ยอดค้าปลีกและบริการเวียดนาม 37.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรก

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ว่ารายได้จากการค้าปลีกและบริการของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยมูลค่าอยู่ที่ 863.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในช่วงเดือนมกราคมจนถึงกุมภาพันธ์ มียอดค้าปลีกอยู่ที่ประมาณ 674 ล้านล้านด่อง (29.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หากจำแนกรายสินค้าที่มียอดขายเพิ่มขึ้น พบว่ารถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ตามมาด้วยน้ำมันเบนซินและน้ำมัน (11%), เครื่องใช้ในบ้าน (9.5%), เครื่องนุ่งห่ม (8.9%), อาหาร (8.6%), ยานยนต์ (7.1%) และวัฒนธรรมและอุปกรณ์การเรียน (4.7%) สำหรับเมือง/นครที่มีรายได้จากการค้าปลีกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ Quang Ninh, Hai Phong, Thanh Hoa, Nghe An และ Hanoi เป็นต้น ทั้งนี้ รายได้จากที่พักและบริการจัดเลี้ยงอยู่ที่ 95 ล้านล้านด่อง (4.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องมาจากผลกระทบการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ขณะเดียวกัน รายได้จากบริการด้านการท่องเที่ยวอยู่ที่ 7.4 ล้านล้านด่อง (320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/retail-sales-service-revenues-post-374-billion-usd-in-two-months/169460.vnp

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเวียดนามเพิ่มขึ้น 6.2% ในช่วง 2 เดือนแรก

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของเวียดนามในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 6.2 เป็นผลมาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งต่ำกว่าร้อยละ 13.7 และ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 และ 2562 ตามลำดับ โดยภาคการแปรรูปและการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 การผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 การจำหน่ายน้ำและบำบัดน้ำเสียเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ขณะที่ ภาคเหมืองแร่ลดลงร้อยละ 3.7 ซึ่งจากการประชุมที่กรุงฮานอยเมื่อเร็วๆนี้ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าภาคการแปรรูปและการผลิตของเวียดนาม มียอดค้าปลีกส่วนใหญ่มาจากวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่นำเข้ามาจากจีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสดังกล่าว ทั้งนี้ ในปีที่แล้ว เวียดนามนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอยู่ที่ 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากกลุ่ม 3 ประเทศข้างต้น นอกจากนี้ จากสถานการณ์เดียวกันนั้น ผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่มและรองเท้ายังคงมีวัตถุดิบในการผลิตที่เพียงพอจนถึงต้นเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-industrial-production-up-62-pct-in-two-months/169482.vnp

เกษตรกรชาวไทใหญ่ตั้งเป้าส่งออกกาแฟไปสหรัฐและไทยมากขึ้นในปีนี้

เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในเขตเมือง Ywar Ngan รัฐฉานกล่าวว่าพวกเขาหวังที่จะขายเมล็ดกาแฟให้กับผู้ซื้อในยุโรปสหรัฐอเมริกาและไทยในปีนี้ เนื่องจากสภาพอากาศในปีนี้การเก็บเกี่ยวจะเริ่มในช่วงกลางเดือนมีนาคม เมือง Ywar Ngan จะผลิตเมล็ดกาแฟได้ประมาณ 400 ตันในปีนี้และผู้ซื้อต่างประเทศกำลังติดต่อขอซื้ออยู่แล้ว เมล็ดกาแฟคุณภาพสูงสามารถทำรายได้มากกว่า 6,000 เหรียญสหรัฐ (8.5 ล้านจัต) ต่อตันมีพื้นที่ปลูกกาแฟมากกว่า 3,480 เฮกตาร์ในเขตเมือง Ywar Ngan สามารถผลิตเมล็ดกาแฟได้ 800 ตัน สมาคมผู้ส่งออกกาแฟกำลังพยายามพัฒนาคุณภาพการผลิตให้เป็นมาตรฐานและจัดตั้งศูนย์วิจัยกาแฟในปีนี้ กาแฟของเมียนมาได้ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐด้วยความช่วยเหลือจากหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (USAID) และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอย่าง Winrock International ขณะนี้พยายามส่งออกไปญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แคนาดาและประเทศอื่น ๆ ในตลาดยุโรป จะได้รับการช่วยเหลือจาก GIZ ซึ่งเป็นหน่วยงานพัฒนาของเยอรมนีที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงบอนน์ เมล็ดกาแฟที่ปลูกส่วนใหญ่คือ อาราบิก้าและโรบัสต้าโดยที่อาราบิก้ากำลังเป็นที่นิยม เมล็ดกาแฟที่ผลิตราคาขายอยู่ระหว่าง 1,000 ถึง 8,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันขึ้นอยู่กับคุณภาพ โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,000 เหรียญสหรัฐต่อตัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/shan-growers-set-sights-selling-more-coffee-us-thailand-year.html

การใช้จ่ายของรัฐบาลเมียนมาล่าช้าแม้รายรับจากภาษีจะเพิ่มขึ้น

แม้ว่ารายได้จากภาษีของเมียนมาจะเพิ่มขึ้นทุกปีใน แต่การใช้จ่ายของรัฐบาลยังไม่เพิ่มขึ้น โดยเมียนมาใช้ไปเพียง 0.3% ของภาษีที่เก็บทั้งหมดเมื่อเทียบกับ 2% ของเวียดนาม เมื่อเทียบกับตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ เมียนมามีค่าใช้จ่ายภาครัฐต่ำกว่าถึงแปดเท่า รายรับภาษีรวมทั้งสิ้น 8.3 ล้านล้านจัตในช่วงปีงบประมาณ 61-62 ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าหนึ่งในสามเมื่อเทียบกับห้าปีที่แล้ว แต่อัตราส่วนรายได้ภาษีต่อ GDP ลดลง ในปี 61-62 เป็น 7.9% เทียบกับ 8.7% ในปีงบประมาณ 57-58 เฉลี่ย 15% ของทั้งภูมิภาคอาเซียน ดังนั้นเมียนมาควรเพิ่มการใช้เงินเพื่อการพัฒนา โดยงบประมาณส่วนใหญ่ควรถูกจัดสรรให้กับกรมสรรพากรเพื่อวัตถุประสงค์ในการยกระดับกระบวนการจัดเก็บภาษีและการศึกษาด้านภาษี รัฐบาลต้องการการสนับสนุนจากรัฐสภาในการเร่งแก้ไขกฎหมายภาษีที่มีอยู่และเมื่อประกาศใช้กฎหมายภาษีใหม่

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-spending-lagging-despite-higher-tax-revenues.html

แบงก์ชาติ หวั่นบริโภคดิ่งลึก ไวรัสลามหนักฉุด GDP ต่ำ 1%

ธปท.ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปีนี้โตต่ำสุด เผยเดือน ก.พ. ตัวเลขดิ่งลึก กนง.จับตา 3 ปัจจัยเสี่ยง เร่งใช้งบฯปี”63-ภัยแล้ง-ไวรัส COVID-19 หวั่นโรคระบาดลามทั้งปี ฉุดจีดีพีโตต่ำ 1% ชี้ยกเลิกงานอีเวนต์-กิจกรรมในประเทศ ส่งผลการบริโภคหดตัวไม่ถึง 4% ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ปีนี้จะต่ำสุดของปี 2563 โดยตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ก.พ. จะเป็นเดือนที่ลงลึกสุด เนื่องจากผลกระทบจากปัจจัยการระบาดของไวรัส COVID-19 ยังไม่กระทบมากนัก และยังคงติดตามสถานการณ์ 3 ปัจจัย 1.พ.ร.บ.งบประมาณปี”63 ที่ประกาศใช้และมาตรการเพิ่มเติมของรัฐที่จะออกมา 2.ภัยแล้งที่รุนแรงกว่าปี 2559 เนื่องจากสต๊อกน้ำไม่เพียงพอและอยู่ในภาวะวิกฤต 3.COVID-19 แม้การระบาดในจีนเริ่มชะลอตัว แต่การระบาดเพิ่มนอกประเทศ เช่น เกาหลี และในยุโรป ที่พุ่งขึ้นค่อนข้างเร็ว และมีผลต่อเศรษฐกิจโลก รวมทั้งเศรษฐกิจไทย จากเดิมที่กระทบแค่เศรษฐกิจจีน ทั้ง 3 ปัจจัยสถานการณ์ยังไม่นิ่ง และมีผลต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยเดือน ม.ค. 2563 ยังอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่อง การส่งออกสินค้าไม่รวมทองคำหดตัวต่อเนื่องที่ 1.3% ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมและเครื่องชี้วัดการลงทุนภาคเอกชน หดตัวติดลบ 8.1% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐหดตัวสูง เนื่องจาก พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี 2563 ยังไม่ประกาศใช้ โดยการใช้จ่ายในส่วนรายจ่ายประจำติดลบ 20.4% และรายจ่ายลงทุนติดลบ 35.5% ส่วนการบริโภคภาคเอกชนมีอัตราการเติบโต 1.2% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวรวมเดือน ก.พ. คาดว่าจะหายไป 40-45% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยนักท่องเที่ยวจีนหายไปกว่า 90% ฉุดการบริโภคทั้งปีหดต่ำกว่า 4% สำหรับสถานการณ์การยกเลิกการจัดงานอีเวนต์ การประชุมสัมมนาต่าง ๆ เบื้องต้นจะกระทบกิจกรรมภายในประเทศที่มีผลต่อการบริโภค คาดว่าการบริโภคทั้งปี 2563 ไม่น่าจะยืนการเติบโตได้ในระดับ 4% ตามกรอบประมาณการ แต่เชื่อว่าหากไวรัส COVID-19 เริ่มคลี่คลาย จะเห็นกิจกรรมต่าง ๆ กลับมาเป็นปกติได้ ขณะเดียวกัน ธปท.ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย ธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ (SFIs) ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือลูกค้าและผู้ประกอบการ ส่วนหนึ่งก็เพื่อช่วยเหลือประคองให้ลูกค้า-ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจในช่วงนี้ไปก่อน

ที่มา: https://www.prachachat.net/finance/news-426856

รัฐบาลสปป.สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเกษตรเพื่อผลผลิตที่มั่นคง

คณะกรรมการป้องกันและควบคุมภัยพิบัติแห่งชาติกำลังช่วยเหลือเกษตรกรทั่วประเทศโดยการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชที่มีความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศในสปป.ลาวโดยเฉพาะความทดทานในช่วงฤดูแล้ง โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 ปริมาณน้ำลดลงร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วทำให้สปป.ลาวจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศแห้งแล้งเร็วขึ้น ทำให้อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตเกษตรจากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีพื้นที่เพาะปลูกในช่วงนี้ 384,300 เฮกตาร์ ซึ่งจากความแห้งแล้งดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมคาดว่าจะนำมาซึ่งความแห้งแล้งและอุทกภัยที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยผลผลิตอาจลดลง 10% ในปี 2563 และ 30% ในปี 2593 ดังนั้นการทำการศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาการเกษตรจึงเป็นสิ่งที่สปป.ลาวกำลังผลักดันและให้การสนใจอย่างยิ่งตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2559-2563)เพื่อความมั่นคงด้านอาหารภายในประเทศและประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตร

ที่มา  : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Farmers_43.php

สหภาพยุโรปลดสิทธิพิเศษทางการค้ากัมพูชา

สหภาพยุโรปได้ลดผลประโยชน์ทางการค้ากัมพูชาอย่างเป็นทางการในบันทึกสิทธิมนุษยชนของราชอาณาจักร โดยสหภาพยุโรปกล่าวว่าจะระงับการตั้งค่าปลอดภาษีบางส่วนภายใต้ข้อตกลง “Everything But Arms” (EBA) เป็นโครงการที่จะช่วยกระตุ้นการค้าในประเทศเศรษฐกิจที่ยากจน ซึ่งสหภาพยุโรปกำลังดำเนินการตามคำแนะนำของคณะกรรมาธิการยุโรป เนื่องจากปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนของคนงานในกัมพูชาลดน้อยลง อย่างไรก็ตามการตัดสินใจครั้งนี้เป็นเพียงบางส่วนโดยทำการถอนสิทธิพิเศษทางการค้าประมาณ 20% หรือหนึ่งพันล้านยูโร (1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) จากการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรปในทุกปี โดยกัมพูชารับมือด้วยการทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศอื่นแทน ซึ่งกัมพูชาเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปรายใหญ่อันดับหกของสหภาพยุโรปและเป็นประเทศส่งออกสินค้าเสื้อผ้าและสิ่งทอมูลค่ากว่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐสู่สหภาพยุโรปในปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50696924/eu-finally-slashes-cambodia-trade-benefits-over-rights-violations

เตือนผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในกัมพูชา

กระทรวงเศรษฐกิจและการเงินได้เตือนโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ได้รับใบอนุญาตจะถูกทำการดำเนินคดี นอกจากนี้ยังแจ้งเตือนผู้คนถึงความเป็นไปได้ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์จากโครงการที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยข้อมูลที่จำเป็นจะต้องมีการตรวจสอบเช่น ใบอนุญาตประกอบธุรกิจที่ดินที่ออกโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน ใบอนุญาตก่อสร้างออกโดยกระทรวงการบริหารที่ดินการวางผังเมืองและการก่อสร้างเป็นต้น ซึ่งรัฐบาลได้ตัดสินใจยกเว้นภาษีตราประทับ 4% สำหรับทรัพย์สินที่อยู่อาศัยทั้งหมดที่มีมูลค่าน้อยกว่า 70,000 เหรียญสหรัฐจนถึงเดือนมกราคมเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างท่ามกลางความหวาดกลัวการแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Novel Coronavirus โดยการลดหย่อนภาษีนี้ใช้ได้กับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนที่กระทรวงการคลังและนโยบายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยและปานกลางสามารถซื้อบ้านได้ ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องการให้ผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยพิจารณาความเป็นไปได้ในการลดราคาบ้านด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50696935/warning-to-kingdoms-property-buyers

เวียดนามขาดดุลการค้า 176 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรก

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามขาดดุลการค้าราว 176 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาคเศรษฐกิจในประเทศขาดดุลการค้าอยู่ที่ 3.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ ภาคการลงทุนจากต่างชาติ (รวมถึงน้ำมันดิบ) เกินดุลการค้าอยู่ที่ 3.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  สำหรับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ มูลค่าการส่งออกรวมอยู่ที่ 36.92 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งบางส่วนมาจากการส่งออกสมาร์ทโฟนซัมซุง S20 ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงสุด ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน มีมูลค่าอยู่ที่ 6.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ตามมาด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เครื่องจักรและรองเท้า เป็นต้น ในขณะเดียวกัน สินค้ารายการอื่นๆที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ อาหารทะเลมีมูลค่า 921 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 17.7 ตามมาด้วยกาแฟ ผักผลไม้ เม็ดมะม่วงหิมพานต์และเม็ดพริกไทย เป็นต้น สหรัฐฯยังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 9.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-posts-trade-deficit-of-176-million-usd-in-two-months-410757.vov

สนง.สถิติเวียดนาม เผย CPI เดือนก.พ. ลดลง 0.17%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงร้อยละ 0.14 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว เนื่องมาจากความต้องการสินค้าลดลง หลังจากช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ (เต็ด), ราคาน้ำมันที่ลดลง และการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากการแพร่ระบาดไวรัสดังกล่าวส่งผลให้กิจกรรมของภาคการท่องเที่ยวและเทศกาลลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจโรงแรมและบริการด้านความบันเทิง ซึ่งกลุ่มสินค้าและบริการ 11 รายการที่อยู่ในตะกร้าสินค้า โดยมีสินค้า 6 รายการที่ราคาลดลงทำสถิติ ได้แก่ บริการขนส่ง (2.5%), การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, เครื่องดื่มและบุหรี่, เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า, วัสดุที่อยู่อาศัยและบริการโทรคมนาคมและไปรษณีย์ ขณะเดียวกัน กลุ่มสินค้าที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ บริการจัดงานเลี้ยง (0.26%), สินค้าและบริการอื่นๆ, แพทยศาสตร์และบริการทางการแพทย์, เครื่องใช้ในครัวเรือนและการศึกษา ทั้งนี้ ราคาทองคำในเดือน ก.พ. เคลื่อนไหวตามราคาทองคำโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.74 จากเดือน ม.ค. ที่แตะระดับราว 4.45 ล้านดองต่อตำลึง สาเหตุมาจากนักลงทุนย้ายเงินทุนไปยังสินทรัพย์ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะผลกระทบที่ไวรัสโควิด-19 มีผลต่อเศรษฐกิจ สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราดองต่อดอลลาร์สหรัฐ ยังคงอยู่ในระดับคงที่ อยู่ที่ 23,300 ดอง/ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) ในเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.17 จากเดือน ม.ค.

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/february-cpi-falls-by-017-percent-410755.vov