คณะกรรมการจัดหางานต่างประเทศของเมียนมาเผยถึงปัญหาแรงงานข้ามชาติ

คณะกรรมการกำกับการจัดหางานนต่างประเทศได้จัดประชุม (ครั้งที่ 1/2564) ที่กระทรวงแรงงานตรวจคนเข้าเมืองและประชากรเมื่อวานนี้ ซึ่งได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่จำนวน 18 คน จากผลการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหภาพแรงงาน เผยว่าตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 63 ได้เพิ่มค่าธรรมเนียมหน่วยงานเป็น 25 ล้านจัตจาก 5 ล้าจัตเพื่อให้บริษัท จัดหางานในต่างประเทศที่ได้รับใบอณุญาติที่ให้เพิ่มความรับผิดชอบมากขึ้น และกำจัดหน่วยงานที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ระหว่างประชุม นาย U Myint Kyaing ประธานคณะกรรมการสหภาพแรงงาน กล่าวว่าสหภาพฯ ให้ความสำคัญกับการนำชาวเมียนมา 1,086 คน กลับจากมาเลเซียในผ่านทางเรือ 3 ลำในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ และ 70 คนจากอินเดียเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่ผ่านมา ขณะนี้รัฐบาลกำลังเจรจากับรัฐบาลไทยเพื่อจัดตั้งหน่วยงาน 5 แห่งสำหรับแรงงานที่ทำงานในไทยภายใต้ MoU เพื่อต่ออายุวีซ่าของไปอีก 5 ปี ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงได้กล่าวถึงแผนการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะกรรมการความร่วมมือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อโอกาสในการทำงานของแรงงานเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/overseas-employment-supervisory-committee-discusses-migrant-workers-issues/

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่แข็งแกร่ง ส่งผลต่อเศรษฐกิจ CLMV ได้รับอานิสงส์แตกต่างกัน

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ท่ามกลางมุมมองเชิงบวกต่อพัฒนาการการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2564 ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งหลังวิกฤติโควิดอันสะท้อนผ่านประมาณการเศรษฐกิจของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2564 เป็น 6.0% จากคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 5.5% นำโดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจขนาดใหญ่โดยเฉพาะสหรัฐฯ และจีน ซึ่งน่าจะส่งผลบวกต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจอินโดจีน (CLMV) ที่มีการพึ่งพิงภาคต่างประเทศสูง อย่างไรก็ดี ภาพการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่สดใสอาจส่งผลบวกต่อพัฒนาการของเศรษฐกิจอินโดจีน (CLMV) ในระดับที่แตกต่างกัน ตามความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ การส่งออก รายได้ส่งกลับของแรงงานในต่างประเทศ การลงทุนทางตรง (FDI) และการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ปัจจัยเฉพาะในประเทศก็มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน ทำให้เศรษฐกิจ CLMV ในภาพรวมจะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ไม่เท่ากัน

เวียดนามเป็นเศรษฐกิจใน CLMV ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จากโครงสร้างการผลิตและส่งออกที่มีสัดส่วนของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สูง นอกจากภาคการส่งออกแล้ว การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนามยังได้รับอานิสงส์จากรายได้นำส่งกลับของแรงงาน ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 5.8 ของจีดีพี เนื่องจากแรงงานเวียดนามที่ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในไต้หวัน เกาหลีใต้และญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระดับสูง ขณะที่กัมพูชาอาจเป็นอีกเศรษฐกิจที่ได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเช่นกันเนื่องจากการส่งออกของกัมพูชามีตลาดหลักอยู่ในสหรัฐฯ จีน และยุโรปซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ การลงทุนในกัมพูชาส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) ซึ่งภาพการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนที่แข็งแกร่งย่อมส่งผลให้โครงการดังกล่าวยังเดินหน้าต่อไป ในส่วนของเศรษฐกิจสปป.ลาว คงจะได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่จำกัดในส่วนของการลงทุนตรงจากจีนเป็นหลัก ขณะที่ภาคการส่งออกอาจได้รับอานิสงส์จำกัด ขณะที่เมียนมา ปัจจัยการเมืองในประเทศคงเป็นปัจจัยที่มีผลในการลดทอนผลบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก​

ที่มา : https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/CLMV-z3213.aspx

ตลาด ธนาคาร โรงพยาบาล รถประจำทาง ในเมียนมากลับมาเป็นปกติ

เจดีย์รวมถึง อาคาร ศานาสถานหรือวัดของศาสนาอื่น ๆ จะเปิดให้ประชาชนเข้าชมอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ตามมาตรการป้องกันโควิด -19 ผู้แสวงบุญและนักท่องเที่ยวรวมทั้งพระภิกษุและแม่ชี และศาสนาอื่น ๆ สามารถทำกิจกรรมทางศาสนาได้อย่างปกติ นอกจากนี้สวนสาธารณะและสนามเด็กเล่นในเนปยีดออย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และภูมิภาคหรือรัฐอื่น ๆ จะเปิดให้บริการอีกครั้ง รวมถึงตลาดเริ่มมีสีสันขึ้นเพราะมีทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในขณะเดียวกันธนาคาร โรงพยาบาล สายการบิน รถไฟ เรือ และรถประจำทางก็กลับมาดำเนินการได้เป็นปกติเช่นกัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/markets-banks-hospitals-bus-lines-resume-normal-operations-people-peacefully-visit-pagodas/#article-title

ค้าชายแดนไทย-เมียนมา หยุดนำเข้ากาแฟสำเร็จรูปชั่วคราว

กระทรวงพาณิชย์เมียนมาห้ามนำเข้าสินค้าอาหารจำนวน 4 รายการชั่วคราวผ่านชายแดนเมียนมา – ไทยตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 64 ได้แก่ เครื่องดื่มต่างๆ กาแฟและชาแฟสำเร็จรูป นมข้นและนมข้นจืด แต่สามารถนำเข้าผ่านทางเรือแทน ตั้งแต่วันที่1 ตุลาคมถึง 2 เมษายนของปีงบประมาณ 63-64 มูลค่าการค้าชายแดนไทย-เมียนมาลดลง 370.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเมียนมามีการส่งออกสูงถึง 1.3 พันล้านดอลลาร์และการนำเข้ามูลค่ากว่า 589.7 ล้านดอลลาร์ มูลค่าการค้ารวม 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งชายแดนเมียวดีมีผลการดำเนินการดีที่สุดจากจำนวนชายแดน 7 แห่ง โดยมีมูลค่าการค้า 729.46 ล้านดอลลาร์ ซึงในปีงบประมาณ 62-63 การค้าชายแดนเมียนมา- ไทยแตะระดับสูงสุดที่ 2.28 พันล้านดอลลาร์ อีกทั้งการส่งออกข้าวโพดไปยังไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากถึง 1.2 ล้านตัน ปัจจุบันมีการส่งออกประมาณ 5,000-6,000 ตันถูกส่งไปยังไทยทุกวันผ่านชายแดนเมียวดี ซึ่งเมียนมาได้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ e-Form D ในการส่งออกข้าวโพดระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ถึง 31 สิงหาคมซึ่งไทยเรียกเก็บภาษีร้อยละ 73 โดยเมียนมามีเป้าหมายส่งออกข้าวโพดไปยังไทย 1 ล้านตันในปีนี้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/food-commodities-including-instant-coffee-temporarily-banned-on-myanmar-thailand-border/

ปี 64 เศรษฐกิจเมียนมาเจอมรสุมหนัก! คาด หดตัว 8.5%

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัวดี เศรษฐกิจเมียนมากลับเผชิญมรสุมทางการเมืองอย่างหนัก ภาพลักษณ์ของเมียนมาในสายตาชาติตะวันตกกำลังมีบทบาทลดน้อยลง จากการที่สหรัฐฯ ประกาศระงับความตกลงการค้าและการลงทุนกับเมียนมาที่มีมาตั้งแต่ปี 2556 ทำให้มียนมาต้องสูญเสียสิทธิพิเศษทางภาษีเป็นการทั่วไป (GSP) ของสหรัฐฯ และมีความเสี่ยงที่สหภาพยุโรปจะตัดสิทธิพิเศษทางการค้า EBA รวมถึงนานาชาติจะเพิ่มแรงกดดันด้านต่าง ๆ อันเป็นอุปสรรค์ต่อการทำธุรกิจในอนาคต

ตั้งแต่กองทัพเมียนมาเข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 ได้มีการแสดงอารยะขัดขืนเป็นวงกว้างและทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะงักงัน เครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกตัวชะลอตัวลงมากกว่าคาด ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดเศรษฐกิจเมียนมาปี 2564 อาจจะหดตัวลึกขึ้นมาอยู่ที่ราว -8.5% (กรอบประมาณการ -9.8% ถึง -7.2%) หากการประท้วงไม่ขยายวงกว้างกว่านี้และทางการสามารถควบคุมสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองช่วงครึ่งปีหลังให้ดีขึ้นได้ เศรษฐกิจเมียนมาปี 2564 คาดว่าจะโน้มเอียงสู่กรอบบนประมาณการที่ -7.2% แต่หากความขัดแย้งรุนแรงลากยาวตลอดปี เศรษฐกิจอาจทรุดตัวเข้าใกล้กรอบล่างที่ -9.8%

การส่งออกผ่านชายแดนจากไทยไปเมียนมาเดือนก.พ. 2564 กลับมาหดตัวสูงที่ -21.4% ส่วนหนึ่งเพราะโควิด-19 ลุกลามอีกครั้ง และบางส่วนเพราะความไม่สงบในเมียนมาทำให้สินค้าส่วนใหญ่เริ่มหดตัวชัดเจน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าแม้ความไม่สงบในเมียนมาอาจส่งผลมายังช่องทางการค้าบริเวณพรมแดน แต่ไม่กระทบการขนส่งสินค้าข้ามแดนมากนักเพราะเมียนมาต้องพึ่งสินค้าไทยหลายชนิด ขณะเดียวกันความกังวลต่อความไม่สงบในช่วงแรกทำให้มีการเร่งกักตุนสินค้าจากไทยค่อนข้างมาก แต่ในช่วงที่เหลือของปีด้วยกำลังซื้อและภาวะเศรษฐกิจที่จะอ่อนแรงลงเรื่อยๆ คงฉุดให้การส่งออกชายแดนไทยไปเมียนมาปีนี้หดตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ที่ -6.0% มูลค่าการส่งออก 81,890 ล้านบาท (กรอบประมาณการหดตัวที่ -8.0% หากเศรษฐกิจเมียนมาทรุดตัวตลอดปี ถึงหดตัวที่ -2.9% หากครึ่งปีหลังหลังสามารถควบคุมสถานการณ์ให้กลับมาดีขึ้นได้)​

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Myanmar-Eco-23-04-2021.aspx

6 เดือนแรกของปีงบฯ 63-64 ค้าชายแดนเมียนมาแตะ 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ณ วันที่ 2 เมษายน 64 -ของปีงบประมาณปี 63-64 ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 63 การค้าชายแดนเมียนมามีมูลค่า 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงกว่า 264 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนซึ่งมีมูลค่า 5.9 พันล้านดอลลาร์ โดยด่านมูเซเป็นด่านชายแดนที่มีมูลค่าการค้ามากที่สุด คือ 2.5 พันล้านดอลลาร์ตามมาด้วยด่านเมียวดีมีมูลค่า 729 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 2 เมษายน 64 ของปีงบประมาณนี้การค้าต่างประเทศมีมูลค่ารวมกว่า 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การค้าทางทะเลมีมูลค่า 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmars-border-trade-reaches-5-6-bln-in-first-six-months-of-fy/

การลงทุนในประเทศและต่างประเทศของเมืองพะโค ยังคงดำเนินปกติ

การลงทุนในและต่างประเทศส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตเขตอุตสาหกรรมและภาคการผลิตอาหารในเขตพะโค ปัจจุบันการลงทุนจากต่างประเทศ 135 แห่งมูลค่า 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและการลงทุนของชาวท้องถิ่น 40 แห่ง มูลค่ารวม 977 พันล้านจัต ซึ่ง 80% ของการลงทุนอยู่ใกล้เขตเมืองพะโค ปัจจุบันมีคนงานในโรงงานของเขตอุตสาหกรรม Nyaung Inn ประมาณ 55,000 คน เมืองพะโคซึ่งเป็นเมืองการค้าที่สำคัญของเมียนมาอยู่ห่างจากย่างกุ้งประมาณ 50 ไมล์เป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญ นอกจากนี้ยังตั้งอยู่บนระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก อีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตข้าวที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศมีศักยภาพที่น่าลงทุนในภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์เนื่องจากมีบ่อตกปลาและทุ่งนามากมาย ดังนั้นจึงสามารถสร้างโอกาสในการทำงานให้กับประชาชนภายในประเทศ

ที่มี: https://www.gnlm.com.mm/local-foreign-investment-operating-as-usual-in-bago/#article-title