การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ CLMVIP : ความเหมือนที่แตกต่าง

โดย ศูนย์วิจัยกรุงศรี

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ทำให้เศรษฐกิจของประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ (ในที่นี้จะเรียกโดยย่อว่า “CLMVIP”) ได้รับผลกระทบอย่างหนักในปี 2020 อย่างไรก็ดี ในปี 2021 หลายประเทศในกลุ่มนี้ มีแนวโน้มเติบโตในอัตราสูงราวร้อยละ 4-7 ปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของประเทศ CLMVIP ที่สำคัญ 3 ประการ คือ (i) ผลของมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากทั้งนโยบายการเงินและการคลัง โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (ii) การส่งออกที่ได้อานิสงส์จากวัฏจักรการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ (iii) กระแสการรวมตัวกันภายในภูมิภาค (Regionalization) ที่เข้มแข็งขึ้น แม้ว่าประเทศในกลุ่ม CLMVIP จะมีปัจจัยสนับสนุนการเติบโตที่คล้ายคลึงกัน ในรายประเทศอาจมีลำดับการฟื้นตัวที่แตกต่าง เวียดนาม มีโอกาสฟื้นตัวโดดเด่นด้วยพื้นฐานเศรษฐกิจในประเทศที่แข็งแกร่ง และรายรับจากภาคต่างประเทศที่ขยายตัวดี ผนวกกับข้อได้เปรียบจากความตกลงการค้าเสรีสำคัญ อาทิ ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ความตกลงการค้าเสรีสหราชอาณาจักร-เวียดนาม (UKVFTA) รวมทั้งยังมีการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ดี

ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ใน CLMVIP มีระดับการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปกว่าด้วยข้อจำกัดที่แตกต่างกัน โดยอินโดนีเซียและกัมพูชา อาจฟื้นตัวเป็นลำดับถัดจากเวียดนาม แม้อินโดนีเซียมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูง แต่คาดว่าภาคส่งออกจะมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อีกทั้งยังได้ผลบวกจากแผนการขยายมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ รวมถึงแผนการฉีดวัคซีนและแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ กัมพูชาอาจได้แรงสนับสนุนจากการส่งออก นำโดยตลาดจีนและสหรัฐฯ ซึ่งอาจช่วยลดผลกระทบจากการถูกระงับสิทธิพิเศษทางภาษีบางส่วนจากสหภาพยุโรป ฟิลิปปินส์ แม้มีปัจจัยหนุนจากขนาดวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐมากถึงร้อยละ 4 ของ GDP   แต่การเบิกจ่ายยังเป็นไปอย่างล่าช้า และสถานการณ์การระบาดในประเทศค่อนข้างรุนแรง ส่งผลให้ตลาดแรงงานยังอ่อนแอ และกระทบต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายเพื่อบริโภคในประเทศ สปป.ลาว มีโครงสร้างเศรษฐกิจที่ค่อนข้างอ่อนแอ อีกทั้งขนาดการกระตุ้นเศรษฐกิจค่อนข้างจำกัด ผลกระทบจากโควิด-19 จึงทำให้ฟื้นตัวล่าช้า ขณะที่เมียนมา เผชิญประเด็นด้านเสถียรภาพทางการเมืองหลังจากผู้นำทางทหารของเมียนมาเข้ายึดอำนาจและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ซึ่งส่งผลฉุดรั้งความเชื่อมั่นของนักลงทุนและคู่ค้าในระยะนับจากนี้ และอาจมีผลให้พัฒนาการทางเศรษฐกิจของเมียนมาในระยะยาวหยุดชะงักลงไปได้

อ่านต่อ : https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/regional-recovery-2021

โครงการฉีดวัคซีนรอบที่ 2 กำลังจะเริ่มขึ้น

หน่วยงานสาธารณสุขกำลังออกโครงการฉีดวัคซีนรอบที่ 2 โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ให้กับผู้คนหลายแสนคน โครงการฉีดวัคซีนรอบที่ 2 จะได้วัคซีนไฟเซอร์ 100,620 โดส และวัคซีนซิโนแฟม 500,000 โดส โดยตั้งเป้าจะเริ่มในวันอังคารที่ 15 มิถุนายน 2564 ข้อมูล ณ วันที่ 12 มิถุนายน ประชาชนประมาณ 712,793 คนได้รับวัคซีนเข็มแรก ขณะที่ 385,921 คนได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 การส่งมอบวัคซีน Sinopharm และ Pfizer ครั้งล่าสุดจะทำให้กับความพยายามของรัฐบาลในการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม 50% ของประชากร (มากกว่า 3 ล้านคน) ภายในสิ้นปีนี้มีประสิทธิภาพและเป็นไปได้ตามเป้าหมาย ถึงอย่างไรเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการไม่มีวัคซีนหรือมีไม่เพียงพอนั้น รัฐบาลสปป.ลาวอนุญาตให้ทางบริษัทเอกชน สามารถนำเข้าวัคซีนเองได้เพื่อนำมาฉีดให้กับพนักงงานของตน ซึ่งถือเป็นอีกทางสำหรับการฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างครอบคลุม เพื่อนำพาประเทศกลับสู่ภาวะปกติและขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Round_115.php

รัฐสปป.ลาวลงนามร่วมทุนเอกชน ตั้งบริษัทพัฒนาโลจิสติกส์สปป.ลาว

รัฐบาลสปป.ลาวลงนามข้อตกลงร่วมทุนกับบริษัท ท่าเรือแห้งท่าแขก จำกัด ซึ่งจะพัฒนา “ท่าเรือแห้งท่าแขก” ให้เป็นเส้นสู่การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจุดผ่านแดนคำม่วนและสนับสนุนให้สปป.ลาวกลายเป็นศูนย์บริการโลจิสติกส์ระดับภูมิภาคและระดับสากล ท่าเรือแห้งท่าแขกจะเป็นศูนย์กลางในการบริการด้านลอจิสติกส์ที่ทันสมัยและครบวงจร และจะมีส่วนช่วยในการลดต้นทุนการขนส่ง ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสปป.ลาวสามารถแข่งขันในตลาดโลกและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างเต็มที่ การพัฒนา “ท่าเรือแห้งท่าแขก” เป็นส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลเรื่อง “การพัฒนาการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ในประเทศสปป.ลาว” ซึ่งระบุถึงความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาท่าเรือในประเทศลาว และสอดคล้องกับนโยบายของประเทศที่จะเปลี่ยนจากการ “ประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเลสู่ประเทศที่บริการขนส่งทางบกระดับภูมิภาคและโลก”

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_State_114.php

สหรัฐฯ บริจาควัคซีน 500 ล้านโดสให้ 92 ประเทศรวมทั้งสปป.ลาว

สหรัฐฯ ประกาศจะซื้อและบริจาควัคซีนไฟเซอร์ 500 ล้านโดสให้กับ 92 ประเทศ รวมทั้งสปป.ลาว ผ่านโครงการ COVAX ซึ่งเป็นโครงการระดับโลกที่แจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 ไปยังประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง สหรัฐฯ จะจัดสรรและส่งมอบวัคซีนเหล่านี้ให้กับประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางทั่วโลก ปัจจุบันสถานการณ์ในประเทศสปป.ลาวอาจไม่ได้รุนแรงจากผลของมาตรการที่เข้มงวดแต่ถึงอย่างไร รัฐบาลสปป.ลาวได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับโปรแกรมการฉีดวัคซีนเพื่อเป็นอาวุธในการควบคุมการระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ และทุกคนได้รับการสนับสนุนให้ฉีดวัคซีนเพื่อนำพาประเทศกลับสู่สภาวะปกติทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_US_113.php

เงินทุนเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ลาวบรรลุเป้าหมายการฉีดวัคซีนร้อยละ 50

ธนาคารโลกมอบเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมอีก 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อช่วยเหลือสปป.ลาวในการป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19 ร่วมถึงด้านการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมโดยเร็วที่สุดตามข้อตกลงระหว่างธนาคารโลกและรัฐบาลสปป.ลาว หลังจากได้รับการอนุมัติโครงการรับมือโควิด-19 เบื้องต้นมูลค่า 18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนเมษายน 2563 รัฐบาลสปป.ลาวได้ขอทรัพยากรเพิ่มเติมในปีนี้เพื่อขยายประสิทธิภาพในการวัคซีน เงินทุนนี้จะนำไปใช้เพื่อจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมให้เพียงพอเพื่อให้สปป.ลาวฉีดวัคซีนได้ร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมด

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Additional112.php

ลาวแอร์ไลน์และบขส.ชะลอเปิดบริการหลังจากผู้โดยสารส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ครอบคลุม

สถานีขนส่งสายเหนือของเวียงจันทน์ปิดให้บริการอีกครั้งหลังจากพยายามให้บริการรถโดยสารไม่สำเร็จ เนื่องจากผู้โดยสารส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ครอบคลุม นางสาวจิตต์ประสง เหลืองเดธมีไซ ผู้อำนวยการสถานีขนส่ง กล่าวกับเวียงจันทน์ไทมส์ว่า “สถานีขนส่งจะยังคงระงับการให้บริการจนถึงวันที่ 19 มิถุนายน ซึ่งคาดว่ารัฐบาลจะผ่อนปรนข้อจำกัดต่างๆ ที่บังคับใช้ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ในอนาคต” ด้านการบินสปป.ลาวมีแผนจะกลับมาบินในประเทศในสัปดาห์นี้ แต่ก็ต้องยกเลิกแผน เนื่องจากผู้โดยสารส่วนใหญ่ไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 อย่างครอบคลุม การขนส่งภายในประเทศกลับมาเดินหน้าได้อีกครั้งภายหลังการผ่อนปรนของรัฐบาล แต่ถึงอย่างนั้นการกระจายฉีดวัควีนยังคงไม่ครอบคลุมจากปริมาณวัคซีนที่ไม่มากพอและไม่ตรงเวลาทำให้สปป.ลาว เผชิญความล่าช้าในการกลับสู่สภาวะปกติ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lao111.php