กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เร่งการส่งออก
ในขณะที่รัฐบาลส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศด้วยการเพิ่มการส่งออก กระทรวงพาณิชย์และสมาพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมาจึงร่วมมือกันเพื่อปรับปรุงภาคการส่งออก โดยเมื่อวันที่ 20 เมษายน มีการส่งออกข้าวโพดจำนวน 12,700 ตันผ่านทาง The Myanmar Terminal – TMT (เดิมชื่อ Bo Aung Kyaw Jetty) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน นอกจากนี้ ในวันที่ 21 เมษายน ข้าวโพดจำนวน 6,600 ตันจะถูกส่งออกจากท่าเรือ Ahlon International Port Terminal 3 ในวันที่ 22 เมษายน ข้าวโพด 2,700 ตันจากท่าเรือ Min Htet Min และอีก 7,150 ตันจากท่าเรือเมียนมา ตามลำดับ
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/commerce-ministry-boosts-export/#article-title
การค้าชายแดนเมียนมา-จีนพุ่งขึ้นเป็น 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567
สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผยว่า มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและจีนมีมูลค่าทะลุ 3.279 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567 ที่ผ่านมา ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐที่บันทึกไว้ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่งที่ 178.25 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2565-2566 อย่างไรก็ดี เมียนมาดำเนินการค้าขายข้ามพรมแดนกับจีนเพื่อนบ้านผ่านทาง มูเซ, แลวแจ, ชีงชเวห่อ, กัมปติ และ เชียงตุง โดยด่านมูเซบันทึกตัวเลขการค้าสูงสุดที่ 2.055 พันล้านดอลลาร์ รองลงมาคือด่านชีงชเวห่อมูลค่าการค้าอยู่ที่กว่า 703 ล้านดอลลาร์, ด่านกัมปติ มูลค่าการค้ากว่า 208 ล้านดอลลาร์, ด่านแลวแจมูลค่าการค้าอยู่ที่ 158.568 ล้านดอลลาร์ และด่านเชียงตุง 154.239 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-border-trade-surges-to-us3-2b-in-fy2023-2024/#article-title
เศรษฐกิจ CLMV เร่งตัวปี 2567 แต่ยังโตช้ากว่าช่วงก่อนโควิด-19
โดย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC)
เศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นในปี 2024
SCB EIC ประเมินเศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นในปี 2024 ตามการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ซึ่งจะสนับสนุนให้อุปสงค์ในประเทศปรับดีขึ้นผ่านการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน ในระยะปานกลางเศรษฐกิจ CLMV มีแนวโน้มได้อานิสงส์จากการย้ายฐานการผลิตของธุรกิจข้ามชาติออกไปลงทุนในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคตามยุทธศาสตร์ “China +1” เพื่อลดความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่สูงขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในระยะต่อไป ในปีนี้ SCB EIC ประเมินว่า เศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวต่อเนื่อง 6.0% (จาก 5.6% ในปี 2023) สปป.ลาว 4.7% (จาก 4.5%) เมียนมา 3.0% (จาก 2.5%) และเวียดนาม 6.3% (จาก 5.1%)
อัตราการขยายตัวของแต่ละประเทศใน CLMV ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยช่วงก่อน COVID-19 จากปัจจัยกดดันต่าง ๆ อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ซึ่งเศรษฐกิจภูมิภาค CLMV มีความสัมพันธ์สูงทั้งด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึงการท่องเที่ยวและภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะเดียวกัน บางประเทศ เช่น กัมพูชาและเวียดนามมีอัตราส่วนหนี้เสีย (Non-performing loans ratio) สูงขึ้นหลังมาตรการช่วยเหลือในช่วง COVID-19 สิ้นสุดลง ประกอบกับภาวะการเงินในประเทศที่ตึงตัวขึ้น อาจกระทบการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินและการเข้าถึงสภาพคล่องของธุรกิจได้ นอกจากนี้ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยที่ต้องจับตาต่อเนื่อง ในระยะสั้นการค้าโลกอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาการขนส่งบริเวณทะเลแดงและคลองปานามาที่แห้งแล้งและอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการขนส่งสินค้าส่งออกของภูมิภาค CLMV ได้ ในระยะยาวเศรษฐกิจ CLMV จะต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับโลกที่มีแนวโน้มจะกีดกันการค้าและตั้งกำแพงภาษีมากขึ้น
ความเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ CLMV แตกต่างกัน
ความเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ CLMV แตกต่างกัน ขึ้นกับปัจจัยเฉพาะประเทศ โดยเฉพาะในสปป.ลาวที่เผชิญความเสี่ยงจากระดับหนี้สาธารณะซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงเทียบกับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ ท่ามกลางภาวะการเงินโลกตึงตัว ทำให้เงินกีบอ่อนค่ารวดเร็ว ซ้ำเติมภาระการชำระหนี้ต่างประเทศ และทำให้เงินเฟ้อในประเทศพุ่งสูงขึ้นมากและปรับตัวลดลงได้ช้าในปีนี้ ปัจจัยเหล่านี้กดดันศักยภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะปานกลาง โดยสปป.ลาวกำลังดำเนินการรัดเข็มขัดทางการคลัง ควบคู่กับการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้และการหาแหล่งระดมทุนใหม่เพื่อรักษาเสถียรภาพการคลังไว้ ขณะที่เมียนมาเป็นอีกประเทศที่กำลังเผชิญปัจจัยกดดันเชิงโครงสร้าง ซึ่งได้รับผลกระทบจากความไม่สงบทางการเมืองตั้งแต่ปี 2021 และทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงปลายปี 2023 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ในประเทศซบเซา ขณะที่มาตรการคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกมีส่วนทำให้อุปสงค์ต่างประเทศอ่อนแอลงมาก ประกอบกับปัญหาอื่น ๆ เช่น การขาดแคลนเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เงินจัตอ่อนค่าและเงินเฟ้อเร่งตัว ตลอดจนปัญหาระบบขนส่งและโครงข่ายไฟฟ้าหยุดชะงัก การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ยังดูเป็นไปได้ยากในระยะสั้น เนื่องจากจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยทางการเมืองที่มีเสถียรภาพ
ค่าเงินของกลุ่มประเทศ CLMV จะเผชิญแรงกดดันด้านอ่อนค่าลดลง
ธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลักมีแนวโน้มเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่กลางปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลกลับเข้าประเทศกำลังพัฒนา รวมถึง CLMV มากขึ้น และจะกระตุ้นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศตามต้นทุนการระดมทุนที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเฉพาะประเทศยังคงเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อแนวโน้มค่าเงิน ส่งผลให้ค่าเงินบางประเทศอาจยังอ่อนค่าต่อ
การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับ CLMV
การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับ CLMV มีแนวโน้มดีขึ้นในปีนี้ หลังจากค่อนข้างซบเซาในปี 2023 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการค้าโลกที่ปรับดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคการผลิต และเศรษฐกิจประเทศในภูมิภาคที่ฟื้นตัว นอกจากนี้ ภาวะการเงินโลกและไทยที่คาดว่าจะผ่อนคลายลงบ้างในปีนี้จะเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนให้บริษัทไทยลงทุนใน CLMV ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามเสถียรภาพเศรษฐกิจของ CLMV บางประเทศที่ยังไม่เอื้อต่อการลงทุนมากนัก ทั้งนี้ในระยะยาว SCB EIC ยังมีมุมมองบวกต่อเศรษฐกิจ CLMV และคาดว่าจะเป็นหนึ่งในภูมิภาคของโลกที่เติบโตสูง และยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างชาติ จากปัจจัยประชากรที่มีอายุเฉลี่ยน้อย การมีข้อตกลงสนธิสัญญาการค้าเสรีต่าง ๆ และแหล่งที่ตั้งที่มีความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ ติดตลาดใหญ่ เช่น จีนและอินเดีย
กรมประมงเมียนมาบังคับใช้ข้อจำกัดในการทำประมงในช่วงที่ไม่ใช่ฤดูตกปลา
ตามที่กรมประมงเมียนมาระบุ การออกใบอนุญาตทำการประมงในทะเลเมียนมานั้นขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ตกปลาที่ใช้ในช่วงนอกฤดูตกปลา แม้ว่าฤดูกาลที่ไม่ใช่ฤดูประมงของปีนี้ถูกกำหนดไว้เป็นเวลา 3 เดือนตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน แต่ก็มีการออกใบอนุญาตทำการประมงในบางภูมิภาคและรัฐ เนื่องจากประสบปัญหาของสมาคมผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีรายงานว่าอนุญาตให้ทำการประมงได้เฉพาะในเขตย่างกุ้งในเดือนเมษายน ในเขตตะนาวศรีเดือนเมษายนและพฤษภาคม และในเขตอิระวดีและรัฐมอญในเดือนเมษายน แต่เฉพาะกับเรือประมงบางประเภทเท่านั้น นอกจากนี้ เรือประมงนอกชายฝั่งอื่นๆ ทั้งหมดจะต้องหยุดดำเนินการเป็นเวลาสามเดือน ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน ซึ่งกรมประมงระบุเฉพาะเรือประมงในฝั่งเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงได้
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fd-implements-fishing-restrictions-during-non-fishing-season/#article-title
การค้าชายแดนเมียนมา-ไทยมีมูลค่ารวม 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567
สถิติของกระทรวงพาณิชย์เผยว่า การค้าชายแดนของเมียนมากับประเทศไทยมีมูลค่า 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567 ที่ผ่านมา (เมษายน 2566 -มีนาคม 2567) โดยตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการลดลงอย่างมีนัยสำคัญกว่า 927 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับมูลค่าการค้าที่บันทึกไว้ในปีงบประมาณ 2565-2566 ที่มีมูลค่า 5.35 พันล้านดอลลาร์โดยเมียนมาดำเนินการค้าขายข้ามพรมแดนกับไทยผ่านชายแดนท่าขี้เหล็ก เมียวดี เกาะสอง มะริด บ้านพุน้ำร้อน และมอตอง อย่างไรก็ดี ด่านชายแดนบ้านพุน้ำร้อนมีการค้าขายที่ครอบคลุมมากที่สุดซึ่งมีมูลค่า 2.69 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณที่ผ่านมา นอกจากนี้ ที่ด่านชายแดนเมียวดี มูลค่าการค้าอยู่ที่ 1.147 พันล้านดอลลาร์, ที่เกาะสอง 234.38 ล้านดอลลาร์, ที่ท่าขี้เหล็ก 171.66 ล้านดอลลาร์, ที่มะริด 154.3 ล้านดอลลาร์ และที่มอตอง 26.779 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-thailand-border-trade-totals-us4-4-bln-in-2023-2024fy/#article-title
เมียนมาจัดส่งข้าวโพดประมาณ 80,000 ตันไปยัง 3 ประเทศ
ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาส่งออกข้าวโพดประมาณ 80,000 ตันไปยังต่างประเทศ 3 ประเทศเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 จากการที่เมียนมาเร่งความพยายามในการสนับสนุนการส่งออกเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของรัฐ เมียนมาจึงส่งข้าวโพด 25,000 ตันไปยังฟิลิปปินส์ทางเรือ (MV Manta Hatice) ผ่านท่าเรือ No 6 Sule Wharf ส่งออก 12,700 ตันถึงไทยทางเรือ (MV Tay Son 4) ผ่านทางท่าเรือ TMT และ 2,700 ตัน ทางเรือ (MV MCL 20) ผ่านทางท่าเทียบเรือ MHM และส่งออกไปยังอินเดียทางเรือ 27,500 ตัน (MV Seiyo Harmony) ผ่านท่าเรืออุตสาหกรรมเมียนมา 2 และ เมื่อวันที่ 8 เมษายน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังประเทศไทยครั้งละ 5,400 ตันโดยเรือ 2 ลำ (MV MCL 8 และ MV MCL 7) ผ่านทางท่าเทียบเรือ MHM เมื่อวันที่ 9 เมษายน และมีกำหนดส่งออกข้าวโพด 6,600 ตันไปยังฟิลิปปินส์โดยเรือ (MV. RAINBOW SYMPHONY) ผ่าน AIPT-3 วันที่ 10 เมษายน นอกจากนี้ เมียนมายังจัดส่งข้าวโพดมากกว่า 2 ล้านตันให้กับคู่ค้าต่างประเทศในฤดูข้าวโพดปี 2565 ซึ่งส่วนใหญ่ถูกส่งมายังประเทศไทย และส่วนที่เหลือไปยังจีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ข้าวโพดปลูกในรัฐฉาน กระฉิ่น คะยา และคะยิน รวมถึงภูมิภาคมัณฑะเลย์ สะกาย และมะเกว ซึ่งเมียนมามีฤดูข้าวโพด 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และมรสุม ผลผลิตข้าวโพดของเมียนมาต่อปีอยู่ที่ประมาณ 2.5-3 ล้านตัน
ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-around-80000-tonne-corn-to-3-countries/#article-title
ยอดขายมันสำปะหลังพุ่งสูงขึ้นท่ามกลางความต้องการของจีนที่สูงแม้ราคาจะยังทรงตัว
ตามข้อมูลของผู้ปลูกมันเทศในตลาด ราคามันสำปะหลังในตลาดยังคงทรงตัว แม้ว่ายอดขายจะดีเนื่องจากมีความต้องการสูงจากประเทศจีน โดยราคาขายส่งมันสำปะหลังผงในตลาดอยู่ที่ประมาณ 3,000 จ๊าดต่อviss อย่างไรก็ดี จีนและอินเดียเป็นผู้ซื้อมันสำปะหลังรายใหญ่ที่สุดของเมียนมา รวมทั้งเมียนมาตั้งอยู่ระหว่างประเทศทั้งสอง ดังนั้นมันสำปะหลังจึงเป็นพืชที่สามารถแสวงหารายได้จากต่างประเทศให้กับประเทศเมียนมาได้ นอกจากนี้ ในอดีตมันสำปะหลังมีการปลูกแบบดั้งเดิมแต่ได้เปลี่ยนมาใช้วิธีการกำหนดกรอบการผลิตซึ่งสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตได้ โดยผลผลิตหัวมันเทศสามารถขุดได้ภายใน 8 เดือน และผลผลิตสำเร็จรูปอาจลดลงหากขุดหลังจากผ่านไป 15 เดือน ในการทำต้นกล้าสามารถขุดได้หลังจากผ่านไป 10 เดือน และโอกาสที่จะถึงระยะปลูกอาจต่ำหากขุดหลังจาก 15 เดือน