เมียนมามีรายได้จากการส่งออกข้าว 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมียนมามีรายได้จากการส่งออกข้าวมากกว่า 980,000 ตัน มูลค่า 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 10 มกราคมปีนี้ โดยรายรับ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 684,000 ตันไปยัง 55 ประเทศและมากกว่า 78 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกข้าวหักมากกว่า 302,000 ตันไปยัง 46 ประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว โดยส่งออกตลาดสหภาพยุโรปและแอฟริกาผ่านเส้นทางการค้าทางทะเล และจีนผ่านทางการค้าชายแดนมูเซ กลุ่มสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) แจ้งว่ารายรับมากกว่า 709 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกข้าวมากกว่าสองล้านตันในปี 61-62 ซึ่งในปี 60-59 และทำลายสถิติในประวัติศาสตร์กว่า 50 ปี ในการส่งออกข้าวมากกว่า 3 ล้านตัน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-earns-us280-m-from-rice-and-broken-rice-export

สามเดือนครึ่งเมียนมามีรายได้ 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกข้าว

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 10 มกราคม 63 เมียนมาได้รับเงินประมาณ 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกข้าวหักไปยัง 46 ประเทศ ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังอินโดนีเซีย รองลงมาเป็นเซเนกัล เบลเยียม และกินี โดยมูลค่าส่งออก 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากอินโดนีเซีย 21,667 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากเซเนกัล และ 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากเบลเยียม รัฐบาลกำลังวางแผนที่จะซื้อข้าวเปลือกจากเขตพะโค, อิรวดีและย่างกุ้งด้วยเงินกองทุนประมาณ 8 พันล้านจัตสำหรับเขตพะโคและ 5 พันล้านจัตสำหรับเขตอิรวดี หากราคาตลาดลดลงมากกว่าราคาพื้นฐานรัฐบาลวางแผนไว้เพื่อจะซื้อซื้อที่นาด้วยงบ 1,500 ล้านจัต

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-earns-about-us80-m-from-broken-rice-export-within-three-and-a-half-month

เกษตรกรจำปาสักปลูกข้าวที่ประสบอุทกภัย

เจ้าหน้าที่ระดับแขวงสนับสนุนเกษตรกรปลูกข้าวกว่า 5,000 ไร่และปลูกพืชอื่นอีกกว่า 30,000 ไร่หลังจากที่สูญเสียข้าวจำนวนมากเมื่อน้ำท่วมท่วมพื้นที่ของพวกเขาในฤดูฝน นาย Padith Vannalatsamy ผู้อำนวยการฝ่ายการเกษตรและป่าไม้ของแขวงกล่าวกับ Vientiane Times ว่า“ เราได้รับเมล็ดข้าว 135 ตันจากกระทรวงเกษตรและป่าไม้และจะส่งมอบให้ 8 แขวงที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม” โดยคาดว่าเกษตรกรจะปลูกข้าว 5,069 เฮกตาร์และปลูกพืชอื่น 31,825 เฮกตาร์เพื่อเติมเสบียงข้าวและชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดอุทกภัยในฤดูฝนและยังกลล่าวอีกว่าเรากำลังดำเนินการซ่อมแซมช่องทางชลประทานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถจัดหาน้ำได้เพียงพอในช่วงฤดูแล้งโดยร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นและชุมชน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Champassak.php

แขวงไชยบุรีจะจัดเทศกาลข้าวประจำปี 63

เทศกาล Kong Khao Yai (เทศกาลข้าว) จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-12 มกราคมที่แขวงไชยบุรี Ms.Sengaphone Keobuahome รองผู้ว่าการอำเภอกล่าวว่าในปีนี้เทศกาลจะมีกิจกรรมที่หลากหลายผู้เข้าชมสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ตงเหลียงและเพลิดเพลินกับกิจกรรมดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำ นอกจากนี้จะมีการจัดแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าว ซึ่งแขวงไชยบุรีเป็นภูมิภาคนี้มีชื่อเสียงในด้านนาข้าวและเก็บเกี่ยวได้มากมายในแต่ละปี ไชยบุรีได้ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากรวมถึงคุณภาพการบริการโดยหวังว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้นและสร้างรายได้สำหรับแขวงโดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ประชาชนมากกว่า 3.4 ล้านคนเดินทางไปพักผ่อนในสปป.ลาวเพิ่มขึ้น 11%

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Xayaboury_275.php

รัฐบาลกัมพูชายืนยันอัดฉีดเงินเข้ากองทุนข้าวจำนวน 50 ล้านเหรียญ

สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) ร่วมกับโรงสีและผู้ส่งออกเรียกร้องให้รัฐบาลระดมทุนเพิ่มเติมอีก 50 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อช่วยเหลือภาคการผลิตข้าวและรักษาเสถียรภาพราคาพันธุ์พรีเมี่ยม โดย CRF ขอบคุณรัฐบาลผ่านกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินสำหรับการจัดสรรเงินเพิ่มเติม 50 ล้านเหรียญสหรัฐแก่ธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบท (RDB) เพื่อขยายสินเชื่อที่มีให้แก่ผู้ผลิตข้าวและผู้ส่งออกข้าว ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ราคาข้าวเปลือกมีเสถียรภาพและส่งออกมากขึ้น โดย CRF หวังว่าจะช่วยให้โรงสีข้าวและสมาชิกชุมชนเกษตรกรรมของ CRF เก็บรวบรวมข้าวจากเกษตรกรต่อไปโดยเฉพาะพันธุ์ Phka Rumdoul และ Phka Malis (ข้าวหอมพรีเมี่ยม) รวมทั้ง Sen Kro Ob และ Sen Pidor ซึ่งฤดูการเก็บเกี่ยวจะเริ่มขึ้นในสัปดาห์นี้จนถึงต้นปี 2563 โดยผู้ผลิตข้าวและสหกรณ์การเกษตรสามารถขอสินเชื่อโดยใช้สต็อกข้าวสารในปัจจุบันของพวกเขาเป็นหลักประกัน ซึ่งเมื่อสัปดาห์ก่อนฝ่ายบริหารทั่วไปของจีนด้านการควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกัน (AQSIQ) อนุมัติการผู้ผลิตข้าวในประเทศกัมพูชาอีก 18 ราย ที่ต้องการเริ่มส่งออกไปยังประเทศจีน ขณะนี้มีผู้ผลิตข้าวท้องถิ่น 44 ราย ที่สามารถส่งออกข้าวไปยังตลาดจีนได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50668176/govt-adds-50-million-to-rice-fund/

การส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนของกัมพูชายังคงอยู่ภายใต้โควตาของปีที่แล้ว

ซีอีโอของธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบท (RDB) กล่าวว่า Cofco ผู้ผลิตและผู้ค้าอาหารรายใหญ่ที่สุดของจีนยังไม่ได้ส่งคำสั่งซื้อใดๆ สำหรับข้าวสารที่ผลิตในกัมพูชาในปี 2562 โดยโควตาสำหรับปี 2562 อยู่ที่ 400,000 ตัน ซึ่งผู้ส่งออกข้าวในประเทศบางรายกำลังพยายามส่งข้าวไปยังประเทศจีนตามโควตาสำหรับปี 2018 ที่ 300,000 ตัน โดยจีนได้ให้คำมั่นที่จะซื้อข้าว 400,000 ตันจากกัมพูชาในปีนี้ ซึ่งคำปฏิญาณดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือนมกราคมระหว่างการประชุมที่ปักกิ่งระหว่างนายกรัฐมนตรีฮุนเซนและประธานาธิบดีจีนจินผิงโดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคมปีนี้กัมพูชาส่งข้าวสารจำนวน 184,844 ตัน ไปยังประเทศจีน คิดเป็น 40% ของการส่งออกข้าวสารทั้งหมดของกัมพูชาที่ 457,940 ตัน เพิ่มขึ้น 5% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากข้อมูลของ SOWS-REF สหภาพยุโรปเป็นผู้ซื้อข้าวกัมพูชารายใหญ่เป็นอันดับสองโดยซื้อข้าวสารจำนวน 155,950 ตัน ในช่วงเดือนมกราคมถึงตุลาคมเพิ่มขึ้น 34% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รายงานแสดงให้เห็นว่า 83 บริษัท ส่งออกข้าวกัมพูชาไปยังตลาดต่างประเทศรวมทั้ง บริษัท Baitang (Kampuchea) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50664440/rice-exports-to-china-still-under-last-years-quota-crf/

การสูญเสียข้าวสาเหตุให้เกิดการขาดแคลนในประเทศ

พื้นที่ปลูกข้าว 105,206 เฮกตาร์ถูกทำลายคิดเป็น 13% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด เนื่องจากน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนของปีนี้ซึ่งสปป.ลาวจะไม่บรรลุเป้าหมายการผลิตปี 62 ที่ 4.4 ล้านตันได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกสิกรรมและป่าไม้  กล่าวว่าปัญหาน้ำท่วมรวมถึงปัญหาน้ำประปาทำให้กระทรวงลดการคาดการณ์การผลิตข้าวจาก 4.4 ล้านเป็น 3.5 ล้านตัน จากการสูญเสียพื้นที่เพาะปลูกโดยแขวงสะหวันนะเขตได้รับผลกระทบมากที่สุด นอกจากนี้บางพื้นที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำหรือได้รับผลกระทบจากการระบาดของแมลงซึ่งทำให้พืชเสียหาย 1,200 เฮกตาร์อย่างไรก็ตามกระทรวงจะใช้งบประมาณของรัฐบาลจำนวน 352.9 พันล้านกีบ เพื่อสนับสนุน 288 โครงการในการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก 900,000 เฮกตาร์ และตั้งเป้าเพิ่มผลผลิตในฤดูฝนถัดไป อีกทั้งมีเป้าหมายการส่งออก 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีหน้า นอกจากนี้มีการคาดการณ์จะเกิดความแห้งแล้ง อุทกภัยที่รุนแรงโดยผลผลิตอาจลดลง 10% ในปี 63 และ 30% ในปี 93 สิ่งนี้อาจส่งผลต่อความมั่นคงด้านอาหารซึ่งรัฐบาลกำลังทำงานกับองค์กรพัฒนาเอกชนในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดในอนาคต

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/rice-losses-causing-harvest-shortfall-minister-tells-na-108699

เวียดนามตั้งเป้ายอดส่งออกข้าว 6.5 ล้านตัน ภายในปี 2562

จากข้อมูลของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) คาดว่าจะส่งออกได้ 6.5 ล้านตัน ในปี 2562 โดยประเทศจีนเป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ประกอบกับเวียดนามส่งออกไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เฉลี่ยอยู่ที่ 2 ล้านตันต่อปี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของยอดส่งออกข้าวรวมทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าเวียดนามจะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงและมีขนาดตลาดใหญ่ แต่ในช่วงตั้งแต่ปี 2561 มีแนวโน้มลดต่ำลง เนื่องมาจากกฎระเบียบทางด้านคุณภาพสินค้า และข้อกำหนดทางด้านเทคนิคที่เข็มงวด ด้วยเหตุนี้ จึงต้องหันมาส่งออกไปยังตลาดอื่น ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) ระบุว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวไปยังประเทศจีน ลดลงร้อยละ 67 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าสถานการณ์การส่งออกข้าวลดลงก็ตาม แต่คาดว่าในปีนี้ จะสามารถส่งออกข้าวรวมตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/rice-exports-set-to-reach-65-million-tonnes-during-2019-406267.vov

ไทยเสียแชมป์ 2 ปีติด! หอมมะลิเวียดนามดีสุดในโลกปี 62

ข้าวหอมมะลิไทยเสียแชมป์อร่อยสุดในโลก 2 ปีติดต่อหลังถูกข้าวพันธ์เอสที 24 เวียดนามแซงหน้า ผู้ส่งออกจี้กระทรวงเกษตรฯ เร่งพัฒนา หากนิ่งจะข้าวหอมมะลิไทยจะเหลือเพียงตำนาน ผลการประกวดข้าวโลกปี 62 ในงานประชุมสัมมนาข้าวโลก ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ปรากฎว่าข้าวหอมมะลิเวียดนาม พันธุ์ เอสที 24 คว้ารางวัลข้าวหอมที่ดีที่สุดในโลกปีนี้ไปครอง ส่วนข้าวหอมมะลิจากไทยได้อันดับ 2  และข้าวหอมจากประเทศฟิลิปปินส์เป็นอันดับ 3 แสดงให้เห็นว่าเวียดนามมีการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต่อเนื่อง และที่น่ากลัวไปกว่านั้นราคาข้าวเวียดนามถูกกว่าข้าวหอมไทยเกือบครึ่ง โดยข้าวหอมมะลิไทยราคา 1,100-1,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ส่วนเวียดนาม 600 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน มีผลผลิตต่อไร่ที่ดีกว่าและต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาจะดูจาก รสชาติ ซึ่งลักษณะของข้าวของเวียดนาม พบว่า มีเมล็ดยาวมีความเหนียวนุ่ม แม้ความหอมจะน้อยกว่าข้าวหอมมะลิไทย แต่มีความหวานมากกว่า ซึ่งข้าวพันธุ์นี้เวียดนามใช้เวลาพัฒนาประมาณ 5 ปีจึงได้รับรางวัล และขณะนี้เวียดนามอยู่ระหว่างการพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง สำหรับการประกวดข้าวโลกนั้นประเทศที่ได้รับรางวัลชนะเลิศข้าวที่ดีที่สุดพบว่ามีข้าวไทยได้รับรางวัลชนะเลิศ 5 ปี ข้าวจากกัมพูชาได้รับรางวัลชนะเลิศ 4 ปี อย่างไรก็ตามหากไทยยังไม่มีการพัฒนาเชื่อว่าภายในอีก 5 ปี ข้าวหอมมะลิไทยอาจเหลือเพียงตำนาน เพราะเมื่อคุณภาพและรสชาติใกล้เคียงกันแต่ข้าวไทยแพงกว่าคู่แข่งเท่าตัวก็จะทำให้ลูกค้าหันไปซื้อสินค้าที่ถูกกว่าแทน.

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/742092

เวียดนามเผยการส่งออกข้าวได้รับความเสียหาย จากระดับราคาที่ดิ่งลง

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2562 เวียดนามส่งออกข้าวอยู่ที่ 5.56 ล้านตัน ด้วยมูลค่า 2.43 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 ในด้านปริมาณ แต่มูลค่าเม็ดเงินลดลงร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ประเทศฟิลิปปินส์ยังคงเป็นตลาดข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 35 ซึ่งในบางช่วง ราคาข้าวตกต่ำแตะระดับต่ำที่สุดในรอบ 12 ปี นับว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้รายได้จากการส่งออกข้าวร่วงลงในช่วงเวลาดังกล่าว  โดยราคาข้าวเฉลี่ยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62 อยู่ที่ 435.6 เหรียญสหรัฐฯ 2562 ลดลงร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกเวียดนามต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่รุนแรง และจำเป็นขจัดอุปสรรคทางการค้า เพื่อให้สามารถส่งออกไปยังประเทศจีนและตลาดอื่นๆ นอกจากนี้ ยังเน้นในการสร้างตลาดและการหาแหล่งตลาดใหม่ โดยเฉพาะประเทศแอฟริกาและอาเซียน ให้ผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์กับความต้องการให้ตลาดเหล่านั้นได้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/rice-export-revenue-suffers-from-price-drop-406119.vov