‘ฮานอย’ ตั้งเป้าครึ่งปีแรก GRDP โต 6%

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติฮานอย เปิดเผยว่าในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเมืองส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IIP) เดือน ม.ค.-มิ.ย. เพิ่มขึ้น 5% และดัชนีผลผลิตอุตฯ ในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้น 5.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ทั้งนี้ เมืองฮานอยได้ตั้งเป้าหมายผลิตภัณฑ์ภูมิภาค (GRDP) ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ คาดว่าจะขยายตัว 6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเมืองฮานอยเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ยกระดับผลผลิตและขีดความสามารถทางการแข่งขัน ตลอดจนส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน

นอกจากนี้ เมืองฮานอยมุ่งเน้นไปจะพัฒนาวัฒนธรรมและสังคม เพื่อเฉลิมฉลองการครบรอบ 70 ปีวันปลดปล่อยของเมืองหลวง รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพทางการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีการเชื่อมโยงกับทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ที่มา : https://en.nhandan.vn/hanois-grdp-estimated-to-grow-6-in-h1-post136905.html

‘เวียดนาม’ เผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้น 7.5%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเวียดนามในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 7.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) โดยสาขาการผลิตและแปรรูปยังคงเป็นสาขาหลักของอุตสาหกรรมเวียดนาม เพิ่มขึ้น 8.7% ตามมาด้วยสาขาการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า เพิ่มขึ้น 13% และสาขาการจัดการน้ำประปาและการจัดการขยะ เพิ่มขึ้น 7% ในขณะที่สาขาเหมืองแร่

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/industrial-output-rises-7-5-in-h1/

การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอในประเทศเมียนมาจำเป็นต้องลดการนำเข้า

เมื่อเช้าวานนี้ ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายบริการกลาโหม พล.อ.มิน ออง หล่าย ได้ให้คำแนะนำระหว่างการตรวจสอบโรงงานทอผ้าทัดมาดอว์ (เมติลา) ในเมืองเมติกติลา เขตมัณฑะเลย์ ว่า เมียนมาจะต้องพยายามอย่างต่อเนื่องในการผลิตสิ่งทอคุณภาพสูงโดยใช้สำลีหรือด้ายที่ผลิตในประเทศ โดยที่ห้องประชุมของโรงงาน ผู้จัดการโรงงาน อู นาย ลิน รายงานต่อนายพลอาวุโสเกี่ยวกับการดำเนินการตามคำแนะนำของนายพลอาวุโสในการทัศนศึกษาเมื่อเดือนกันยายน 2565 ซึ่งได้กล่าวรายงานถึงประวัติโดยย่อของโรงงาน การผลิตเส้นด้าย การดำเนินการด้านการเกษตร และงานเลี้ยงปศุสัตว์ เพื่อสวัสดิการของพนักงาน และการผลิตเส้นด้าย 2/80 เส้น โดยใช้สำลีท้องถิ่น อย่างไรก็ดี พลเอกอาวุโสเน้นย้ำว่าเนื่องจากมีการผลิตสิ่งทอต่างๆ รวมถึงมุ้ง ผ้าห่ม และผ้าปูที่นอนที่บ้าน จึงจำเป็นต้องตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นเพื่อลดปริมาณการนำเข้า และยังได้ตั้งข้อสังเกตว่าหากด้ายและสิ่งทอสำหรับอุตสาหกรรม MSME ตอบสนองความต้องการในประเทศได้ ปริมาณการนำเข้าสิ่งทอจะลดลง นอกจากนี้ ยังได้มีการตรวจสอบคุณภาพสิ่งทอสำหรับเครื่องแต่งกายที่ผลิตที่โรงงาน และแนะนำถึงการรักษามาตรฐานตามความต้องการของตลาด รวมทั้งได้ตรวจสอบความคืบหน้าของการติดตั้งเครื่องจักรที่โรงงานปั่นเส้นด้ายและโรงงานย้อมผ้าสำหรับผลิตด้ายคุณภาพสูง ที่มีการประสานงานกับผู้จัดการโรงงานและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/home-production-of-textile-products-essential-to-cut-imports/

เขตอุตสาหกรรม และเขตต่อขยาย มีโอกาสส่งเสริมสินค้าส่งออกได้มาก

คณะกรรมการกลางพัฒนาอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรมจัดการประชุมครั้งที่ 1/2567 ณ ห้องประชุมกระทรวงอุตสาหกรรม ในเมืองเนปิดอว์ เมื่อบ่ายวานนี้ โดยมีประธานคณะกรรมการกลาง รองประธานสภาบริหารแห่งรัฐ โดยรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.โซ วิน. กล่าวว่า คณะกรรมการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมและกำกับดูแลจะต้องกำกับดูแลมาตรการเพื่อพิจารณาว่าเขตอุตสาหกรรมเปิดดำเนินการจริงและอนุญาตให้มีกระบวนการทำงานของธุรกิจเดียวกันได้หรือไม่ ในคำปราศรัยเน้นย้ำว่า เมียนมาต้องพัฒนาเขตอุตสาหกรรมหลัก 28 แห่ง อุตสาหกรรมสาขา 53 แห่ง และเขตอุตสาหกรรม 5 แห่ง พร้อมเขตอุตสาหกรรมอีก 2 แห่งที่อยู่ระหว่างการจัดตั้ง เพื่อแก้ไขประเด็นที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายและกฎเกณฑ์ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกลางจำเป็นต้องกำหนดนโยบายและแก้ไขปัญหา ในขณะที่คณะกรรมการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมท้องถิ่นและกำกับดูแลและรัฐบาลส่วนภูมิภาคต้องกำกับดูแลการดำเนินงานของเขตอุตสาหกรรมที่ตั้งไว้แล้ว และเขตอุตสาหกรรมที่จะจัดตั้งและเขตอุตสาหกรรมให้ประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้ ยังพบปัญหาเขตอุตสาหกรรมตั้งอยู่ใกล้เขตที่อยู่อาศัยด้วย ซึ่งต้องหาทางแก้ไขปัญหาภายใต้กฎหมายและกฎเกณฑ์เขตอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ภูมิภาคมะเกวส่งมา ได้รับการจัดสรรให้กับกลุ่มพื้นที่น้อยกว่า 500 เอเคอร์เป็นหลัก เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มที่ทำจากพืชน้ำมัน ถั่ว และฝ้าย ส่งผลให้รัฐบาลเขตมะเกวจำเป็นต้องยื่นข้อเสนอใหม่สำหรับเขตอุตสาหกรรมเพื่อใช้อุตสาหกรรมฝ้ายและด้ายและพืชน้ำมัน รวมทั้ง ต้องดำเนินการเขตอุตสาหกรรมของตนให้สอดคล้องกับกฎหมายและกฎเกณฑ์อุตสาหกรรมจึงจะประสบความสำเร็จได้

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/industrial-zones-and-extended-zones-have-great-chance-to-boost-export-products/

ผู้ประกอบการกัมพูชา หวังนักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามายังกัมพูชามากขึ้น

ผู้ประกอบการค้าขายของที่ระลึกและผู้ให้บริการด้านการขนส่งในจังหวัดเสียมราฐ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา ต่างก็อยากเห็นนักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางมาท่องเที่ยวมากขึ้น โดยพวกเขามองว่านักท่องเที่ยวชาวจีนเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มสำคัญสำหรับการฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ ซึ่งคาดว่าสนามบินแห่งใหม่จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น เนื่องจากมีความสะดวกด้านการเดินทางมายังเสียมราฐมากขึ้น สำหรับจังหวัดเสียมราฐมีอุทยานโบราณคดีนครวัดบนพื้นที่กว่า 401 ตารางกิโลเมตร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก UNESCO ในปี 1992 โดยได้รับความนิยมมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีวัดโบราณกว่า 91 แห่ง สร้างขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 9-13

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501496584/vendors-service-providers-in-cambodia-expect-more-chinese-tourists/

‘เวียดนาม’ ส่งออก พ.ค.67 โต 15.8% ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ขยายตัว 8.9%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าการส่งออกของเวียดนามในเดือน พ.ค.67 มีมูลค่าอยู่ที่ 32.81 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยได้รับอนิสงค์มาจากการส่งออกโทรศัพท์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่การนำเข้า มีมูลค่าอยู่ที่ 33.81 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 29.9% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่งผลให้เวียดนามขาดดุลการค้าราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

อีกทั้ง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ค.67 เพิ่มขึ้น 8.9% ต่อปี รวมถึงดัชนีราคาผู้บริโภคและยอดค้าปลีก เพิ่มขึ้น 4.44% และเพิ่มขึ้น 9.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.marketscreener.com/news/latest/Vietnam-May-exports-up-15-8-y-y-industrial-production-up-8-9-46846255/

DITP ชี้ตลาดฮาลาลบูม พร้อมแสดงศักยภาพ ยกระดับฮาลาลไทย

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) จัด Thai Halal Pavilion เปิดโอกาสทางธุรกิจ สร้างโอกาสทางการค้า แสดงศักยภาพอาหารฮาลาลไทย ผสานนวัตกรรม ก้าวสู่ตลาดโลก ดัน Soft Power อาหารไทย ใน THAIFEX-Anuga Asia 2024 นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออก ในปี 2566 มีมูลค่าการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศมุสลิม (OIC) 6,246.13 ล้านบาท โดยไทยส่งออกสินค้าอาหารฮาลาล เป็นอันดับที่ 11 ของโลก อย่างไรก็ตาม อาหารฮาลาลของไทยยังมีโอกาสเติบโตได้เพิ่มขึ้น จากจุดแข็งด้านคุณภาพ วัตถุดิบที่มีความหลากหลาย มีมาตรฐาน รสชาติดี เป็นที่นิยม และมีชื่อเสียงในตลาดโลก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) จึงได้สนับสนุนและส่งเสริมอาหารฮาลาลมาอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดโอกาสให้อาหารฮาลาลไทยขยายออกไปสู่ตลาดโลกมากขึ้น และได้กำหนดให้จัด Thai Halal Pavilion ขึ้นเพื่อแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มฮาลาลแบบครบวงจร สร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการจาก 5 จังหวัดชายแดนใต้ สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ซึ่งเป็นฐานการผลิตสินค้าฮาลาลที่สำคัญ ในงาน THAIFEX-Anuga Asia 2024 งานจัดแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดในเอเชีย ซึ่งปีนี้มีผู้เข้าร่วมแสดงสินค้ารวมกว่า 3,000 บริษัท มากกว่า 6,000 คูหา จาก 50 ประเทศ ในปัจจุบันอาหารฮาลาลไทย ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจำนวนประชากรมุสลิมมีการขยายตัวสูง ประกอบกับผู้บริโภคยุคใหม่ที่มิใช่มุสลิมก็ให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารปลอดภัย และมีความเชื่อมั่นในอาหารและเครื่องดื่มฮาลาลของไทยที่มีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานคุณภาพตามหลักการศาสนาบัญญัติอิสลาม

ที่มา : https://www.matichon.co.th/publicize/news_4596050

‘เวียดนาม’ พึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศมากเกินไป จำเป็นที่ต้องพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน มีสัดส่วนราว 90% ของการส่งออกรวม และมีสัดส่วน 25.8% ของจำนวนงานทั้งหมดในประเทศ ในขณะที่การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นสัดส่วนราว 40% ของการลงทุนทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนสภาพจากการลงทุนของรัฐไปเป็นของการลงทุนที่มิใช้รัฐ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ไปยังภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป ทั้งนี้ ธุรกิจข้ามชาติหรือธุรกิจ FDI เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากธุรกิจในประเทศประสบปัญหากับการยกระดับขีดความสามารถทางด้านการผลิตและการบริหาร รวมถึงการขาดเทคโนโลยีขั้นสูงและผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1656090/vn-too-heavily-dependent-on-fdi-must-improve-industrial-ecosystem.html

กระทรวงสิ่งแวดล้อมร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน ลดการใช้พลาสติกในโรงงานกัมพูชา

Heng Sour รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและฝึกอบรมวิชาชีพ และ Eang Sophalleth รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม ลงนามในบันทึกความตกลง (MOU) เรื่อง “การรณรงค์ลดการใช้พลาสติกในสถานประกอบการ” ในช่วงวันที่ 20 พ.ค. ที่ผ่านมา โดยทั้งสองฝ่ายยินดีและพร้อมที่จะช่วยกันผลักดันนโยบายดังกล่าว เพื่อส่งเสริมการลดการใช้พลาสติกในสถานประกอบการ ซึ่งทั้งสองกระทรวงเคยทำงานร่วมกันผ่านกลไกการตรวจสอบโรงงานเพื่อให้แน่ใจว่าสภาพแวดล้อมในสถานประกอบการเหมาะสมต่อการดำเนินงานของแรงงานในสายการผลิต สำหรับการลงนามในครั้งนี้แสดงถึงความร่วมมืออย่างเป็นทางการของทั้งสองกระทรวง ในการส่งเสริมการเติบโต ประสิทธิภาพ และผลผลิต ในทางกลับกันเจตนารมณ์ของบันทึกความตกลงจะส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการลดผลกระทบของขยะพลาสติกที่ถูกนำมาใช้ในสังคม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/1492077/ministry-of-environment-cooperates-with-the-ministry-of-labour-to-reduce-the-use-of-plastic-in-factories/

สินเชื่อภาคเกษตรกรรมของกัมพูชาลดลงเหลือ 31% จาก 36% ใน 5 ปีก่อน

โครงสร้างสัดส่วนสินเชื่อภาคการเกษตรลดลงจากร้อยละ 35.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 31 สำหรับในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตามข้อมูลจากธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) โดยภาคการเกษตรยังคงเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจกัมพูชาสำหรับในปี 2023 สำหรับโครงสร้างเศรษฐกิจกัมพูชาเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อยสะท้อนจากข้อมูลของกระทรวงเกษตรกรรม ป่าไม้ และประมง ที่ได้กล่าวรายงานว่า ภาคการเกษตรมีส่วนสำคัญต่อการผลักดันการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) แต่ด้วยขนาดของเศรษฐกิจที่มีการขยายตัว รวมถึงโครงสร้างอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลทำให้สัดส่วนอุตสาหกรรมการเกษตรในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 22 ของ GDP ประเทศ แม้ในปี 2013 จะมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 36 ของ GDP ก็ตาม สำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น สิ่งทอ การท่องเที่ยว และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และ MSMEs ในด้านการผลิต ชิ้นส่วนรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ พลาสติก ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ก็เริ่มมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501490959/agricultural-loans-fall-to-31-from-36-in-5-years/