9 เดือนแรกของปีงบ 63-64 เมียนมาส่งออกถั่วแระไปแล้วกว่า 136,000 ตัน

ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2563 ถึง 26 มิ.ย.2564 เมียนมาส่งออกถั่วแระกว่า 136,632 ตันในปีงบประมาณปัจจุบัน 2563-2564 สร้างรายได้เข้าประเทศ 91.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถั่วแระส่วนใหญ่จัดส่งไปยังอินเดียซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ จะมีส่งออกไปสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ปากีสถาน สหราชอาณาจักร และมาเลเซียด้วย แต่มีปริมาณไม่มากนัก เมียนมาส่งออกถั่วดำ 250,000 ตันและถั่วแระ 100,000 ตันภายใต้ข้อตกลง G to G (รัฐถึงรัฐ) ในปีงบประมาณ 2564-2565 และปีงบประมาณ 2568-2569 ทั้งนี้การค้าแบบ G-to-G ได้เริ่มต้นในปี 2559 และทั้งสองประเทศได้ลงนาม MoU เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ 2560-2561 เมียนมาส่งออกส่งถั่วดำ ถั่วแระ และถั่วเขียวเขียวกว่าล้านตันไปยังตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม รายได้ขึ้นทะเบียนเพียง 713 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากราคาลดลง ทั้งนี้เมียนมาส่งออกถั่วชนิดต่างๆ กว่า 1.6 ล้านตัน สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 1.195 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-136000-tonnes-of-pigeon-peas-as-of-25-june/

แตงโมล้นตลาด แนะเกตรกรแก้ปัญหาลดพื้นที่เพาะปลูกลง 50%

ผลผลิตแตงโมที่ออกมาล้นตลาด เกตรกรได้รับการแนะนำให้ลดพื้นที่การเพาะปลูกลง 50% สำหรับฤดูการที่จะมาถึง การส่งออกแตงโมลดลงจากปีที่แล้วอย่างชัดเจน เห็นได้จากรถบรรทุกแตงโมประมาณ 30,000 คัน และแตงเมล่อน 12,000 คัน ถูกส่งไปยังจีนแตส่งผลกระทบเสียหายแตงโมถูกทิ้งหรือเน่าเสีย เนื่องจากผลผลิตล้นตลาด การขนส่งล่าช้า และการเข้มงวดของมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 บริเวณชายแดนสำคัญของเมียนมา-จีน เช่น ชายแดนรุ่ยลี่ ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อทำให้ต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ และเริ่มตรวจหาเชื้อทันที ส่งผลให้การซื้อขายเกิดความล่าช้า โดยต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือนกว่ารถบรรทุกจะเข้าสู่จุดตรวจ รถบรรทุกแตงโม (พันธุ์ 855) ราคาอยู่ที่ 45,000-65,000 หยวนต่อตัน ในเดือนมีนาคม ราคาลดฮวบเหลือ 13,000 หยวน ก่อนหน้านี้ตลาดแตงโมของเมียนมาร์พึ่งพาจีนเป็นหลัก ปัจจุบันเมียนมาส่งแตงโมไร้เมล็ดจำนวน 45 ตันไปยังตลาดดูไบในเดือนธันวาคม 2563 และมกราคม 2564 หลังจากที่ประเทศประสบความสำเร็จในตลาดดูไบ มีแผนที่จะขยายตลาดไปยังฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564 ศูนย์ขนถ่ายสินค้าผลไม้หลักไมล์ 105 ได้มีการกำหนดจำนวนรถบรรทุกแตงโมและแตงโมเพื่อการส่งออกเพื่อการส่งออก ทั้งนี้ เมียนมาส่งออกแตงโมกว่า 800,000 ตันต่อปี และเมล่อนประมาณ 150,000 ตันไปยังจีนทุกปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/watermelon-growers-suggested-50-production-drop-next-growing-season/

โควิคพ่นพิษ! วัว 7,000 ตัว ติดค้างที่ด่านชายแดนมูเซ

หลังจีนยกระดับควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 แถบชายแดนการค้าปศุสัตว์หยุดชะงัก ทำให้วัวประมาณ 7,000 ตัวติดอยู่ด่านมูเซ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 ทำให้พ่อค้าชาวจีนรับซื้อวัวในตลาดมืดข้ามพรมแดนระหว่างเมียนมาและจีนอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันตลาดมืดเติบโตขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา สำหรับการค้าอย่างถูกกฎหมาย จีนอนุญาตให้นำเข้าโคที่มีชีวิตได้ก็ต่อเมื่อมั่นใจว่าโคนั้นปลอดจากโรควัว 20 โรค แต่เกณฑ์ดังกล่าวนั้นไม่สำคัญในตลาดมืด การส่งออกโคมีชีวิตพึ่งพาตลาดจีนเป็นอย่างมากเนื่องจากราคาที่ดี แม้ว่าจะมีตลาดอื่นๆ เช่น ลาว ไทย มาเลเซีย และบังคลาเทศ กระทรวงพาณิชย์ออกใบอนุญาตให้แต่ละบริษัทส่งออกโค 100 ตัว มีอายุ 3 เดือน ในช่วงปลายปี 2560 เพื่อสกัดการค้าผิดกฎหมาย เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์จากสัตว์รวมถึงปศุสัตว์มูลค่า 360 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีงบประมาณ 2561-2562 มูลค่าการส่งออกลดลง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2562-2563 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/about-7000-cattle-stranded-in-muse/#article-title

เมียนมาส่งออกถั่วลูกไก่ไปต่างประเทศกว่า 23,675 ตัน

กระทรวงพาณิชย์ เผย ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2563 ถึง 25 มิ.ย. 2564 ของปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกถั่วลูกไก่มากกว่า 23,675 ตัน มูลค่าประมาณ 13.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ราคาอยู่ระหว่าง 86,000-88,000 จัตต่อถุงสามตะกร้าขึ้นอยู่กับสาบพันธุ์ โดยราคาจะผันผวนขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทาน และราคายังคงทรงตัวท่ามกลางปัญหาการขนส่งและปัญหาในการทำธุรกรรมในประเทศ ปีที่แล้วเมียนมาส่งออกถั่วลูกไก่ไปยังอินเดีย ปากีสถาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี และอื่นๆ ส่วนการเพาะปลูกจะในเขตย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พะโค สะกาย และอิยาวดี เนปิดอว์ รวมพื้นที่กว่า 890,000 เอเคอร์ทั่วประเทศ โดยจะเพาะปลูกในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-23675-tonnes-of-chick-pea-to-external-market-as-of-25-june/#article-title

ถั่วฝักยาวเริ่มขายดีในตลาดนะเมาะ

ยอดขายถั่วฝักยาวในตลาดตำบลนะเมาะ เขตมะกเว ดีวันดีคืนอย่างเห็นได้ชัด เกษตรกรเริ่มหันมาปลูกพืชถั่วฝักยาวกันเพิ่มขึ้น เพราะใช้น้ำน้อย ระยะเวลาปลูก 65 วัน สามารถเก็บเกี่ยวขายในราคา 1,500 จัต เกษตรกรปลูกถั่วฝักยาวเป็นหนึ่งในพืชผักสวนครัวหลักในทุกๆ ปี ซึ่งถั่วฝักยาวแต่ละห่อสามารถให้ผลผลิตได้ประมาณหกหรือแปดครั้งในแต่ละครั้ง และสามารถเก็บเกี่ยวได้ทุกสองวัน ตำบลตำบลนะเมาะป็นพื้นที่ที่มีฝนตกน้อย ดังนั้นคนในท้องถิ่นจึงปลูกพืชผักสวนครัวอื่น ๆ นอกเหนือจากการปลูกพืชน้ำมันที่บริโภคได้เพื่อหารายได้เสริมให้กับครอบครัว การที่ราคาพืชผลสูงขึ้นกำลังผลักดันให้ชาวสวนปลูกพืชผลมากขึ้นเช่นกัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/long-bean-selling-well-in-natmauk-township/

บทบาท จีน ใน CLMV หลังโควิด…อิทธิพลทางเศรษฐกิจยังคงเข้มข้น

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

บทบาททางเศรษฐกิจของจีนในกลุ่มประเทศ CLMV ในช่วงที่ผ่านมา นับว่าโดดเด่นมาก โดยเฉพาะด้านการค้า   ซึ่งเป็นผลจากยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่จีนพยายามเข้ามาสร้างอิทธิพลทางเศรษฐกิจ ทั้งในด้านความเชื่อมโยงทางกายภาพ (Physical connectivity) และความเชื่อมโยงทางสถาบัน (Institutional connectivity) ซึ่งมีส่วนในการกระตุ้นมูลค่าการค้าระหว่างกลุ่มประเทศ CLMV กับจีนให้เร่งตัวขึ้น อิทธิพลของความเชื่อมโยงทางกายภาพ ที่แน่นแฟ้นมากขึ้นระหว่างจีนกับ CLMV เ​กิดจากยุทธศาสตร์ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (BRI)   อาทิ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม รวมถึงการลงทุนก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่  ซึ่งมีส่วนดึงดูด FDI จีนให้มาตั้งคลัสเตอร์อุตสาหกรรมในพื้นที่ รวมถึงอุตสาหกรรมบริการที่ตอบสนองความเป็นเมือง  ในขณะที่อิทธิพลของความเชื่อมโยงทางสถาบัน อาทิ การผ่อนคลายกฎระเบียบที่เอื้อประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศ ก็มีส่วนช่วยให้กิจกรรมการค้าระหว่างกลุ่มประเทศ CLMV กับจีนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ การทวนกระแสโลกาภิวัตน์ อันมีจุดเริ่มต้นจากสงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนกับสหรัฐฯ  ยังถูกท้าทายด้วยความเปราะบางของห่วงโซ่อุปทานโลกซึ่งเกิดจากปัจจัยที่ไม่อาจคาดเดา  อาทิ การแพร่ระบาดของโควิด19 ซึ่งอาจส่งผลให้จีนรวมถึงบริษัทต่างชาติในจีนหันมาให้ความสำคัญกับประเทศเพื่อนบ้านในฐานะห่วงโซ่อุปทานแห่งใหม่ เพื่อลดและกระจายความเสี่ยงด้านปฏิบัติการจากการที่ฐานการผลิตกระจุกตัวอยู่ในจีน อีกทั้งยังมีส่วนช่วยคานอิทธิพลทางอ้อมในด้านเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของจีนจะมากขึ้นหรือน้อยลงหลังโควิด ยังคงขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ของจีนและท่าทีของกลุ่มประเทศ CLMV ที่มีต่อจีนภายใต้ความขัดแย้งของสองมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกอย่างสหรัฐฯ และจีน  โดยคาดว่ากลุ่ม CLMV น่าจะอยู่ในฐานะแหล่งการผลิตสินค้าทางการเกษตร รวมถึงอาหาร ซึ่งตอบโจทย์ความมั่นคงทางด้านอาหารของจีน 

นอกจากนี้ CLMV ยังมีแนวโน้มได้รับการกระจายการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นในทิศทางที่เร่งตัวขึ้น โดยเวียดนามยังคงมีศักยภาพในการก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานใหม่สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเข้มข้นอย่างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ แต่อาจพยายามปรับสมดุล FDI ให้รองรับนักลงทุนสัญชาติอื่นที่มีศักยภาพสูงมากกว่าดึงดูด FDI จากจีนเป็นหลัก

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/China-CLMV-01-07-21.aspx