กัมพูชาตั้งเป้าฉีดวัคซีนภายในประเทศ 10 ล้านคน โดยปัจจุบันฉีดไปแล้วกว่า 90%

กัมพูชาสามารถฉีดวัคซีนได้เกือบร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายซึ่งได้กำหนดไว้ข้างต้นที่จำนวน 10 ล้านคน โดยตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2021 จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2021 ทางการกัมพูชาได้ทำการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปแล้วจำนวน 9,020,990 ราย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55.93 ของประชากรภายในประเทศ ที่มีจำนวนอยู่ที่ 16 ล้านราย นอกจากนี้ทางการกัมพูชายังได้ทำการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 (Booster) โดยใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า จำนวน 240,902 โดส ซึ่งได้เร่งทำการฉีดใน 7 จังหวัดที่มีชายแดนติดกับชายแดนของไทย รวมแล้วมีประชาชนจำนวน 7.5 ล้านราย มีสิทธิ์ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนเข็มที่ 3 (Booster)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50916552/more-than-90-percent-of-the-targeted-10-million-population-in-cambodia-to-be-vaccinated-by-today-against-covid-19/

แตงโมล้นตลาด แนะเกตรกรแก้ปัญหาลดพื้นที่เพาะปลูกลง 50%

ผลผลิตแตงโมที่ออกมาล้นตลาด เกตรกรได้รับการแนะนำให้ลดพื้นที่การเพาะปลูกลง 50% สำหรับฤดูการที่จะมาถึง การส่งออกแตงโมลดลงจากปีที่แล้วอย่างชัดเจน เห็นได้จากรถบรรทุกแตงโมประมาณ 30,000 คัน และแตงเมล่อน 12,000 คัน ถูกส่งไปยังจีนแตส่งผลกระทบเสียหายแตงโมถูกทิ้งหรือเน่าเสีย เนื่องจากผลผลิตล้นตลาด การขนส่งล่าช้า และการเข้มงวดของมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 บริเวณชายแดนสำคัญของเมียนมา-จีน เช่น ชายแดนรุ่ยลี่ ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อทำให้ต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ และเริ่มตรวจหาเชื้อทันที ส่งผลให้การซื้อขายเกิดความล่าช้า โดยต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือนกว่ารถบรรทุกจะเข้าสู่จุดตรวจ รถบรรทุกแตงโม (พันธุ์ 855) ราคาอยู่ที่ 45,000-65,000 หยวนต่อตัน ในเดือนมีนาคม ราคาลดฮวบเหลือ 13,000 หยวน ก่อนหน้านี้ตลาดแตงโมของเมียนมาร์พึ่งพาจีนเป็นหลัก ปัจจุบันเมียนมาส่งแตงโมไร้เมล็ดจำนวน 45 ตันไปยังตลาดดูไบในเดือนธันวาคม 2563 และมกราคม 2564 หลังจากที่ประเทศประสบความสำเร็จในตลาดดูไบ มีแผนที่จะขยายตลาดไปยังฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564 ศูนย์ขนถ่ายสินค้าผลไม้หลักไมล์ 105 ได้มีการกำหนดจำนวนรถบรรทุกแตงโมและแตงโมเพื่อการส่งออกเพื่อการส่งออก ทั้งนี้ เมียนมาส่งออกแตงโมกว่า 800,000 ตันต่อปี และเมล่อนประมาณ 150,000 ตันไปยังจีนทุกปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/watermelon-growers-suggested-50-production-drop-next-growing-season/

ยอดขอ Form E ค้าผ่านแดนไทย-จีน ไตรมาส1 พุ่งเกือบร้อยละ 20

พาณิชย์เผยผลไม้ไทยเนื้อหอม ส่งออกตลาดจีนขึ้นดันยอดขอ Form E ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2564 (มกราคม – เมษายน) กรมฯ ออกหนังสือรับรองฯ Form E ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) จำนวน 80,368 ฉบับ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 232,018 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form E สำหรับการส่งออกสินค้าผลไม้ จำนวน 30,431 ฉบับ คิดเป็นมูลค่าการส่งออกกว่า 46,408 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 42,887 ล้านบาท โดยผลไม้ที่มีการส่งออกสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.ทุเรียนสด ร้อยละ 46.02  2.ลำไย ร้อยละ 27.09 และ 3.มะพร้าว ร้อยละ 16.38 ตามลำดับ ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2564 (มกราคม – เมษายน) สถิติการค้าผ่านแดนไทย-จีนเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีมูลค่ารวม 102,271 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 66,303 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นมูลค่าการส่งออก 51,793 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.53 และมูลค่าการนำเข้า 50,478 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.68 โดยไทยยังคงได้ดุลทางการค้าต่อเนื่องที่ 1,316 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ของผู้ประกอบการในช่วงฤดูกาลผลไม้เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

ที่มา : https://tna.mcot.net/latest-news-719664

ปีงบ 63-64 ส่งออกมะม่วงเมียนมา ดิ่งลง เหลือเพียง 278 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามข้อมูลของกรมศุลกากรเมียนมา การส่งออกมะม่วงของเมียนมาร์สร้างรายได้ 278 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งปีแรก (ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมีนาคม) ของปีงบประมาณ 2563-2564 ลดลงอย่างมากเนื่องจากปิดชายแดนจากผลกระทบด้านลบของ COVID-19 การส่งออกมะม่วงเพชรน้ำหนึ่ง (Seintalone) ไปจีนในปีนี้น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 50% การเพาะปลูกมะม่วงเขตอิรวดีมีพื้นที่มากสุดประมาณ 46,000 เอเคอร์ รองลงมาตือเขตพะโค พื้นที่ 43,000 เอเคอร์ และมัณฑะเลย์มีมะม่วง 29,000 เอเคอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ในการส่งออกนอกเหนือจากจีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่แล้ว เมียนมายังส่งออกไปอินเดีย บังคลาเทศ ไทย สาธารณรัฐเกาหลี สิงคโปร์ และญี่ปุ่น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-278-mln-from-mango-exports-in-h1/

เกษตรกรมโหย่ติ ประสบผลสำเร็จในการปลูกงาได้ตลอดทั้งปี

ชาวบ้านในพญายี อำเภอมโหย่ติ จังหวัดมะกเว เขตมะกเว ประสบความสำเร็จในการใช้น้ำบาดาลปลูกงาดำตลอดทั้งปี เกษตรกรมีการไถไร่อย่างเป็นระบบ งาดำเริ่มปลูกเมื่อวันที่ 24 เมษายน 64 หลังจากมีเรือนเพาะชำแล้ว จะทำการปลูกบนพื้นที่ขนาด 1 เอเคอร์ และรดน้ำด้วยผ่านท่อด้วยระบบสปริงเกอร์งาสามารถให้ผลผลิตได้หลังจากปลูก 100 วัน งามีการปลูกในประเทศตลอดทั้งปี โดยเฉพาะเมียนมาร์ปลูกงาขาว งาดำ ปัจจุบันเมียนมาส่งออกงาไปยังจีนส่วนใหญ่ผ่านเส้นทางชายแดน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cultivation-of-sesame-succeeds-in-myothit/#article-title

การค้าชายแดนระหว่างไทยและกัมพูชาลดลงในช่วง 4 เดือนแรกของปี

การค้าข้ามพรมแดนของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ทำให้รัฐบาลไทยเชื่อมั่นว่าการค้าดังกล่าวจะกลับมาเติบโตร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 6 ในปี 2021 หลังจากมูลค่าหดตัวที่ร้อยละ 1.7 ในปีที่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การค้าข้ามพรมแดนกับกัมพูชาลดลงร้อยละ 4.5 ในช่วงเวลาเดียวกัน สาเหตุหลักมาจากการปิดชายแดนในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยการเติบโตทางด้านมูลค่าการค้าข้ามพรมแดนของไทยเป็นผลมาจากความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวง หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน ผ่านคณะกรรมการที่ปรึกษาภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ร่วม เพื่อขจัดอุปสรรคด้านการส่งออกและเร่งการเปิดด่านชายแดนอีกครั้งในเร็ว ๆ นี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50867316/cambodias-border-trade-with-thailand-down-4-5-percent-in-four-months/

สปป.ลาวเพิ่มความเข้มแข็งในการควบคุมชายแดนเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากโควิด -19 ที่นำเข้า

รัฐบาลลาวได้สั่งการให้ทั่วประเทศเฝ้าระวังชายแดนอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด -19 ชาวสปป.ลาวที่ทำงานในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ สามารถกลับไปสปป.ลาวได้ แต่ต้องเข้าที่จุดผ่านแดนอย่างเป็นทางการเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจคัดกรองโควิด -19 การปิดชายแดนครั้งนี้ถึงแม้จะทำให้สปป.ลาวรับมือกับโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิแต่ผลเสียที่ตามมาคือเรื่องของการค้าชายแดนที่เป็นช่องทางหลักในการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทยที่คิดเป็นมูลค่าการค้ากว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด การปิดชายแดนจะทำให้การขนส่งสินค้าเข้ามามีความล่าช้าและต้นทุนในการขนส่งที่สูงขึ้นซึ่งจะย้อนกลับมาสร้างผลกระทบแก่ค่าครองชีพสปปป.ลาว เนื่องจากสปป.ลาวพึ่งพาสินค้านำเข้าเป็นหลักภายในประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลจำเป็นต้องหาแนวทางแก้ไขควบคู่ไปกับมาตรกรป้องกันที่เข้มงวด

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/asiapacific/2021-05/17/c_139950983.htm

6 เดือนแรกของปีงบฯ 63-64 ค้าชายแดนเมียนมาแตะ 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ณ วันที่ 2 เมษายน 64 -ของปีงบประมาณปี 63-64 ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 63 การค้าชายแดนเมียนมามีมูลค่า 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงกว่า 264 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนซึ่งมีมูลค่า 5.9 พันล้านดอลลาร์ โดยด่านมูเซเป็นด่านชายแดนที่มีมูลค่าการค้ามากที่สุด คือ 2.5 พันล้านดอลลาร์ตามมาด้วยด่านเมียวดีมีมูลค่า 729 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 2 เมษายน 64 ของปีงบประมาณนี้การค้าต่างประเทศมีมูลค่ารวมกว่า 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การค้าทางทะเลมีมูลค่า 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmars-border-trade-reaches-5-6-bln-in-first-six-months-of-fy/

กัมพูชา เวียดนาม สปป.ลาวเห็นพ้องที่จะส่งเสริมความร่วมมือผ่านประตูชายแดนระหว่างประเทศ

นายกรัฐมนตรีเวียดนามเหงียนซวนฟุกและผู้นำของสปป.ลาวและกัมพูชาตกลงที่จะสร้างเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยสำหรับพิธีการทางศุลกากรผ่านประตูชายแดนในระหว่างการเจรจาผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เมื่อวัน 10 มีนาคม 64 พวกเขาตกลงที่จะรักษาและส่งเสริมประสิทธิภาพของกลไกความร่วมมือเร่งความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระหว่างท้องถิ่นชายแดนและส่งเสริมการสร้างตลาดชายแดนและศูนย์กระจายสินค้าระหว่าง 3 ประเทศเป็นไปตามแผนเพื่อเชื่อมต่อเศรษฐกิจทั้งสามประเทศภายในปี 2573 นอกจากนี้พวกเขายังมีการตกลงที่จะส่งเสริมความร่วมมือและการสนับสนุนซึ่งกันและกันในการป้องกันและควบคุม COVID-19 ต่อไปโดยสร้างเงื่อนไขสำหรับพิธีการศุลกากรสำหรับคนและสินค้าผ่านประตูชายแดนตลอดจนกิจกรรมความร่วมมือด้านการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของทั้ง 3 ประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50823412/cambodia-vn-laos-agree-to-boost-border-gate-cooperation/

รัฐบาลสปป.ลาวยังคงเฝ้าระวังชายแดนอย่างเข้มงวดในช่วง COVID-19

คณะทำงานด้านการป้องกันและควบคุมโควิด -19 แห่งชาติของสปป.ลาวยังคงใช้มาตรการป้องกันและตรวจสอบผู้ที่เข้ามาในประเทศอย่างเข้มงวดเพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของโควิด -19 ระลอกสอง Mr.Sisavath Soutthaniraxay รองอธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อภายใต้กระทรวงสาธารณสุขลาว กล่าวกับงานแถลงข่าวเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า ผู้ที่เดินทางเข้าสปป.ลาวจะถูกส่งไปยังศูนย์กักกันเป็นเวลา 14 วันเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนนำไวรัสเข้าประเทศ สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในสปป.ลาวปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ที่ดีซึ่งมียอดผู้ติดเชื้อต่ำที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงแม้ล่าสุดจะมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3 รายซึ่งมีความเชื่อมโยงกับประเทศไทยที่ตอนนี้เกิดการระบาดระลอกสอง ทำให้ต้องมีเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2021-01/27/c_139701291.htm