การส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรในแขวงจำปาสัก

รองเจ้าแขวงจำปาศักดิ์กล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่าโควิด -19 ส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ อย่างไรก็ตามมาตรการ cross-border travels  ได้ช่วยเพิ่มความต้องการสินค้าเกษตรในจำปาสักทางอ้อม ซึ่งแขวงจำปาสักมีศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรจำนวนมากและเกษตรกรมีประเพณีการผลิตข้าว กาแฟ ชา ผลไม้ผักและพืชอื่น ๆ มายาวนาน ความท้าทายด้านการตลาดทำให้ผู้ผลิตในพื้นที่บางครั้งต้องขายพืชผลในราคาที่ต่ำกว่าและขาดทุนซึ่งทำให้ไม่สามารถขยายผลผลิตทางการค้าต่อไปได้  ในขณะนี้ชาวไร่กาแฟ บางรายกำลังตัดโค่นสวนกาแฟและหาทางทำมันสำปะหลังเนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีกำไรเพิ่มากขึ้น ทั้งนี้ทางการจำปาสักจะส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรควบคู่ไปกับอุตสาหกรรมการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร ขยายตลาดการเกษตรและเพิ่มรายได้ของเกษตรกร การผลิตทางการเกษตรยังคงเผชิญกับความท้าทาย เช่น ขนาดของตลาดที่เล็ก การผลิตขนาดเล็กปริมาณและคุณภาพที่จำกัด การแข่งขันจากสินค้านำเข้า เพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ จะเพิ่มความพยายามในการปรับปรุงการผลิตทางการเกษตรให้ทันสมัย เพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพของผลผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นไปที่อุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เกษตรกรในพื้นที่ปลูกเพื่อช่วยสร้างรายได้ การบริโภคภายในประเทศและการส่งออก อีกทั้งจะส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อขยายขนาดของตลาดในท้องถิ่น สร้างตลาดการเกษตรเพื่อส่งเสริมการค้าทางการเกษตร

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Champassak_174.php

เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง 26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 8 เดือนแรก

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2563 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง อยู่ที่ 26.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มูลค่ากว่า 6.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน (24.13% ของยอดส่งออกรวม) รองลงมาจีน (-10.1%YoY) สหภาพยุโรป (-2.2%YoY) ขณะที่ อาเซียนและญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 11.4 และ 1.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามลำดับ กลุ่มสินค้าส่งออกหลายอย่างลดลง แต่ยอดส่งออกข้าวยังคงเพิ่มขึ้น (10.4%, 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตามมาด้วยผัก (12.8%), มันสำปะหลัง (95%), กุ้ง (11.4%) และไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้ (9.6%) เป็นต้น นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ได้เข้ามาประสานงานกับกระทรวงอื่นๆ, หน่วยงานท้องถิ่นและธุรกิจ เพื่อขจัดอุปสรรคและส่งเสริมการส่งออก ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด—19 รวมถึงอัพเดทกฎระเบียบใหม่ๆ และส่งเสริมการทำตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดจีน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/agroforestryfisheries-exports-reach-over-26-billion-usd-in-first-eight-months/181984.vnp

ครม.เห็นชอบไทยเข้าร่วมข้อตกลงสินค้าเกษตรอาเซียน

ครม. กำหนดกรอบการเจรจาความตกลงด้านมาตรฐานและการตรวจสอบรับรองระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารของอาเซียน ลดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) อำนวยความสะดวกทางการค้า รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบกรอบการเจรจาความตกลงที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานและการตรวจสอบรับรองระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารของอาเซียน ภายใต้รัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ตามที่กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์เสนอ ซึ่งเป็นการกำหนดท่าทีของประเทศไทยที่จะไปตกลงในเรื่องดังกล่าว เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) อำนวยความสะดวกทางการค้าสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยสาระสำคัญคือ 1.กำหนดหรือพิจารณามาตรฐานของอาเซียนด้านระบบการผลิตพืช ปศุสัตว์ และประมง ในระดับฟาร์ม และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้ในการตรวจสอบและรับรองระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารของประเทศสมาชิกอาเซียน 2.กำหนดขอบข่ายและเงื่อนไขในการยอมรับผลการตรวจสอบรับรองระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน 3.พัฒนากลไกการประสานงานของอาเซียนและการปฏิบัติตามความตกลงของประเทศสมาชิก โดยกำหนดกลไกในการดำเนินการให้การยอมรับร่วมผลการตรวจสอบและรับรองระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารของประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นไปตามเงื่อนไขในการตกลงในการนำเข้าและส่งออกในภูมิภาค 4.ประเด็นอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติความตกลงนี้ เช่น การระงับข้อพิพาท ความโปร่งใส การเพิ่มบทบาทของอาเซียนและของประเทศสมาชิกอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรที่เป็นอาหาร การมีผลใช้บังคับ และการแก้ไขความตกลง รวมทั้งประเด็นอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อไทย

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/886351

กัมพูชาส่งออกสินค้าการเกษตร 2 ล้านตัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

กัมพูชามีการส่งออกสินค้าเกษตรจำนวน 1.9 ล้านตัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมดที่ส่งออกข้าวสารมีสัดส่วนประมาณ 350,000 ตัน คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 โดยอธิบดีกรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงกล่าวว่าการส่งออกข้าวมีสัดส่วนมากที่สุดของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด ซึ่งจีนถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการส่งออกข้าวข้าวของกัมพูชา จากแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นนี้กัมพูชาคาดว่าจะส่งออกข้าวสารได้ถึง 8 แสนตัน หรือ 1 ล้านตัน ภายในสิ้นปีนี้ ไปจนถึงการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดอาจจะสูงถึง 5 ล้านตันภายในสิ้นปี โดยกัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกรวม 4.8 ล้านเฮกเตอร์ และมีพืชที่มีศักยภาพเพื่อการส่งออก ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มะม่วง ข้าวโพด กล้วย ลำไย พริกไทย และแก้วมังกรตามที่กระทรวงระบุ ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตร 4.8 ล้านตัน ไปยังตลาดต่างประเทศรวมถึงอาเซียน สหภาพยุโรปและจีน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50736330/cambodia-exports-two-million-tonnes-of-agricultural-products-in-first-five-months/

กัมพูชาส่งออกสินค้าทางการเกษตรกว่า 1.4 ล้านตัน ในช่วง 5 เดือนแรก

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตร(ไม่รวมข้าว) จำนวน 1.4 ล้านตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้แม้จะเกิดวิกฤตการณ์ COVID-19 ทั่วโลก โดยรายงานจากกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงแสดงให้เห็นว่าสินค้าเกษตรที่ไม่ใช่ข้าว ได้แก่ มันสำปะหลัง, เม็ดมะม่วงหิมพานต์, ข้าวโพด, กล้วย, มะม่วงและอื่นๆ คิดเป็นมันสำปะหลัง 996,290 ตัน ซึ่งส่งออกจากเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 9.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นการส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์เพิ่มขึ้นกว่า 25% คิดเป็น 190,141 ตัน ในขณะที่กล้วยมีปริมาณการส่งออก 121,415 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 172% โดยรายงานยังระบุด้วยว่าการส่งออกมะม่วงสดและพริกไทยเพิ่มขึ้น 50% และ 22.6% คิดเป็น 44,099 ตัน และ 2,527 ตัน ตามลำดับส่วนการส่งออกแป้งมันสำปะหลังและข้าวโพดลดลงอย่างมากโดยลดลง 97% และ 29% คิดเป็น 10,272 ตัน และ 35,636 ตัน ตามลำดับ ในขณะเดียวกันข้าวถูกส่งออกไปกว่า 356,097 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น 42% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

ที่มา :https://www.khmertimeskh.com/50730202/cambodia-exports-1-4-million-tonnes-of-agricultural-products-in-first-five-months/

เวียดนามเล็งผลักดันช่องทางค้าสินค้าเกษตรไปยังจีน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม หารือกับเอกอัครราชทูตจีนประจำเวียดนาม ณ กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 16 เมษายน เพื่อหาช่องทางการค้าสินค้าเกษตรระหว่าง 2 ประเทศ ท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งการค้าของภาคเกษตร ป่าไม้และประมง ระหว่างเวียดนามและจีน ลดลงร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในช่วงเดือนแรกของปีนี้ จีนได้อนุมัตินำเข้าผักผลไม้ 9 รายการจากเวียดนาม และยังมีสินค้าเกษตรอีก 8 รายการที่กำลังดำเนินตามขั้นตอนอยู่ ทั้งนี้ รัฐมนตรีฯ ระบุเสริมว่าหวังว่าขั้นตอนการดำเนินงานนั้นจะเป็นไปโดยเร็วที่สุด เพื่อให้เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีนมากขึ้น รวมถึงเรียกร้องให้จีนขยายเวลาทำงานของสำนักงานศุลกากร เพียงแค่ 5-6 ชั่วโมง นอกจากนี้ เวียดนามและจีนควรจะหาแนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาดของโวรัส ด้วยระดับความร่วมมือของรัฐบาลและการดำเนินงานร่วมกันระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-china-seek-ways-to-push-agriculture-trade/171849.vnp

ธุรกิจสิงคโปร์ค้นหาซัพพลายเออร์สินค้าเกษตรจากเวียดนาม

คณะผู้แทนจากสิงคโปร์เข้าเยี่ยมชมเวียดนาม ในช่วงปลายเดือนนี้ เพื่อค้นหาซัพพลายเออร์ผักและผลไม้และเน้นในการร่วมมือธุรกิจ ตลอดจนการถ่ายทอดโอนเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตสินค้าเกษตร เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ยอดการนำเข้าจากจีนลดลง ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MOIT) ระบุว่าปัจจัยข้างต้นอาจจะเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาด้านการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมของเวียดนามจากการแพร่ระบาดชองไวรัส ทำให้ภาคธุรกิจของสิงคโปร์ต้องหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะตลาดกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทยและเวียดนาม เพื่อรองรับทางการค้าหยุดชะงักกับจีน ประกอบกับสิงคโปร์เป็นประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตร ด้วยโอกาสนี้ เวียดนามขยายการส่งออกผักผลไม้ไปยังสิงคโปร์และลดการค้ากับจีน นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติศุลกากร แสดงให้เห็นว่าในเดือนม.ค. มีมูลค่าการส่งออกรวมอยู่ที่ 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเดือนก่อนหน้า สำหรับตลาดนำเข้าผักผลไม้รายใหญ๋ที่สุดของเวียดนาม ได้แก่ จีน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 64.8 ของมูลค่าส่งออกผักผลไม้ทั้งหมด แต่ในเดือน ม.ค. มูลค่าการส่งออกไปยังจีนลดลงร้อยละ 32.4 ด้วยมูลค่า 173.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/622670/singapore-firms-seek-suppliers-of-agricultural-products-in-viet-nam.html

การส่งออกปศุสัตว์สร้างรายได้สูงสุดในสินค้าเกษตร

การส่งออกปศุสัตว์สร้างรายได้สูงสุดในกลุ่มสินค้าเกษตร มีมูลค่ามากถึง 217.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งมากกว่า กล้วยไม้และยางที่เคยเป็นสินค้าที่สร้างรายได้สูงสุดแก่สปป.ลาว โดยประเทศคู่ค้าที่สำคัญในการส่งออกปศุสัตว์ของสปป.ลาวคือ เวียดนาม ซึ่งปศุสัตว์เป็น 1 ใน 2 ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมที่สปป.ลาวขายให้กับเวียดนามโดยมีมูลค่าการส่งออกเกือบ 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งใน 20 อันดับแรกของผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกไปยังประเทศจีนด้วยยอดขายมูลค่า 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้จีนถือเป็นประเทศที่มีความต้องการในปศุสัตว์สปป.ลาวสูง โดยตลาดในยูนนานของจีนต้องการปศุสัตว์ 500,000 ตัวจากสปป.ลาวเป็นประจำทุกปี สินค้ากลุ่มนี้จึงเป็นสินค้าที่น่าสนใจเพราะอนาคตจะเติบโตได้อีกและสปป.ลาว ยังมีศักยภาพในการแข่งขันด้วยปัจจัยที่สปป.ลาวมีที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงโคเพื่อการค้านั้นเอง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/livestock-top-earner-among-laos%E2%80%99-agricultural-exports-113626

กระทรวงอุตฯ เผยวิกฤตไวรัสโคโรนาอาจกระทบภาคการส่งออกไปยังจีน

จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม เปิดเผยว่าทางหน่วยงานจับตาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาอย่างต่อเนื่อง และให้ผู้ประกอบการเตรียมรับมือกับผลกระทบจากการส่งออกในทิศทางที่เป็นลบ โดยเฉพาะสินค้าส่งออกเกษตรไปยังจีน ซึ่งในปัจจุบัน คาดว่าไวรัสโคโรนายังไม่น่ากระทบต่อการค้าระหว่างเวียดนามกับจีน อย่างไรก็ตาม มีสัญญาบ่งบอกว่ายอดขายสินค้าเกษตรบางรายการไปยังจีนเริ่มชะลอตัวแล้ว เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวและความเข้มงวดในการป้องกันของไวรัส ทำให้การส่งออกมีความยากลำบากมากขึ้น ทั้งนี้ ทางกรมส่งเสริมการค้าได้แนะนำให้ผู้ประกอบการเวียดนามเตรียมค้นหาตลาดอื่นๆ เพื่อให้มาทดแทนกับตลาดจีน สำหรับตัวเลขสถิติการค้าระหว่างประเทศ พบว่าในปี 2562 ยอดส่งออกสินค้าของเวียดนามอยู่ที่ 41.41 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ที่มาจากสินค้าเกษตรกรรม โดยจีนยังคงเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม

ที่มา : https://www.vir.com.vn/coronavirus-might-affect-exports-to-china-ministry-73553.html

รายได้จากสินค้าเกษตรเมียนมามากกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ

เมียนมามีรายรับ 1.082 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกสินค้าเกษตรตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 17 มกราคมในปีงบประมาณนี้และเมื่อเทียบกับการส่งออกในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ที่141.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ประมง เหมืองแร่ ป่าไม้  สินค้าที่ผลิตแบบ CMP (Cutting Making และ Packaging) และอื่นๆ เมียนมาส่วนใหญ่ส่งออกข้าว งานแสดงสินค้าอัญมณีสามารถเพิ่มการขายหยก สินค้าที่ผลิตแบบ CMP เพิ่มขึ้นทุกปี ราคาก๊าซธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นเพื่อสร้างรายได้มากขึ้น ส่วนการส่งออกถั่วลดลงเป็น 80,000 ตันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-earns-over-us1-b-from-agricultural-products