาจมาจากกลุ่มเสี่ยงการกลับบ้านไปอาจทำให้ไปแพร่ระบาดเชื้อไวรัสในสปป.ลาวได้  ซึ่งจากมาตราการดังกล่าวไม่เพียงแต่ส่งผลต่อแรงงานสปป.ลาวในไทยแต่ยังส่งผลต่อผลประกอบของุรกิจโดยตรง ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านที่ได้รับผลกระทบจากการที่นักท่องเที่ยวลดลงจนถึงปัจจุบันที่มีมาตราการดังกล่าวออกจึงตอกย้ำความย่ำแย่ของบริษัท แต่ถึงอย่างไรในช่วงสถานการณ์แบบนี้บริษัทน้อมรับทำตามมาตราการของนโยบาย

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1886425/buses-to-laos-cambodia-suspended

จีนให้ความช่วยเหลือสปป.ลาวในการต่อต้าน Covid-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ทั่วโลกและมีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดเป็นวงกว้างออกไปอีก สปป.ลาวถือเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้ออยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำโดยล่าสุดมียอดผู้ติดเชื้อ 3 คน แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ละเลยโดยมีมาตราการการป้องกันเข้มงวดขึ้นและได้รับความช่วยเหลือจากชาติพันธมิตรอย่างจีนซึ่งได้ส่งมอบชุดตรวจจับไวรัส 2,000 ชุด ชุดป้องกัน 5,000 ชุดรวมถึงหน้ากาก N95 400,000 ชุดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการช่วยในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 นอกจากนี้หน่วยงานท้องถิ่นในประเทศจีนเช่นยูนนาน หูหนาน ฉงชิ่ง ซานตงและเซี่ยงไฮ้ได้เข้าร่วมกับสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเอเชีย – จีนพันธมิตรผู้ประกอบการจีนและได้รับการสนับสนุนจากธนาคารไอซีบีซีในเวียงจันทน์และชุมชนชาวจีนในสปป.ลาว ในการแก้ปัญหาทั้งการระบาดของไวรัสและบรรเทาผลกระทบของภาคธุรกิจที่ได้รับจากการเกิดโรคระบาด ในอีกแง่ยังเป็นการสร้างสัมพันธที่ดีต่อทั้ง 2 ประเทศอีกด้วย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Chinese_62.php

กัมพูชาและรัสเซียวางแผนส่งเสริมการค้าทวิภาคีผ่าน FTA

รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้พบกับเอกอัครราชทูตรัสเซียประจำกัมพูชา ณ กรุงพนมเปญ โดยกัมพูชาและรัสเซียให้คำมั่นว่าจะเพิ่มการค้าและการลงทุนทวิภาคี เนื่องจากกัมพูชามีเป้าหมายที่จะกระจายตลาดผ่านการลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับสหภาพเศรษฐกิจเอเชีย (EAEU) ซึ่งรัสเซียเป็นสมาชิกร่วมกับอาร์เมเนีย  เบลารุส คาซัคสถานและคีร์กีซสถานมีขนาดประชากรถึง 183 ล้านคน โดยมูลค่ารวม GDP อยู่ที่ 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเมื่อปีที่แล้วการค้าทวิภาคีมีมูลค่าสูงถึง 55.39 ล้านเหรียญสหรัฐและกัมพูชาหวังว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ขณะนี้กัมพูชากำลังเจรจาเรื่องบันทึกความเข้าใจ (MoU) ครั้งที่ 14 โดยคาดว่าจะได้รับการลงนามในไม่ช้า สิ่งเหล่านี้จะเน้นไปที่การท่องเที่ยว การศึกษา กฎหมายและการพัฒนาเยาวชนเป็นหลัก ซึ่งในปี 2559 กัมพูชาและ EAEU ได้ลงนามใน MoU เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้า อย่างไรก็ตามเนื่องจากกัมพูชายังคงอยู่ในการจัดอันดับประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ผลิตภัณฑ์ของกัมพูชา 46 รายการ สามารถเข้าสู่ตลาดปลอดภาษี EAEU ได้ภายในสามปีถัดไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50705867/cambodia-russia-to-boost-bilateral-trade-looking-at-fta/

อุตสาหกรรมการบินในกัมพูชาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ COVID-19

กัมพูชารายงานถึงจำนวนเที่ยวบินที่อาจจะลดลงกว่า 40% จากการระบาดของ COVID-19 โดยรวมแล้วจำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศไปและกลับจากสนามบินสามแห่งของกัมพูชาในเดือนมีนาคมคาดว่าจะลดลงประมาณ 40% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมปีที่แล้วนับตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 ซึ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเปิดเผยว่าในเดือนมีนาคมมีเพียง 2,575 เที่ยวบินที่ลงจอดที่สนามบินทั้งสามแห่ง ถือเป็นการลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2019 ที่มีเที่ยวบินทั้งสิ้น 4,241 เที่ยวบินระหว่างประเทศที่เดือนทางมายังกัมพูชา โดยสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ได้ปรับปรุงการวิเคราะห์ผลกระทบของ COVID-19 ต่อรายได้ในอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศทั่วโลก ซึ่งตอนนี้ประมาณการรายได้ผู้โดยสารอาจจะลดลงถึง 2.52 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 44% เมื่อเทียบกับปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50706043/cambodias-aviation-sector-hard-hit-by-coronavirus-pandemic/

ยอดคำสั่งซื้ออาหารทะเลดิ่งลง เนื่องจากผลกระทบเชิงลบของโควิด-19

จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ายอดสั่งซื้ออาหารทะเลของธุรกิจลดลง ประมาณร้อยละ 20-50  โดยยอดคำสั่งซื้อลดลงในช่วงต้นเดือนมี.ค. เป็นผลมาจากผลกระทบเชิงลบของโควิด-19 ยกตัวอย่างเช่น บริษัทปลาสวายที่ส่งออกไปยังตลาดจีน ด้วยกำไรสูง แต่ได้หยุดชะงักในช่วงเดือนม.ค.ของปีนี้ จากสถานการณ์แพร่ไวรัส ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงต้นเดือนมี.ค. สถานการณ์แพร่ระบาดหนักไปทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มสหภาพยุโรปที่ได้ระงับการทำธุรกรรมทั้งหมดและนโยบายปิดภัตตาคาร โรงแรม ส่งผลให้สินค้าคงเหลือมีจำนวนมากและคำสั่งซื้อใหม่ยังไม่ได้ทำสัญญาอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ กิจกรรมการผลิตอาหารทะเลของธุรกิจส่วนใหญ่ล้วนได้รับผลกระทบเชิงลบ จากการที่ขาดวัตถุดิบ ยกเว้นธุรกิจปลาสวาย (Pangasius) ในขณะที่ ยอดคำสั่งซื้อกุ้งลดลงร้อยละ 20-50 จากการส่งออกไปยังสหรัฐฯและยุโรป จากการล่าช้าในการขนส่งหรือยกเลิก เป็นผลมาจากทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้ามีสินค้าคงเหลือจำนวนมาก นอกจากนี้ แนวทางในการจัดการกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทางสมาคมฯ ได้เรียกรองให้สมาชิกเร่งดำเนินตามกฎหมาย เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข และสิ่งที่ควรทำ คือ กาควบคุมกำลังการผลิตและร่วมมือกับภาครัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/654053/foreign-investors-pour-855b-in-vn-in-q1.html

เวียดนามเผยโครงการใหม่ด้วยเงินทุนจดทะเบียน FDI เพิ่มขึ้น 45% ในช่วงไตรมาสแรก

จากรายงานของหน่วยงานการลงทุนในต่างประเทศ ภายใต้กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าเวียดนามได้รับใบอนุญาตการลงทุนในโครงการใหม่ 758 โครงการ ด้วยเงินทุน 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 45 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยโครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุนมีอยู่มากกว่า 230 โครงการ มูลค่า 1.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดือนม.ค.-มี.ค. ในขณะที่ มูลค่าซื้อหุ้นจากต่างประเทศอยู่ที่ราว 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและโครงการลงทุนจากต่างชาติมีการเบิกจ่ายเงินทุนประมาณ 3.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับสาขาธุรกิจ พบว่านักลงทุนต่างชาติอัดฉีดเงินทุนใน 18 ภาคธุรกิจ โดยส่วนใหญ่ลงทุนในภาคการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ด้วยมูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 47.5 ของเงินทุนทั้งหมด รองลงมาภาคการผลิตและแปรรูป ตามด้วยภาคการค้าปลีกค้าส่ง นอกจากนี้ สิงคโปร์เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด รองมาเป็นญี่ปุ่นและจีน อีกทั้ง บากเลียว (Bac Lieu) เป็นจังหวัดที่ดึงดูดจากนักลงทุนต่างชาติมากที่สุด รองลงมานครโฮจิมินห์ ตามมาด้วยฮานอยและบ่าเสียะ-หวุงเต่า ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/newly-registered-fdi-rises-by-nearly-45-percent-in-q1/170684.vnp