การเติบโตของเมียนมาที่ลดลงกว่าที่คาดไว้ในในปีนี้

เศรษฐกิจเมียนมามีแนวโน้มขยายตัวเพียง 4.3% ในปีงบประมาณ 2562-2563 เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของรัฐบาลที่ 7 ผลมาจากการระบาดของ COVID-19 การขยายตัวทางเศรษฐกิจชดเชยการเติบโตของจีดีพีที่ 6% ในช่วงหกเดือนแรกของปีงบประมาณซึ่งส่งผลให้ผลผลิตรวมมีเพียง 74.5 ล้านล้านจัตระหว่างตุลาคม 2562 ถึงมีนาคม 2563 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 63% จากเดิมที่ 119 ล้านล้านจัตในช่วงเวลาดังกล่าว ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นาย U Set Aung รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนกระทรวงการคลังและอุตสาหกรรมรายงานจากกองทุนของรัฐและเงินกู้ระหว่างประเทศจำนวน 2.8 ล้านล้านจัตถูกนำไปใช้ในการดำเนินการตามแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 ในปีงบประมาณ 2562-2563 เงินทุนดังกล่าวถูกนำไปใช้ในการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ปรับปรุงระบบการดูแลสุขภาพ เงินสดและอาหารให้กับครัวเรือนที่ยากจนและสนับสนุนภาคเกษตรและปศุสัตว์

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/steeper-growth-decline-expected-myanmar-year-govt.html

รัฐบาลคาดว่าเงินจัตเสื่อมค่าจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้นในเมียนมา

คาดเงินจัตของเมียนมาจะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2563-2564 นายหม่องหม่องวินรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและอุตสาหกรรมกล่าวในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร (Pyithu Hluttaw) ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นเนื่องจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยการขาดดุลงบประมาณและเงินเฟ้อที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเฉลี่ยร้อยละ 7.9 ในปีงบประมาณ 2563-2564 เทียบกับ 6.7% ในปีงบประมาณ 2562-2563 วันที่ 24 มิถุนายน 2563 อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของธนาคารกลางคือ 1,391.4 จัตต่อดอลลาร์ อย่างไรก็ตามได้รับการปรับลดมาอยู่ที่ 1,520 จัตต่อดอลลาร์สำหรับหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรสำหรับปีถัดไป จากผลกระทบจาก COVID-19 ดังนั้นรายได้ของรัฐบาลคาดว่าจะลดลงเนื่องจากรายได้จากภาษีที่ลดลงและรายได้จากการส่งออกที่สำคัญ เช่น น้ำมันและก๊าซ การขาดดุลทางการคลังคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.8 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณที่จะมาถึงเมื่อเทียบกับ 6.7 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณ 2562-2563 ซึ่งขาดดุลต่อ GDP จะอยู่อยู่ที่ 5.4% ของปีหน้า

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/govt-expects-kyat-depreciation-higher-exchange-rate-myanmar.html

พื้นที่นอกกริดเมียนมามีโอกาสได้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์

ประชาชนในเขตชนบทของเมียนมากว่า 450,000 คน คาดหวังจะได้ใช้ไฟฟ้าตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลและธนาคารโลก โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะระดมทุนร่วมกัน 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสร้างพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่รอบนอก การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปรับปรุงวิถีชีวิตและมาตรฐานการครองชีพของคนในชนบท ในปัจจุบันประชากรกว่าครึ่งไม่สามารถเข้าถึงกริดแห่งชาติและมากกว่าสองในสามของครัวเรือนในพื้นที่ชนบทที่ประชากรส่วนใหญ่ต้องอาศัยเทียน น้ำมันก๊าด แบตเตอรี่และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล เงินทุนดังกล่าวมาจากบริษัทต่างๆ ไปยังผู้ค้าปลีกสู่ผู้บริโภคและจะช่วยในการผลิตจัดจำหน่ายและจำหน่ายสินค้าในชนบทที่มีคุณภาพ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/grid-areas-myanmar-enjoy-solar-power.html

จีดีพีเมียนมาโต 6% ในปีหน้า

ประชุมร่วมรัฐสภา ( Pyidaungsu Hluttaw) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา U Set Aung รองรัฐมนตรีกระทรวงวางแผนและการคลังคาดเศรษฐกิจจะขยายตัว 6% ในปีงบประมาณ 2563-2564  ตามร่างพระราชบัญญัติการวางแผนแห่งชาติ จีดีพีของประเทศคาดจะสูงถึง 125.8 ล้านล้านจัตและรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีคาดว่าจะมากกว่า 2.2 ล้านจัต เมื่อเทียบปีงบประมาณ 2562-2563 อยู่ที่ 2 ล้านจัตใน และปี 2561-2562 อยู่ที่ 1.9 ล้านจัต โดยภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการถือเป็นรายได้หลักของจีดีพี ซึ่งคาดว่าจะเติบโตที่ 2.6%, 6.5% และ 7.4% ตามลำดับ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-gdp-grow-6-next-year.html

จีนมอบใบอนุญาตส่งออกข้าวให้กับ 43 บริษัทของเมียนมา

ศุลกากรของจีนได้มอบใบอนุญาตส่งออกข้าวให้แก่ 43 บริษัทของเมียนมา โดยได้อนุมัติใบอนุญาตไปเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา ต้นเดือนมีนาคมจีนเริ่มจำกัดการนำเข้าจากเมียนมาไปยังบริษัทที่จดทะเบียนกับทางการจีนเป็นระยะเวลาหนึ่งปี ซึ่งจีนถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ของเมียนมาและจะส่งผลดีในระยะยาว เกษตรกรสามารถได้รับราคาข้าวและข้าวหักที่ราคาดีขึ้น การส่งออกข้าวไปยังจีนสูงถึงหนึ่งล้านตันต่อปี แต่ลดลงเหลือประมาณ 40,000 ถึง 50,000 ตัน หลังจากข้อจำกัดมีผลบังคับใช้ ก่อนปี 2558  จีนกำหนดโควตาการขายข้าวโดยอนุญาตให้บริษัทของเมียนมาเพียง 11 แห่ง ในอดีตการส่งออกข้าวของเมียนมา 60% ถูกส่งออกไปยังจีนและตอนนี้ก็เหลือเพียง 30% จีนและเมียนมาจัดการประชุมผ่านการประชุมทางวิดีโอเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ Belt and Road Initiative การพัฒนาอีคอมเมิร์ซระหว่างสองประเทศ การค้า เศรษฐกิจ และอื่น ๆ  การประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่ความร่วมมือระหว่างมณฑลยูนนานและเขตมัณฑะเลย์ในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลอีคอมเมิร์ซและการลดความยากจน ทั้ง 2 ประเทศต้องการที่จะดำเนินการโครงการเหล่านี้โดยเร็วที่สุดและเป็นเขตเศรษฐกิจชายแดน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-grants-rice-export-licences-43-myanmar-companies.html

งานแสดงสินค้าออนไลน์ช่วยรักษาตลาดอสังหาริมทรัพย์ช่วง COVID-19

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไม่ซบเซาในช่วงการระบาด COVID-19 เมื่อต้นปีที่ผ่านมาเนื่องจากยอดขายจากตลาดออนไลน์ เดือนมีนาคมและเมษายน 2563 ความต้องการของตลาดในย่างกุ้งลดลง แต่ส่วนลดพิเศษและการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ทำให้ตลาดสามารถกลับมาอีกครั้งในกลางเดือนพฤษภาคม เมื่อเปรียบเทียบกับต้นปี 2563 จำนวนการซื้อลดลง 60% ในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 แม้ความต้องการของตลาดจะลดลง แต่ราคาก็ไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญและการทำธุรกรรมยังคงทำผ่านเคาน์เตอร์ งานแสดงสินค้าออนไลน์ได้ช่วยตลาดไว้ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งต้องใช้เวลาอีกสามถึงหกเดือนกว่าที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะฟื้นตัว แม้ว่าตลาดจะไม่ฟื้นตัวจากระดับก่อนหน้านี้ แต่ผู้บริโภคชาวเมียนมาที่เปลี่ยนไปและเริ่มคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมออนไลน์ โดย  iMyanmarHouse.com สามารถสร้างยอดขายอสังหาริมทรัพย์สองครั้งสำคัญในช่วงสามเดือนแรกของปี 2020 ชาวเมียนมาที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศให้ความสนใจกับงานแสดงสินค้าอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์มากขึ้น งานแสดงสินค้ายังเสนอส่วนลดพิเศษและโปรโมชั่นพิเศษและอาจดึงดูดให้ตัดสินใจกลับเมียนมาเพื่อลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/online-expos-saves-real-estate-market-during-covid-19.html

เมียนมาลงทุนสร้างห้องเย็น 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากเงินกู้ของธนาคารโลก

กองปศุสัตว์และสัตวแพทย์ของเมียนมาเผยมีการกู้ยืมเงิน 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารโลกเพื่อสร้างห้องเย็นสำหรับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ในย่างกุ้ง เขตพะโค และเขตอิระวดี ซึ่ง Covid-19 ส่งผลต่อต่อภาคปศุสัตว์ของเมียนมา เพราะการหมุนเวียนของสินค้าล่าช้าเนื่องจากมีห้องเย็นไม่เพียงพอ จากข้อมูลพบว่าประเทศเพื่อนบ้านมีสินค้าส่วนเกินจากปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ผลิตเมื่อเกิดโรคทำให้สินค้าใกล้หมดอายุและไม่เหมาะกับการบริโภค ซึ่งสินค้าเหล่านี้กำลังถูกนำเข้าทางชายแดนอย่างผิดกฏหมาย สหพันธ์ปศุสัตว์แห่งเมียนมาได้กำหนดรายชื่อผลิตภัณฑ์สัตว์ที่เข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมายแล้ว เช่น ไก่สด (เนื้อและไข่) ไก่เนื้อ ไก่แช่แข็ง ไส้กรอก ไข่ ลูกหมู หมู และหมูแช่แข็ง มูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อยู่ระหว่าง 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 13 ล้านดอลลาร์จากปีงบประมาณ 2548-2549 จนถึงปี 2560-2561 หลังจากการผ่อนปรนข้อจำกัดรัฐบาลอนุญาตให้มีการส่งออกสัตว์มีชีวิตได้ซึ่งได้รับความร่วมมือของผู้ประกอบการ ส่วนมูลค่าการส่งออกในรอบปีเพิ่มขึ้นเป็น 562.859 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/cold-storage-factories-to-be-built-with-4m-world-bank-loan