CDC อนุมัติโครงการลงทุนในกัมพูชาอีก 5 แห่ง มูลค่ารวมกว่า 50 ล้านดอลลาร์

บริษัท 5 แห่งได้รับใบอนุญาตการลงทุนจากสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) เพื่อลงทุนในจังหวัดตาแก้ว, กัมปงสปือ, กัมปงชนัง, กันดาลและสเวย์เหรียง ด้วยเงินลงทุนรวมกว่า 50.5 ล้านดอลลาร์ โดยคาดว่าโครงการที่ได้รับอนุมัติใหม่จะสร้างงานให้กับท้องถื่นได้ประมาณ 2,230 ตำแหน่ง ซึ่งโครงการใหม่ทั้ง 5 โครงการครอบคลุมถึงการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ อะไหล่ของเครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเสื้อผ้า ตั้งแต่ต้นเดือนโดยตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ CDC ได้อนุมัติโครงการลงทุนไปแล้วกว่า 10 โครงการ ซึ่งรวมถึงโครงการข้างต้นด้วยเงินลงทุนรวมประมาณ 600 ล้านดอลลาร์ สร้างโอกาสในการหางานรวมประมาณ 6,580 ตำแหน่ง และมองว่าการลงทุนดังกล่าวท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนในเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของกัมพูชาแม้ว่าจะถูกคุกคามจากการระบาดในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50811151/cdc-approves-5-more-investments-worth-more-than-50-million-in-investment-capital/

ท่ามกลางโควิด เมียนมายันเดินหน้าโครงการเริ่มธุรกิจใหม่

สภาบริหารแห่งรัฐที่ได้จัดตั้งขึ้นใหม่ได้พบกับสมาชิกของสมาพันธ์การค้าและอุตสาหกรรมแห่งเมียนมา (UMFCCI) เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ในระหว่างการประชุมนายพลอาวุโส มินอองหล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งเป็นประธานสภากล่าวว่าธุรกิจต่างๆ จากภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์ การก่อสร้าง การค้า และการผลิต จะไม่มีการระงับโครงการที่กำลังดำเนินอยู่ในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน ในขณะเดียวกันยังมีการพิจารณามาตรการในการเปิดเศรษฐกิจอีกครั้งท่ามกลาง COVID-19 โดยมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือคนรากหญ้าในการเอาชนะความยากลำบากทางเศรษฐกิจและสังคมและการผ่อนคลายข้อจำกัดในการเดินทางด้วยรถไฟรถยนต์และทางอากาศ อีกทั้งจะมีการเปิดเจดีย์ วัด และอาคารของศาสนาอื่น ๆ และยังแนะนำว่าควรเปิดโรงงานที่ผลิตอาหารจากภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์อีกครั้ง เพิ่มการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของโลก นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้มีการเริ่มต้นโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าอีกครั้ง การบริการธนาคาร และการเปิดให้บริการของบริษัททัวร์และโรงแรมในประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-affirms-continuation-projects-resumption-business-amid-covid-19.html

คนขับรถบรรทุกร้องให้ลดข้อจำกัด COVID-19 ในเมียนมา

คนขับรถบรรทุกที่ให้เดินรถในเส้นทางย่างกุ้ง  มัณฑะเลย์ มูเซ อยู่ในระหว่างร้องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลดข้อจำกัด COVID-19 สำหรับการขนส่งทางไกล เพราะต้องขอใบรับรองสุขภาพถึงสองครั้ง  ซึ่งจะต้องจาก 3 วันเป็น 7 วัน จากย่างกุ้งไปยังมูเซซึ่งเป็นด่านชายระว่างเมียนมา-จีน ที่ใหญ่ที่สุด และยังร้องขออนุญาตให้ขับรถเป็นเวลา 24 ชั่วโมงเนื่องจากปัจจุบันถูกห้ามให้ขับรถตอนกลางคืน ทั้งนี้ยังต้องจ่าย 10,000 จัตสำหรับการทดสอบ ซึ่งรวมแล้วต้องจ่ายถึง 20,000 จัต ในการเดินทางต่อครั้ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/truckers-seek-reductions-myanmar-covid-19-restrictions.html

สปป.ลาวพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ที่เดินทางกลับจากไทย

หน่วยงานแห่งชาติเพื่อการป้องกันและควบคุมโควิด -19 รายงานสถานการณ์เมื่อวันพุธที่ผ่านมาพบหญิงชาวสปป.ลาวอายุ 20 ปีตรวจพบเชื้อโควิด -19 ซึ่งมีประวัติเดินทางกลับจากประเทศไทยที่ปัจจุบันเกิดการระบาดโควิด-19 ระลอกสอง กรณีล่าพบผู้ติดเชื้อล่าสุดนี้ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันทั้งหมดของสปป.ลาวอยู่ที่ 45 รายในขณะที่การแพร่ระบาดของโรคระบาดในบางประเทศในภูมิภาคและทั่วโลกสถานการณ์ยังไม่ดีนัก รัฐบาลสปป.ลาวกำลังเข้มงวดมาตรการป้องกันและควบคุมโดยเฉพาะตามแนวชายแดนเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนเข้าสปป.ลาวอย่างผิดกฎหมาย

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos24.php

ท่ามกลางการระบาด COVID-19 สปป.ลาวตรวจสอบการกักกันแรงงานที่เดินทางกลับประเทศอย่างเข้มงวด

รัฐบาลสปป.ลาวได้สั่งการให้ทางการท้องถิ่นเฝ้าระวังคนที่เข้ามาในสปป.ลาวอย่างระมัดระวังและกักกันคนงานที่กลับมาเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของCOVID-19 รองอธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อภายใต้กระทรวงสาธารณสุขสปป.ลาว กล่าวว่าทางการท้องถิ่นต้องตรวจสอบพรมแดนอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานสปป.ลาวที่เดินทางกลับจากประเทศเพื่อนบ้าน  คนที่เข้ามาในสปป.ลาวโดยเฉพาะแรงงานที่ส่งกลับประเทศจะถูกส่งไปยังศูนย์กักกันเป็นเวลา 14 วัน ทุกคนในศูนย์กักกันต้องได้รับการตรวจสอบอุณหภูมิทุกวัน ซึ่งในวันจันทร์ที่ผ่านมามีผู้เดินทางเข้าสปป.ลาวผ่านด่านพรมแดนระหว่างประเทศจำนวน 2,600 คน ในจำนวนนี้ 1,281 คนข้ามพรมแดนมาจากประเทศไทย จากประเทศจีนทั้งหมด 41 คน ขณะที่ 1,119 คนเดินมาจากเวียดนามและ 159 คนเดินโดยใช้ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต ที่จุดผ่านแดนทุกแห่งมีการตรวจสอบอุณหภูมิของแต่ละคนที่เข้ามาและไม่มีใครแสดงอาการไข้ และขณะนี้กำลังติดตามผู้คน 2,588 คนที่ศูนย์ที่พัก 33 แห่งทั่วประเทศ และเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาได้ทดสอบผู้ป่วยที่ต้องสงสัย 104,212 ราย โดย 44 รายได้รับการตรวจเป็นบวกและผู้ป่วย 41 รายฟื้นตัวจากการติดเชื้อ

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2021-02/02/c_139716545.htm

ถ้ำจอมอ๋องที่ยาวที่สุดเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาได้ มีพิธีเปิดตัวถ้ำจอมอ๋องในแขวงอุดมไซอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ของแขวงอุดมไซ ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นถ้ำที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยหวังว่าถ้ำจอมอ๋องจะดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ไปเยี่ยมชมได้จำนวนมาก ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบันที่ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาเยือนสปป.ลาวไม่ได้ ทำให้รัฐบาลต้องพยายามกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศเพื่อเข้ามาทดแทนชาวต่างชาติที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศ  ซึ่งถ้ำจอมอ๋องจะเป็นสถานที่สำคัญด้านการท่องเที่ยวที่หนึ่งที่จะทำให้การท่องเที่ยวของสปป.ลาวกระเตื้องขึ้น รัฐบาลได้ตระหนักถึงศักยภาพของแขวงอุดมไซในฐานะสถานที่ท่องเที่ยวและพิจารณาว่าการพัฒนาทรัพยากรเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจ รวมถึงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและระบบคมนาคมเพื่อสนับสนุนความสะดวกสบายของนักท่องเที่ยวและส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Longest_22.php

เมียนมาอนุมัติเร่งการลงทุนใหม่ในภาคพลังงาน คาดสร้างงานกว่า 4,371 ตำแหน่ง

คณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) อนุมัติการลงทุนใหม่ 14 โครงการ ซึ่งการลงทุนจะครอบคลุมภาคพลังงาน การประมง อสังหาริมทรัพย์และบริการ โดยมีมูลค่ารวม 295.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดสร้างงานได้ถึง 4,371 คน โดยเน้นให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านพลังงาน เช่น โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 40 เมกะวัตต์ 4 โครงการในเขตมัณฑะเลย์ ภูมิภาคสะกาย และภูมิภาคแมกเวย์ ปัจจุบันสิงคโปร์ จีน และไทยติดอันดับ 51 ประเทศที่ลงทุนในเมียนมา มีการลงทุนใน 12 ภาคธุรกิจ โดยแบ่งเป็น 26% ในภาคไฟฟ้า 26% ในภาคน้ำมันและก๊าซ และ 14.6% ในภาคการผลิต MIC กำลังเร่งดำเนินตามแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 และแผนฟื้นฟูและปฏิรูปเศรษฐกิจเมียนมา ซึ่งเป้าหมายคือการผลิตไฟฟ้าทั่วประเทศ 100% จากระบบกริดแห่งชาติภายในปี 2573

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-approves-new-investments-energy-and-other-sectors.html

นายกฯ สปป.ลาวชื่นชมการตอบสนองของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต่อโควิด -19

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Mr.Thongloun Sisoulith นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวชื่นชมและขอบคุณเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสำหรับความพยายามในการยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด -19 ในที่ประชุมประจำปีของกระทรวงสาธารณสุขยังได้มีการหารือเกี่ยวกับแผนด้านสาธารณสุขสำหรับปี 2564 เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด -19 เป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขถือเป็นแผนย่อยที่รวมอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปี 2559-2563 และ 2564-2568 โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนสุขภาพปี 2564 จะดำเนินตามกรอบยุทธศาสตร์การปฏิรูปด้านสุขภาพซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 2559-2563 และระยะที่ 3 จะดำเนินการตั้งแต่ปี 2564-2568 นายกรัฐมนตรีมีเป้าหมายและความพยายามอย่างสูงที่จะทำให้ระบบสาธารณสุขของสปป.ลาวพัฒนาและเทียบเท่ามาตรฐานสากล แนวทางดังกล่าวจึงมีความสำคัญอย่างจึงต่อการพัฒนาสาธารณสุขของประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_PM_21.php

มองเศรษฐกิจ ‘เวียดนาม’ โอกาสของทุนไทย

โดย SME Social Planet I ธนาคารกรุงเทพ

ความเนื้อหอมของ ‘เวียดนาม’ ในประเด็นด้านการค้าและการลงทุน จากปัจจัยแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งจากเดิมที่ขนาดเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2562 จากข้อมูล World Economic Outlook, October 2019 ซึ่งเทียบได้กับราว 44 % ของเศรษฐกิจไทย ขณะที่ปี 2563 เศรษฐกิจเวียดนามที่คาดว่าจะขยายตัวแค่ 2.91% แต่เมื่อวิเคราะห์จากสถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ตัวเลขการเติบโตดังกล่าวนั้นกลับสวนทางเศรษฐกิจทั่วโลกที่ติดลบ และยิ่งไปกว่านั้นมีการประเมินว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะกลับมาขยายตัวได้ร้อยละ 6.5-7 ในปี 2564 เลยทีเดียว

นายฟัน จิ้ ทัน เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทย กล่าวว่า แม้ว่าปี 2563 เศรษฐกิจทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 แต่เวียดนามเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเชิงบวก (GDP) มีการเติบโตถึง 2.91% ในปี 2020 เนื่องจากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้ตั้งแต่ช่วงแรก โดยอัตราการเติบโตของ GDP เวียดนามในช่วงปี 2559-2563 เฉลี่ยอยู่ที่ 5.9% ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในโลก ทั้งนี้ ปัจจัยที่เอื้อให้มีการเข้ามาลงทุนจำนวนมากเพราะเวียดนามมีเสถียรภาพทางการเมืองสูง อาทิ

  1. มีแรงงานจำนวนมาก และด้วยขนาดของตลาดในประเทศที่มีประชากรสูงถึง 100 ล้านคน
  2. เวียดนามยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับตลาดอาเซียน จีน และอีกหลายประเทศทั่วโลก
  3. เวียดนามเป็นเป้าหมายของนักลงทุนกว่า 132 ประเทศ ที่สนใจเข้ามาลงทุน

ไทยมองการลงทุนเวียดนามอย่างไร

นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า เวียดนามยังเป็นจุดหมายปลายทางของการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงนักลงทุนไทยเพราะเป็นตลาดที่ใหญ่และเติบโตต่อเนื่อง ขณะเดียวกันก็มีทั้งความท้าทายและโอกาสสำหรับนักลงทุนต่างชาติ

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม กล่าวว่า ประเทศเวียดนามมีประชากรในวัยทำงานจำนวนมาก และมีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่ำ ทำให้ตลาดเวียดนามมีกำลังซื้อสูง อีกทั้งการส่งออกสินค้ามีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยในปีที่ผ่านมามีการส่งออกรวมมูลค่าถึง 281,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้ดุลการค้า 19,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นผลจากการทำความตกลงด้านการค้ากับประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวม 17 ฉบับ ขณะเดียวกันเวียดนามให้สิทธิพิเศษในด้านภาษีและสิทธิประโยชน์อื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจการค้าและการลงทุน (Ease of doing business) ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการลงทุน การก่อสร้างสาธารณูปโภค และอื่นๆ

นางสมหะทัย พานิชชีวะ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. อมตะวีเอ็น (AMATAV) กล่าวในมุมมองของผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมในเวียดนามว่า อมตะเชื่อในการเติบโตของเวียดนาม นั่นคือเหตุผลที่อมตะอยู่ในเวียดนามมานานกว่า 26 ปี และถือว่าประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ

เห็นได้ว่าทั้งหน่วยงานรัฐ สถาบันเอกชนที่เข้มแข็ง และตัวแทนเอกชนที่เป็นแนวหน้าไปลงทุนในเวียดนาม ต่างมีความเห็นที่น่าสนใจกับการลงทุนในเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสทางเศรษฐกิจ ภายใต้การที่เอเชียจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกยุคใหม่หลังโควิด 19 รวมทั้งประเด็นการลดข้อจำกัดในการลงทุนต่างชาติ และการจูงใจนักลงทุน ซึ่งเรื่องนี้หากสามารถปรับแผนให้โครงการ EEC ของไทย เป็นศูนย์กลางในการกระจายการลงทุนในภูมิภาคได้ ก็จะยิ่งเกิดเป็นประโยชน์คู่ขนาดของสองชาติได้ด้วย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.bangkokbanksme.com/en/look-vietnam-economy-opportunities-thai-capital

รัฐบาลสปป.ลาวยังคงเฝ้าระวังชายแดนอย่างเข้มงวดในช่วง COVID-19

คณะทำงานด้านการป้องกันและควบคุมโควิด -19 แห่งชาติของสปป.ลาวยังคงใช้มาตรการป้องกันและตรวจสอบผู้ที่เข้ามาในประเทศอย่างเข้มงวดเพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของโควิด -19 ระลอกสอง Mr.Sisavath Soutthaniraxay รองอธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อภายใต้กระทรวงสาธารณสุขลาว กล่าวกับงานแถลงข่าวเมื่อวันพุธที่ผ่านมาว่า ผู้ที่เดินทางเข้าสปป.ลาวจะถูกส่งไปยังศูนย์กักกันเป็นเวลา 14 วันเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนนำไวรัสเข้าประเทศ สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในสปป.ลาวปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ที่ดีซึ่งมียอดผู้ติดเชื้อต่ำที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงแม้ล่าสุดจะมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่ม 3 รายซึ่งมีความเชื่อมโยงกับประเทศไทยที่ตอนนี้เกิดการระบาดระลอกสอง ทำให้ต้องมีเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2021-01/27/c_139701291.htm