เมียนมาตั้งเป้าส่งออกทะลุเป้าท่ามกลางการเติบโตทางเศรษฐกิจ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา รายงานว่า เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกำลังช่วยแก้ไขปัญหาของบริษัทที่สามารถส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำโดยร่วมมือกับสมาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุและเกินเป้าหมายการส่งออกของประเทศ รวมถึงการส่งออกหลัก เช่น ข้าว ถั่ว ข้าวโพด และยางพารา ตามที่ ก.ล.ต. กำหนด เพื่อการส่งออกตามข้อกำหนดเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ยังได้ช่วยแก้ไขปัญหาที่พบในการส่งออกโดยประสานงานกับสมาคมต่างๆ เช่น สหภาพเมียนมา สหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรม สมาพันธ์ข้าวเมียนมา ถั่ว ข้าวโพด และงา สมาคมพ่อค้าเมล็ดพันธุ์พืช, สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปแห่งเมียนมา, สมาคมอุตสาหกรรมแห่งเมียนมา, สมาคมผู้ปลูกและผู้ผลิตยางแห่งเมียนมา และสมาคมผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์ประมงและส่งออกแห่งเมียนมา อย่างไรก็ดี ในบรรดาการส่งออกต่างประเทศ ข้าว 2.5 ล้านตันถูกกำหนดให้ส่งออกในปีงบประมาณ 2567-2568 จากสถิติที่รายงานวันที่ 4 มิถุนายน 2567 ซึ่งเรือบรรทุกข้าว 8 ลำจอดเทียบท่าที่ท่าเรือระหว่างประเทศ 8 แห่งเพื่อส่งออกข้าว โดยข้าวทั้งหมด 135,920 ตัน แบ่งเป็นข้าว 12,500 ตันจากท่าเรือ Alone International Port Termina 12,500 ตันจากท่าเรือนานาชาติย่างกุ้ง 10,000 ตันจากท่าเรือเมียนมา (เดิมชื่อท่าเรือโบ ออง จ่อ) 9,800 ตันจากท่าเรือนานาชาติวิลมาร์และท่าเรือ Sule Pagoda Wharves จำนวน 91,120 ตันจะถูกส่งออก นอกจากนี้ เรืออีก 4 ลำกำลังจะเทียบท่าที่ท่าเรือนานาชาติย่างกุ้งเพื่อส่งออกข้าว 74,000 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-aims-to-surpass-national-export-targets-amid-economic-growth/

กัมพูชา-เม็กซิโก จ่อจัดเวทีธุรกิจ ขยายความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน

ความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัมพูชาและเม็กซิโกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นภายหลังการประชุมทางธุรกิจซึ่งมีแผนที่จะจัดขึ้นในกรุงพนมเปญเร็วๆ นี้ โดยคำกล่าวดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการประชุมเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (29 เม.ย.) ระหว่าง Kith Meng ประธานหอการค้ากัมพูชา และ Liliana Ferrer เอกอัครราชทูตเม็กซิโกประจำกัมพูชา ซึ่งทั้งสองหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่มีอยู่และการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศในอนาคต ด้านเอกอัครราชทูตเม็กซิโกพร้อมที่จะสนับสนุนให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนยังกัมพูชาเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับการส่งเสริมศักยภาพและผลิตภัณฑ์ของเม็กซิโก ตลอดจนโอกาสในภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะการเกษตร ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และการท่องเที่ยว เป็นสำคัญ โดยการค้าทวิภาคีระหว่างเม็กซิโกและกัมพูชามีมูลค่ารวมอยู่ที่ 355 ล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.07 เมื่อเทียบกับปี 2022 ขณะที่สินค้าส่งออกหลักของกัมพูชาที่ส่งออกไปยังเม็กซิโก ได้แก่ กางเกงชั้นในและกระเป๋า ชุดสูทสตรีไม่ถัก และเสื้อสเวตเตอร์ถัก ด้านสินค้านำเข้าจากเม็กซิโก ได้แก่ รถบรรทุกและรถยนต์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501481587/business-forum-to-scale-up-cambodia-mexico-trade-investment-ties/

กงสุลใหญ่เมียนมาส่งเสริมการลงทุนในงานการค้าคุนหมิง

ตามรายงานของกระทรวงการต่างประเทศ กงสุลใหญ่เมียนมา อูตอดา ออง ในเมืองคุนหมิง เข้าร่วมงานส่งเสริมการลงทุนที่ศูนย์การค้าเมียนมา (คุนหมิง) เขตการค้าเสรีนำร่องของจีน (ยูนนาน) เมื่อวันที่ 26 เมษายน เขากล่าวว่าศูนย์แห่งนี้เปิดดำเนินการภายใต้การบริหารของสถานกงสุลใหญ่เมียนมาเมื่อเดือนมีนาคม โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และความร่วมมือระหว่างเมียนมาและจีน กงสุลใหญ่ให้คำมั่นว่าสำนักงานของเขาจะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างทั้งสองประเทศในหลายภาคส่วน รวมถึงการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ภายในงาน ผู้แทนกรมส่งเสริมการลงทุน ฝ่ายบริหารคุนหมิง นำเสนอพัฒนาการด้านการส่งเสริมการลงทุน นอกจากนี้ ตัวแทนเขต Mohan-Boten Corporation ยังได้หารือเกี่ยวกับสถานะความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและลาวตามแนวชายแดน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-consul-general-promotes-investment-at-kunming-trade-event/

ทางการพร้อมผลักดันโครงการเขตเศรษฐกิจกัมพูชา-ญี่ปุ่น (CJSEZ)

รัฐบาลกัมพูชากำลังจัดเตรียมนโยบายในการเตรียมความพร้อมจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษกัมพูชา-ญี่ปุ่น (CJSEZ) เพื่อเป็นการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นมากขึ้น โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (11 ก.พ.) มีการประชุมระหว่างรัฐมนตรีทั้งสองประเทศเพื่อหารือและเตรียมเอกสารแนวคิดในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศกัมพูชา นำโดย Sun Chanthol รองนายกรัฐมนตรีและประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) เป็นประธาน โดยคาดว่าโครงการนี้จะมีส่วนสำคัญในการดึงดูดการลงทุนของญี่ปุ่นมายังกัมพูชา รวมถึงก่อให้เกิดการจ้างงาน การพัฒนาขีดความสามารถและทักษะให้กับแรงงานในท้องถิ่น อีกทั้งมีส่วนในการสนับสนุนเศรษฐกิจผ่านการส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากกัมพูชามีตลาดเผื่อการส่งออกที่ขนาดใหญ่ขึ้น สำหรับปัจจุบัน CDC ได้อนุมัติโครงการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นไปแล้วกว่า 149 โครงการ ด้วยเงินทุนรวมประมาณ 2.9 พันล้านดอลลาร์ ณ เดือนสิงหาคม 2022 โดยลงทุนในอุตสาหกรรมการเสื้อผ้า รองเท้า สินค้าสำหรับเดินทาง ชิ้นส่วนรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ยางรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ แผงโซลาร์เซลล์ และอุตสาหกรรมประกอบจักรยาน เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501439391/cambodia-japan-sez-project-on-the-cards/

เวียดนาม-กัมพูชา พร้อมส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างกัน

Nguyen Hong Dien รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ได้จัดประชุมเพื่อหารือร่วมกับรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา Cham Nimul ณ กรุงฮานอย ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม Hem Vandy ในโอกาสที่นายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุน มาเนต เยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการ ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าความร่วมมือในระดับทวิภาคีทั้งในด้านการค้าและอุตสาหกรรม ส่งผลทำให้ในปี 2023 แม้ในบริบทของความผันผวนเชิงลบของสถานการณ์โลกในช่วง 11 เดือนแรกของปี การค้าระหว่างเวียดนามและกัมพูชามีมูลค่ารวมเกือบ 8 พันล้านดอลลาร์ โดยเวียดนามถือเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสามของกัมพูชาและเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องเกี่ยวกับการผลักดันมาตรการต่างๆ ในอนาคต เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ-การค้าและอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศสูงขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501406114/vietnam-cambodia-promote-cooperation-in-industry-and-trade/

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชามุ่งมั่นส่งเสริมภาคการค้าระหว่างไทย

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชา (MoC) มุ่งมั่นที่จะปรับปรุงความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนในระดับทวิภาคีระหว่างไทย ด้วยการดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ เข้ามายังกัมพูชา หวังเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างทั้งสองประเทศ โดยคำกล่าวนี้เกิดขึ้นระหว่างงานสัมนา ‘การจับคู่ธุรกิจกัมพูชา-ไทย’ ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้ประกอบการเยาวชนกัมพูชาเพื่อการพัฒนา (CYEAD) เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (28 ต.ค.) ณ กรุงพนมเปญ นำโดย Cham Nimul รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา โดยมีเจ้าหน้าที่รัฐบาลกัมพูชา เจ้าหน้าที่จากสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกัมพูชา และนักธุรกิจและนักลงทุนชาวไทยเข้าร่วมงาน สำหรับการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคมของปีนี้ มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 2.58 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 19.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา คิดเป็นการส่งออกของกัมพูชามูลค่า 646 ล้านดอลลาร์ไปยังไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ในขณะที่การนำเข้าสินค้าจากไทยลดลงร้อยละ 25.8 เหลือมูลค่า 1.93 พันล้านดอลลาร์ ภายในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งสินค้าส่งออกหลักของกัมพูชาไปยังประเทศไทย ได้แก่ สิ่งทอ สินค้าเกษตร อัญมณี วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป สำหรับสินค้านำเข้าของกัมพูชาจากประเทศไทย ได้แก่ ปลา เนื้อสัตว์ ผัก รถยนต์ ปุ๋ยอินทรีย์ อาหาร และวัสดุก่อสร้าง เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501383488/moc-committed-to-boosting-trade-ties-with-thailand/

‘เวียดนาม-ไทย’ ตั้งเป้ามูลค่าการค้า 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

นายฟาม มินห์ จิญ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม และนายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หารือร่วมกันในการส่งเสริมการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะการเชื่อมโยงเครือข่ายภายใต้ห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังภาคอุตสาหกรรม ท้องถิ่น ธุรกิจและอื่นๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ นายปานปรีย์ กล่าวว่าธุรกิจไทยมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของสภาพแวดล้อมการลงทุนในเวียดนาม และหวังว่าจะขยายกิจการให้เติบโตขึ้น ในขณะเดียวกัน นายกฯเวียดนาม เสนอให้รัฐบาลไทยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชนชาวเวียดนามในไทย และรู้สึกยินดีกับเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นระหว่างทั้งสองประเทศ

นอกจากนี้ เวียดนามและไทย ได้ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าการค้า 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขจัดอุปสรรคทางการค้าและอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าระหว่างทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://www.nationthailand.com/world/asean/40032235

ธุรกิจเวียดนาม-ไทย จับมือส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้า

การประชุมเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการค้าระหว่างผู้ประกอบการเวียดนามและผู้ประกอบการไทยที่อยู่ในจังหวัดขอนแก่นและอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 18-20 ก.ย. งานส่งเสริมในครั้งนี้จัดขึ้นโดยสถานกงสุลใหญ่เวียดนามประจำจังหวัดขอนแก่น และศูนย์ส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว ประจำจังหวัดกว่างจิ ทั้งนี้ นายจู ดึก สุง กงสุลใหญ่ของเวียดนาม เน้นย้ำว่าสินค้าเวียดนามยังคงมีศักยภาพที่สามารถเจาะตลาดไทยได้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นชุมชนขนาดใหญ่ของชาวเวียดนามที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งหลายคนเป็นเจ้าของซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าส่งค้าปลีก ขณะที่นายสุเทพ มณีโชติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าภาคธุรกิจเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดขอนแก่น และอยู่ในอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศ ได้แก่ พลังงานหมุนเวียน เชื้อเพลิงชีวภาพและพลังงานแสงอาทิตย์

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/local-firms-seek-to-boost-trade-ties-with-thai-businesses-post1047324.vov

อาเซียนดันการค้าดิจิทัล จัดทำยุทธศาสตร์ความเป็นกลางทางคาร์บอน

นายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 55 เมื่อวันที่ 19-22 ส.ค.66 ณ เมืองเซอมารัง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้สรุปผลลัพธ์สำคัญที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) และผู้นำอาเซียน วันที่ 3-7 ก.ย.66 โดยมีประเด็นสำคัญ คือ การจัดทำกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน (DEFA) การจัดทำยุทธศาสตร์ความเป็นกลางทางคาร์บอน และปฏิญญาว่าด้วยกรอบการดำเนินงานสำหรับโครงการพื้นฐานด้านอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจใหม่ของอาเซียนที่ตอบสนองเชิงรุกต่อแนวโน้มการค้าของโลก รวมถึงเตรียมจัดทำวิสัยทัศน์อาเซียนฉบับใหม่ที่จะใช้ภายหลังปี 68 เพื่อยกระดับการรวมตัวของอาเซียนไปสู่การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวที่เชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อ “ที่ประชุมเห็นชอบเอกสารที่จำเป็นในการเปิดเจรจาจัดทำความตกลง DEFA รวมถึงเอกสารผลการศึกษาประโยชน์และผลกระทบของ DEFA เอกสารแนวทางในการเจรจา และร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนในเรื่องนี้ โดยตั้งเป้าจะเริ่มเจรจาปลายปีนี้ และให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี คาดว่า DEFA จะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าด้านดิจิทัลในอาเซียนให้สูงถึง 400,000-600,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 73 ส่วนยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอนจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มในเศรษฐกิจสีเขียวและสนับสนุนการเติบโตที่ยั่งยืนของภูมิภาค”

ที่มา : https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2721446

สปป.ลาว-ฟิลิปปินส์ พร้อมหนุนอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน การค้า และการเกษตร

Mr. Enrique Manalo รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์กล่าวถึงโอกาสในการร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน การค้า และภาคการเกษตร ร่วมกับกัมพูชา หลังร่วมหารือกับคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคี สปป.ลาว-ฟิลิปปินส์ (JCBC) นำโดย Mr. Saleumxay Kommasith นอกจากการสนับสนุนในเรื่องข้างต้นทั้งสองฝ่ายยังได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการกำหนดเที่ยวบินตรงเชื่อมระหว่างสองประเทศเพื่อหวังกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวระหว่างกันในอนาคต ขณะที่ ACEN Renewables บริษัทสัญชาติฟิลิปปินส์ ได้เข้าถือหุ้นในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม ซึ่งเป็นโครงการพลังงานลมโครงการแรกใน สปป.ลาว และโครงการพลังงานหมุนเวียนข้ามพรมแดนโครงการแรกในเอเชีย โดยเชื่อว่าเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์การเติบโตด้านพลังานสีเขียวของ สปป.ลาว ซึ่งปัจจุบันทั้งสองประเทศได้สานความสัมพันธ์ทางการทูตร่วมกันมาแล้วกว่า 70 ปี โดยได้จัดทำข้อตกลงร่วมกันทั้งหมด 22 ฉบับ ภายใต้การวางกรอบความสัมพันธ์ที่มุ่งเน้นไปที่ความมีมนุษยธรรมมากขึ้น มั่งคั่งขึ้น และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_151_Foreign_y23.php