พาณิชย์เมียนมาเผยส่งออกสินค้าเกษตรพุ่ง แม้ธนาคารปิดทำการ

การส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งขึ้นในช่วงห้าเดือนที่ผ่านมาแม้ว่าผู้ค้าจะประสบปัญหาในการทำธุรกรรมเนื่องจากการปิดตัวคราวของธนาคารพาณิชย์ในเมียนมา จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ในปีงบประมาณปัจจุบันนับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ณ วันที่ 5 มีนาคม 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่าสูงถึง 2.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ 765.74 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณนี้ การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นจาก 1.72 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 62-63 แม้จะได้รับผลกระทบของ COVID-19 ความต้องการสินค้าอื่นๆ จากต่างประเทศที่ลดลง และความไม่มั่นคงทางการเมือง การงดให้บริการของธนาคารทำให้ผู้ค้าหันไปใช้การชำระเงินนอกระบบที่เรียกว่า “hundi” ในการทำการค้าชายแดน โดยการส่งออกอุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็น 22% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ ได้แก่ ข้าว ปลายข้าว เมล็ดถั่ว และข้าวโพด ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา  ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์กำลังช่วยเหลือเกษตรกรในการรับมือกับความท้าทายต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง การหาเมล็ดพันธุ์พันธุ์ ต้นทุนการเพาะปลูกที่สูง และสภาพอากาศที่ไม่สามารถคาดเดาได้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agro-exports-remain-to-rise-even-private-banks-shut-down/#article-title

“มูลนิธิโซรอส” เรียกร้องให้ปล่อยพนักงานในเมียนมา

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่ามูลนิธิโอเพน โซไซตี้ (Open Society Foundations: OSM) ของจอร์จ โซรอส ได้เรียกร้องให้ทำการปลดปล่อยพนักงานในเมียนมาโดยทันที สาเหตุมาจากตรวจพบว่ามีการลักลอบโอนเงินสนับสนุน ซึ่งมูลนิธิดังกล่าว ช่วยเหลือสื่อมวลชนชาวเมียนมาและประชาสังคมเมียนมามาอย่างยาวนาน ทั้งนี้  เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา สื่อของรัฐฯ ประกาศว่ากลุ่มมูลนิธิ OSM นำเงินไปใช้ในการแสดงอารยะขัดขืนต่อการปกครองของทหารในประเทศ โดยมูลนิธิโอนเงินที่ไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานบริหารจัดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นจำนวน 1.4 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ทางมูลนิธิ OSM สำนักงานใหญ่ในนิวยอร์ก เผยว่าข้อกล่าวหาดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึงความพยายามในการโจมตีและสร้างความเสื่อมเสียให้แก้ผู้ที่ต้องการสันติภาพและประชาธิปไตยในเมียนมา

ที่มา : https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/soros-linked-group-calls-for-release-of-employee-in-myanmar

รมต. กระทรวงต่างประเทศเมียนมาและบรูไน ร่วมประชุมหารือถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน

นายวันนะ หม่อง ลวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมาร่วมประชุมทางวิดีโอกับ Dato Erywan Pehin Yusof รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศคนที่ 2 ของบรูไนดารุสซาลาม โดยในการประชุมรัฐมนตรีทั้งสองได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างชาติอาเซียน และอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ซึ่งในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหภาพแรงงานยังได้บรรยายสรุปถึงความคืบหน้าล่าสุดในเมียนมา รวมถึงความพยายามของรัฐบาลในการจัดการกับการประท้วงที่รุนแรง ภายใต้กฎหมาย ระเบียบ และ ความเป็นสากล

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/union-minister-for-foreign-affairs-holds-video-conference-with-brunei-darussalams-minister-of-foreign-affairs-ii/

ยูเอ็นชี้ราคาอาหารพุ่งสูงขึ้นนับตั้งแต่ทหารยึดอำนาจ

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่าองค์การอาหารแห่งสหประชาชาติ ชี้ราคาอาหารและเชื้อเพลิงในเมียนมา ปรับตัวสูงขึ้นนับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คนฐานะยากจน ในขณะที่โครงการอาหารโลก (WFP) เผยว่าราคาอาหารเพิ่มสูง โดยเฉพาะราคาน้ำมันปาล์มที่เพิ่มขึ้น 20% ในบางพื้นที่รอบเมืองย่างกุ้ง และราคาข้าวเพิ่มขึ้น 4% ในเมืองย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ ตลอดจนในบางพื้นที่ของรัฐคะฉิ่น ราคาข้าวปรับตัวพุ่ง 35% โดยปัจจัยที่ทำให้ราคากลุ่มอาหารและเชื้อเพลิงสูงขึ้นนั้น เป็นผลมาจากภาคธนาคารเป็นอัมพาต ทำให้ส่งเงินกลับเข้าประเทศเป็นไปอย่างล่าช้าและปัญหาการขาดแคลนเงินสด

ที่มา : https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/troubling-signs-of-myanmar-food-price-rises-since-coup-un-agency

5สัญญาณรัฐประหารทุบเศรษฐกิจเมียนมา

การรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนของกองทัพเมียนมาเมื่อวันที่ 1ก.พ.ที่ทำให้ดินแดนนี้ตกอยู่ในสภาพวุ่นวาย มีการชุมนุมประท้วงทุกวันและมีการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและทหาร-ตำรวจแทบทุกวัน ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก ที่สำคัญกว่านั้น การรัฐประหารที่เกิดขึ้นกำลังสร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจของเมียนมา จากข้อมูลของสหประชาชาติ(ยูเอ็น)บ่งชี้่ว่าเมียนมา ยังคงเป็นหนึ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดของโลกแต่การที่เมียนมาค่อยๆปรับเปลี่ยนไปสู่ระบอบประชาธิปไตยก็สร้างความหวังแก่โลกว่าในไม่ช้าเศรษฐกิจของเมียนมาจะเติบโตเหมือนเพื่อนบ้านในอาเซียน ขณะที่ ตั้งแต่สิงคโปร์ ประเทศที่เข้าไปลงทุนโดยตรงในเมียนมารายใหญ่สุด จนถึงญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่ายังมองไม่เห็นอนาคตของเมียนมา เนื่องจากคนงานจำนวนมากในเมียนมา ถ้าไม่ผละงานออกไปร่วมชุมนุมประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐประหารก็หนีกลับบ้านเกิดในช่วงที่ทางการใช้กำลังเข้าปราบปราม สิ่งเหล่านี้ทำให้กิจกรรมทางธุรกิจสะดุ ทั้งนี้ 5 สัญญาณที่บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของเมียนมาได้รับผลกระทบจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจของกองทัพ 1) ดัชนีพีเอ็มไอร่วงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 2) การจดทะเบียนธุรกิจใหม่ลดลง86% 3) การลงทุนหดหาย 4) ปริมาณการค้าหุ้นดิ่ง60% 5) ความสามารถในการตรวจโควิดลด90%

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/927525

ญี่ปุ่นพิจารณาตอบโต้การรัฐประหารของเมียนมา

หัวหน้าคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นกล่าวว่ารัฐบาลกำลังติดตามสถานการณ์การรัฐประหารภายในเมียนมาและจะพิจารณาว่าจะตอบสนองต่อสถานการณ์ในเมียนมาอย่างไร ในแง่ของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและนโยบายโดยติดตามความคืบหน้าของสถานการณ์พร้อมทั้งคำนึงถึงผลกระทบจากประเทศที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งคำกล่าวนี้เกิดขึ้นหลังจากเกาหลีใต้กล่าวว่าจะระงับการแลกเปลี่ยนทางด้านกลาโหมกับเมียนมาและทำการห้ามส่งออกอาวุธเข้าประเทศหลังการรัฐประหารเมื่อเดือนที่แล้ว จากการกระทำของรัฐบาลเมียนมาในการจัดการผู้ประท้วงด้วยความรุนแรง จนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 138 คน ในเมียนมานับตั้งแต่การประท้วงเริ่มต้นขึ้น ตัวเลขผู้เสียชีวิตอ้างอิงจาก กลุ่มสิทธิมนุษยชน สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง (AAPP)

ที่มา : https://www.straitstimes.com/asia/se-asia/japan-says-considering-response-to-myanmars-military-coup

จีนเรียกร้องให้เมียนมาหยุดสร้างความรุนแรงและปกป้องบริษัทของจีน

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาสถานทูตจีนในเมียนมาเรียกร้องให้เมียนมาใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อหยุดความรุนแรงและลงโทษกับผู้กระทำผิด หลังจากที่โรงงานซึ่งเป็นของนักลงทุนจีนหลายแห่งถูกทำลายรวมถึงถูกเผาในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลทำให้ชาวจีนหลายคนได้รับบาดเจ็บ โดยจีนเรียกร้องให้เมียนมารับรองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของบริษัทสัญชาติจีนในเมียนมา รวมถึงจีนยังเรียกร้องให้ประชาชนเมียนมาแสดงข้อเรียกร้องในลักษณะที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ให้ยุยงหรือใช้ในทางที่ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างจีนและเมียนมา ซึ่งจากแถลงการณ์ดังกล่าวมีขึ้นหลังจากโรงงานกว่า 10 แห่ง รวมถึงบริษัทที่ได้รับทุนจากจีนในบางแห่งถูกทำลายในเขตอุตสาหกรรมในเมืองย่างกุ้งของเมียนมา

ที่มา : https://news.cgtn.com/news/2021-03-14/Two-Chinese-funded-garment-factories-set-on-fire-in-Myanmar-YCP1cUIQIE/index.html

กัมพูชาสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอย่างสันติวิธีในเมียนมา

โฆษกของกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศของกัมพูชาได้กล่าวถ้อยแถลงแสดงถึงความสนับสนุนของกัมพูชาในการแก้ไขปัญหาวิกฤตในเมียนมาอย่างสันติ โดยในฐานะเพื่อนและสมาชิกของประชาคมอาเซียนกัมพูชาก็เช่นเดียวกับประเทศสมาชิกอาเซียนและประชาคมอื่น ๆ ซึ่งได้ร่วมติดตามสถานการณ์ในเมียนมาอย่างใกล้ชิดและเสียใจกับความรุนแรงที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิต รวมถึงในขณะที่กัมพูชาเคารพหลักการสำคัญในการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิก กัมพูชาได้ให้การสนับสนุน ถ้อยแถลงของประธานอาเซียนเกี่ยวกับการพัฒนาในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ที่ออกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2021 และ ถ้อยแถลงของประธานเกี่ยวกับการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2021 ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาวิกฤตในเมียนมาอย่างสันติวิธี โดยกัมพูชาพร้อมที่จะเข้าร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือเมียนมาบนเส้นทางสู่ภาวะปกติในทุกบทบาทและในรูปแบบใด ๆ ก็ตามที่สอดคล้องกับหลักการของกลุ่มสมาคมอาเซียน และให้เป็นที่ยอมรับของทุกคน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50822768/cambodia-supports-peaceful-solution-to-current-crisis-in-myanmar/

โรงงานแปรรูปบุกในรัฐมอญปิดตัว เหตุขาดวัตถุดิบ

โรงงานแปรรูปมันบุก (Elephant foot yam) ในรัฐมอญเผยอาจมีการปิดโรงงานลงจากการขาดวัตถุดิบ ซึ่งการเก็บกี่ยวผลผลิตจะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม ทั้งยังไม่สามารถซื้อวัตถุดิบจากพื้นที่อื่นได้เนื่องจากไม่สามารถทำธุรกรรมเพราะการปิดให้บริการของธนาคาร ก่อนการแพร่ระบาด COVID-19 ราคาพุ่งไปถึง 2,300 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) แต่เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาเหลือเพียง 1,700 จัตต่อ viss มันเทศชนิดนี้ถูกซื้อโดยจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีเป็นหลัก โดยญี่ปุ่นและจีนสร้างมูลค่าด้วยการขนมขบเคี้ยว ก๋วยเตี๋ยว และยา เป็นต้น เพราะมีไขมันต่ำและมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายแต่ไม่ได้รับความนิยมในประเทศเนื่องจากไม่ทราบถึงคุณประโยชน์ของมันบุก จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตและส่งออกผลไม้ดอกไม้และผักของเมียนมา ระบุว่าการส่งออกมันเทศและการสร้างมูลค่าเพิ่มที่ผลิตจากมันจะช่วยให้ตลาดเติบโตได้ในระยะยาว ซึ่งปัจุบันเมียนมาผลิตเพียงมันกึ่งแปรรูปเท่านั้น มันบุกส่วนใหญ่เพาะปลูกในพื้นที่กว่า 8,800 เอเคอร์ของรัฐชิน ผู้ค้าให้ข้อมูลว่าผลผลิตในรัฐชินมีราคาสูงกว่าจากภูมิภาคอื่นเนื่องจากมีคุณภาพและรสชาติที่ดีกว่า จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาส่งออกมันเทศจำนวน 4,200 ตันในปี 57-58 จำนวน 1,300 ตันในปี 58-59 และ 20,000 ตันในปี 59-60

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/elephant-foot-yam-factory-in-mon-state-suspended-due-to-lack-of-raw-material/