การส่งออกแร่ของเมียนมาใน 10 เดือน สร้างรายได้กว่า 230 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมามีรายได้มากกว่า 233.197 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกผลิตภัณฑ์แร่ในช่วง 10 เดือนตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 ถึง 2 กุมภาพันธ์ 2567 โดยประมาณ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นรายได้จากภาคเอกชน ในขณะที่อุตสาหกรรมที่รัฐเป็นเจ้าของมีส่วนสนับสนุนประมาณ 32 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาการส่งออกผลิตภัณฑ์แร่สร้างรายได้ 289.257 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหากเทียบกันตัวเลขปัจจุบันจึงลดลง 56 ล้านดอลลาร์ ภายในปีงบประมาณนี้ อย่างไรก็ดี จากข้อมูลของกรมการค้าภายใต้กระทรวงพาณิชย์ รายได้ส่วนใหญ่ในช่วง 10 เดือนของปีงบประมาณนี้ มาจากการส่งออกแร่ ตามมาด้วยการส่งออกหยก โดยแร่หลักที่ส่งออก ได้แก่ หยก เพชร ทอง ไข่มุก ตะกั่ว ดีบุก ทังสเตน ทองแดง เงิน ถ่านหิน และสังกะสี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sino-myanmar-border-trade-surges-in-past-ten-months/#article-title

การค้าชายแดนจีน-เมียนมาพุ่งสูงขึ้นในช่วงสิบเดือนที่ผ่านมา

จากข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผยว่า มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและจีนมีมูลค่าทะลุ 2.839 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (เมษายน-มกราคม) ของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 เพิ่มขึ้นจากในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีมูลค่าการค้า 2.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่งที่ 412.146 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณนี้ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณที่แล้ว อย่างไรก็ดี เมียนมาดำเนินการค้าขายข้ามพรมแดนกับจีน ผ่านทางด่านชายแดน Muse, Lweje, Chinshwehaw, Kampaiti และ Kengtung ซึ่งการค้าผ่านด่านชายแดน Muse มีมูลค่าการค้าสูงสุดที่ 1.836 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่ มูลค่าการค้าผ่านด่าน Chinshwehaw อยู่ที่ 703.066 ล้านดอลลาร์, ผ่านด่าน Kampaiti 36.266 ล้านดอลลาร์, ผ่านด่าน Lweje 98.566 ล้านดอลลาร์ และผ่านด่าน Kengtung 64.435 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ เมียนมามีการดำเนินการค้าชายแดนกับสี่ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ จีน ไทย บังกลาเทศ และอินเดีย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-mineral-exports-generate-over-us230-mln-in-10-months/

ผลวิจัยชี้อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น สปป.ลาว สูงที่สุดในอาเซียน

ผลการวิจัยล่าสุดยืนยันว่า สปป.ลาว มีอัตราการตั้งครรภ์ในประชากรกลุ่มวัยรุ่นสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน การศึกษาที่ดำเนินการโดย Marie Habito เจ้าหน้าที่วิจัยอาวุโสของสถาบัน Burnet ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยทางการแพทย์ในออสเตรเลีย ในหัวข้อการทำความเข้าใจเส้นทางที่หลากหลายในการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เผยให้เห็นปัจจัยหลายประการที่ทำให้เกิดข้อมูลที่น่าตกใจนี้ โดยสรุปแล้ว ผลการวิจัยบ่งชี้เห็นได้ชัดว่า สปป.ลาว ยังคงต่อสู้กับอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่สูงที่สุดในภูมิภาคนี้ ตั้งแต่ความรู้ด้านสุขภาพทางเพศที่จำกัด ไปจนถึงแรงกดดันทางสังคม ความท้าทายที่เด็กสาวชาวลาวต้องเผชิญนั้นซับซ้อนเกินกว่าที่จะรับมือ อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความยากลำบากเหล่านี้ ศูนย์และองค์กรท้องถิ่นต่างมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในความพยายามร่วมกันเพื่อให้ความรู้แก่เยาวชนลาวเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ และผลักดันนโยบายที่ครอบคลุมเพื่อจัดการกับต้นตอของปัญหา ตลอดจนสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กสาวทั่วประเทศ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/02/15/laos-teen-pregnancy-rates-highest-in-southeast-asia-study-reveals-key-factors/

รัฐบาล สปป.ลาว ให้คำมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศตามแผนที่วางไว้

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล สปป.ลาว พยายามบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และก้าวขึ้นเหนือสถานะประเทศด้อยพัฒนาตามที่วางแผนไว้ในปี 2569 การประชุมครั้งนี้มีหัวข้อ “เร่งดำเนินการตามผลการทบทวนระยะกลางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เพื่อบรรลุ SDGs และ LDC Graduation” การประชุมดังกล่าวนี้มีนายคัมเจน วงศ์โพซี รัฐมนตรีกระทรวงการวางแผนและการลงทุน เป็นประธาน และนายบาโคดีร์ เบอร์คานอฟ ผู้ประสานงานองค์การสหประชาชาติ และมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 300 คนจากท้องถิ่นต่างๆ ทั่วประเทศ กระทรวง องค์กรระหว่างประเทศ และหน่วยงานอื่นๆ นายคำเจน ได้กล่าวในงานประชุมว่า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาประเทศ รัฐบาลจะมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น ควบคุมด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเข้มงวดมากขึ้น และลดความแตกต่างในการพัฒนา ระหว่างเขตเมืองกับชนบท

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_33_Govt_y24.php

ม.ค. 2024 กัมพูชาส่งออกสินค้ากลุ่ม GFT โตเกือบ 22%

การส่งออกสินค้ากลุ่มเสื้อผ้า รองเท้า และสินค้าเพื่อการเดินทาง (GFT) เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 21.64 สำหรับในช่วงเดือนมกราคมปีนี้ สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 967 ล้านดอลลาร์ หลังจากที่ก่อนหน้านี้หดตัวเกือบตลอดทั้งปีในปีที่แล้ว รายงานโดยกรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (11 ก.พ.) ซึ่งพบว่าทุกรายการสินค้าของกลุ่ม GFT ขยายตัวแทบทุกรายการ สำหรับในช่วงเดือน ม.ค. 2024 ส่งผลทำให้รายได้จากการส่งออกโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่ากัมพูชาสามารถบรรลุการเติบโตทางด้านการส่งออกถึงแม้จะมีอุปสรรคทางการค้า เช่น การไม่ต่ออายุระบบสิทธิพิเศษทั่วไป (GSP) โดยสหรัฐฯ และการลดผลประโยชน์ของ Everything But Arms (EBA) ลงเกือบร้อยละ 20 จากสหภาพยุโรป (EU) โดยเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับสินค้ากลุ่ม GFT

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501439379/cambodias-gft-exports-jump-22-amid-rising-hopes/

ทางการพร้อมผลักดันโครงการเขตเศรษฐกิจกัมพูชา-ญี่ปุ่น (CJSEZ)

รัฐบาลกัมพูชากำลังจัดเตรียมนโยบายในการเตรียมความพร้อมจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษกัมพูชา-ญี่ปุ่น (CJSEZ) เพื่อเป็นการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นมากขึ้น โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (11 ก.พ.) มีการประชุมระหว่างรัฐมนตรีทั้งสองประเทศเพื่อหารือและเตรียมเอกสารแนวคิดในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศกัมพูชา นำโดย Sun Chanthol รองนายกรัฐมนตรีและประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) เป็นประธาน โดยคาดว่าโครงการนี้จะมีส่วนสำคัญในการดึงดูดการลงทุนของญี่ปุ่นมายังกัมพูชา รวมถึงก่อให้เกิดการจ้างงาน การพัฒนาขีดความสามารถและทักษะให้กับแรงงานในท้องถิ่น อีกทั้งมีส่วนในการสนับสนุนเศรษฐกิจผ่านการส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากกัมพูชามีตลาดเผื่อการส่งออกที่ขนาดใหญ่ขึ้น สำหรับปัจจุบัน CDC ได้อนุมัติโครงการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นไปแล้วกว่า 149 โครงการ ด้วยเงินทุนรวมประมาณ 2.9 พันล้านดอลลาร์ ณ เดือนสิงหาคม 2022 โดยลงทุนในอุตสาหกรรมการเสื้อผ้า รองเท้า สินค้าสำหรับเดินทาง ชิ้นส่วนรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ยางรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ แผงโซลาร์เซลล์ และอุตสาหกรรมประกอบจักรยาน เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501439391/cambodia-japan-sez-project-on-the-cards/

นายกฯเร่งส่งเสริมแข็งแกร่ง SMEs ไทยขับเคลื่อนอุตฯ MICE

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดนโยบายในการส่งเสริม SMEs และ อุตสาหกรรม MICE ด้วยตระหนักดีว่าเป็นภาคส่วนที่มีศักยภาพ และมีความสำคัญ กระจายความเจริญทางเศรษฐกิจ สร้างงาน อาชีพ กระจายรายได้ และเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งจะส่งผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ประกาศเป้าหมายซึ่งเป็นเป้าหมายที่รัฐบาลร่วมมือกับทุกภาคส่วนกำหนด รวมทั้งกรอบระยะเวลาดำเนินงาน ผ่านมาตรการส่งเสริม SMEs 9 ด้าน ที่จะผลักดันให้ GDP ของ SMEs ไทยเพิ่มจาก 35.2% เป็น 40% ได้ภายในปี 2570 พร้อมกันนี้ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ เป็นอีกภาคส่วนที่มีศักยภาพรัฐบาลต้องการผลักดันเพราะเป็น อุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และเพื่อใช้เป็นปัจจัยสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว เป็นจุดเชื่อมต่อเที่ยวบินระหว่างประเทศจากทั่วโลก และการอำนวยความสะดวกเรื่องการขอวีซ่าและสถานที่ ในการจัดแสดงสินค้าของประเทศในการยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเพื่อธุรกิจสำหรับการจัดประชุมและแสดงสินค้าที่มีศักยภาพ และพร้อมรองรับนักเดินทาง MICE ต่างชาติซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรี พิจารณาถึงภาคส่วนที่ไทยมีศักยภาพ พร้อมให้การสนับสนุน เพื่อสร้างโอกาส ทั้งผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งมีศักยภาพ ทั้งความสร้างสรรค์ และคุณภาพ พร้อมการแข่งขันกับทุกตลาด และการขับเคลื่อน MICE ไทยให้เป็นอีกจุดหมายสำคัญของการจัดประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เป็นจุดหมายปลายทางของ MICE โลก ซึ่งนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่าทั้งสองอุตสาหกรรมจะเป็นเครื่องจักรสำคัญที่จะสร้างงานผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง

ภาพจาก : เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/politics/news_676866/

‘กัมพูชา’ ส่งออกไปเวียดนาม ม.ค. พุ่ง 116%

กรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) เปิดเผยว่ากัมพูชาส่งออกไปยังเวียดนามในเดือน ม.ค.67 อยู่ที่ 373 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 116.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี และเวียดนามเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 ของกัมพูชา รองจากสหรัฐฯ

ทั้งนี้ นาย ลิม เฮง (Lim Heng) รองประธานหอการค้ากัมพูชา กล่าวว่าทิศทางการส่งออกที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการผลิตในประเทศที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่กัมพูชามีข้อได้เปรียบทางด้านภาษีกับคู่ค้าหลายประเทศ ทั้งในรูปแบบข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีและพหุภาคี

นอกจากนี้ยังเชื่อมั่นว่าการส่งออกของกัมพูชาจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2567 จากการที่สินค้าส่งออกของกัมพูชามีความหลากหลายและมีคุณภาพสินค้าที่แข่งขันด้านราคาได้

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/cambodian-exports-to-vietnam-soar-116-in-january-2024-post1076923.vov