สมาคมญี่ปุ่น-กัมพูชา พร้อมดึงดูดการลงทุนระหว่างประเทศ

สมาคมญี่ปุ่น-กัมพูชา เปิดทำการอย่างเป็นทางการในวันจันทร์ที่ผ่านมา (1 เม.ย.) ณ กรุงพนมเปญ โดยคาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดนักธุรกิจและนักลงทุนชาวญี่ปุ่นเข้ามาสู่กัมพูชา ด้านนาย Heng Sour รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมอาชีวศึกษา (MLVT) ได้กล่าวไว้ในระหว่างการเป็นประธานในพิธีเปิดสำนักงาน สมาคมญี่ปุ่น-กัมพูชา ซึ่งการจัดตั้งสมาคมดังกล่าวถือเป็นการสะท้อนความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัมพูชาและญี่ปุ่น สำหรับนาย Takahashi Fumiaki ประธานสมาคมญี่ปุ่น-กัมพูชา พร้อมให้การสนับสนุนและส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพด้านการลงทุนในกัมพูชาให้กับบริษัทญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาสู่กัมพูชามากขึ้น สำหรับญี่ปุ่นถือเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 5 ของกัมพูชา รองจากจีน สหรัฐอเมริกา เวียดนาม และไทย ด้านคณะกรรมการพัฒนาแห่งกัมพูชา (CDC) อนุมัติโครงการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นไปแล้วกว่า 210 โครงการ ณ เดือนมกราคมปีที่แล้ว ด้วยมูลค่าการลงทุน 3.1 พันล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ปี 1994 จนถึงปัจจุบัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501467404/japan-cambodia-association-to-help-attract-investors-sour-says/

กระทรวงแรงงานกัมพูชา หารือกับตัวแทนญี่ปุ่น ขยายตลาดแรงงานระหว่างประเทศ

สำนักข่าว Dap-news รายงานเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ระบุว่า Ith Sam Heng รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมวิชาชีพ ได้หารือร่วมกับ Shoji Sakaki นายกสมาคมส่งเสริมมิตรภาพกัมพูชา-ญี่ปุ่น ณ จังหวัดนากาโน่ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งการหารือครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การขยายโอกาสในตลาดแรงงาน และการเสริมสร้างทักษะของคนกัมพูชา ถือเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือในด้านต่างๆ รวมถึงการขยายตลาดแรงงานระหว่างกัมพูชากับญี่ปุ่น ด้านนาย Shoji Sakaki  กล่าวว่า ขณะนี้ญี่ปุ่นกำลังเปิดกว้างในด้านความร่วมมือด้านแรงงาน ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนของกัมพูชาได้รับการฝึกอบรมวิชาชีพอย่างมืออาชีพ ภายใต้เทคนิคสมัยใหม่ของญี่ปุ่น สำหรับรัฐมนตรีฯ เห็นด้วยกับการเสริมสร้างทักษะให้กับภาคแรงงาน ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการร่วมมือที่กัมพูชาต้องการ เพื่อเสริมสร้างผลผลิตทางด้านแรงงาน และเป็นการเสริมสร้างโอกาสให้กับตลาดแรงงานกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501465134/cambodia-japan-seeks-opportunities-to-expand-markets-and-strengthen-skills/

รมว.อุตสาหกรรมของไทยหารือร่วม JETRO และ JCC ถกแนวโน้มทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมหารือกับนายคุโรดะ จุน ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น และนายยามาชิตะ โนริอากิ ประธานหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ และคณะกรรมาธิการวิจัยทางเศรษฐกิจของหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ในประเด็นเข้ารายงานสรุปผลการสำรวจแนวโน้มความเชื่อมั่นทางธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย พบว่า แนวโน้มดัชนีเศรษฐกิจ (ID) คาดการณ์อยู่ที่ -16.0 อันเนื่องมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจโลก และอุปสงค์การส่งออกที่ลดลง แต่มีการปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 10 ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 เนื่องจากมีการขยายตัวเรื่องการท่องเที่ยว และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมได้ไปเยือนญี่ปุ่น มีโอกาสเข้าร่วมหารือกับกระทรวง METI เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรม ใน 4 มิติ ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การกำจัดซากรถยนต์ และการศึกษาเพื่อพัฒนาเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์สมัยใหม่ เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและเกิดโอกาสใหม่ ๆ ในการลงทุน

ที่มา: https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/261166

ทางการพร้อมผลักดันโครงการเขตเศรษฐกิจกัมพูชา-ญี่ปุ่น (CJSEZ)

รัฐบาลกัมพูชากำลังจัดเตรียมนโยบายในการเตรียมความพร้อมจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษกัมพูชา-ญี่ปุ่น (CJSEZ) เพื่อเป็นการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นมากขึ้น โดยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (11 ก.พ.) มีการประชุมระหว่างรัฐมนตรีทั้งสองประเทศเพื่อหารือและเตรียมเอกสารแนวคิดในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศกัมพูชา นำโดย Sun Chanthol รองนายกรัฐมนตรีและประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) เป็นประธาน โดยคาดว่าโครงการนี้จะมีส่วนสำคัญในการดึงดูดการลงทุนของญี่ปุ่นมายังกัมพูชา รวมถึงก่อให้เกิดการจ้างงาน การพัฒนาขีดความสามารถและทักษะให้กับแรงงานในท้องถิ่น อีกทั้งมีส่วนในการสนับสนุนเศรษฐกิจผ่านการส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากกัมพูชามีตลาดเผื่อการส่งออกที่ขนาดใหญ่ขึ้น สำหรับปัจจุบัน CDC ได้อนุมัติโครงการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นไปแล้วกว่า 149 โครงการ ด้วยเงินทุนรวมประมาณ 2.9 พันล้านดอลลาร์ ณ เดือนสิงหาคม 2022 โดยลงทุนในอุตสาหกรรมการเสื้อผ้า รองเท้า สินค้าสำหรับเดินทาง ชิ้นส่วนรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ยางรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ แผงโซลาร์เซลล์ และอุตสาหกรรมประกอบจักรยาน เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501439391/cambodia-japan-sez-project-on-the-cards/

นายกฯ สปป.ลาว ร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน-ญี่ปุ่น เน้นความร่วมมือระดับภูมิภาค

การประชุมสุดยอดผู้นำจากประเทศในกลุ่มอาเซียนและญี่ปุ่น มีความตั้งใจในการทบทวนความร่วมมือในช่วงห้าทศวรรษที่มุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ โดยการประชุมได้จัดลำดับความสำคัญของการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่และความร่วมมือที่จับต้องได้ เน้นย้ำความพยายามในการทำงานร่วมกันเพื่อจัดการกับความท้าทาย ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมความร่วมมือทางอุตสาหกรรม ทั้งนี้ นายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว มีส่วนร่วมในการอภิปรายทวิภาคีกับผู้นำจากทั่วภูมิภาค ในฐานะที่ สปป.ลาว กำลังเตรียมที่จะเป็นประธานอาเซียนในปีหน้า นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ให้การสนับสนุน สปป.ลาว โดยเน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ก้าวข้ามความสัมพันธ์ที่นอกเหนือไปจากธุรกิจ และส่งเสริมความไว้วางใจผ่านความท้าทายร่วมกัน เนื่องจากมีบริษัทญี่ปุ่นประมาณ 160 แห่งที่ทำธุรกิจใน สปป.ลาว ซึ่งมีส่วนสนับสนุนความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมลาวเป็นอย่างมาก และสร้างโอกาสในการจ้างงานโดยส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และอำนวยความสะดวกในการถ่ายทอดเทคโนโลยี

ที่มา : https://laotiantimes.com/2023/12/15/lao-pm-to-join-asean-japan-summit-focus-on-regional-cooperation/

‘นายกฯ เวียดนาม’ เตรียมเยือนญี่ปุ่น 15-18 ธ.ค. นี้

นายฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เตรียมบินร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปี และส่วนร่วมในการกระชับความสัมพันธ์แบบทวิภาคี ระหว่างวันที่ 15-18 ธันวาคม 2566 โดยการเดินทางในครั้งนี้ เป็นไปตามคำเชิญของนายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น นับเป็นครั้งที่ 2 ของการเยือนของผู้นำรัฐบาลเวียดนามในปีนี้

นอกจากนี้ นายฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ ยังได้เข้าหารือกับผู้นำจากกลุ่มประเทศอาเซียน ตลอดจนเข้าไปมีส่วนร่วมกับภาคธุรกิจจากทั้งสองประเทศ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/pm-chinh-set-to-come-to-japan-tomorrow/

‘เวียดนาม’ พัฒนาทางการเงินร่วมกับออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและสิงคโปร์

นาย โฮ ดึก ฟอก (Ho Duc Phoc) รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเวียดนาม ได้หารือกับนายจิม ชาลเมอร์ส เหรัญญิกของออสเตรเลีย รวมถึงรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คนที่ 2 ของสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 12 พ.ย. เนื่องการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC ครั้งที่ 30 ณ นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยการหารือกับออสเตรเลียเกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลียจนถึงปี 2040 และความร่วมมือในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเงินที่ยั่งยืน ตลอดจนบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการคลังเวียดนามและออสเตรเลีย

ในขณะที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น ได้รับคำแนะนำให้ดำเนินตามกรอบความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ฉบับใหม่ที่ตกลงกันระหว่างการเยือนญี่ปุ่นของนายกฯ รัฐมนตรีเวียดนาม เมื่อเดือน พ.ค.65 นอกจากนี้ รัฐมนตรีของสิงคโปร์กล่าวชื่นชมถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศที่มุ่งไปทึ่ความร่วมมือทางการเงิน ศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดการตลาดหลักทรัพย์

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-advances-financial-cooperation-with-australia-japan-singapore/271201.vnp

กัมพูชานำเข้าเนื้อวากิวจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 60

กัมพูชานำเข้าเนื้อวากิวจากญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 60 สำหรับในช่วง 8 เดือนแรกของปี รายงานโดยสื่อญี่ปุ่นโดยอ้างจากแหล่งข่าวของรัฐบาลญี่ปุ่น สำหรับเนื้อวากิวถือเป็นหนึ่งในเนื้อสัตว์ที่มีราคาแพงที่สุดในโลก ซึ่งมีราคาเริ่มต้นสูงกว่า 90 ดอลลาร์ต่อกิโลกรัม ด้วยเอกลักษณ์ทางด้านรสชาติที่เข้มข้น มีรสเนย และลายหินอ่อน (มันแทรก) ด้านกัมพูชาเริ่มนำเข้าเนื้อวากิวจากญี่ปุ่นตั้งแต่ในช่วงปี 2020 เป็นต้นมา รวมถึงกัมพูชาและเกาหลีใต้ได้เริ่มกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเจรจาการกักกันเนื้อสัตว์ที่นำเข้ามาจากเกาหลีใต้เมื่อ 8 ปีที่แล้ว โดยเกาหลีใต้หวังผลักดันการส่งออกเนื้อวัวเกรดพรีเมี่ยมจำนวนกว่า 2,000 ตัน มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ ไปยังกัมพูชา ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า จากข้อมูลของ Statista รายงานว่าปริมาณการขายเนื้อสัตว์ในตลาดของประเทศกัมพูชา ซึ่งประกอบด้วยเนื้อสด เนื้อแปรรูป และสารทดแทนเนื้อสัตว์ คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 2.127 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2023 และคาดว่าจะเติบโตในอัตราร้อยละ 8.33 ต่อปี ไปจนถึงปี 2028

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501388703/japanese-wagyu-beef-exports-to-cambodia-decline-by-60-percent/

‘เวียดนาม’ ส่งแรงงานไปต่างประเทศ 10 เดือนแรกปีนี้ เกือบ 132,000 คน

กระทรวงแรงงาน และกิจการสังคมของเวียดนาม (MoLISA) เปิดเผยว่าเวียดนามส่งแรงงานไปยังต่างประเทศ มากกว่า 132,000 คน ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ โดยตัวเลขเป้าหมายที่กำหนดไว้ทั้งปี อยู่ที่ระดับ 20% ทั้งนี้ จากกลุ่มแรงงานที่ส่งไปยังต่างประเทศ พบว่าแรงงานส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง และประเทศญี่ปุ่นยังคงเป็นจุดหมายอันดับต้นๆ ของแรงงานชาวเวียดนาม มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 67,550 คน ตามมาด้วยไต้หวัน (จีน) 50,960 คน, เกาหลีใต้ 6,000 คน และจีน 1,700 คน ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-sends-over-132000-labourers-abroad-in-10-months/270880.vnp

‘ญี่ปุ่น’ จ้างแรงงานชาวเมียนมา 1 พันคน

สถานเอกอัครราชทูตเมียนมา ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้ประกาศเมื่อวันที่ 2 ต.ค. ว่าจะมีการจ้างแรงงานชาวเมียนมาราว 1 พันคนให้มาทำงานกับบริษัทญี่ปุ่น โดยจากข้อมูลของสถานเอกอัครราชทูตฯ แจ้งว่าได้รับจดหมายเกี่ยวกับข้อเรียกร้องจากแรงงานอพยพชาวเมียนมา จำนวน 314 ฉบับ (16 ก.ย.- 2 ต.ค.) ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ทำการตรวจสอบโรงงานและบริษัทญี่ปุ่น และส่งข้อมูลไปยังกระทรวงแรงงานผ่านกระทรวงการต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/japan-to-recruit-nearly-1000-myanmar-workers/#article-title