ACLEDA Bank ออกสินเชื่อเพื่อการเกษตรแล้วกว่า 1.21 พันล้านดอลลาร์

ธนาคาร ACLEDA กล่าวว่า ได้ทำการปล่อยสินเชื่อจำนวนมูลค่ารวมกว่า 1.21 พันล้านดอลลาร์ ให้กับภาคการเกษตร คิดเป็นกว่าร้อยละ 20.75 ของพอร์ตสินเชื่อทั้งหมดของธนาคาร ณ เดือนมิถุนายน 2022 ที่ผ่านมา ด้าน In Channy ประธานและกรรมการผู้จัดการกลุ่มบริษัท ACLEDA Bank Plc กล่าวว่า กัมพูชาถือเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยภาคเกษตรกรรมมีบทบาทสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และการจ้างแรงงาน ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลกัมพูชาได้ให้ความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501119196/acleda-bank-loans-out-1-21bil-to-boost-agriculture/

‘เวียดนาม’ เผยธนาคาร 16 แห่ง ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ 21.2 ล้านล้านดอง เหตุบรรเทาผู้ที่ได้รับผลกระทบโควิด-19

ตามรายงานของธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) ณ วันที่ 9 ก.พ. เปิดเผยว่าธนาคารพาณิชย์จำนวน 16 แห่ง ได้ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นมูลค่ากว่า 21.24 ล้านล้านดอง (936 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อบรรเทาลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. – 31 ธ.ค.64 โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนาม (Agribank) ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้อย่างมาก ด้วยมูลค่า 5.51 ล้านล้านดอง สำหรับลูกค้ามากกว่า 3.5 ล้านคน รองลงมาธนาคาร “Vietcombank” มีมูลค่า 4.63 ล้านล้านดอง และธนาคาร “BIDV” มีมูลค่า 4.12 ล้านล้านดอง นอกจากนี้ นายด่าวมีงตือ รองผู้ว่าการธนาคารชาติเวียดนาม กล่าวในปีที่แล้วว่าทางธนาคารยังคงอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วยต้นทุนที่ต่ำ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/sixteen-banks-cut-over-vnd212-trillion-for-pandemic-hit-customers-post923266.vov

 

เงินต่างประเทศทะลักเข้า ‘เวียดนาม’ เหตุเฉลิมฉลองเทศกาลเต็ด

ในช่วงวันเฉลิมฉลองเทศกาลเต็ด (ปีใหม่เวียดนาม) ถือเป็นเทศกาลตามประเพณีที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม เม็ดเงินจะไหลเข้ามายังประเทศที่โอนเงินมาจากคนเวียดนามที่อยู่ในต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ กลุ่มธนาคาร อาทิ ACB, Sacombank และ Eximbank เป็นต้น จึงเปิดแพ็คเกจให้ลูกค้าที่ใช้บริการโอนเงินกลับเข้ามาในประเทศ ตั้งแต่ต้นปีนี้ ซึ่งแพ็คเกจดังกล่าวจะมอบรางวัล Lucky Draw ให้แก่ลูกค้าที่ทำธุรกรรม ตลอดจนดึงดูดให้มีการทำธุรกรรมครั้งนี้เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ นายด่าวมีงตือ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติเวียดนาม (SBV) กล่าวว่า 28% โอนเงินที่ส่งผ่านบริษัทตัวกลางในการโอนเงินระหว่างประเทศ และ 70% ผ่านสถาบันการเงินและ 2% ผ่านทางไปรษณีย์ โดยนครโฮจิมินห์เป็นเมืองเดียวที่มีเม็ดเงินที่โอนเข้ามาด้วยมูลค่า 6.5-6.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/overseas-remittances-to-vietnam-increase-as-tet-approaches/220522.vnp

‘ธนาคารเวียดนาม’ จับมืออาลีบาบา

ธนาคารเวียดนาม Vietnam Maritime Joint Stock Commercial Bank (MSB) แถลงเมื่อวานนี้ว่าธนาคารได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับอาลีบาบาดอทคอม (Alibaba.com) เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซธุรกิจยักษ์ใหญ่ระดับโลกของอาลีบาบา กรุ๊ป โดยข้อตกลงดังกล่าว จะช่วยให้ธนาคาร MSB เข้าเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจนำเข้า-ส่งออก และกิจกรรมทางธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนเป็นดิจิทัล การบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพและให้บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ นาย Nguyễn Thế Minh รองผู้อำนวยการธนาคาร MSB กล่าวว่าการเข้าร่วมแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซแบบ B2B จะช่วยให้ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกสามารถเข้าถึงลูกค้าได้โดยตรงทั่วโลก นับว่าเป็นโอกาสที่จะขยายธุรกิจเพื่อให้เข้าถึงตลาดโลก

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1106705/first-vietnamese-bank-shakes-hands-with-alibabacom.html

 

คลังเตรียมให้สัตยาบันตั้งบริษัทลูกธนาคารในอาเซียน

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า การเปิดเสรีด้านบริการการเงินในอาเซียนมีความคืบหน้ามากขึ้น โดยเตรียมให้สัตยาบัน (Ratification) ข้อตกลงให้ธนาคารของสมาชิกอาเซียน เข้าไปตั้งบริษัทลูกในประเทศสมาชิกอาเซียนอีกประเทศหนึ่งได้ไม่เกิน 49% ซึ่งการจัดทำข้อตกลงเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินของประเทศสมาชิกอาเซียน ได้ดำเนินสืบเนื่องในหลายครั้งผ่านการเจรจาหารือร่วมกันและครั้งนี้ ถือเป็นข้อตกลงฉบับที่ 9  ซึ่งทำให้การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาชิกอาเซียน มีความลึกและกว้างขึ้น โดยจะเป็นการลดข้อจำกัดของการเข้ามาลงทุนในกิจการธนาคารภายในกลุ่มอาเซียน ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวซึ่งเรียกว่า ASEAN Framework Agreement on Services ซึ่งกระทรวงการคลังในฐานะหน่วยงานหลักในการเจรจาร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องได้เห็นชอบร่างข้อตกลงนี้แล้ว โดยร่างข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ใน 180 วัน หลังจากลงนามให้สัตยาบัน สำหรับสาระสำคัญของข้อตกลงฉบับที่ 9 ดังกล่าว เพื่อขยายความร่วมมือด้านการค้าบริการระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยลดหรือยกเลิกข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าบริการภายใต้กรอบอาเซียนให้มากกว่าที่เปิดเสรีตามกรอบขององค์การการค้าโลก และประเทศสมาชิกจะให้สิทธิประโยชน์ตามตารางข้อผูกพันแก่ประเทศสมาชิกอื่น ตามหลักการให้การปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favored Nation Treatment: MFN) และการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment)

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/965526

ธนาคารหัตถาประจำประเทศกัมพูชาได้รับการอนุมัติให้ปล่อยกู้เพิ่มได้

ธนาคารหัตถาประจำประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนากรุงศรีแห่งประเทศไทย ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ให้ระดมทุนเพิ่มเติมอีก 25 ล้านดอลลาร์ ในการปล่อยกู้ให้กับลูกค้าเพื่อช่วยเหลือการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของกัมพูชาในช่วงที่โควิด-19 กำลังระบาด โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธนาคารยืนยันว่าหัตถาได้รับการอนุมัติให้เพิ่มทุนในวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ถือเป็นกระดูกสันหลังทางเศรษฐกิจของกัมพูชา โดยสถานการณ์ในเดือนมีนาคมสมาชิกสมาคมไมโครไฟแนนซ์แห่งกัมพูชา (CMA) ได้ปรับโครงสร้างเงินกู้ให้กับลูกค้ามากกว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์ สำหรับผู้กู้เกือบ 300,000 ราย นับตั้งแต่ NBC ออกคำสั่งครั้งแรกตามที่ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสาร CMA กล่าว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50851507/hattha-bank-receives-greenlight-to-raise-25-million-in-capital/

เวียดนามเผยกลางเดือนเม.ย. สินเชื่อโต 3.34%

ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 16 เม.ย. การเติบโตของสินเชื่อ ขยายตัวมาอยู่ที่ 3.34% เมื่อเทียบกับปลายปี 2563 และเพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยอัตราการเติบโตภายในสิ้นเดือนมี.ค. อยู่ที่ 2.93% เมื่อเทียบกับปลายปีที่แล้ว เป็นมูลค่าราว 411 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในแค่ 2 สัปดาห์ การเติบโคของสินเชื่อก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.41 จุด ทั้งนี้ สถาบันสินเชื่อและธนาคาร ทำการปรับโครงสร้างการชำระหนี้ให้กับลูกค้า จำนวน 262,000 ราย ด้านยอดสินเชื่อคงค้างในระบบโดยรวมอยู่ที่ 15.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่จำนวนลูกค้า 660,000 ราย มีเงินกู้ที่มีอยู่รวมกันอยู่ที่ 55.14 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งได้รับการชะลอการชำระหนี้และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ นอกจากนี้ ธนาคารกลางติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาระดับของอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 4% ในปี 2564 และช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-credit-growth-expands-by-334-by-mid-april-317092.html

ธนาคาร KBZ จำกัดการถอนเงินผ่าน ATM ได้สูงสุด 200,000 จัตต่อวัน

ธนาคาร KBZ ประกาศในวันนี้ (30 มีนาคม) ลูกค้าของธนาคารสามารถถอนเงินจากตู้ ATM ของธนาคารได้สูงสุด 200,000 จัตต่อวัน บริการด้านการธนาคารในบางสาขา ได้แก่ การเปิดบัญชีผ่าน Mobile Banking / KBZPay และบัญชีธนาคารอื่น ๆ โอนเงินระหว่างบัญชี (ดอลลาร์สหรัฐ – จัจ และ จัต – ดอลลาร์สหรัฐ การออกใบชำระเงินการออกบัตร ATM สาขาย่างกุ้ง สาขามัณฑะเลย์ และพินอูลวิน เปิดให้บริการในวันที่ 30 มีนาคม 64 และบางสาขาอาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน ตามประกาศของธนาคารกลางเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 64 ธนาคารเอกชนได้รับอนุญาตให้ถอนเงินได้สูงสุด 500,000 จัตต่อวัน

ที่มา : https://news-eleven.com/article/206389

Vietcombank คว้าแบงก์เวียดนามที่แข็งแกร่งที่สุด ตามงบการเงิน 6 ปีติดต่อกัน

ธนาคารพาณิชย์แห่งรัฐชั้นนำในเวียดนาม “VietcomBank: VCB” เป็นแบงก์ที่ดีที่สุดในเวียดนาม และอยู่ในอันดับที่ 55 ในเอเชียแปซิฟิก พิจารณาตามงบการเงินปีนี้ ถือว่าเป็นปีที่ 6 ติดต่อกันที่คว้ารางวัลนี้ได้ นอกจากนี้ยังเป็น 1 ใน 9 ธนาคารใหญ่ที่สุดจากบรรดาธนาคารในภูมิภาค 500 แห่ง ทั้งนี้ นาย Le Hoang Tung หัวหน้าฝ่ายบัญชีของธนาคารข้างต้น กล่าวว่าท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทางธนาคารสามารถบรรลุเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานและช่วยเหลือผู้กู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสในปีก่อน ซึ่งพิจารณาจากงบการเงินและกลยุทธ์ขององค์กร อีกทั้ง ยังได้รับงบประมาณจากภาครัฐในปีที่แล้ว อยู่ที่ราว 389.08 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่สินทรัพย์ เงินฝากและเงินกู้ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8%, 11% และ 14% ตามลำดับ

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietcombank-named-vietnams-strongest-bank-by-balance-sheet-for-six-consecutive-years-843012.vo

โรงงานแปรรูปบุกในรัฐมอญปิดตัว เหตุขาดวัตถุดิบ

โรงงานแปรรูปมันบุก (Elephant foot yam) ในรัฐมอญเผยอาจมีการปิดโรงงานลงจากการขาดวัตถุดิบ ซึ่งการเก็บกี่ยวผลผลิตจะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม ทั้งยังไม่สามารถซื้อวัตถุดิบจากพื้นที่อื่นได้เนื่องจากไม่สามารถทำธุรกรรมเพราะการปิดให้บริการของธนาคาร ก่อนการแพร่ระบาด COVID-19 ราคาพุ่งไปถึง 2,300 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) แต่เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาเหลือเพียง 1,700 จัตต่อ viss มันเทศชนิดนี้ถูกซื้อโดยจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีเป็นหลัก โดยญี่ปุ่นและจีนสร้างมูลค่าด้วยการขนมขบเคี้ยว ก๋วยเตี๋ยว และยา เป็นต้น เพราะมีไขมันต่ำและมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายแต่ไม่ได้รับความนิยมในประเทศเนื่องจากไม่ทราบถึงคุณประโยชน์ของมันบุก จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตและส่งออกผลไม้ดอกไม้และผักของเมียนมา ระบุว่าการส่งออกมันเทศและการสร้างมูลค่าเพิ่มที่ผลิตจากมันจะช่วยให้ตลาดเติบโตได้ในระยะยาว ซึ่งปัจุบันเมียนมาผลิตเพียงมันกึ่งแปรรูปเท่านั้น มันบุกส่วนใหญ่เพาะปลูกในพื้นที่กว่า 8,800 เอเคอร์ของรัฐชิน ผู้ค้าให้ข้อมูลว่าผลผลิตในรัฐชินมีราคาสูงกว่าจากภูมิภาคอื่นเนื่องจากมีคุณภาพและรสชาติที่ดีกว่า จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เมียนมาส่งออกมันเทศจำนวน 4,200 ตันในปี 57-58 จำนวน 1,300 ตันในปี 58-59 และ 20,000 ตันในปี 59-60

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/elephant-foot-yam-factory-in-mon-state-suspended-due-to-lack-of-raw-material/