“ตลาดสปป.ลาว” เนื้อหอมนักลงทุนเวียดนาม

คุณ Le Thi Phuong Hoa ที่ปรึกษาการค้าเวียดนามในประเทศสปป.ลาว กล่าวว่าตลาดสปป.ลาว ยังเป็นจุดหมายปลายทางอันดับต้นๆ ของนักลงทุนชาวเวียดนามจำนวนมาก เนื่องจากทั้งสองประเทศเป็นประเทศเพื่อนบ้านและสปป.ลาวได้การรับรองจากประเทศผู้ส่งออก นอกจากนี้ สินค้าเวียดนามที่ส่งออกไปยังสปป.ลาว ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในอัตราศูนย์และอยู่ในความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) รวมถึงข้อตกลงการค้าทวิภาคีของทั้งสองประเทศ

ทั้งนี้ จากข้อมูลทางสถิติของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า พบว่าในปีที่แล้ว เวียดนามส่งออกไปยังตลาดสปป.ลาว มีมูลค่า 594.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่การนำเข้าจากสปป.ลาวเพิ่มขึ้น 69.8% อยู่ที่ 778.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี เวียดนามได้ลงทุนในสปป.ลาว อยู่ที่ราว 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวม 417 โครงการ ทำให้เวียดนามขึ้นมาเป็นนักลงทุนรายใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ และสปป.ลาวให้ความสำคัญกับนักลงทุนชาวเวียดนามในหลายด้านด้วยกัน อาทิ การเกษตรปลอดพิษ การผลิตและแปรรูป เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1269814/laos-market-favoured-by-many-vietnamese-investors-trade-counsellor.html

‘ลาว-อาเซียน’ หารือแนวทางดึงดูด ‘นักท่องเที่ยว’ มากขึ้น

หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ ไทมส์ รายงานว่าทางการลาวกำลังเจรจากับกลุ่มประเทศสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนอื่นๆ เพื่อแบ่งปันแนวคิดในวิธีการดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้นและทำให้พวกเขารู้สึกได้รับการต้อนรับ ทั้งกำหนดแผนการมุ่งรับรองสุขภาพและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ขณะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ยังระบาดต่อเนื่อง ประเด็นเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในวาระการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 56 ซึ่งจัดขึ้นผ่านระบบออนไลน์ที่นครหลวงเวียงจันทน์ของลาว ระหว่างวันอังคารถึงวันพุธ (5-6 ก.ค.) โดยมีคม ดวงจันทา อธิบดีกรมการตลาดการท่องเที่ยว สังกัดกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวของลาวเป็นประธาน อนึ่ง ลาวรายงานจำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศที่เดินทางภายในลาว ราว 626,825 คน และรองรับนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ 35,980 คน ในไตรมาสแรกของปี 2022 โดยมีการคาดการณ์ว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นอีกในช่วงที่เหลือของปีนี้

ที่มา : https://www.opt-news.com/news/27327

สงครามยูเครน-เงินเฟ้อพุ่ง กับดักการเติบโตทางเศรษฐกิจอาเซียน+3

สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคอาเซียน+3 (AMRO) องค์กรระหว่างประเทศที่ติดตามเศรษฐกิจของ 10 ประเทศสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ปรับลดคาดการณ์การเติบโตประจำปีของภูมิภาคลงเหลือ 4.3% จาก 4.7% ในเดือนเมษายน โดยการปรับลดล่าสุดสะท้อนให้เห็นถึงการชะลอตัวในช่วงครึ่งแรกของปีในประเทศจีนและฮ่องกง สำหรับจีนซึ่งกำหนดมาตรการล็อกดาวน์จากโควิด-19 เพื่อยับยั้งการระบาดของไวรัส AMRO ลดการคาดการณ์การเติบโตเป็น 4.8% จาก 5.2% ขณะที่แนวโน้มของฮ่องกงลดลงเหลือ 1.1% จาก 2.8% ด้าน AMRO ยังเพิ่มการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสำหรับภูมิภาคเป็น 5.2% เพิ่มขึ้น 1.7 จุดจากเดือนเมษายน สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อความขัดแย้งในยูเครนทำให้การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกแย่ลง และราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นบีบผู้บริโภคทั่วเอเชีย สำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียนเพียงอย่างเดียว AMRO ยังคงคาดการณ์การเติบโตโดยรวมไว้ที่ 5.1% ในปีนี้ โดยเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เมื่อปีที่แล้ว อย่างในประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม คาดว่าจะทำงานได้ดีขึ้นในปีนี้ ในขณะที่มองไปในอนาคต AMRO คาดว่าการเติบโตของกลุ่มอาเซียน+3 จะเพิ่มขึ้นเป็น 4.9% ในปี 2566 ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะลดลงเหลือ 2.8%

ที่มา : https://moneyandbanking.co.th/article/news/ukraine-war-inflation-economic-asean3-060765

EA ลุยผลิตรถบรรทุก EV โรงงานแบตเตอรี่เพิ่มกาลังผลิต 4 Gwh/ปี

บริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จากัด (มหาชน) ความพยายามทาให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหรือ (ฮับอีวี) ถือเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งภาครัฐตื่นตัวค่อนข้างมากและต่อเนื่องและภาคเอกชนเริ่มเข้ามาในธุรกิจอีวี ซึ่งกระแสโลกผลักดันให้ธุรกิจต้องปรับตัวเร็วขึ้น โดยเฉพาะเรื่อง ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ซึ่งเป็นตัวแปรและตัวเร่งทาให้ทุกคนมุ่งสู่ Zero Emission ในส่วน EA ธุรกิจเป็นสินค้าสีเขียว Green Product ทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องไปกับเทรนด์ของโลก ไล่ตั้งแต่โรงผลิตไบโอดีเซล โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานลม และดาเนินการระบบนิเวศน์ (EV Ecosystem) ปลายปีที่แล้ว สาหรับโปรดักต์ของ EA ได้แก่ รถบัสไฟฟ้า เรือไฟฟ้า ส่วนรถบรรทุกไฟฟ้า EV กาลังจะออกสู่ ตลาด ตอนนี้อยู่ระหว่างพูดคุยพาร์ทเนอร์ และสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า สาหรับโรงงานประกอบรถบัสไฟฟ้า EV เฟสแรกนั้นรองรับกาลังผลิต 8,000 คันต่อปี โดยเมื่อปีที่แล้วได้ส่งมอบรถบัสไฟฟ้า 120 คัน และเป้าหมายปีนี้จะส่งมอบอีกประมาณ 1,200-1,500 คัน โดยมีพันธมิตรที่ให้บริการรถเมล์ในกรุงเทพ ตามแผนภายในสิ้นปีหน้า คาดว่ากรุงเทพฯจะมีรถเมล์หรือรถโดยสารสาธารณะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า EV เกือบทั้งหมด หากเป็นไปตามแผน สามารถพิสูจน์ให้คนเชื่อในศักยภาพซัพพลายเชนในไทย ที่แข็งแรงสามารถจับมือกันออกไปทาตลาดต่างประเทศ อาเซียน โดยอาศัยสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) นาเทคโนโลยีต่อยอดธุรกิจเพื่อดึงเงินเข้าประเทศบ้างจากที่เคยเป็นผู้ซื้อมา 30-40 ปี

ที่มา: https://www.thansettakij.com/motor/530060

อาเซียน-อินเดีย ชูความตกลงAITIGAเพิ่มการค้า

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 35 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และการประชุมผ่านระบบทางไกล ที่ประชุมได้เร่งรัดให้ประเทศสมาชิกดำเนินกระบวนการภายในเพื่อรับรองเอกสารขอบเขตการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย (ASEAN-India Trade in Goods Agreement : AITIGA) พร้อมทั้งเห็นชอบข้อเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-อินเดีย ในการรับรองขอบเขตการทบทวนความตกลง AITIGA และจัดตั้งคณะกรรมการร่วม (Joint Committee: JC) เพื่อกำกับดูแลการทบทวนความตกลงดังกล่าว

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/economy/news_360270/

ผู้คนกว่า 400,000 คนใช้รถไฟลาว-จีนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

รถไฟสายลาว-จีนมีผู้โดยสารมากกว่า 400,000 คนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่มีการขนส่งสินค้ามากกว่า 600,000 ตันข้ามพรมแดนลาว-จีน รถไฟเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่สำหรับเครือข่ายการขนส่งระหว่างประเทศของลาว และบทบาทในการขนส่งสินค้ามีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันรถไฟวิ่งเฉลี่ยหกครั้งต่อวัน โดยสูงสุดแปดเที่ยวต่อวัน เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารและสถานีรถไฟเพิ่มขึ้น จำนวนผู้ใช้รถไฟเพื่อเดินทางไปเวียงจันทน์ วังเวียง หลวงพระบาง และสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอื่นๆ ในลาวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทางรถไฟได้สร้างการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างประเทศที่สะดวกสบายระหว่างจีนและอาเซียน ซึ่งช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้อย่างมาก อีกทั้งตามข้อตกลงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคซึ่งมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม ความต้องการขนส่งสินค้าระหว่างจีนและลาวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สถานีขนส่งสินค้าได้เปิดให้บริการที่เวียงจันทน์ใต้ นาเตย วังเวียง หลวงพระบาง และโพนหง เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้ามากขึ้น

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2022_Over110.php

พลังงานแจง “ราคาน้ำมัน” ไทย-อาเซียน ต่างกัน ยันน้ำมันไทยไม่ได้แพงที่สุด

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ “ราคาน้ำมัน” ตลาดโลกยังคงมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง ราคาพลังงานสูงขึ้นและบางประเทศขาดแคลนพลังงาน ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก โดยนายกรัฐมนตรีมีข้อห่วงใยกำชับทุกฝ่ายให้ช่วยกันสร้างการรับรู้ให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องราคาน้ำมันของไทย เน้นย้ำว่า “ราคาน้ำมัน” ไทยไม่ได้แพงที่สุดในอาเซียน และรัฐบาลให้ความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ยืนยันว่ารัฐบาลมีความจริงใจที่จะแก้ไขปัญหาพลังงานของประเทศให้ดีที่สุด ในขณะที่กระทรวงพลังงานชี้แจงเสริมว่า ท่ามกลางสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน  เป็นเหตุให้อุปทานพลังงานลดลง ประกอบกับสถานการณ์โควิดในหลายประเทศดีขึ้น ทำให้ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อราคาเชื้อเพลิงตลอดจนค่าครองชีพของประชาชนที่ปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลก หากเปรียบเทียบราคาน้ำมันของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านจะพบว่าจุดที่ทำให้ราคาแตกต่างกันขึ้นกับโครงสร้างน้ำมัน ที่แต่ละประเทศมีมาตรการภาษี และระบบการเก็บเงินเข้ากองทุนหรืออุดหนุนราคาพลังงานที่แตกต่างกัน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/politics/1008983

เอกชนไทย–ลาวเดินหน้าขยายโอกาสการค้า ลงทุน ท่องเที่ยว

ประธานกรรมการหอการค้าไทยเผยเอกชน ไทย-สปป.ลาว เดินหน้าขยายโอกาสการค้า ลงทุน ท่องเที่ยว เสนอรัฐเร่งเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกมิติของ 2 ประเทศ เพื่อให้การค้าการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นในอนาคต นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในโอกาสที่ ฯพณฯ พันคำ  วิพาวัน นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 1-2 มิถุนายน 2565 ถือเป็นโอกาสที่สำคัญอย่างยิ่งที่ผู้นำของทั้งสองประเทศจะได้กระชับความสัมพันธ์ และร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนความสัมพันธ์ไทย-สปป.ลาว ให้ก้าวหน้าต่อไป โดยเฉพาะในบริบทการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 และการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการรับมือกับความผันผวนของสถานการณ์ระหว่างประเทศในปัจจุบัน

ที่มา : https://tna.mcot.net/business-953320

“ประยุทธ์” ร่วม Nikkei Forum ชู 3 ประเด็นอาเซียนเดินหน้าเศรษฐกิจ ลงทุนยั่งยืน

นายกฯ กล่าวปาฐกถาในการประชุม Nikkei Forum ครั้งที่ 27 ที่ญี่ปุ่น ชู 3 เรื่องสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ได้แก่ กระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้องสนับสนุนระบบพหุภาคีต่อไป การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจจะต้องเกิดควบคู่ไปกับความยั่งยืน อีกทั้งแนะให้อาเซียนผลักดันบทบาทของอาเซียนสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในรูปแบบพหุภาคี การรวมกลุ่มความร่วมมือและสร้างเศรษฐกิจยั่งยืน ทั้งนี้มองควรมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับนักลงทุนต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่นมาลงทุน EV  – ดาต้าเซนเตอร์ – BCG

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/1006559

‘อาเซียน’ เร่งขับเคลื่อนแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจก้าวสู่ยุคดิจิทัล คาดปีหน้า GDP อาเซียนโตถึง 5.2%

รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ร่วมถกแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจภูมิภาค เน้นเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งสานสัมพันธ์กับประเทศนอกกลุ่ม ย้ำจุดยืนการเป็นภูมิภาคที่เปิดกว้าง โปร่งใส ยึดมั่นในหลักเกณฑ์ การใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมหนุนศึกษาข้อริเริ่มที่ช่วยรับมือกับความมั่นคงทางอาหารและสาธารณสุข มั่นใจ ปีหน้า GDP อาเซียนจะขยายตัวเพิ่มถึง 5.2% ด้าน ดร.สรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำหรับกลไกในการขับเคลื่อนอาเซียนไปสู่อนาคต ควรให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบัน ที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ซึ่งเป็นหัวข้อหลักในการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค (APEC) ของไทยในปีนี้ด้วย สำหรับในช่วงไตรมาสแรก (ม.ค.-มี.ค. 2565) การค้าระหว่างไทยกับอาเซียน มีมูลค่า 31,125.2 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 17.2% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกจากไทยไปอาเซียน มูลค่า 17,906.6 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 17% และการนำเข้าจากอาเซียน มูลค่า 13,218.6 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 17.4%

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/beco/3325478