สะพาน Thanatpin -Kyaungsu เปิดให้ใช้แล้วในเขตพะโค

โครงการสะพานชนบทมูลค่า 400 ล้านจัต เพื่อเชื่อมระหว่างเมือง Thanatpin กับหมู่บ้าน Minywar Kyaungsu ได้เปิดใช้อย่างเป็นทางการเพื่อความสะดวกในการคมนาคม เพื่อลดความยากลำบากในการขนส่งและกระตุ้นเศรษฐกิจในชนบทโดยครอบคลุม 10 หมู่บ้านที่มี 1,411 ครัวเรือนและชาวบ้านกว่า 6,800 คน กรมพัฒนาทางหลวงชนบท (Thanatpin) ได้ดำเนินการสร้างถนนและสะพานให้ครอบคลุม 70% ของประชากรในเขตพะโค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/k400-mln-thanatpin-kyaungsu-bridge-opened-to-rural-community-in-bago-region/

เกตรกรมัณฑะเลย์ เฮ! ปลูกมะเขือเทศไต้หวันได้กำไรงาม

เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศในเขตมัณฑะเลย์ได้ราคาดีจากการขายมะเขือเทศไต้หวันจากการที่ผลผลิตในปีนี้ลดลงเพราะการระบาดของ COVID-19 แม้ว่าผลผลิตของตลาดจะอยู่ในระดับต่ำ แต่ปีนี้ราคามพเขือเทศจะอยู่ที่ 800 ถึง 1,000 จัดต่อ Viss (1.6 กิโลกรัม) ในขณะที่ปีที่แล้วราคาจะอยู่แค่ 300 ถึง 400 จัตเท่านั้น ผลผลิตลดต่ำลงเนื่องจากการเพาะปลูกที่ลดลง ส่งผลให้ราคาสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการของตลาด ต้นทุนในการปลูกอยู่ระหว่าง 1.5 – 2 ล้านจัต ต่อเอเคอร์ในการปลูกและเกษตรกรมีแผนจะปลูกเพิ่มขึ้นในปีนี้เนื่องจากแนวโนมมีราคาดีขึ้น มะเขือเทศไต้หวันปลูกปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคมและกันยายน เป็นพืชที่ให้ดีสำหรับเกษตรกรเนื่องจากให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/

อัตราแลกเปลี่ยนเงินจัตผันผวน ฉุดราคายาในเมียนมาสูงขึ้น

ราคายาที่พุ่งสูงขึ้นในเมียนมาทำให้ครัวเรือนมีการสต็อกยาน้อยลงผลจากแนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศที่มีความไม่แน่นอน จากข้อมูลของร้านค้าส่งยา พบว่าราคายาเพิ่มขึ้นประมาณ 5-10% ในไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดยาถึง 80% เนื่องจากค่าเงินจัตลดลง 20% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยยาที่มีจำหน่ายในประเทศส่วนใหญ่นำเข้าจากอินเดีย แม้ว่ายาที่คนส่วนใหญ่ใช้จะยังพอเหลืออยู่ แต่ยาบางตัวก็ขาดตลาด เช่น เบตาดีน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-hit-with-rising-prices-of-medicine

การยึดอำนาจในเมียนมา กระทบ Aeon Mall เลื่อนก่อสร้างศูนย์การค้าในย่างกุ้ง

Aeon Mall ผู้พัฒนาห้างสรรพสินค้าภายใต้แบรนด์ Aeon ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ของญี่ปุ่นได้เลื่อนการก่อสร้างห้างสรรพสินค้าแห่งใหญ่ที่สุดของเมียนมาที่วางแผนไว้ในเมืองย่างกุ้ง จากเดิมที่จะเริ่มก่อสร้างในช่วงฤดูร้อนแต่เมื่อเกิดการยึดอำนาจของรัฐบาลทหารจึงยังไม่มีการกำหนดแผนออกมา Aeon Mall ได้ร่วมทุนกับกลุ่มบริษัทในเมียนมาโดยมีแผนจะเปิดห้างสรรพสินค้าที่มีพื้นที่ค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในเมียนมาในปี 2566 จากแหล่งข่าวเผยว่า ญี่ปุ่นยังจะไม่ถอนตัวออกจากโครงการนี้ แต่จะต้องปรับแผนเพื่อให้เข้ากับแนวโน้มของผู้บริโภคและสภาพเศรษฐกิจในประเทศ ปีที่ผ่านรัฐบาลอนุมัติการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับโครงการไปแล้วกว่า 180 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/aeon-mall-postpones-yangon-shopping-mall-construction-after-military-takeover

เงินเฟ้อเมียนมาขยายตัว กระทบ ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้น

เมียนมากำลังพบกับปัญกาาเงินเฟ้อขยายตัวร้อยละ 10-15 ในหมวดอาหารหลักจากความไม่แน่นอนทางการเมืองซึ่งเกิดขึ้นจากที่ผู้ค้าส่งปลาและเนื้อสัตว์ และผู้ค้าปลีกอาหารหลั โดยอาหารหลักประกอบด้วย ข้าว น้ำมันปรุงอาหาร เนื้อสัตว์ ผักรวมทั้งยา ได้ขึ้นราคากระทบต่อผู้มีรายได้น้อย ด้านราคาข้าวส่วนใหญ่ยังคงมีเสถียรภาพโดยเพิ่มจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 15 เช่น ข้าวคุณภาพดีเพิ่มจาก 40,000จัตต่อถุง เพิ่มเป็นประมาณ 50,000 จัตต่อถุง ส่วนราคาผักเพิ่มขึ้นสองเท่า ในขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคขั้นพื้นฐานและยาบางชนิดก็มีราคาสูงขึ้นเช่นกัน

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-witness-rising-inflation-in-basic-goods

สหรัฐคว่ำบาตรประธานกกต.-แบงก์ชาติเมียนมา

กระทรวงการคลังของสหรัฐออกแถลงการณ์ เมื่อวันจันทร์ ขึ้นบัญชีดำเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลทหารเมียนมา และสมาชิกบางส่วนในครอบครัว รวมเป็นจำนวน 16 คน เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่ “สนับสนุนการใช้ความรุนแรง” ต่อผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในรายชื่อรวมถึง เจ้าหน้าที่ระดับรัฐมนตรี 7 คน พล.อ.ต.เต่ง โซ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งสหภาพ ( ยูอีซี ) และนายถั่น นิ้น ประธานธนาคารกลาง

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/foreign/844120

7 เดือนแรกของปีงบฯ 63-64 ส่งออกข้าวของเมียนมาลดฮวบ 30 ล้านดอลลาร์ฯ

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ 7 เดือนแรกของปีงบประมาณนี้ (พ.ศ. 2563-2564) เมียนมาส่งออกข้าวและปลายข้าวกว่า 1.28 ล้านตันมีรายได้ 490.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 512,589 ตัน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มูลค่าลดลงเหลือ 33.92 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณนี้ จีนเป็นผู้นำเข้าหลัก รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ โกตดิวัวร์ แคเมอรูน และกินีตามลำดับ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปมีสัดส่วนการนำเข้า 20% ส่วนอีก 25% จะส่งออกไปยังกลุ่มประเทศในแอฟริกา ในปีงบประมาณที่แล้วเมียนมาส่งออกข้าวและปลายข้าวไปกว่า 60 ประเทศทั่วโลก โดยจีนเป็นผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ที่สุด อย่างไรก็ตามความต้องการจากประเทศอื่นๆ เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย มาดากัสการ์ โปแลนด์ กินีเ บลเยียมเซเน กัลอินโดนีเซีย เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ได้เพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้การส่งออกประมาณ 16% ผ่านทางชายแดนส่วนที่เหลือส่งออกทางทะเล

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-rice-export-down-by-us-30-mln-in-seven-months-of-this-fy/