รมว.พาณิชย์ถก JFCCT เร่งลดอุปสรรคการค้า-ดึงดูดลงทุนหลังโดนผลกระทบโควิด

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (JFCCT) นำโดยนายสแตนลีย์ คัง ประธาน JFCCT ว่า วันนี้ได้พบปะหารือตัวแทนหลายประเทศในกลุ่มหอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย โดยประเด็นที่ 1 คือเรื่อง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่ง JFCCT ต้องการให้ผู้ประกอบธุรกิจต่างด้าวสามารถถือหุ้นได้ 100% ในการประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้บัญชี 3 บางรายการในช่วง 3 ปีนี้ เพื่อดึงดูดการลงทุนเข้ามาประเทศไทยในช่วงโควิด ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงพาณิชย์รับจะพิจารณาให้ ภายใต้ขั้นตอนกระบวนการตามที่กฎหมายกำหนด เรื่องที่ 2 คือ การเจรจาการค้าเสรี (FTA) กับหลายกลุ่ม ที่มีความชัดเจนอย่างน้อย 5 ประเทศ 5 กลุ่ม คือ FTA ไทย-EU, ไทย-UK, ไทย-EFTA กลุ่มประเทศแถวสวิส นอร์เวย์, ไทย-ยูเรเซีย และอาเซียนกับแคนาดา เรื่องที่ 3 คือ มาตรการฟื้นการท่องเที่ยวที่ภาคเอกชนต่างประเทศ อยากเห็นการกำหนดเงื่อนเวลาที่จะให้กักตัวอย่างชัดเจนและจะมีมาตรการผ่อนคลายเพิ่มขึ้นเมื่อใด ส่วนเรื่องที่ 4 เกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งที่ภาคเอกชนต่างประเทศ ต้องการเห็นการขนถ่ายสินค้าที่สะดวกขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับการพบปะกันนั้น จะเปิดโอกาสให้หอการค้าต่างประเทศได้หารือกับกระทรวงพาณิชย์มากขึ้น เพื่อจะได้ติดตามความคืบหน้า และร่วมกันทำงานคลี่คลายปัญหาที่ติดขัด เพื่อช่วยกันฟื้นเศรษฐกิจและเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าการส่งออกของไทยด้วย

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq03/3172940

ผู้นำอาเซียนเตรียมประชุมทางไกลหารือสู้โควิด-19 สัปดาห์หน้า

ผู้นำประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน กำลังเตรียมจัดการประชุมทางไกลร่วมกันในสัปดาห์หน้า เพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แหล่งข่าวทางการทูตเปิดเผยว่า การประชุมสุดยอดทางโทรศัพท์คาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 14 เม.ย. พร้อมเสริมว่า อาเซียนซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 10 ชาติ กำลังพิจารณาที่จะจัดการประชุมทางไกลร่วมกับผู้นำญี่ปุ่น, จีน และเกาหลีใต้ด้วย โดยคาดว่านายหลี่ เค่อ เฉียง นายกรัฐมนตรีจีน, นายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และประธานาธิบดีมูน แจ อิน ของเกาหลีใต้ จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดทางไกลอาเซียน+3 ครั้งนี้ บรรดาผู้นำจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส, การใช้มาตรการป้องกัน และการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า เมื่อเดือนที่ผ่านมา เวียดนามซึ่งดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปีนี้ได้แจ้งแก่ประเทศสมาชิกว่า การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนซึ่งเวียดนามจะเป็นเจ้าภาพนั้น จะเลื่อนจากเดือนเม.ย. ไปเป็นช่วงปลายเดือนมิ.ย. สำหรับการประชุมสุดยอดสหรัฐ-อาเซียนนัดพิเศษซึ่งเดิมมีกำหนดจัดขึ้นในช่วงกลางเดือนมี.ค. ที่นครลาสเวกัส ได้ถูกเลื่อนออกไปเช่นกัน เนื่องจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ยังคงแพร่ระบาดไปทั่วโลก ทั้งนี้ กลุ่มสมาชิกอาเซียนประกอบด้วยบรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2020/11643

กระทรวงเสนอให้กลับมาส่งออกข้าว

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เรียกร้องให้รัฐบาลกลับมาดำเนินการส่งออกข้าวอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ต้องจำกัดปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 800,000 ตัน ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ทางกระทรวงฯ เสนอให้อนุมัติการส่งออกข้าวได้ แต่ต้องควบคุมเรื่องโควตาต่อเดือนอย่างเข็มงวด หลังจากพิจารณาความมั่งคงทางด้านอาหารแล้ว ท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผนดังกล่าวนั้นเป็นไปตามคำประกาศอย่างเป็นทางการจากกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เกี่ยวกับปริมาณส่งออกข้าวพันธุ์ฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ อยู่ที่ 3.2 ล้านตัน ซึ่งปริมาณข้างต้นเป็นส่วนที่เหลือจากการบริโภคและสำรองในประเทศแล้ว สำหรับการขนส่งจะเป็นในรูปแบบการค้าผ่านชายแดนระหว่างประเทศ ได้แก่ ทางถนน ทางรถไฟ ทางทะเลและทางอากาศ นอกจากนี้ กระทรวงฯ กำหนดให้ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุด 20 ราย มาลงนามข้อตกลงกับระบบการจำหน่ายสินค้า เพื่อให้แน่ใจว่าการสำรองอาหารนั้นจะเพียงพอ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/trade-ministry-proposes-resuming-rice-exports/171350.vnp

รัฐวิสาหกิจสูญเสียรายได้ 3.7 ล้านล้านด่ง ในไตรมาสแรก จากโควิด-19 ระบาด

รัฐวิสาหกิจ 9 กลุ่ม และบริษัท ภายใต้คณะกรรมการบริหารเงินทุนของรัฐ (CMSC) มีผลประกอบการขาดทุนมากกว่า 3.7 ล้านล้านด่ง (160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในไตรมาสแรกของปีนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามรายงานล่าสุดของ CMSC ถูกส่งไปยังนายกฯ เหงียนซวนฟุก ระบุว่ารายได้รวมของรัฐวิสาหกิจ 19 แห่ง และบริษัท ลดลงเหลือประมาณ 27.3 ล้านล้านด่ง ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยังคงต่อเนื่องและราคาน้ำมันยังไม่ฟื้นตัว จะส่งผลให้รายได้รวมในปี 2563 แตะระดับ 270 ล้านล้านด่ง ต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ทั้งปี ยิ่งไปกว่านั้น กลุ่มรัฐวิสาหกิจ 8 แห่งจากทั้งหมด จะสูญเสียรายได้มากกว่า 26.3 ล้านล้านด่ง และทำให้งบประมาณของรัฐต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ 32.8 ล้านล้านด่ง สำหรับทางบริษัทเวียดนามแอร์ไลน์นั้น หากการแพร่ระบาดยังคงดำเนินต่อไปจนถึงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ จะสูญเสียรายได้ประมาณ 72.4 ล้านล้านด่ง รวมถึงบริษัทได้ระงับเส้นทางการบินระหว่างประเทศทั้งหมดแล้วและเน้นให้บริการเส้นทางการบินในประเทศเท่านั้น ในขณะเดียวกัน องค์กรการทางพิเศษแห่งเวียดนาม คาดว่าจะสูญเสียรายได้เหลือ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในไตรมาสแรก จากคนเดินทางน้อยลง ประกอบกับบริษัท PVN ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 และราคาน้ำมันดิ่งลง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/stateowned-enterprises-face-37trillionvnd-loss-in-q1-due-to-covid19/171311.vnp

กระทรวงเสนอจำกัดปริมาณการส่งออกข้าว 400,000 ตันต่อเดือน

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) ได้เสนอแผนต่อนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการควบคุมปริมาณส่งออกข้าวต่อเดือนและการกักตุน 400,000 ตัน จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วยข้อเสนอดังกล่าวนั้น คาดว่าปริมาณการส่งออกข้าวในเดือนเม.ย.-พ.ค. อยู่ที่ประมาณ 800,000 ตัน และนากยรัฐมนตรีจะนำไปพิจารณาถึงการส่งออกข้าวในเดือนพ.ค. ช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเม.ย. ทั้งนี้ ทางกระทรวงฯ เสนอให้ส่งออกข้าวผ่านชายแดนระหว่างประเทศเท่านั้น ซึ่งมีอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตครบครันที่จะทำให้กรมศุลกากรสามารถตรวจสอบได้ สำหรับความต้องการบริโภคและการเก็บสินค้า ทางกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทคาดว่าความต้องการข้าวเปลือกในประเทศปีนี้ อยู่ที่ 29.96 ล้านตัน ส่วนที่เหลือจะนำไปส่งออกประมาณ 13.5 ล้านตัน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/ministry-proposes-limiting-rice-exports-to-400000-tonnes-per-month-411991.vov

ทางรถไฟวงแหวนของย่างกุ้งลดจำนวนเที่ยวโดยสารลง

จากการติดเชื้อ COVID-19 ได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจำนวนผู้โดยสารรถไฟของย่างกุ้งลดลง การรถไฟเมียนมาจึงตัดสินใจลดจำนวนเที่ยวรถไฟลงตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม ที่ผ่านมา ปัจจุบันเส้นทางวงเวียนในย่างกุ้งมีความจุ 198 ตู้ จากจำนวนทั้งหมด 69 ตู้โดยสารซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 40% ของความจุผู้โดยสารรวมจะถูกหยุดชั่วคราวทำให้เหลือเที่ยวโดยสาร 99 เที่ยวที่ดำเนินการตามปกติ ปกติมีผู้โดยสารกว่า 50,000 คนเดินทางบนรถไฟทุกวัน แต่ปัจจุบันลดลงเหลือประมาณ 30,000 คน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/yangons-circular-railway-line-carriages-be-reduced.html

ก่อสร้างหดตัวเนื่องจากการระบาดของ COVID-19

สหพันธ์ผู้ประกอบการก่อสร้างของเมียนมา (MCEF) ให้ข้อมูลว่าการก่อสร้างเมียนมาชะลอตัวลงราว 30% เนื่องจากการขาดแคลนวัสดุก่อสร้างที่นำเข้าและบางส่วนได้หยุดชั่วคราวเนื่องจากปัญหากระแสเงินสด ประมาณ 70%  ของโครงการยังคงทำงานตามปกติแต่สถานการณ์ยังไม่เลวร้ายนัก จากผลกระทบของการระบาด COVID-19 โครงการก่อสร้างต้องหยุดลงหากรัฐบาลเรียกร้องให้มีการหยุดโครงการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส คนงานได้รับอนุญาตให้กลับบ้านเกิดของพวกเขาหากพวกเขาต้องการและโครงการก่อสร้างดำเนินงานไปบางส่วน เพื่อรักษางานและเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/construction-contraction-due-virus-outbreak.html

สิงคโปร์เตรียมพร้อมจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคกรณีโควิด-19

รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ กล่าวในการเยี่ยมชมศูนย์กระจายสินค้าของ NTUC Fariprice ย่าน Joo Koon เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2563 ว่า ชาวสิงคโปร์ต้องเตรียมใจให้พร้อมในการรับมือกับการป้องกันการแพร่ระบาย COVID-19 หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดในหลายๆ เดือนที่ผ่านมา ดังนั้น ต้องเตรียมใจให้พร้อมหากสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยยกตัวอย่างการแพร่ระบาดในเกาหลีใต้ รวมถึงสิงคโปร์ต้องปรับโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความมั่นคงและมีอุปทานที่เพียงพอในประเทศ เนื่องจากประเทศอื่น ๆ มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ๆ ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานของโลกเกิดภาวะชะงักตัวลง มีความจำเป็นต้องตรวจสอบสถานะสินค้าคงคลังและตรวจสอบสถานที่กระจายสินค้า โดยยกตัวอย่าง ในอดีตสิงคโปร์นำเข้าข้าวส่วนมากมาจากไทยหรือเวียดนาม แต่ในปัจจุบันสิงคโปร์นำเข้าข้าวมาจากญี่ปุ่นหรืออินเดียด้วยเช่นกัน เนื่องจากขณะนี้มีสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อโลก ด้วยเหตุนี้ ภาครัฐจะสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของจำนวนคู่ค้าของสิงคโปร์ โดยมองหาผู้ประกอบการรายใหม่ในประเทศที่ไกลออกไปเพื่อช่วยให้สิงคโปร์กระจายความเสี่ยงได้อย่างต่อเนื่อง หรือสินค้าในกลุ่มประเภทบะหมี่ต่าง ๆ ที่สิงคโปร์มีทั้งการนำเข้าและมีการผลิตในประเทศ ทำให้ไม่ต้องทำการกักตุนสินค้าประเภทนี้มากนัก อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่ทุกอย่างจะสามารถผลิตในสิงคโปร์ เนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นที่และกำลังคน แต่จะเพิ่มระดับความสามารถในการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะในรายการสินค้าสำคัญที่จำเป็นสำหรับช่วงเวลาที่ต้องการ

ที่มา : http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=9769&index

ลดค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมการจ่ายแบบไร้เงินสดท่ามกลางโควิด-19

องค์กรการรับชำระเงินแห่งชาติ (NAPAS) แถลงการณ์เมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา ระบุว่าค่าธรรมเนียมในการโอนเงินข้ามธนาคารจะปรับลดเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ เพื่อส่งเสริมการชำระไร้เงินสด ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางองค์กรข้างต้นจะปรับลดค่าธรรมเนียมอีกครึ่งหนึ่งจากในปัจจุบันอยู่ที่ 1,800 ด่ง เหลือ 900 ด่ง และการทำธุรกรรมทางการเงินรวมตั้งแต่ 500,001 ด่ง (21 ดอลลาร์สหรัฐ) จนมาอยู่ที่ 2 ล้านด่งต่อครั้ง ซึ่งเริ่มใช้ในวันที่ 25 มีนาคมจนถึงปลายเดือนธันวาคม ทั้งนี้ ธนาคารกลางเวียดนามได้เรียกร้องแก่ธนาคารพาณิชย์และสาขาที่อยู่ในต่างประเทศ ให้ปรับลดค่าธรรมเนียมจากการโอนเงินข้ามธนาคาร อยู่ในระดับน้อยกว่า 900 ด่งต่อครั้ง นอกจากนี้ การส่งเสริมชำระไร้เงินสดเป็น 1 ในมาตรการที่สำคัญในการขจัดอุปสรรคในการทำธุรกิจและการผลิต ท่ามกลางโควิด-19 โดยจากการสำรวจของ IDG Vietnam เปิดเผยว่าร้อยละ 79 ยังคงนิยมชำระผ่านเงินสดในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้ทางธนาคารกลางอนุมัติโครงการนำร่องที่เกี่ยวกับการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/further-fee-reductions-to-promote-cashless-payments-amid-covid19/170196.vnp

ธ.กลางเวียดนามลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อรับมือกับแรงกระแทกของวิกฤตโควิด-19

ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจที่ได้รับผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และจากการแถลงการณ์เมื่อวันที่ 16 มี.ค. ระบุว่าได้ปรับลดอัตรารีไฟแนนซ์อ้างอิงสู้ระดับร้อยละ 5-6 และอัตราส่วนลดอยู่ในระดับร้อยละ 3.4-4 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมข้ามคืนระหว่างธนาคาร ได้ปรับลดลงอยู่ในระดับร้อยละ 6-7 และการดำเนินการของธนาคารกลางผ่านตลาดการเงิน (OMO) ด้วยอัตราร้อยละ 3.5-4 นอกจากนี้ ธนาคารยังปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ให้อยู่ในระดับร้อยละ 0.25-0.5 ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม การประชุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางธนาคารกลางเวียดนามกล่าวว่าการลดอัตราดอกเบี้ยเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินให้มีสภาพคล่องและอยู่ในตำแหน่งที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ธนาคารกลางได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เมื่อครั้งล่าสุดในเดือนกันยายนปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/central-bank-cuts-interest-rates-to-buffer-covid19-impact/170195.vnp