การจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ จำนวน 5,308 คัน

ข้อมูลจากกรมบริหารการขนส่งทางถนนระบุว่า มีการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่างๆ รวม 5,308 คันตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 ถึงมกราคม 2567 ประกอบด้วยรถยนต์นั่งส่วนบุคคล EV 2,217 คัน รถบรรทุกขนาดเล็ก EV 11 คัน จักรยาน EV 2,836 คัน รถสามล้อ EV 244 คัน ได้รับการจดทะเบียนกับกรมแล้ว มีรถยนต์ EV หลายประเภท ซึ่งราคาอยู่ระหว่าง 80 ล้านจ๊าดถึง 200 ล้านจ๊าด โดยข่าวประชาสัมพันธ์ดังกล่าวระบุอีกว่าบริษัท 81 แห่ง ได้รับอนุญาตให้นำเข้าและขายรถยนต์ EV รวมทั้งมีการเปิดโชว์รูมแบรนด์รถยนต์ EV ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ โดยที่ใบอนุญาตนำเข้าจะออกให้กับบริษัทที่ตรงตามข้อกำหนดเท่านั้น อย่างไรก็ดี เพื่อที่จะพัฒนาภาคยานยนต์ EV คณะกรรมการกำกับดูแลแห่งชาติเพื่อการพัฒนายานพาหนะไฟฟ้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้กำหนดอัตราภาษีสำหรับยานพาหนะไฟฟ้าเป็นศูนย์เปอร์เซ็นต์ และยังได้เชิญนักลงทุนในท้องถิ่นให้ลงทุนด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/different-types-of-5308-electric-vehicles-registered/#article-title

ใบอนุญาตนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าที่จะออกให้สำหรับโชว์รูมรถยนต์

คณะกรรมการกำกับการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องระดับชาติประกาศว่า โชว์รูมรถยนต์จะได้รับการอนุมัติให้นำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า เมื่อพบว่าเป็นไปตามกฎและข้อบังคับที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ได้อนุญาตให้บริษัท 83 แห่งดำเนินธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบริษัท 2 แห่งที่ดำเนินการสถานีชาร์จและรถโดยสารไฟฟ้าเท่านั้น ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาการนำเข้า ติดตั้ง และลงทุนรถยนต์ไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้จัดการประชุมร่วมกับบริษัทนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าในเดือนเมษายนและมิถุนายน และได้แจ้งแล้วไม่ให้กำไรเกินร้อยละ 20 จากราคา CIF หากบริษัทต่างๆ ละเมิดนโยบายเหล่านั้น พวกเขาจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตการส่งออกและนำเข้า และถูกดำเนินการทางกฎหมายภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการลงทุนของเมียนมายังออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ว่ายานพาหนะไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะ ได้รับการส่งเสริมเป็นสาขาสำคัญ นอกจากนี้ ในระหว่างขั้นตอนการก่อตั้งและหารือสำหรับการจัดตั้งบริษัทและการดำเนินงาน ธุรกิจเหล่านั้นสามารถขอใบอนุญาตจาก MIC เพื่อรับการผ่อนผันภาษีหรือสถานะภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ และการยกเว้นภาษีอื่น ๆ ที่เรียกเก็บในประเทศภายใต้มาตรา 77 (A) ของกฎหมายการลงทุนของเมียนมา และ การยกเว้นภาษีเงินได้ภายใต้มาตรา 75 (C) ของกฎหมายการลงทุนของเมียนมา สำหรับการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์และอุปกรณ์เสริมที่จำเป็น อะไหล่ และวัตถุดิบในการก่อสร้างที่ไม่สามารถหาได้ในตลาดภายในประเทศ รวมทั้งตามที่กระทรวงการวางแผนและการเงินระบุว่า การยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับยานพาหนะไฟฟ้า (EV) และส่วนประกอบต่างๆ ได้รับการขยายออกไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/ev-import-licence-to-be-granted-for-car-showrooms/#article-title

รัฐบาลกัมพูชาตั้งคณะทำงานศึกษาการจัดทำนโยบายส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า

รัฐบาลกัมพูชาได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาสิ่งอำนวยความสะดวก และพัฒนากรอบนโยบาย เพื่อการส่งเสริมภาคยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ภายในประเทศ ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (MEF) กล่าวโดย Aun Pornmoniroth รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี MEF รวมถึงเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจและการเงิน (EFPC) ซึ่งได้ประกาศอย่างเป็นทางการในการจัดตั้งทีมนโยบาย EV ประกอบด้วยสมาชิก 27 ท่าน นำโดย Ros Seilava รัฐมนตรีต่างประเทศ MEF โดยเน้นไปที่การพัฒนากลยุทธ์เพื่อส่งเสริมภาค EV ของประเทศ การลดต้นทุนการผลิต EV ซึ่งจะส่งผลทำให้ประชาชนมีต้นทุนในการเข้าถึง EV ที่ต่ำลง รวมถึงการเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทานของชิ้นส่วนอะไหล่ ส่วนประกอบ และวัตถุดิบ ตลอดจนการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงโรงไฟฟ้าและการเชื่อมต่อโครงข่าย เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501433183/govt-forms-policy-working-group-to-promote-evs/

VinFast ของเวียดนามจะสร้างโรงงาน EV มูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์ในอินเดีย

“วินฟาสต์” (VinFast) ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเวียดนามมีแผนลงทุนสูงถึง 2 พันล้านดอลลาร์เพื่อสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดรถยนต์รายใหญ่อันดับสามของโลก สื่ออินเดียเผย VinFast และรัฐบาลทมิฬนาฑูลงนาม MOU จัดตั้งโรงงานผลิตแห่งแรกของบริษัทในอินเดียที่ Thoothukudi ซึ่งเป็นไปตามแผนวางจำหน่ายของ VinFast ใน 50 ประเทศทั่วโลกรวมถึงสหรัฐอเมริกาและตลาดสำคัญอื่น ๆ โดยนับว่าเป็นการบุกตลาดครั้งแรกของ VinFast ในอินเดีย และเป็นส่วนหนึ่งของการขยายธุรกิจไปทั่วโลกซึ่งรวมถึงการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าไปยังสหรัฐอเมริกา และกำลังสร้างโรงงาน EV มูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์ในนอร์ธแคโรไลนา ซึ่งมีกำหนดเริ่มการผลิตในปีนี้

ที่มา : https://www.mreport.co.th/news/news/industry-movement/117-vinfast-to-build-ev-plant-in-india

‘VinFast’ ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเวียดนาม ตั้งโรงงานในอินโดนีเซีย 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ดร.มูลโดโก เสนาธิการประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย กล่าวในงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 6 พ.ย. ว่าบริษัท ‘VinFast’ ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากเวียดนาม วางแผนที่จะก่อสร้างโรงงานในอินโดนีเซีย 18.6 ล้านล้านรูเปียห์ หรือประมาณ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี ยังไม่ได้เปิดเผยถึงรายละเอียดเพิ่มเติมของแผนการลงทุนดังกล่าว ทั้งนี้ สื่อของอินโดนีเซีย รายงานว่าในช่วงต้นเดือน ก.ย. ผู้บริหารของบริษัท VinFast ได้พบปะกับนายซุลกีฟลี ฮาซัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าอินโดนีเซีย ซึ่งให้คำมั่นที่จะอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานของผู้ผลิตรถยนต์

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-ev-maker-vinfast-to-invest-12-billion-usd-in-indonesia/270825.vnp

นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอใน EEC

นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรีและคณะ ในโอกาสเยี่ยมชมนิคมอุตสาหกรรม WHA ซึ่งสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการที่ภาครัฐและเอกชนของไทยมีความตั้งใจในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมให้มีมาตรฐานระดับโลก เพื่อขยายโอกาสความร่วมมือการลงทุนกับเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ทั้งนี้ ประเทศไทยมีศักยภาพและความพร้อมที่จะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นอกเหนือจากการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ครบวงจรชั้นนำของโลกในปัจจุบัน โดยถือเป็นช่วงเวลาที่ประจวบเหมาะกับการที่รัฐบาลได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติชุดใหม่ โดยมีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 ในช่วงระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปี 2567-2570 นับเป็นการกระตุ้นให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเปิดโอกาสให้เกิดการลงทุนจากผู้ประกอบการรายใหม่จากทั่วโลก สอดคล้องนโยบายของรัฐบาลที่ได้ให้ความสำคัญในการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ WHA ยังพร้อมสนับสนุนการพัฒนาในเขต EEC ควบคู่ไปกับการสร้างความเป็นไปได้ในการขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและโลจิสติกส์ อย่างมีประสิทธิภาพทั่วประเทศ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ที่จะสร้างประโยชน์ด้านการลงทุนทั้งต่อ EEC และต่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ให้ยั่งยืน

ที่มา : https://www.mitihoon.com/2023/11/06/415503/

กัมพูชาเรียกร้องบริษัทสัญชาติจีนเข้าลงทุนติดตั้งสถานีชาร์จเพิ่มเติมในกัมพูชา

Sun Chathol รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา และรองประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ประกาศสนับสนุนบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าของจีน อย่าง บริษัท บีวายดี (BYD) ให้ติดตั้งสถานีชาร์จ EV เพิ่มเติม กระจายไปยังจุดต่างๆ ทั่วกัมพูชา หลังจากแนวโน้มการใช้รถไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้นเป็นอย่างมาก โดยรองนายกฯ ได้จัดทำข้อเสนอในระหว่างการประชุมร่วมกับ Liu Kading รองประธานบริษัท BYD ในประเทศจีนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (19 ต.ค.) สำหรับ ณ เดือนมกราคม 2023 จำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่จดทะเบียนในกัมพูชามีมากกว่า 700 คัน เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการรายงานของกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลกัมพูชามุ่งมั่นที่จะลดมลพิษ ด้วยการสนับสนุนการใช้ยานพาหนะพลังไฟฟ้าอย่างน้อยถึงร้อยละ 40 ของยานพาหนะทั้งหมด และให้ครอบคลุมกว่าร้อยละ 70 ของรถจักรยานยนต์ ภายในปี 2050 อีกทั้งรัฐบาลยังได้กำหนดนโยบายเชิงกลยุทธ์ เพื่อเปลี่ยนกัมพูชาให้เป็นศูนย์กลางการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ในระดับภูมิภาคและระดับโลก หวังดึงดูดการลงทุนในภาคส่วนดังกล่าวเข้ามายังกัมพูชามากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501380198/cambodia-asks-chinese-ev-company-to-install-more-charging-stations/

‘ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเวียดนาม’ เตรียมเปิดตัวบริการรถแท็กซี่ไฟฟ้าในสปป.ลาว

นาย Nguyen Van Thanh ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทกรีน แอนด์ สมาร์ท โมบิลลิตี้ เจเอสซี (GSM) กล่าวว่าบริษัทได้ดำเนินโครงการส่งรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทวินฟาสต์ (VinFast) จำนวน 150 คัน ไปยังประเทศสปป.ลาว เพื่อให้บริการรถแท็กซี่ไฟฟ้า และนับเป็นครั้งแรกของบริษัท GSM ที่เข้าสู่ตลาดต่างประเทศ โดยตามแผนของบริษัทจะเปิดตัวรถแท็กซี่ไฟฟ้าในสปป.ลาว ในปี 2566 ด้วยรถยนต์ไฟฟ้าจำนวน 1,000 คัน รุ่นวินฟาสต์ วีเอฟ อี5 พลัส (VF 5 Plus) และวินฟาสต์ วีเอฟ อี34 (VF e34) หลังจากนั้นจะพัฒนาระบบนิเวศการบริการอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงการเช่ารถยนต์ไฟฟ้าและให้บริการเสริม เช่น การจองรถแบบแพ็คเกจ การจองรถท่องเที่ยว และการจองรถยนต์ส่วนบุคคล

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-e-taxi-firm-gsm-to-provide-service-in-laos-post1052518.vov

สปป.ลาว พร้อมส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า หวังดันพลังงานสะอาดในประเทศ

กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของ สปป.ลาว ได้ออกมาตรการเพื่อส่งเสริมการใช้ยานพาหนะไฟฟ้า (EV) เพื่อลดงบประมาณในการนำเข้าปิโตรเลียมและเพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้พลังงานสะอาด รวมถึงนโยบายที่พร้อมจะส่งเสริมการพัฒนาการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าตลอดซัพพลายเชน และส่งเสริมการให้บริการหลังการซื้อ ไปจนถึงการก่อสร้างสถานีชาร์จทั่วประเทศ พร้อมทั้งดึงดูดนักลงทุนให้สร้างโรงงานผลิตใน สปป.ลาว ด้าน Buavanh Vilavong อธิบดีกรมอุตสาหกรรมและหัตถกรรม กล่าวว่า การใช้รถยนต์ไฟฟ้าใน สปป.ลาว ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องผลักดัน เพื่อหวังลดงบประมาณในการนำเข้าปิโตรเลียม โดยเสริมว่ามูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตเลียมใน สปป.ลาว ค่อนข้างสูง ซึ่งคิดเป็นกว่าร้อยละ 20 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของประเทศ ขณะเดียวกัน สปป.ลาว มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าสูง ดังนั้น การส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศจึงเป็นทิศทางที่ควรจะต้องผลักดัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรภายในและรักษาสมดุลทางการค้า โดย สปป.ลาว วางแผนที่จะเพิ่มจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าประมาณร้อยละ 1 ของยานพาหนะทั้งหมดภายในปี 2025 และจะติดตั้งสถานีชาร์จอย่างน้อย 50 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ

ที่มา : https://nepalnews.com/s/global/laos-promotes-evs-for-clean-energy

นโยบายหนุนรถ EV ของอินโดนีเซียมีแววส่งเสริมการลงทุนในอาเซียน

นโยบายที่เอื้อต่อรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ของอินโดนีเซียได้ดึงดูดให้นักลงทุนทั่วโลกหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศ ขณะเดียวกันกลุ่มผู้เชี่ยวชาญระบุว่า นโยบายดังกล่าวของอินโดนีเซียนั้นจะช่วยหนุนการลงทุนด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทั้งนี้ นายอนินด์ยา โนเวียน บัครี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานคณะกรรมการบริษัทบัครีแอนด์บราเธอร์ส (Bakrie & Brothers) ระบุว่า อินโดนีเซียอาจเป็น “ประตู” มุ่งสู่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน โดยบริษัทวีเคทีอาร์ (VKTR) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบัครีแอนด์บราเธอร์ส เป็นผู้ผลิตรถบัสไฟฟ้าและชิ้นส่วนรถ EV

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2023/337445