เวียดนามนำเข้าเนื้อสุกรพุ่งสูงขึ้น 200%

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เปิดเผยว่าในวันที่ 15 มีนาคม เวียดนามนำเข้าเนื้อสุกรประมาณ 25,300 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 205 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลมาจากการขาดแคลนผลผลิตเนื้อสุกรและการแพร่ระบาดของไข้อหิวาต์สุกรแอฟริกัน (ASF) โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศแคนาดา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29 ตามมาด้วยเยอรมัน, โปแลนด์, บราซิลและสหรัฐอเมริกา ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีเรียกร้องให้กระทรวงข้างต้นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินมาตรการเรื่องลดราคาเนื้อสุกร ทั้งนี้ ทางกระทรวงฯ ขอความร่วมมือกับบริษัทปศุสัตว์รายใหญ่ให้ปรับลดราคาสุกรมีชีวิตอยู่ที่ 70,000 ด่งต่อกิโลกรัม (3 ดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์เรียกร้องกับทางกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าให้ช่วยเหลือธุรกิจเวียดนามในการหาแหล่งวัตถุดิบจากการนำเข้าท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโคโรนา ซึ่งขัดขวางการค้าผ่านชายแดน นอกจากนี้ จากสถิติของกระทรวง ระบุว่าจำนวนสุกรทั่วโลกรวม 678 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว โดยในช่วงตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เวียดนามนำเข้าเนื้อกระบือเพิ่มขึ้นร้อยละ 128 ปริมาณอยู่ที่ 19,356 ตัน, เนื้อวัว (14,160 ตัน,เพิ่มขึ้นร้อยละ 217) และเนื้อสัตว์ปีก (48,300 ตัน,เพิ่มขึ้นร้อยละ 86)

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-pork-imports-up-over-200-411457.vov

สำรวจแหล่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4 จ. ภาคเหนือ เจาะสถานการณ์นำเข้าจากเมียนมาผ่านด่านแม่สอดไทย

เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จังหวัดตาก น่าน พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทางภาคเหนือ โดยข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 พบว่า เนื้อที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2562/63 รวม 4 จังหวัด มีจำนวน 2.319 ล้านไร่ ลดลงจากปี 2561/62 ที่จำนวน 2.419 ล้านไร่ (ลดลงร้อยละ 4) ผลผลิต 1.509 ล้านตัน ลดลงจากปี 2561/62 ที่จำนวน 1.743 ล้านตัน (ลดลงร้อยละ 13) เนื่องจากประสบปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง อีกทั้งยังประสบปัญหาหนอนกระทู้ระบาด ภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) กำหนดให้มีการนำเข้าโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงสิงหาคมของทุกปี ในอัตราภาษีนำเข้า 0% และโดยในช่วงวันที่ 1 ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2563 พบว่า มีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากแหล่งผลิตที่สำคัญของเมียนมา ได้แก่รัฐฉาน อิระวดี ซึ่งมีแนวชายแดนติดต่อกับจีน จำนวนมากถึง 279,000 ตัน โดยนำเข้าทางด่านพรมแดนแม่สอดจังหวัดตาก เนื่องจาก มีการระบาดของโรคอหิวาต์อาฟริกาในสุกร ทำให้จีนมีนโยบายไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากเมียนมา ส่งผลให้ราคาข้าวโพดในประเทศมีแนวโน้มลดลงโดยราคาเฉลี่ยในเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์อยู่ที่กิโลกรัมละ 7.77 บาทลดลงจาก 8.65 บาท (ร้อยละ 10) ในช่วงเดียวกันของปี 2562 ทั้งนี้ จากการสอบถามเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดตาก น่าน พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ เกษตรกรมีความพึงพอใจที่รัฐบาลให้การช่วยเหลือ แต่เกษตรกรในบางพื้นที่ยังไม่เข้าใจหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการช่วยเหลือ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรประชาสัมพันธ์รายละเอียดโครงการให้เกษตรกรทราบ และแนะนำให้ไปขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับกรมส่งเสริมการเกษตรภายหลังจากที่ได้ทำการเพาะปลูกไปแล้ว 15 – 60 วัน เพื่อรับสิทธิในการช่วยเหลือต่อไป

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3104872

กระทรวงฯกล่าวถึงค่าใช้จ่ายในการนำเข้าวัตถุดิบผลิตการ์เม้นท์

เพื่ออำนวยความสะดวกและสนับสนุนภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าในปัจจุบันที่ประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์การขนส่ง โดยกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินจึงเร่งออกจดหมายถึงกรมศุลกากรและสรรพสามิตเพื่อหาวิธีช่วยเหลือผู้นำเข้าและผู้ส่งออก ซึ่งถามถึงกรมศุลกากรและสรรพสามิตว่าให้ช่วยเพิ่ม “กรีนเลน” สำหรับการนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้าที่จำเป็นในกระบวนการผลิต โดยช่องทางกรีนเลนจะอำนวยความสะดวกในกระบวนการอย่างรวดเร็วสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้าสำหรับผลิตเสื้อผ้า โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสั่งให้กรมศุลกากรและสรรพสามิตช่วยอำนวยความสะดวกขั้นตอนและปล่อยสินค้าโดยเร็วที่สุด ซึ่งกล่าวว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากรและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดควรร่วมมือกับสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าในประเทศกัมพูชา (GMAC) เพื่อหารือกับผู้ส่งสินค้าร่วมกันหาทางออก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50695224/ministry-sends-letter-outlining-less-red-tape-and-import-costs-for-raw-garments

กัมพูชานำเข้าก๊าซธรรมชาติ LNG จากบริษัทในประเทศจีน

Natural Gas Co Ltd ของกัมพูชา และบริษัทจีน CNOOC Gas Power Group Co Ltd ร่วมมือกันในการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพื่อจัดจำหน่ายภายในตลาดกัมพูชา โดยเจ้าหน้าที่ของบริษัทกล่าวว่าความร่วมมือในการนำเข้าก๊าซ LNG เพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์ในตลาดท้องถิ่นเนื่องจากบริษัทมีเป้าหมายมุ่งเน้นไปที่กลุ่มโรงแรมและร้านอาหารในแผนขั้นแรก ซึ่งเจ้าหน้าที่บริหาร Natural Gas ของกัมพูชากล่าวว่าตู้บรรจุก๊าซ LNG ถูกส่งจากจีนและมาถึงที่ท่าเรือสีหนุวิลล์ของกัมพูชาแล้ว โดยความต้องการการบริโภค LNG ในกัมพูชาจะเพิ่มขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของการใช้ LNG ในประเทศอื่นๆ ซึ่งบริษัทวางแผนที่จะขยายไปยัง 25 เมืองหลวงของกัมพูชา ปัจจุบันได้มุ่งเน้นไปที่กรุงพนมเปญและจังหวัดพระสีหนุ ตามสถานทูตจีนในกัมพูชา บริษัท CNOOC Gas & Power Group จำกัด ร่วมมือกับกลุ่มกัมพูชา Natural Gas เพื่อบรรลุการส่งออกก๊าซธรรมชาติของจีนไปยังประเทศกัมพูชาเป็นครั้งแรก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50680059/lng-imported-from-china-to-cambodia

การนำเข้าสินค้าทุนมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในเวลาสองเดือน

ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 29 พ.ย.ในปีงบประมาณปี 62-63 มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนสูงถึง 1,021 ล้านเหรียญสหรัฐในขณะที่มูลค่าของปีที่แล้วอยู่ที่ 934.902 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเกินกว่า 86.701 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีธุรกิจต่างประเทศ 35 แห่งที่ได้รับการอนุมัติมีการลงทุน 496.282 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเวลาดังกล่าวธุรกิจที่ลงทุนอยู่แล้วได้ขยายการลงทุนเป็น 18 พันล้านเหรียญสหรัฐ และการลงทุนใหม่มีมูลค่า 514.882 ล้านเหรียญสหรัฐ จำนวนการลงทุนจากต่างประเทศที่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่ามีมูลค่าถึง 14.303 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นการลงทุนจากต่างประเทศรวม 529.189 พันล้านเหรียญสหรัฐรวมถึงการลงทุนที่มีอยู่ในปัจจุบัน เมียนมาตั้งเป้าที่จะได้รับเงินลงทุนจากต่างประเทศรวมกว่า 220,000 ล้านเหรียญสหรัฐใน 20 ปี และมีเป้าหมายที่จะเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางภายในปี 2573

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/capital-goods-import-value-over-1bn-in-two-months

มูลค่านำเข้าสินค้าทุนใน 2 เดือนแรกสูงกว่า 890 ล้านดอลลาร์

เมียนมานำเข้าสินค้าทุนมูลค่ากว่า 890 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเวลาประมาณสองเดือนปีงบประมาณนี้เกินกว่า 60 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 22 พ.ย.ของปีงบประมาณ 62-63 มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนถึง 890.210 ล้านเหรียญสหรัฐในขณะที่ปีที่แล้วอยู่ที่ 833.025 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมากกว่า 57.185 ล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 16 พ.ย. มีธุรกิจจากต่างประเทศ 35 แห่งที่ได้รับการอนุมัติเข้ามาลงทุนมูลค่ารวม 496.282 ล้านเหรียญสหรัฐ การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า มีมูลค่าถึง 14.303 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดจำนวน 529.189 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งรวมถึงการลงทุนที่มีอยู่แล้ว เมียนมาคาดจะมีเม็ดเงินการลงทุนรวมกว่า 220,000 ล้านเหรียญสหรัฐในอีก 20 ปี และตั้งเป้าเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางภายในปี 2573

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/capital-goods-import-value-reaches-over-890m-in-about-two-months-this-fy

เวียดนามเผยปริมาณนำเข้ารถยนต์ 120,000 คัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าปริมาณนำเข้ารถยนต์ของเวียดนามอยู่ที่ 120,000 คัน คิดเป็นมูลค่า 2.66 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2562 ซึ่งตัวเลขดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 125 และร้อยละ 122 ของมูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีปริมาณการนำเข้า 13,000 คัน และมูลค่า 273 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ หน่วยงานกรมศุลกากร ระบุว่าในช่วงเดือนตุลาคม มีการลักลอบข้ามพรมแดน และในระหว่างวันที่ 16 ก.ย. – 15 ต.ค. กรมศุลกากรได้ตรวจสอบคดีลักลอบกว่า 1,396 คดีความ คิดเป็นมูลค่าราว 169.48 พันล้านด่อง (7.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-imports-120000-cars-in-ten-months-405838.vov

ธุรกิจ CMP นำเข้าวัตถุดิบมากกว่า 160 ล้านเหรียญสหรัฐในหนึ่งเดือน

ธุรกิจเสื้อผ้าแบบ CMP (Cutting Making และ Packaging) ได้นำเข้าวัตถุดิบมูลค่ากว่า 160 ล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือนในปีงบประมาณนี้ (1 ต.ค.62) เกิน 12 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 25 ต.ค.ในปีงบประมาณ 62-63 ปัจจุบันวัตถุดิบในธุรกิจ CMP มีมูลค่า 160.748 ล้านเหรียญสหรัฐในขณะที่ปีที่แล้วอยู่ที่ 148.588 ล้านเหรียญสหรัฐ ระบบ CMP ส่วนใหญ่จะใช้ในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและมีบ้างในการทำรองเท้าและกระเป๋า อย่างไรก็ตามเมียนมามีรายรับเพียง 10% เนื่องจากระบบ CMP เป็นไปตามค่าแรง แม้ว่าประเทศจะมีรายรับจากธุรกิจ CMP ประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี แต่การใช้ระบบ FOB สามารถเพิ่มรายได้มากกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/cmp-businesses-import-raw-materials-worth-over-160m-in-one-month

เวียดนามนำเข้าสุกรอย่างมาก เนื่องจากไข้หวัดหมูระบาดหนัก

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วงกลางเดือนตุลาคมของปีนี้ นครโฮจิมินห์นำเข้าเนื้อหมูกว่า 10,820 ตัน คิดเป็นมูลค่า 21.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 155 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งประเทศบราซิล สหรัฐอเมริกาและโปแลนด์ เป็นผู้ส่งออกเนื้อหมูรายใหญ่ แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ได้แก่ กระดูก และคอหมู ไปยังตลาดเวียดนาม ในราคาที่ต่ำกว่าในประเทศ อย่างไรก็ตาม เวียดนามต้องการเนื้อหมูสดมากกว่า ดังนั้น การนำเข้าเนื้อแช่แข็งจึงนิยมใช้สำหรับอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เป็นต้น โดยมีเพียงธุรกิจไม่กี่แห่งที่สามารถนำเข้าเนื้อหมูที่มีคุณภาพในการสต๊อกสินค้าได้ นอกจากนี้ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่าในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน ในปีนี้ เวียดนามนำเข้าเนื้อหมู 14,824 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่าราว 220 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการสต๊อกเนื้อหมูในประเทศลดลงร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ที่มา :  https://english.vov.vn/economy/imported-pork-floods-vietnam-after-swine-flu-cull-405080.vov

รัฐบาลเมียนมาเสนอเพิ่มค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำเข้า

รัฐบาลมีแผนที่จะเพิ่มค่าธรรมเนียมใบอนุญาตนำเข้าเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป กระทรวงพาณิชย์เสนอโครงสร้างค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในอัตราใหม่เป็น 30,000 ถึงสูงสุด 90,000 จัต จากปัจจุบันที่ 250 ถึง 50,000 จัต สำหรับปีงบ 61-62 ที่จะสิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. คาดมีรายได้ 4.167 พันล้านจัต และปัจจุบันรวบรวมได้ 3.854 พันล้าน ณ 18 ส.ค.62 การนำเข้าลดลงจากไตรมาสต่อไตรมาสตั้งแต่สิ้นปีงบประมาณ 60-61 แสดงในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 61-62 โดยสินค้าอุปโภคบริโภคและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแนวโน้มลดลง การนำเข้าเกือบเก้าในสิบมาจากจีน สิงคโปร์ ไทย ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และเกาหลีใต้ โดยการส่งออก 10 อันดับแรกจากปีที่แล้วเป็น เชื้อเพลิง แร่รวมถึงน้ำมัน เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ยานพาหนะ เหล็กและเหล็กกล้า พลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ผลผลิตที่ได้จากสัตว์และผัก เส้นใยที่มนุษย์สร้างขึ้นและผ้า การนำเข้าเหล่านี้คิดเป็น 57.4% โดยมูลค่าเงินเหรียญสหรัฐจากการนำเข้าทั้งหมดสำหรับปี 61 อยู่ที่ 24.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/government-proposes-raise-import-licensing-fees.html