สำนักวิจัย ชี้ GDP เวียดนาม โต 7% ปี 64

สํานักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (AMRO) เผยว่าเวียดนามมีอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 7% ในปี 2564 สะท้อนมาจากการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าและบริการ รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศกลับมาฟื้นตัวและการไหลเข้าของเงินทุน ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ คาดว่าจะขยายตัวไปอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นตามการผ่อนคลายของการเร่งเบิกจ่ายการลงทุนภาครัฐฯ ประกอบกับรัฐบาลให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ

 ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnams-gdp-growth-to-expand-by-7-in-2021-amro-report-859391.vov

WTO ชมเวียดนามทำ FTA 15 ฉบับ-ลดความยากจน เหลือ 6% ดันจีดีพีโตฝ่าโควิด

สมาชิก WTO ถกทบทวนนโยบายการค้าเวียดนาม ชื่นชมเศรษฐกิจแข็งแกร่ง ฝ่าโควิด ปี 63 โต 2.9% หลังเร่งเครื่องเอฟทีเอ 15 ฉบับ พร้อมลดความยากจนที่จาก 70% เหลือ 6% คาดเข้าขยับเป็นประเทศรายได้สูงที่พัฒนาแล้วได้ ปี 2585 ด้านไทยใช้โอกาสนี้แสดงความกังวลเรื่องขั้นตอนการนำเข้ารถยนต์-การวางตลาดผลิตภัณฑ์ยา ขอยึดมั่นในข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศที่ตนมีส่วนร่วมไว้อย่างเคร่งครัด

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-667895

รับมือโรคระบาดดี เศรษฐกิจเติบโตสุดในอาเซียน ความสำเร็จของเวียดนามท่ามกลางวิกฤติโควิด-19

ในขณะที่หลายประเทศในกลุ่มอาเซียนประสบกับภาวะถดถอยกันทั่วหน้า อันเนื่องมาจากการระบาดของโรคร้ายโควิด-19 และบางประเทศถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาทางการเมืองภายใน แต่เวียดนามกลับกลายเป็นประเทศที่โดดเด่นที่สุดในสถานการณ์โลกและภูมิภาคนี้เผชิญกับวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ รายงานเศรษฐกิจประจำปี 2021 ของธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย ซึ่งออกมาเมื่อวันที่ 28 เมษายน เปิดเผยว่า แม้ว่าเศรษฐกิจของหลายประเทศจะอยู่ในภาวะติดลบ แต่เวียดนามกลับมีความเติบโตทางเศรษฐกิจถึง 2.9% เมื่อปี 2020 และคาดการณ์ว่าในปีนี้เศรษฐกิจของเวียดนามจะเติบโตมากถึง 6.7 เปอร์เซ็นต์ จัดได้ว่าสูงที่สุดในกลุ่มอาเซียน รองลงมาได้แก่สิงคโปร์และมาเลเซีย ซึ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของทั้งคู่จะอยู่ที่ 6% เท่ากัน

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/foreign/2083880?utm_source=PANORAMA_TOPIC

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ คาด GDP เวียดนามโต 6.3% ปี 64

สถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์และนโยบายเวียดนาม (VEPR) เผยตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคของเวียดนามในไตรมาสแรกของปีนี้ ว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัว หลังได้รับผลกระทบในเชิงลบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 6-6.3% ในปีนี้ โดยเป้าหมายดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะสามารถบรรลุได้ เนื่องจากเวียดนามรับมือกับการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มผ่อนคลายในหลายๆ ประเทศ ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในไตรมาสแรกของปีนี้ ขยายตัว 4.48% สาเหตุหลักมาจากการที่รัฐบาลควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เศรษฐกิจอยู่ในระดับเสถียรภาพ ในขณะเดียวกัน แนวโน้มทางเศรษฐกิจดีขึ้น จากข้อตกลงการค้าเสรีและความตกลงคุ้มครองการลงทุน ระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีมุมมองเชิงบวก แต่เวียดนามยังเผชิญกับความท้าทายหลายอย่าง อาทิ สภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอน การกลับมาระบาดของเชื้อไวรัส รวมถึงมาตรการล็อกดาวน์ในหลายประเทศ

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/economic-institute-forecasts-63-gdp-for-vietnam-in-2021-851682.vov

เวียดนามคาดอีก 10 ปีข้างหน้า ภาคบริการขยายตัว 7-8%

ภาคบริการของเวียดนาม ตั้งเป้าขยายตัว 7-8% ในปี 2564-2573 สูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของเศรษฐกิจและคาดว่าจะมีสัดส่วน 50% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ภายในปี 2573 โดยเป้าหมายดังกล่าว ถูกกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์แห่งชาติ กลยุทธ์นี้มุ่งเน้นปฏิรูปสถาบัน ส่งแสริมภาคบริการให้มีความโปร่งใสมากขึ้น พร้อมกับมีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันได้ รวมถึงเร่งปรับโครงสร้างองค์กรในภาวะการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ อีกทั้ง ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมองค์ความรู้และการแข่งขันของภาคบริการ อาทิ การท่องเที่ยว ไอที การเงินการธนาคาร โลจิสติกส์ การศึกษา การอบรมและการดูแลสุขภาพ เป็นต้น ประกอบกับจัดตั้งศูนย์บริการท่องเที่ยว เพื่อผลิตสินค้าท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูงและมีเอกลักษณ์ประจำชาติ วัฒนธรรมอันโดดเด่น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/services-sector-expected-to-expand-by-78-percent-this-decade/200218.vnp

‘IMF’ คง GDP เวียดนามปีนี้ โต 6.5%

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนาม คาดว่าอยู่ที่ 6.5% ในปีนี้ สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 6% จากนั้นจะฟื้นตัวเป็น 7.2% ในปีหน้า ซึ่งตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าว ทำให้เวียดนามเป็นประเทศเศรษฐกิจที่เติบโตได้เร็วเป็นอันดับที่ 2 ในกลุ่มเศรษฐกิจหลัก 5 ประเทศของอาเซียน ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตในเชิงบวก อัตราการว่างงานลดลงเหลือ 2.7% ในปีนี้ จากระดับ 3.3% ในปีที่แล้ว นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกคาดว่าจะเติบโตที่ 6% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ สะท้อนให้เห็นถึงมาตรการกระตุ้นทางการคลังเพิ่มเติมในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และมีแนวโน้มฟื้นตัวจากการใช้วัคซีนในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

ที่มา : http://hanoitimes.vn/imf-maintains-vietnam-gdp-growth-forecast-at-65-in-2021-316951.html

ไตรมาส 1 ปี 64 เศรษฐกิจเวียดนามโต 4.48%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในไตรมาสแรกของปี 2564 อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัว 4.48% เป็นผลมาจากการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ดี ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้และประมง ขยายตัว 3.16% ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 6.3% และภาคบริการ 3.34% โดยทั้ง 3 ภาคเศรษฐกิจมีส่วนผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ 8.34% 55.96% และ 35.7% ตามลำดับ ภาคบริการมีการขยายตัวในเชิงบวก เนื่องจากผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี ทั้งนี้ ในไตรมาสแรก กิจกรรมการส่งออกและนำเข้ากลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ด้วยมูลค่าราว 152.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี นอกจากนี้ ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเวียดนามในไตรมาสแรก ยังคงมีเสถียรภาพและอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก ประกอบกับควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการ คือ การควบคุมการระบาดของไวรัส และดำเนินการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึง ตลอดจนช่วยเหลือภาคเอกชนและเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อการลงทุนของภาครัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/915081/vietnamese-economy-expands-448-per-cent-in-q1.html

‘เวียดนาม’ ทะยานสู่ ‘เสือเศรษฐกิจแห่งเอเชีย’

โดย SME Go Inter I ธนาคารกรุงเทพ

‘เวียดนาม’ ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีการจัดการได้ดีที่สุด และดูเหมือนว่าเศรษฐกิจเวียดนามที่ได้รับผลกระทบน้อย ทั้งกลับมาโตได้เร็วโดยในปี 2563 เติบโตอยู่ที่ 2.91% จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 7% แต่ก็ถือว่าเป็นเพียงไม่กี่ประเทศทั่วโลกที่ GDP โตสวนกระแสเศรษฐกิจโลกที่กำลังดิ่งเหว

ความสำเร็จในการควบคุมโรคอุบัติใหม่ครั้งนี้ คุณธาราบดี ซึ้งอดิชัยวิทย์ ผู้จัดการทั่วไป ธนาคารกรุงเทพ สาขาประเทศเวียดนาม วิเคราะห์ว่า เป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์การทำงานของรัฐบาลเวียดนามที่แก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างแข็งแกร่ง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลก ทำให้เวียดนามเนื้อหอมสุดๆ ในยามนี้ ที่ทุกประเทศต่างหันหัวรบเข้าไปลงทุนด้วยมากที่สุด และที่สำคัญประเทศเวียดนามไม่ใช่คู่ขัดแย้งสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริการกับจีนเกี่ยวกับเก็บภาษีศุลกากร ทำให้นักลงทุนนานาชาติโยกย้ายฐานการผลิตและลงทุนเพื่อผลิตสินค้าส่งออกไปทั่วโลกได้อย่างไม่เป็นอุปสรรค

ดังนั้นเมื่อมองภาพรวมประเทศเวียดนามหลังจากผ่านพ้นโรคโควิด คุณธาราบดี จึงยกให้ประเทศเวียดนามเป็นเสือเศรษฐกิจตัวใหม่แห่งเอเชีย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และมีศักยภาพการเติบโตในระยะยาวเพราะความมีเสถียรภาพทางการเมือง เข็มทิศพัฒนาประเทศมีเป้าหมายชัดเจน ที่รัฐบาลเวียดนามเร่งผลักดันการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจคู่ขนาน เพื่อความก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศ โดยพร้อมให้การสนับสนุนการลงทุนทุกมิติจากต่างประเทศให้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจ

ขณะเดียวกันรัฐบาลเวียดนามยังได้ทำข้อตกลงการค้าทั่วโลก ไม่ว่าจะทำข้อตกลง FTA กับยุโรปและสหรัฐฯ รวมถึงเข้าร่วมใน ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP (Comprehensive and Progressive Trans-pacific Partnership) ซึ่งทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศสมาชิก สร้างความได้เปรียบให้กับประเทศเวียดนามอย่างมาก

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vietnam-asian-economic-tiger

ธนาคารโลกชี้ปี 64 เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มเชิงบวก

ตามรายงานภาพรวมเศรษฐกิจเวียดนามของธนาคารโลก เผยว่าหากมองในอนาคต ควรจะให้ความสนใจเกี่ยวกับประเด็นการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งในประเทศและทั่วโลก เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวมีผลกระทบที่สำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม ตลอดจนการดำเนินนโยบายทางการเงินและการคลัง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน ทั้งนี้ ธนาคารโลกได้ตั้งข้อสังเกตว่าภาคการผลิตอุตสาหกรรมชะลอตัวลง เหตุจากโรงงานปิดตัวลงในช่วงเทศกาลเต็ต ในขณะที่ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ ปรับตัวลดลง 7.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับการระบาดของโรควิด-19 ระลอกใหม่ แต่ยอดค้าปลีกของเวียดนามในเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 8.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้นจากอยู่ในช่วงเทศกาลเต็ต อย่างไรก็ตาม เมื่อเจาะลึกถึงกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ พบว่าการส่งออกของเวียดนามลดลง 4.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่ การนำเข้าเพิ่มขึ้น 11.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-maintains-positive-outlook-for-economic-recovery-in-2021-wb-843720.vov

เวียดนามจำเป็นต้องเปิดพรมแดน เพื่อฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว

นายเหงียน ฮิ๋ว เถาะ นายกสมาคมท่องเที่ยวแห่งประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เผยว่าเวียดนามจำเป็นต้องค้นหาโซลูชันและเตรียมความพร้อมกับเงื่อนไขที่จำเป็นทั้งหมด เพื่อที่จะเปิดพรมแดนให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในเดือนกรกฎาคม 2564 ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติถือเป็นทางออกเดียวสำหรับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วน 9.2% ของ GDP ในปี 2562 ทั้งนี้ การควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศ เพื่อที่จะสามารถรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ ตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ในขณะที่ ณ ปัจจุบัน ประเทศในกลุ่มภูมิภาคแห่งนี้ มีแผนที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะประเทศไทย ได้ประกาศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 ตลอดจนสิงคโปร์เปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีใบรับรองระบุสถานะติดลบของ COVID-19 อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังไม่สามารถรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากได้ แต่ก็ไม่อาจชะลอตัวได้ เนื่องจากการแข่งขันของประเทศในภูมิภาค ประกอบกับคนในพื้นที่กลัวการระบาดอีกครั้ง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/904845/viet-nam-needs-to-open-borders-for-tourism-recovery-experts.html