ความเชื่อมั่นนักลงทุน ร้อนแรง การฉีดวัคซีนเป็นปัจจัยหนุน

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) ผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนเดือน มิ.ย.64 ว่าดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า หรือเดือน ส.ค.64 อยู่ที่ 126.40 เพิ่ม 1.6% จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ 124.37 โดยมีปัจจัยหนุน คือ การฉีดวัคซีน ความคาดหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศและการไหลเข้าของเงินทุน ส่วนแนวโน้มครึ่งปีหลังยังเป็นขาขึ้น โดยมีเป้าหมายดัชนีปีนี้ไว้ที่ 1,650 จุด แต่ปัจจัยที่ยังต้องติดตาม คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จีน และยุโรป จากการเปิดประเทศ ส่วนปัจจัยในประเทศ คือ การจัดสรรและกระจายวัคซีนให้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ 100 ล้านโดสภายในปีนี้ ซึ่งจะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นของประชาชนและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/investment/2110485

กัมพูชาได้รับประโยชน์จากการกระจายการลงทุนไปยังเมียนมาที่คาดว่าจะลดลง

การปฏิวัติในเมียนมาคาดส่งผลประโยชน์เชิงบวกจากการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนในเมียนมาไปยัง กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย และไทย เป็นสำคัญจากปัจจัยสนับสนุนทางด้านภูมิศาสตร์ ซึ่งจากรายงานผลการศึกษาล่าสุดของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC) โดย รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าการส่งออกของไทยไปยังเมียนมาคาดว่าจะลดลงสูงสุด 9.6 หมื่นล้านบาท ในปีนี้ เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองของเมียนมา ซึ่งผลกระทบจากการปฏิวัติในเมียนมา 100 วันหลังการปฏิวัติครั้งที่ 4 โดยพลเอกอาวุโส มิน อ่อง ลาย (MIN AUNG HLAING) ได้คาดการณ์ว่า GDP ของเมียนมาในปี 2021 จะติดลบร้อยละ 10 ถึงลบร้อยละ 20 โดยไตรมาส 1/2021 เศรษฐกิจเมียนมาหดตัวร้อยละ 2.5 สูญเสีย FDI กว่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีปริมาณการว่างงานกว่า 6 แสนคน ค่าเงินจ๊าดอ่อนค่าร้อยละ 18 (24/5/2564) และรายได้ของครัวเรือนเมียนมาลดลงถึงร้อยละ 83 ส่วนราคาน้ำมันเพิ่มร้อยละ 15 ราคาข้าวขายปลีกเพิ่มร้อยละ 35 ทั้งนี้ FDI ของเมียนมาที่ลดลงจะอยู่ในกลุ่ม พลังงาน อุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ น้ำมันและก๊าซ ขนส่ง และนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50864456/cambodia-stands-to-benefit-from-fdi-diversion-as-exports-to-myanmar-expected-to-drop/

เวียดนามก้าวขึ้นเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนยอดนิยม จาก 140 ประเทศทั่วโลก

กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เผยเวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางของการลงทุนยอดนิยมในหมู่นักลงทุนต่างประเทศกว่า 140 ประเทศทั่วโลก มีจำนวน 33,000 โครงการที่มาจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ด้วยเม็ดเงินจดทะเบียน 394 ล้านเหรียญสหรัฐ ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 แต่ว่าเวียดนามสามารถบรรลุการควบคุมการระบาดของโควิด-19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ ทั้งนี้ แม้ว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั่วโลก ยังไม่แสดงสัญญาการฟื้นตัวเท่าไรนัก อย่างไรก็ตาม จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม แสดงให้เห็นว่าเวียดนามถือเป็น “ดินแดนที่ปลอดภัย” แก่การไหลเข้าของเม็ดเงินทุนจากต่างประเทศ ซึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกและธุรกิจอีกจำนวน เร่งหาโอกาสทางการลงทุนในเวียดนาม เนื่องจากธุรกิจดังกล่าวต้องการกระจายห่วงโซ่อุปทาน และลดการพึ่งพาในตลาดจีน

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-emerges-as-popular-investment-destination-for-140-countries-31827.html

ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเน้นย้ำการขยายการค้าการลงทุน และความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว

นายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หารือกับนายอันดรีย์ เบชตา (Andrii Beshta) เอกอัครราชทูตยูเครนประจำประเทศไทย ที่เข้าเยี่ยมคารวะในโอกาสพ้นจากหน้าที่ โดยปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้แสดงความขอบคุณเอกอัครราชทูตยูเครนฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-ยูเครนอย่างแข็งขันตลอด 5 ปีที่ผ่านมา โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-ยูเครน อย่างรอบด้าน โดยเฉพาะด้านการค้า การลงทุน เกษตรกรรม การท่องเที่ยว และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งเห็นพ้องว่า หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง การท่องเที่ยวและการค้าจะเป็นประเด็นความร่วมมือสำคัญที่ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันผลักดัน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการหารือและแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูง เพื่อช่วยขับเคลื่อนความร่วมมือที่มีศักยภาพให้มีพลวัตยิ่งขึ้น ในโอกาสนี้ ฝ่ายไทยและฝ่ายยูเครนได้หารือความร่วมมือในประเด็นภูมิภาคและพหุภาคีที่สนใจร่วมกันด้วย อาทิ ความร่วมมือระหว่างอาเซียนและยูเครน และการขอเสียงสนับสนุนผู้สมัครของตนในกรอบสหประชาชาติ

ที่มา : https://www.mfa.go.th/th/content/thai-ukraine?cate=5d5bcb4e15e39c306000683d

ไทยพร้อมบังคับใช้ความตกลง ATISA เพิ่มโอกาสลงทุนบริการในอาเซียน

พาณิชย์ เผย ไทยเป็น 1 ใน 2 ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้ดำเนินการให้สัตยาบันความตกลงการค้าบริการฉบับใหม่ของอาเซียน หรือ ATISA แล้ว มีผลใช้บังคับ 5 เมษายนที่ผ่านมา ผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์ได้ทันที  โดยความตกลง ATISA เป็นความตกลงด้านการค้าบริการที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ทั้งผู้ให้บริการและนักลงทุนของไทยและสมาชิกอาเซียน ส่งเสริมบรรยากาศการค้าบริการที่สามารถคาดการณ์ได้ จึงเป็นการขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในอาเซียน ทั้งนี้ภายใต้ความตกลง ATISA ไทยมีโอกาสขยายการค้าและการลงทุนในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ เช่น บริการด้านสุขภาพ บริการด้านการท่องเที่ยวและที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง บริการด้านก่อสร้าง บริการด้านการจัดประชุม และการจัดนิทรรศการ หรือ MICE เป็นต้น

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9640000033580

สปป.ลาว-เวียดนามปฏิญาณกระชับความสัมพันธ์ความเป็นปึกแผ่นพิเศษ

ประธานาธิบดีสปป.ลาว Mr.Thongloun Sisoulith ได้ให้คำมั่นที่จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Mr.Nguyen Xuan Phuc ประธานาธิบดีแห่งรัฐที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ของเวียดนามเพื่อยกระดับความสัมพันธ์การร่วมมือและความเป็นปึกแผ่นพิเศษระหว่างทั้งสองประเทศให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น หลายปีมานี้เวียดนามได้ให้การสนับสนุนต่อสปป.ลาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งความช่วยเหลือของเวียดนามในการฟื้นฟูสปป.ลาวจากภัยพิบัติ รวมถึงการช่วยสปป.ลาวในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด -19 ท่ามกลางวิกฤตการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศและโลก เวียดนามถือเป็นประเทศหนึ่งที่สปป.ลาวมีการพึ่งพาทั้งด้านการค้าและการลงทุน ซึ่งเวียดนามเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับสามในสปป.ลาวรองจากจีนและไทยในปี 2563 มูลค่าลงทุนจากเวียดนามทั้งหมด 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้านการค้ามีมูลค่าอยู่ที่ 815 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_LaosViet_68.php

เวียงจันทน์โลจิสติกส์พาร์ค (VLP) และตัวแทนการค้าของญี่ปุ่น (Jetro) ลงนามส่งเสริมการลงทุนของญี่ปุ่นในสปป.ลาว

เวียงจันทน์โลจิสติกส์พาร์ค (VLP) และตัวแทนการค้าของญี่ปุ่นได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในนครหลวงเวียงจันทน์เพื่อทำงานร่วมกันเพื่อกระตุ้นการลงทุนของญี่ปุ่นในเขต Hadxaifong พื้นที่กดังกล่าวมีการกำหนดสิ่งจูงใจหลายประการไม่ว่าจะเป็นระบบโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานรวมถึงสิทธิประโยชน์พิเศษด้านต่างๆ  เพื่อเป็นแรงดึงดูดให้มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนในพื้นที่ สำหรับ บริษัท ญี่ปุ่นที่ต้องการกระจายห่วงโซ่อุปทานโครงการดังกล่าวเป็นโอกาสในการลงทุนผลิตส่งออกหรือส่งออกจากสปป.ลาวจะได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าทั้งหมดที่สปป.ลาวมีให้รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้านเอกสารกระบวนการและบริการด้านโลจิสติกส์ทั้งหมดที่จะทำให้การลงทุนในสปป.ลาวเป็นไปอย่างรวดเร็ วง่ายดายและสร้างผลกำไรแก่บริษัท

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_VLP_61.php

เวียดนามก้าวขึ้นเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนของบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี

ตามข้อมูลของนิกเคอิ (Nikkei) เผยว่าบริษัทอินเทล (Intel) ประกาศลงทุน 475 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปใช้ในบริษัทอินเทลโปรดักส์ เวียดนาม คอร์ป (IPV) ซึ่งเป็นศูนย์กลางทดสอบและประกอบชิปที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมในช่วงครึ่งหลังของปี 63 บริษัทมีเป้าหมายเพื่อทำการผลิตสินค้า 5G และโปรเซสเซอร์  Intel Core มาพร้อมกับเทคโนโลยีอินเทล ไฮบริด และซีพียูตัวใหม่ล่าสุด ‘Intel Gen 10’ ทั้งนี้ Apple เร่งดำเนินย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามและอินเดีย บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ มีกำหนดการผลิตไอแพด (iPad) ในเวียดนามช่วงกลางปี 64 นอกจากนี้ ยังจะขยายสายการผลิตลำโพง HomePod mini smart นอกจากนี้ บริษัท Savills Vietnam ระบุว่าบริษัท ‘Pegatron’ ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของไต้หวัน ได้เข้ามาทุ่มเงิน 19 ล้านเหรียญสหรัฐในเมืองไฮฟอง สำหรับแผนการขยายการลงทุนในช่วงเฟสแรก อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้บริษัทข้ามชาติบางแห่งย้ายฐานการผลิตมายังเวียดนาม หรือขยายการปริมาณการผลิต

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-becomes-attractive-destination-to-technology-giants-28437.html

กัมพูชาร่วมกับออสเตรเลียหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยลงทุน

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ร่วมกับโครงการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าการเกษตรกัมพูชา – ออสเตรเลีย (CAVAC) ได้มีการประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยลงทุนทางการเกษตรและอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์ในการพูดคุยเพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อมูลจากกระทรวงและสถาบันที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดตั้งหน่วยลงทุนภายใต้ความร่วมมือระหว่าง CDC และ CAVAC ซึ่งหน่วยลงทุนด้านการเกษตรคาดว่าจะสร้างความสะดวกให้แก่นักลงทุนที่สนใจลงทุนในด้านการเกษตร โดยจะมีการอัพเดทข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบ สิ่งจูงใจและเงื่อนไขที่จำเป็น ผ่านการจัดทำกลยุทธ์เพื่อเผยแพร่ศักยภาพการลงทุนให้กับนักลงทุนได้พิจารณาลงทุน โดยคาดว่าหากจัดตั้งหน่วยลงทุนได้แล้วจะช่วยดึงดูดนักลงทุนด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรให้มาลงทุนในกัมพูชามากขึ้น ตามนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของกัมพูชาประจำปี 2015-2025 และการดำเนินกลยุทธ์การดึงดูดการลงทุนให้เป็นเป้าหมาย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50816226/cambodia-australia-discuss-establishment-of-agri-food-investment-unit/

International Finance Corporation เสนอแผนปฏิรูปด้านการลงทุนดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ

International Finance Corporation เผยแพร่รายงานที่เกี่ยวข้งกับการลงทุนในสปป.ลาว โดยมีรายละเอียดในเรื่องการพัฒนากลยุทธ์การลงทุนแบบองค์รวมควบคู่ไปกับการปฏิรูปกฎระเบียบอย่างต่อเนื่องของสปป.ลาว จะช่วยให้สปป.ลาวดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่หลากหลายและมีคุณภาพสูงขึ้น แนวทางดังกล่าวจะช่วยให้สปป.ลาวสามารถขยายเศรษฐกิจและสร้างงานเพิ่มขึ้น การปฏิรูปด้านการลงทุนมีเป้าหมายเพื่อให้ตระหนักถึงผลกระทบเชิงบวกของการลงทุนโดยตรงต่อเศรษฐกิจในท้องถิ่น ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา FDI เป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสปป.ลาว อย่างไรก็ตามรายงานเผยว่าการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในทรัพยากรธรรมชาติทำให้เกิดโอกาสในการทำงานที่ จำกัด และไม่สามารถปลดล็อกศักยภาพของ FDI ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นความท้าทายที่สปป.ลาวจะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อโอกาสในการดึงดูดการลงทุนเพิ่มเติมวึ่งจะเป็นกลไกที่สำคัญตัวหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_New35.php