CLMV รับแรงหนุนที่แตกต่าง หลังเศรษฐกิจโลกฟื้น

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2564 เป็น 6.0% จากเดิมที่ 5.5% สะท้อนมุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างแข็งแกร่งหลังวิกฤตโควิด นำโดยเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลบวกต่อกลุ่มประเทศ CLMV ในระดับที่แตกต่างกันตามความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การส่งออก รายได้ส่งกลับของแรงงานในต่างประเทศ การลงทุนโดยตรง (FDI) และการท่องเที่ยว

เวียดนามเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก  จากสัดส่วนการส่งออกที่สูงถึง 104% ของ GDP   โดยมีการผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในสัดส่วนสูง นอกเหนือจากอานิสงส์จากรายได้นำส่งกลับของแรงงาน ซึ่งมีสัดส่วนถึง 5.8% ของ GDP

ขณะที่กัมพูชาอาจเป็นอีกประเทศที่ได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของตลาดส่งออกหลักอย่างสหรัฐฯ จีน และยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน เนื่องจากสัดส่วนของการลงทุนโดยตรงสูงถึง 60%​ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

ในส่วนของประเทศสปป.ลาว อาจเป็นประเทศใน CLMV ที่โครงสร้างการส่งออกได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกน้อยที่สุด เนื่องจากการส่งออกมีสัดส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจ    โดยในด้านการลงทุนตรงจากต่างประเทศ น่าจะได้รับอานิสงส์น้อยกว่ากัมพูชา เนื่องจากสัดส่วนการลงทุนตรงมีเพียง 22% 

ขณะที่เมียนมา ปัจจัยการเมืองภายในประเทศน่าจะลดทอนผลบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก   ในขณะที่สัดส่วนการลงทุนตรงโดยรวมอยู่ที่ 13% ต่ำสุดในกลุ่ม CLMV

ในส่วนของภาคการท่องเที่ยว  เนื่องจากประเทศใน CLMV ส่วนใหญ่พึ่งพานักท่องเที่ยวจากจีนและนักท่องเที่ยวในภูมิภาค ซึ่งมีการฉีดวัคซีนล่าช้ากว่าประเทศในตะวันตก ทำให้โอกาสที่จะบรรลุการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในปี 2564 มีไม่มาก ส่งผลให้การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวน่าจะจำกัดเฉพาะนักท่องเที่ยวจากตะวันตก ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 10% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดใน CLMV

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/CLMV-FB-28-06-21.aspx

เศรษฐกิจ การเงินและการปราบปามยาเสพติด ได้รับการเสนอให้เป็นวาระแห่งชาติ

คณะกรรมการกลางของพรรคปฏิวัติประชาชนสปป.ลาวได้แก้ไขการดำเนินการที่มุ่งแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ การเงินและการปราบปามยาเสพติด ซึ่งได้รับการเสนอให้เป็นวาระแห่งชาติ ที่ประชุมเห็นชอบเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการเงินที่รัฐบาลนำเสนอ ซึ่งรวมถึงการเพิ่มการจัดเก็บรายได้ การส่งเสริมความรัดกุมในการการลงทุนของรัฐและการรักษาเสถียรภาพของสกุลเงิน ในการนี้ ที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จะดำเนินการป้องกันและปราบปรามเครือข่ายยาเสพติดอย่างเป็นระบบ รวมทั้งดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับคดียาเสพติดอย่างเคร่งครัด โปร่งใส และเป็นธรรม

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Party_123.php

ทางด่วนเชื่อมต่อสปป.ลาว-จีน จะแล้วเสร็จภายใน 10 ปี

โครงการทางด่วนรถไฟสปป.ลาว-จีน คาดการณ์ว่าจะใช้เวลา 10 ปีในการสร้าง เชื่อมต่อระหว่างเวียงจันทน์และบ่อเต็นที่ชายแดนจีนในแขวงหลวงน้ำทา มูลค่าโครงการกว่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทางด่วนจะครอบคลุมระยะทางทั้งหมด 440 กม. และประกอบด้วยสี่ส่วนโดยปัจจุบันรัฐบบาลได้อนุญาติให้เปิดใช้งานเพียงส่วนที่สองที่เชื่อมต่อระหว่างแขวงวังเวียงและแขวงหลวงพระบาง ในส่วนอื่นๆยังไม่มีการเปิดใช้ ทางด่วนสปป.ลาว-จีนเป็นโครงการหนึ่งภายใต้โครงการ One Belt, One Road Initiative ของจีน และเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพระหว่างสปป.ลาวและจีน ทางด่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของพยายามของรัฐบาลสปป.ลาว ในการปรับปรุงการขนส่งสินค้าและผู้คนเพื่อส่งเสริมการผลิตสินค้า ส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และบริการ รวมถึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจในอนาคต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos121.php

รถไฟขบวนแรกสปป.ลาว-จีน จะทดสอบเดินขบวนในเดือน ส.ค.

การดำเนินการทดลองรถไฟสปป.ลาว-จีนที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างมีกำหนดจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม ก่อนที่ทางรถไฟจะเปิดให้บริการในเดือนธันวาคมปีนี้ อีกทั้งการก่อสร้างสถานีตามเส้นทางรถไฟทั้งหมดมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนกันยายนและตุลาคม โดยมีสถานีโดยสาร 10 แห่งในเวียงจันทน์, โพนหง, วังเวียง, กาซี, หลวงพระบาง, งา, ไซ, นามอร์, นาเตย และบ่อเต็น นอกจากนี้ยังมีสถานีขนส่งสินค้า 22 สถานีสำหรับการขนถ่ายสินค้า โครงการสร้างทางรถไฟมูลค่า 5.986 พันล้านดอลลาร์ (37.4 พันล้านหยวน) เริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม 2559 ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญของแผนริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทางของจีน และแผนของรัฐบาลสปป.ลาวในการเปลี่ยนลาวจากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลให้กลายเป็นทางเชื่อมทางบกภายในภูมิภาค

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_First_120.php

นครหลวงเวียงจันทน์ยืนยันไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19

นครหลวงเวียงจันทน์ ยืนยันไม่พบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่เป็นครั้งที่สอง นับตั้งแต่ระลอกที่สองเริ่มขึ้น ดร.พรประเสริฐ สายมงคล นำการบรรยายสรุปประจำวันโดยคณะทำงานเฉพาะกิจในวันนี้ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของไวรัสในสปป.ปลาว จำนวนเคสทั้งหมดที่บันทึกไว้ในสปป.ลาวตอนนี้มียอดสะสมที่ 2,054 ราย ความพยายามอย่างต่อเนื่องของผู้อยู่อาศัยในนครหลวงเวียงจันทน์ในการปฏิบัติตามมาตรการล็อกดาวน์และมาตรการป้องกันโควิด-19 ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อแพร่กระจายในชุมชนมีแนวโน้มลดลง เวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงที่สำคัญของสปป.ลาว ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศทั้งในด้านการลงทุน การค้าขายและการท่องเที่ยว การที่สถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด-19 มีแนวโน้มดีขึ้นถือเป็นสัญญาณที่ดีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปได้อย่างต่อเนื่องเหมือนช่วงปกติก่อนเกิดโควิด-19

ที่มา : https://laotiantimes.com/2021/06/21/vientiane-capital-confirms-zero-cases-of-covid-19/

รัฐบาลสปป.ลาวเรียกร้องให้โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิดอย่างเข้มงวด

สปป. ลาว ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าต้องปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโควิด-19 เพื่อให้มั่นใจว่าคนงานและพนักงานได้รับการคุ้มครอง โรงงาน Trio Garment Factory ที่เป็นของต่างชาติ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านสิกขิต เขตนาทรายทอง ก่อตั้งขึ้นในปี 2538 และมีคนงานประมาณ 2,800 คน มีกำลังการผลิตเสื้อผ้ามากกว่า 200,000 ชิ้น สร้างมูลค่ากว่า 27.5 พันล้านกีบต่อเดือน อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มเป็นหนึ่งในเครื่องกำเนิดเงินตราต่างประเทศที่สำคัญสำหรับสปป.ลาว มาตรการป้องกันที่เข้มงวดจะทำให้ขบวนการผลิตดำเนินการได้ต่อเนื่องสร้างรายได้ให้กับประเทศได้ต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_VP117.php

มิตซูบิชิลงทุนโครงการกังหันลมในสปป.ลาว

Mitsubishi Corp ของญี่ปุ่นจะลงทุนในโครงการฟาร์มกังหันลมขนาด 600 เมกะวัตต์ในสปป.ลาว ภายหลังได้บรรลุข้อตกลงในการลงทุนในผู้พัฒนาโครงการ Impact Energy Asia Development Ltd ร่วมกับกลุ่มบริษัท Impact Electrons Siam Co Ltd จากประเทศไทย ฟาร์มกังหันลมจะตั้งอยู่ในจังหวัดเซกองและอัตตะปือทางตอนใต้ของประเทศลาวซึ่งจะเป็นฟาร์มกังหันลมแห่งแรกในสปป.ลาวและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการวางแผนที่จะขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าเวียดนามในระยะเวลา 25 ปี เวียดนามต้องการแหล่งพลังงานเพิ่มเติมเพื่อรองรับเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแล้งที่การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำของประเทศมีอย่างจำกัด ดังนั้น โครงการนี้จึงคาดว่าจะช่วยให้ระบบไฟฟ้าของเวียดนามมีเสถียรภาพในขณะเดียวกันการลงทุนดังกล่าวจะนำมาซึ่งการจ้างงาน รายได้ในการส่งออกไฟฟ้ารวมถึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการนำสปป.ลาวไปสู่ “แบตเตอรี่แห่งเอเชี่ย” ในอนาคต

ที่มา : https://renewablesnow.com/news/mitsubishi-to-invest-in-600-mw-laos-wind-project-744583/