ทุเรียนไทยยอดนิยมตในจีน ส่งออก 5 เดือน 6 หมื่นล้าน

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีต่อผลประกอบการและตัวเลขการส่งออก ทุเรียนไทยซึ่งยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่องในจีน พร้อมกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญในการควบคุมและรักษาคุณภาพทุเรียนตามมาตรฐาน ตั้งแต่ต้นทางไปจนปลายทาง ชื่นชมระเบียงการค้าเชื่อมทางบกและทางทะเลระหว่างประเทศสายใหม่ (New International Land-Sea Trade Corridor: ILSTC) ใช้เวลาขนส่ง 4 วัน จากเดิม 8-10 วัน ซึ่งการขนส่งแบบใหม่นี้ไม่เพียงจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ยังช่วยลดความเสียหายระหว่างการขนส่งได้อีกด้วย โดยสถิติการส่งออกทุเรียนปี 2022 ซึ่งถือเป็นปีที่มีสถิติการส่งออกทุเรียนสูงสุดในรอบ 30 ปี ไทยส่งออกทุเรียนสดมูลค่ากว่า 1.10 แสนล้านบาท คาดว่ามาจาก 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.ความสะดวกในด้านการคมนาคมขนส่งที่สามารถส่งออกสูงสุดได้ถึง 700-800 ตัน/ตู้/วัน 2. การผ่อนปรนการตรวจโควิดของจีน 3.รสชาติที่ดีของทุเรียนไทย และ 4.มาตรฐานการคุมเข้มทุเรียนอ่อน

ที่มา : https://www.thebetter.co.th/news/business/4772

ไทยใช้เส้นทางรถไฟสาย สปป.ลาว-จีน ขนส่งทุเรียนไปยังฉงชิ่งภายใน 88 ชั่วโมง

ประเทศไทยใช้ประโยชน์จากเส้นทางการขนส่งทางรถไฟสาย สปป.ลาว-จีน ไปยังเทศบาลนครฉงชิ่ง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขนส่งทุเรียนและผลไม้ประเภทต่างๆ ประมาณกว่า 500 ตัน รายงานโดยบริษัทขนส่ง China Railway Materials เมื่อวันวันจันทร์ที่ผ่านมา (12 มิ.ย.) ซึ่งลักษณะการขนส่งใช้ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต จำนวน 28 ตู้ ส่งตรงไปยังศูนย์โลจิสติกส์ทางรถไฟ Xiaonanya ของฉงชิ่ง ใช้เวลาการขนส่งภายใน 88 ชั่วโมง นับเป็นการเปิดเส้นทางโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงสวนผลไม้กับตลาดค้าปลีกในฉงชิ่ง ขณะที่ Deng Haoji ผู้จัดการจาก บริษัท Chongqing Hongjiu Fruit กล่าวว่า การขนส่งดังกล่าวลดระยะเวลาด้านการขนส่งลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับการขนส่งในอดีต โดยทางการ สปป.ลาว ยังได้กล่าวเสริมว่าบริษัทจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคจะได้รับประโยชน์จากข้อตกลงการค้าต่างๆ อาทิเช่น ข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่ยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีน นับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม ตามรายงานของกรมศุลกากร (GAC) ซึ่งมูลค่าการค้ารวมระหว่างจีนและอาเซียนเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2.59 ล้านล้านหยวน (3.6 แสนล้านดอลลาร์) ในช่วง 5 เดือนแรก คิดเป็นการขยายตัวกว่าร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten112_Direct_y23.php

‘ผู้ส่งออกทุเรียนไทย’ เผชิญกับภัยคุกคามจากเวียดนาม ฟิลิปปินส์ในตลาดจีน

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดว่าเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนไทย จำเป็นต้องรักษาคุณภาพของผลไม้ให้อยู่ในระดับสูง เนื่องจากเผชิญกับภัยคุกคามจากคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ เวียดนามและฟิลิปปินส์ในตลาดจีน ในขณะที่จากรายงานของสำนักส่งเสริมการค้า ณ นครหนานหนิง ระบุว่าราคาขายส่งทุเรียนในตลาดจีนปรับตัวลดลงในช่วงต้นเดือน พ.ค. สาเหตุสำคัญมาจากผลผลิตผลไม้ที่เพิ่มขึ้น หลังจากผู้ค้าส่งจีนมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากเวียดนามและฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ ราคาทุเรียนหมอนทองของไทยในเดือน พ.ค. ลดลงเหลือราว 36-48 หยวน หรือประมาณ 177-266 บาทต่อกิโลกรัม ขณะเดียวกันราคาทุเรียนหมอนทองจากเวียดนาม อยู่ที่ประมาณ 32-41 หยวนต่อกิโลกรัม ตามมาด้วยราคาทุเรียนพันธุ์ปูยัตจากฟิลิปปินส์ อยู่ที่ 37-45 หยวนต่อกิโลกรัม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1541981/viet-nam-will-continue-to-be-prime-destination-for-fdi-vinacapital.html

ราคา ‘ทุเรียนเวียดนาม’ สูงเป็นประวัติการณ์ เหตุอุปทานต่ำ

หนังสือพิมพ์เวียดนาม นิวส์ (Vietnam News) รายงานว่าราคาทุเรียนของเวียดนามพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากมีอุปทานต่ำในช่วงนอกฤดูกาล รายงานระบุว่าราคาจำหน่ายทุเรียนอยู่ที่ 150,000-190,000 ดองเวียดนาม (ราว 215.06-272.41 บาท) ต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าราคาในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 3 เท่า โดยทุเรียนมีราคาสูง เนื่องจากเป็นผลไม้นอกฤดูกาล และมีอุปทานต่ำสวนทางกับอุปสงค์ที่ยังคงแข็งแกร่ง นอกจากนี้ สมาคมผักและผลไม้เวียดนาม รายงานว่าทุเรียนเวียดนามมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันมากมายในตลาด เนื่องจากการส่งออกตลอดทั้งปี รวมถึงระยะทางการขนส่งทุเรียนจากเวียดนามไปยังจีนยังใช้เวลาราว 1 วันครึ่งเท่านั้น ซึ่งช่วยรับประกันความสดของผลไม้และค่าขนส่งที่ถูกกว่าบรรดาคู่แข่งของเวียดนาม

ที่มา : https://www.chiangmainews.co.th/economics/2871140/

ไทยเตรียมส่งออกทุเรียนล็อตใหม่ ผ่านรถไฟจีน-ลาว

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยความคืบหน้าการส่งออกผลไม้ไทยไปจีน โดยล่าสุด เจ้าหน้าที่ด่านโม่ฮานของจีน ได้เปิดนำเข้าทุเรียนไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา หลังจากระงับการนำเข้าทุเรียนไทย 3 วัน ระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน จากเหตุพบการปนเปื้อนโควิดในรถบรรทุกคอนเทนเนอร์ และช่วงกลางสัปดาห์นี้ไทยจะมีการส่งออกทุเรียนอีกล็อตหนึ่ง โดยใช้เส้นทางรถไฟจีน-ลาว ด้วยการขนส่งระบบผสมราง-รถ ซึ่งจะต้องคุมเข้มมาตรการขจัดทุเรียนอ่อนและป้องกันการปนเปื้อนโควิด-19 อย่างต่อเนื่อ ให้มีมาตรฐานตามข้อกำหนด

ที่มา : https://news.ch7.com/detail/563786

กระทรวงเกษตรฯ กัมพูชาวางแผนเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกทุเรียน

กระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงมีแผนที่จะส่งเสริมการผลิตทุเรียนโดยการขยายพื้นที่เพาะปลูกสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงงานด้วยการสร้างมาตรฐานและจัดตั้งสมาคมชาวสวนทุเรียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตเพื่อการส่งออกไปยังตลาดในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งราคาทุเรียนที่ปลูกในท้องถิ่นนั้นสูงกว่าราคาที่ทำการนำเข้ามาส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้จากสวนทุเรียนที่ 10,000 ถึง 20,000 ดอลลาร์ต่อเฮกตาร์ต่อปี โดยภายใต้นโยบายของกระทรวงเกษตรฯ กำลังวางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ในการขยายการปลูกทุเรียนและผลไม้อื่น ๆ ที่มีศักยภาพในตลาดในประเทศและในต่างประเทศ รวมถึงเสริมสร้างทักษะด้านเทคนิคการปลูกให้กับเกษตรกรซึ่งเป็นผู้ผลิตต้นน้ำได้มีองค์ความรู้เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันกัมพูชามีพื้นที่ปลูกทุเรียน 5,289 เฮกตาร์โดยมีผลผลิตต่อปี 36,656 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50865112/ministry-of-agriculture-plans-to-increase-durian-plantations/

ผลผลิตทุเรียนตกต่ำฉุดราคาปีนี้พุ่ง

ผู้ค้าทุเรียนในอำเภอมะริด จังหวัดตะนาวศรี ได้ผลกำไรงาม ราคาพุ่ง จากผลผลิตที่ตกต่ำ ราคาทุเรียนลูกใหญ่พุ่งสูงถึง 5,000-6,000 จัตจาก 3,000 บาท ส่วนลูกเล็กพุ่งสูงถึง 1,000-1,500 บาท เมื่อปีที่แล้วความต้องการลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้ไทยกำลังซื้อเมล็ดทุเรียนในราคา 6,000 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กก.) โดยทุเรียนจากเมืองคยุนซู มะริด และตานินทะยี มีการแข่งขันสูงมากในตลาดในประเทศ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/low-supply-hikes-up-durian-price-this-year/#article-title

บริษัท จีนต้องการปลูกทุเรียน 4,800 เฮกตาร์ในสปป.ลาว

บริษัท จีนต้องการเช่าที่ดินในเวียงจันทน์จำนวน 3,200 ถึง 4,800 เฮกตาร์เพื่อปลูกทุเรียนและส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งคาดว่าจะมีการส่งออกทุเรียนจำนวนมากจากสปป.ลาวและเวียดนามใน 3-5 ปีข้างหน้า ทุเรียนได้รับการปลูกในเชิงพาณิชย์ในสปป.ลาวในช่วงสิบปีที่ผ่านมาโดยส่วนใหญ่อยู่บนที่ราบสูงทางตอนใต้ที่เย็นและอุดมสมบูรณ์ซึ่งเหมาะแก่การเพราะปลูกทุเรียนไม่เพียงแค่ด้านผลผลิตที่เติบโต ด้านตลาดก็มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นทั้งผู้บริโภคในประเทศรวมถึงด้านการส่งออกจากปัจจัย ค่าเช่าที่ดินและแรงงานที่ต่ำตลอดจนข้อตกลงการค้าเสรีหลายฉบับยกเว้นภาษีจาก 16 ประเทศ ทำให้การส่งออกทุเรียนของไทยมีแนวโมที่จะเติบโตได้ในอนาคต

ที่มา : https://www.freshplaza.com/article/9301231/chinese-companies-looking-to-grow-4-800-hectares-of-durians-in-laos/

“พาณิชย์” เผย “ทุเรียน-ถุงมือยาง” แชมป์ใช้สิทธิ์ FTA-GSP ปี 63

กรมการค้าต่างประเทศเผยยอดใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าปี 63 มีมูลค่า 62,338.86 ล้านเหรียญสหรัฐ ลด 10.46% ตามการส่งออกที่ชะลอตัว เผย “ทุเรียนสด” นำโด่งใช้ FTA “ถุงมือยาง” นำใช้สิทธิ์ GSP คาดปี 64 ยอดใช้สิทธิ์เพิ่มตามการฟื้นตัวของการส่งออก และการพัฒนางานบริการให้ยื่นขอใช้สิทธิ์ได้ง่ายขึ้น โดยอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ในปี 2563 ที่ผ่านมามีมูลค่า 62,338.86 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 10.46% ซึ่งเป็นไปตามการส่งออกในภาพรวมที่ปรับตัวลดลง เพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมีสัดส่วนการใช้สิทธิ 76.06% ของสินค้าที่ได้สิทธิประโยชน์ทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการใช้สิทธิภายใต้ FTA มูลค่า 58,077.18 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 11.41% มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 76.53% และการใช้สิทธิภายใต้ GSP มูลค่า 4,261.68 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.03% มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 70.12%

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9640000018374

เวียดนามส่งออกทุเรียนไปจีน ผ่านช่องทางหลัก

เวียดนามเร่งเจรจาข้อตกลงทางการค้า เพื่อที่จะส่งออกทุเรียนไปยังประเทศจีน ในจำนวนที่มากขึ้นผ่านช่องทางหลัก ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่จีนก็ยังเป็นผู้บริโภคทุเรียนของเวียดนามรายใหญ่ที่สุดในปีที่แล้ว เมื่อพิจารณาจากตัวเลขสถิติ พบว่าจีนนำเข้าทุเรียนทั่วโลกอยู่ที่ 397,000 ตัน เป็นมูลค่า 1.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.8% เมื่อเทียบกับปี 2562 อย่างไรก็ตาม การนำเข้าทุเรียนของเวียดนาม ลดลง 66.3% ในช่วง 8 เดือนแรกของปีที่แล้ว ทั้งนี้ เวียดนามส่งออกทุเรียนแบบปอกเปลือกและทุเรียนแช่แข็งไปยังตลาดจีนเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่ผ่านช่องทางไม่เป็นทางการ อย่างไรก็ตาม จีนเพิ่งระงับช่องทางไม่เป็นทางการชั่วคราว เนื่องจากกลัวการระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้ส่งออกในประเทศลำบาก นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ได้เร่งเจรจากับทางจีนเพื่อส่งออกสินค้าเกษตรผ่านช่องทางที่เป็นทางการ โดยจะให้ความสำคัญกับสินค้าเกษตร อาทิ ทุเรียน มันเทศ รังนก ส้มโอ เสาวรส อะโวคาโด และอื่นๆ เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-to-export-durians-to-china-via-official-channels-830589.vov