ปีงบ 63-64 ส่งออกมะม่วงเมียนมา ดิ่งลง เหลือเพียง 278 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามข้อมูลของกรมศุลกากรเมียนมา การส่งออกมะม่วงของเมียนมาร์สร้างรายได้ 278 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งปีแรก (ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมีนาคม) ของปีงบประมาณ 2563-2564 ลดลงอย่างมากเนื่องจากปิดชายแดนจากผลกระทบด้านลบของ COVID-19 การส่งออกมะม่วงเพชรน้ำหนึ่ง (Seintalone) ไปจีนในปีนี้น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 50% การเพาะปลูกมะม่วงเขตอิรวดีมีพื้นที่มากสุดประมาณ 46,000 เอเคอร์ รองลงมาตือเขตพะโค พื้นที่ 43,000 เอเคอร์ และมัณฑะเลย์มีมะม่วง 29,000 เอเคอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ในการส่งออกนอกเหนือจากจีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่แล้ว เมียนมายังส่งออกไปอินเดีย บังคลาเทศ ไทย สาธารณรัฐเกาหลี สิงคโปร์ และญี่ปุ่น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-278-mln-from-mango-exports-in-h1/

เงินทุนเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ลาวบรรลุเป้าหมายการฉีดวัคซีนร้อยละ 50

ธนาคารโลกมอบเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อช่วยเหลือสปป.ลาวในการป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19 ร่วมถึงด้านการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมโดยเร็วที่สุดตามข้อตกลงระหว่างธนาคารโลกและรัฐบาลสปป.ลาว หลังจากได้รับการอนุมัติโครงการรับมือโควิด-19 เบื้องต้นมูลค่า 18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนเมษายน 2563 รัฐบาลสปป.ลาวได้ขอทรัพยากรเพิ่มเติมในปีนี้เพื่อขยายประสิทธิภาพในการวัคซีน เงินทุนนี้จะนำไปใช้เพื่อจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมให้เพียงพอเพื่อให้สปป.ลาวฉีดวัคซีนได้ร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมด

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Additional112.php

รัฐบาลสปป.ลาวห้ามนำเข้าวัคซีนโควิดในเชิงพาณิชย์

อธิบดีกรมอนามัยและส่งเสริมสุขภาพ สังกัดกระทรวง ชี้แจงเหตุผลในการห้ามเอกชนซื้อขายวัคซีนในเชิงพาณิชย์ “รัฐบาลเข้าใจความกังวลของสาธารณชนเกี่ยวกับการขาดแคลนวัคซีนแต่ถึงแม้จะมีความต้องการเพิ่มขึ้น รัฐบาลมีความเชื่อมันว่าสต็อกของรัฐบาลเพียงพอแล้วและคาดว่าจะมีการส่งมอบวัคซีนเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้นี้” อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอนุญาตให้หน่วยงานเอกชนซื้อวัคซีนเพื่อใช้เองได้ โดยเอกชนสามารถนำเข้ามาเพื่อฉีดให้กับพนักงงานตนเองโดยห้ามมีการค้าในเชิงพาณิชย์ การดำเนินนโยบายดังกล่าวจะทำให้เป้าหมายในการฉีดวัคซีนให้ครอบคุลมร้อยละ 50 ของประชากรสปป.ลาว ในปี 64 ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้การเข้มงวดในการกำกับดูแลวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลต้องโปร่งใสและจริงจังเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงวัคซีนของประชากรในปรเทศ 

ที่มา :https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt107.php

จำนวนนักท่องเที่ยวภายในประเทศกัมพูชาเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวรายงานถึงจำนวนนักท่องเที่ยวภายในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นโดยอยู่ที่จำนวน 194,025 คน ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 696.33 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า ถึงแม้ว่าในเดือนเมษายนที่ผ่านมารีสอร์ททุกแห่งในกัมพูชาได้รับคำสั่งให้ปิดกิจการชั่วคราวและมีการสั่งห้ามเดินทางในหลายจังหวัด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปีใหม่ของกัมพูชา ซึ่งมีการสั่งห้ามการเดินทางในช่วงวันที่ 6 และ 17 เมษายนตามลำดับ โดยเมื่อวันที่ 25 เมษายน รัฐบาลประกาศยุติการห้ามเดินทางระหว่างจังหวัดและการเปิดสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ทั่วประเทศอีกครั้งภายใต้มาตรการการป้องกันอย่างเข้มงวด ซึ่งหลังจากรัฐบาลได้ทำการยกเลิกการล็อกดาวน์ส่งผลทำให้ผู้คนจำนวนมากในประเทศออกท่องเที่ยว โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากที่สุดในเขตพื้นที่จังหวัดกำปอต รองลงมาคือจังหวัดพระตะบอง เสียมราฐ กำปงสปือ และจังหวัดสีหนุวิลล์ ตามลำดับ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50865863/domestic-tourism-numbers-leap-to-over-190000-during-month-of-may/

ผู้คนมากกว่า 84,000 คนต้องตกอยู่ในความยากจนเนื่องจากการแพร่ระบาด

สถิติระบุว่ามีผู้ว่างงาน 84,418 คนและประสบความยากลำบากทางการเงินอย่างรุนแรงทั่วประเทศอันเป็นผลมาจากการระบาดของโรคโควิด -19 รวมถึงหลายคนที่ถูกปลดออกจากงานในประเทศอื่นๆ รัฐบาลจะนำผลการสำรวจไปใช้ในการร่างมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ความช่วยเหลือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อบรรเทาความยากลำบากของผู้คนท่ามกลางข้อ จำกัด ในการเดินทางการจ้างงานและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ปัญหาดังกล่าวเป็นความท้าทายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาดังกล่าวเพื่อนำพาเศรษฐกิจสปป.ลาวสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงการแก้ปัญหาความยากจนที่เป็นปัญหาที่ภาครัฐให้ความสำคัญ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Funds101.php

บทบาทจีนใน CLMV จะเปลี่ยนไปอย่างไรหลังโควิด-19 ท่ามกลางความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคุกรุ่นอยู่

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ในช่วงที่ผ่านมา บทบาททางเศรษฐกิจของจีนในกลุ่มประเทศ CLMV นับได้ว่าโดดเด่นมาก โดยเฉพาะด้านการค้า ผ่านยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่จีนพยายามเข้ามาสร้างอิทธิพลทางเศรษฐกิจ ทั้งอิทธิพลของความเชื่อมโยงทางกายภาพ (Physical connectivity) อาทิ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม รวมถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ ภายใต้ Belt and Road Initiative ซึ่งมีส่วนช่วยดึงดูด FDI จีนให้มาตั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรมในพื้นที่ รวมถึงอุตสาหกรรมบริการที่ตอบสนองความเป็นเมืองที่มากขึ้น ขณะเดียวกัน อิทธิพลของความเชื่อมโยงทางสถาบัน (Institutional connectivity) ของจีน อาทิ การผ่อนคลายกฎระเบียบที่เอื้อประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศ ก็มีช่วยกระตุ้นมูลค่าการค้าระหว่าง CLMV กับจีนให้เร่งตัวขึ้น

อนึ่ง การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (De-Globalization) ที่ทั่วโลกเผชิญอยู่อันมีจุดเริ่มต้นจากสงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ กำลังโดนซ้ำเติมจากความเปราะบางของห่วงโซ่อุปทานโลกอันมีมูลเหตุจากปัจจัยที่ไม่อาจคาดเดามาก่อน อาทิ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก อาจส่งผลให้จีนรวมถึงบริษัทต่างชาติในจีนหันมาให้ความสำคัญต่อประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง (Regionalization) ในการเป็นห่วงโซ่อุปทานแห่งใหม่ เพื่อลดและกระจายความเสี่ยงทางด้านปฏิบัติการ หากฐานการผลิตกระจุกตัวอยู่ในจีน รวมถึงมีส่วนช่วยคานอิทธิพลด้านเศรษฐกิจจากสหรัฐฯ ในทางอ้อม โดยความสำคัญของกลุ่ม CLMV ต่อจีนภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 คาดว่าจะอยู่ในฐานะแหล่งการผลิตสินค้าทางการเกษตร รวมถึงอาหารเพื่อตอบโจทย์ความมั่นคงทางด้านอาหาร (Food security) ที่ทางการจีนมุ่งเน้นภายใต้ยุทธศาสตร์ Dual Circulation นอกจากนี้ CLMV มีแนวโน้มได้รับการกระจายการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นในทิศทางที่เร่งตัวขึ้น โดยเวียดนามยังคงมีศักยภาพในการก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานใหม่สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเข้มข้นอย่างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ดี เวียดนามที่โดยพื้นฐานแล้วยังมีความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์กับจีนอยู่ซึ่งได้พยายามสานสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอื่นจนอาจจะเรียกได้ว่าเป็นพันธมิตรกับทางสหรัฐฯ มากขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั้น อาจพยายามปรับสมดุล FDI โดยเฉพาะในภาคการผลิตและบริการที่ใช้เทคโนโลยีเข้มข้นให้รองรับนักลงทุนสัญชาติอื่นที่มีศักยภาพสูงมากกว่าดึงดูด FDI จากจีนเป็นหลัก

อ่านต่อ : https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/CLMV-EPI-27-05-21.aspx

3 แขวงในสปป.ลาว ผ่อนปรนมาตรการปิดกั้น

รัฐบาลสปป.ลาวได้ประกาศผ่อนปรนมาตรป้องกันโควิด-19 ในแขวงไซยะบูรี แขวงคำม่วน แขวงบอลิคำไซ ถึงแม้จะมีการผ่อนปรนแต่มาตรอย่างการเข้า-ออกแขวงยังคงเข้มงวดเพื่อป้องการแพร่กระจายของเชื้อ การผ่อนปรนใน 3 แขวงครั้งบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่ดีของสถานการณ์โควิดในสปป.ลาว อย่างไรก็ตามในเวียงจันทร์หรือแขวงที่สำคัญของสปป.ลาวยังคงถูก LOCKDOWN และใช้มาตรการสูงสุด รวมถึงแขวงที่มีชายแดนติดกับเพื่อนบ้านทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังคงชะงักอยู่อย่างต่อเนื่อง

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/asiapacific/2021-05/17/c_139950983.htm

เวียดนามเผยราคาอาหารพุ่ง ส่งสัญญาภาวะเงินเฟ้อ

นาย Ðỗ Văn Khuôl ผู้อำนวยการฝ่ายจัดหาบริษัทไซ่ง่อน ฟู้ด กล่าวว่าต้นทุนของปัจจัยการผลิตทั้งมาจากในประเทศและต่างประเทศ ล้วนปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น รวมไปถึงข้าวและอาหารทะเลที่มีผลผลิตลดลง และอีกปัจจัยหนึ่ง การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าและราคาสูงขึ้นราว 10-25% ในไตรมาสที่ 3-4 ปีนี้ ทั้งนี้ นาย Nguyễn Anh Đứ ผู้อำนวยการทั่วไปของบริษัทไซ่ง่อน คอร์ป กล่าวว่าในเดือนเมษายน ซัพพลายเออร์ส่วนใหญ่แจ้งว่ามีแผนที่จะปรับราคาในเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะน้ำมันสำหรับทำอาหาร นมและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ทางกระทรวงการคลัง ระบุว่าจะดำเนินติดตามราคาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นและยังเสนอแนวทางแก้ไข เพื่อรักษาเสถียรภาพของอุปสงค์และอุปทานของตลาด หากจำเป็น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/950553/foodstuff-prices-rise-pose-inflation-threat.html

เวิลด์แบงก์ เผยตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจเวียดนามอยู่ในระดับที่ดี

ตามรายงานของธนาคารโลก (World Bank) ประจำเดือนพฤษภาคม 2564 ระบุว่าตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของเวียดนามในเดือนเมษายนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี อย่างไรก็ตาม ได้เตือนสัญญาถึงความเสี่ยงหลายด้านต่อเศรษฐกิจเวียดนาม เนื่องจากการระบาดครั้งล่าสุดของโควิด-19 ในช่วงปลายเดือนเมษายน ทั้งนี้ การผลิตของภาคอุตสาหกรรมยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง เพิ่มขึ้น 1.1% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม ขณะที่ การส่งออกมีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลขสองหลัก โดยเฉพาะสินค้าประเภทเครื่องจักรที่มีการเติบโตเร็วที่สุด นอกจากนี้ ธนาคารโลกยังให้ความสำคัญกับความคืบหน้าการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเวียดนาม ด้วยจำนวนวัคซีน 506,000 โดสในเดือนเมษายน เทียบกับจำนวน 50,000 โดสในช่วงปลายเดือนมีนาคม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/wb-most-of-vietnams-economic-indicators-in-april-good/201631.vnp

การ Lockdown ในสปป.ลาวจะขยายไปจนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม

คณะทำงานแห่งชาติเพื่อการป้องกันและควบคุมโควิด -19 สปป.ลาว ประกาศที่จะดำเนินมาตรการขยายระยะเวลาในการ Lockdown ในเต่ละแขวงจนถึงวันที่ 20 พฤษภาคม หลังจากจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 60 ราย(ข้อมูลวันที่ 4 พฤษภาคม 64 ) ยอดรวมสะสม 1,026 ราย ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ดร.คิเคโอ คำพิทูน รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “สถานการณ์การระบาดยังไม่ลดลงเละยังมีความกังวลในการเกิดกลุ่มคลัสเตอร์ใหม่ๆในแต่ละพื้นที่ ถึงอย่างไรรัฐบาลได้กำชับเจ้าหน้าที่ติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและดำเนินมาตรการให้เหมาะสมทันท่วงที” รัฐบาลยังได้ระดมความช่วยเหลือจากภาคส่วนที่เป็นพันธมิตรระหว่างประเทศเพื่อรับมือกับการระบาดครั้งนี้ โดยสปป.ลาวได้รับความช่วยเหลือจากจีน เวียดนามและไทย ในการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ วัสดุอุปกรณ์และเงินทุนสำหรับการตอสู้กับการระบาดในครั้งนี้ มูลค่ากว่า 12.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lock_85.php