MADB ขยายเวลาคืนเงินกู้โควิด ออกไปถึงเดือน มี.ค. 65

ธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรแห่งเมียนมา (MADB) เผย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ได้ประกาศขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้พิเศษโควิด-19 ออกไปจนถึงสิ้นเดือนมี.คม 2565 จากเดิม ที่ให้ชำระถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2564 ได้ยืดเวลาการชำระออกไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ส่วนสินเชื่อเพื่อทำการเกษตรช่วงฤดูหนาวกำหนดให้ชำระได้จนถึง 31 ม.ค 2564 ให้ขยายไปจนถึงเป็นสิ้นเดือนก.พ. 2565 ดังนั้น MADB จึงได้แจ้งให้เกษตรกรควรติดต่อสาขาที่ได้ทำการกู้สินเชื่อไปแล้ว

ที่มา: https://news-eleven.com/article/225080

ADB อนุมัติเงินกู้ 40 ล้านดอลลาร์ ช่วย SME กัมพูชา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้จำนวน 40 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยให้ กลุ่มไมโคร วิสาหกิจขนาดกลางและวิสาหกิจขนาดย่อม (MSMEs) ของกัมพูชา เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น โดยเงินจำนวนดังกล่าวจะสนับสนุนภายใต้ความพยายามของรัฐบาล ในการปฏิรูปเพื่อเพิ่มเสถียรภาพทางการเงินและการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของภาคการเงินในประเทศ ซึ่งในการนี้ถือเป็นระยะที่ 3 ของโครงการพัฒนาระบบการเงิน ที่ได้ดำเนินการมาก่อนหน้าตั้งแต่ปี 2016-2019 โดย ADB ระบุว่าการเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการทางด้านการเงินสำหรับคนยากจนในกัมพูชามีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากมีความรู้ทางด้านการเงินต่ำ สะท้อนจากประชากรกลุ่มผู้ใหญ่ในประเทศที่มีบัญชีธนาคารอยู่เพียงร้อยละ 22 ขณะเดียวกันผู้ประกอบการ MSMEs ก็ประสบกับปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเช่นกัน ซึ่ง ADB กล่าวเพิ่มเติมว่าความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินของกัมพูชาเพิ่มขึ้นในระยะที่ผ่านมา เนื่องจากการระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50954353/adb-approves-40-million-to-help-small-companies-get-loans/

สปป.ลาวเปิดตัวโครงการบรรเทาทุกข์ MSME มูลค่า 40 ล้านดอลลาร์พร้อมเงินกู้ยืมจากธนาคารโลก

เมื่อเร็ว ๆ นี้กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์สปป.ลาว ประกาศกู้เงินจำนวน 40 ล้านเหรียญสหรัฐจากธนาคารโลกเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) ในการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เวียงแสม ศรีธิราช ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการของธนาคารโลกประจำสปป.ลาวกล่าวว่า“ ความคิดริเริ่มนี้จะเสริมสร้างความมั่นคงของธุรกิจขนาดเล็กซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสปป.ลาวอย่างมาก”เงินเหล่านี้จะปล่อยกู้ให้กับองค์กรที่มีพนักงานน้อยกว่า 100 คนผ่านวงเงินสินเชื่อที่ขยายโดยธนาคารต่างๆรวมถึงการสนับสนุนทางเทคนิคสำหรับ MSME

ที่มา : https://www.microcapital.org/microcapital-brief-laos-launches-40m-msme-pandemic-relief-project-with-world-bank-loan-proceeds/

รัฐบาลสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 80 พันล้านกีบเพื่อช่วยเหลือ SMEs

เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมูลค่ามากถึง 80 พันล้านกีบ (มากกว่า 8.6 ล้านเหรียญสหรัฐ) ได้ถูกมอบให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอัตราดอกเบี้ยที่สม่ำเสมอเพียงร้อยละ 3  คุณสมจิตร อินทมิตรรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์กล่าวในการประชุมรัฐสภาของสมัชชาแห่งชาติ (NA) เมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า “ผู้สมัคร SMEs จำเป็นต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อขอรับเงินกู้ มีแผนธุรกิจที่ชัดเจนการ ฝึกอบรมวิชาชีพ SMEsได้รับการรับรองจากภาคอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ในการจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี” เกณฑ์เหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าเงินกู้ถูกนำไปใช้อย่างเป็นประโยชน์ในการระดมทุนอย่างต่อเนื่องและป้องกันไม่ให้กลายเป็นเงินกู้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้โดยผู้กู้จะมีเวลาหนึ่งปีในการเตรียมตัวให้เข้าตามเกณฑ์ที่ทางธนาคารพาณิชย์กำหนดรวมถึงการวางระบบบัญชีที่ครอบคลุมและได้มาตรฐานการบัญชี รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs การให้เงินทุนสนับสนุนเป็นมาตรการที่มีส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจสปป.ลาว ปัจจุบัน SME คิดเป็นประมาณร้อยละ 99 ของภาคธุรกิจที่จดทะเบียนทั้งหมดในสปป.ลาวจึงถือเป็นภาคส่วนที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_80232.php

แบงก์ชาติกัมพูชาอนุมัติการปรับโครงสร้างเงินกู้จนถึงกลางปี 2564

ขณะนี้ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) อนุญาตให้ธนาคารและกลุ่มไมโครไฟแนนซ์ดำเนินการปรับโครงสร้างเงินกู้สำหรับลูกค้าของตนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และเหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลันในกัมพูชาจนถึงกลางปี 2564 โดย NBC กล่าวว่าหน่วยงานกำกับดูแลได้อนุญาตให้มีการปรับโครงสร้างเงินกู้ได้ถึงสามครั้งสำหรับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งการปรับโครงสร้างเงินกู้ถือเป็นการช่วยเหลือลูกค้า โดยจะตรวจสอบความเป็นไปได้ที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมอื่นในการทำธุรกรรมลง ซึ่งสถาบันการเงินทุกแห่งต้องดำเนินการตามประกาศและจะต้องติดตามการปรับโครงสร้างเงินกู้อย่างสม่ำเสมอตาม NBC กำหนด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50784908/nbc-approves-restructuring-of-loans-until-mid-2021/

LAOVIET Bank ปล่อยเงินกู้ 30 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับ Oceano Co. , Ltd สำหรับโครงการลงทุนพัฒนาสปป.ลาว

เมื่อวานนี้ได้มีการลงนามสัญญาเงินกู้ในเวียงจันทน์ระหว่าง Mr.Nguyen Duc Vu รองผู้อำนวยการธนาคาร LAOVIET และ Mr Khonekham Inthavong รายละเอียดในการลงนาม LAOVIET Bank (ธนาคารร่วมทุนลาว – ​​เวียดนาม) ได้ตกลงที่จะให้เงินกู้ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่บริษัท Oceano Co.Ltd สำหรับโครงการลงทุนต่างๆเช่นประกันภัยอสังหาริมทรัพย์สถาบันการเงินรายย่อยที่ไม่ต้องฝากเงินโครงการพัฒนาการเกษตรและปศุสัตว์และท่าเรือและยังรวมถึงลงทุนในการพัฒนาเชิงกลยุทธ์ของรัฐบาลเช่นโรงพยาบาลขนาด 300 เตียงและโครงการพัฒนาสวนวัฒนธรรมเลนช้างที่กม. 16 ในเวียงจันทน์เพื่อเป็นส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและเป็นรากฐานที่สำคัญในการเติบโต

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laoviet_205.php

กัมพูชาได้รับเงินกู้จาก ADB 127.8 ล้านดอลลาร์ ในการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้า

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียได้อนุมัติเงินกู้จำนวน 127.8 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนการก่อสร้างสายส่งและสถานีไฟฟ้าสาขาย่อยเพื่อส่งไปยังเมืองหลวงพนมเปญและอีกสามจังหวัดใกล้เคียงของกัมพูชาให้มีเสถียรภาพและเชื่อถือได้ โดยโครงการนี้จะนำร่องระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่ขนาดยูทิลิตี้แห่งแรกในกัมพูชา ซึ่งจะได้รับทุนสนับสนุนจำนวน 6.7 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึง 4.7 ล้านดอลลาร์จากกองทุนสภาพภูมิอากาศเชิงกลยุทธ์ภายใต้โครงการ Scaling Up Renewable Energy Program สำหรับประเทศที่มีรายได้น้อย และอีก 2 ล้านดอลลาร์จากกองทุนพลังงานสะอาดภายใต้ Clean Energy Financing Partnership Facility ADB เป็นผู้บริหารกองทุนทั้งสองแห่ง โดยโครงการนี้จะช่วย Electricite du Cambodge ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าแห่งชาติของกัมพูชาเสริมความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานระบบส่งโดยการจัดหาเงินทุนในการก่อสร้างสายส่งขนาด 115–230 กิโลโวลต์สี่สาย และสถานีย่อย 10 แห่ง โดยรัฐบาลมีแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าโซลาร์เซลล์สู่ 415 เมกะวัตต์ ภายในปี 2022 จาก 155 เมกะวัตต์ในปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50763156/cambodia-gets-127-8-million-adb-loan-to-help-expand-power-grid/

เมียนมามีแผนสร้างสะพานในอิระวดี-รัฐฉาน

จากข้อมูลของกระทรวงการก่อสร้าง สะพานปะเต็ง 2 (Pathein 2) ซึ่งเชื่อมต่อโดยตรงกับถนน Mahabandoola ของเมืองปะเต็ง กับฝั่งตะวันตกของแม่น้ำงะวูน (Ngawun) ในเขตอิรวดีจะเปิดให้สัญจรใช้งานอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน 2563 สะพานถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการจราจรที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากการขยายที่อยู่อาศัยริมแม่น้ำ ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม รถโดยสารจะสามารถใช้สะพานได้ระหว่างเวลา 05.00 น. ถึง 19.00 น. ก่อนการเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนหน้า สะพานมีความยาว 725 เมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ขณะนี้กระทรวงการก่อสร้างกำลังขออนุมัติเพื่อสร้างสะพานแห่งใหม่ในเมือง Thanlwin ชองรัฐฉานโดยใช้เงินกู้ 8.4 ล้านยูโรจากออสเตรีย Thanlwin Bridge ปัจจุบันเชื่อมระหว่างเมียนมาตอนกลางกับรัฐฉานถูกใช้งานมาตั้งแต่ปี 2542 ทำให้สามารถรองรับน้ำหนักได้ครั้งละ 16 ตันเท่านั้นเมื่อเทียบกับความจุเดิมที่ 30 ตัน ดังนั้นต้องย้ายสินค้าจากรถบรรทุกขนาดใหญ่ไปยังรถขนาดเล็กเพื่อให้สินค้าผ่านได้ต้องใช้เวลานานเกินและไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ สะพานสายใหม่มีความยาว 870 ฟุตและรับน้ำหนักได้สูงสุด 60 ตัน เงินกู้ซึ่งได้รับการอนุมัติจากธนาคาร Uni Credit ของออสเตรียจะปลอดดอกเบี้ยและมีกำหนดชำระคืนภายใน 28.5 ปี ซึ่งรวมระยะเวลาผ่อนผัน 14 ปี

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/new-bridge-infrastructure-planned-ayeyarwady-shan.html

ADB เสนอเงินสนับสนุนให้กัมพูชา 1.5 พันล้านดอลลาร์ สำหรับการพัฒนาประเทศ

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) กำลังเสนอที่จะให้เงินทุนใหม่จำนวน 1.5211 พันล้านดอลลาร์สำหรับการดำเนินงานและแผนธุรกิจของประเทศกัมพูชา (COBP) 2021-2023 โดย COBP ที่เสนอมีโครงการพัฒนาทั้งหมด 21 โครงการ ในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งรวมถึงการให้สินเชื่อตามสัญญา 1,257.7 ล้านดอลลาร์, เงินทุน 70.4 ล้านดอลลาร์ และเงินอุดหนุนโครงการ 193.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของกัมพูชาหลังการระบาดของ COVID-19 ตามรายงานของธนาคารโลกในปี 2020 ปัจจุบันกัมพูชามีเงินกู้ยืมจาก ADB ประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.6 พันล้านดอลลาร์ในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยเงื่อนไขการกู้ยืมเงินเป็นสัญญาสัมปทานที่มีระยะเวลา 24 ปี รวมระยะเวลาผ่อนผัน 8 ปี โดยมีการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี ซึ่งเงินทุนสนุบสนุนจะนำเข้าสู่สามส่วนสำคัญของความช่วยเหลือ ประการแรกคือการตอบสนองด้านสุขภาพภายในประเทศ ส่วนที่สองการช่วยเหลือทางสังคมผ่านโปรแกรม ID Poor และส่วนที่สามความช่วยเหลือทางด้านการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSME) ผ่านการปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำและเข้าถึงได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50744668/exclusive-adb-may-offer-more-than-1-5b-in-new-funding/

กัมพูชามองหาแหล่งเงินกู้ต่างประเทศเพื่อกระตุ้นการเติบทางเศรษฐกิจ

กัมพูชากำลังมองหาแหล่งเงินกู้อื่น ๆ เช่นจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และพันธมิตร รวมถึงธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และธนาคารโลก เพื่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ เพื่อสร้างสมดุลหนี้สินในระบบเศรษฐกิจ โดยฮิโรชิซูซูกิประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของสถาบันวิจัยธุรกิจแห่งกัมพูชา (BRIC) กล่าวว่าสัดส่วนหนี้คงค้างจากจีนอยู่ที่ร้อยละ 47.48 จากสถิติหนี้สาธารณะของกัมพูชา ซึ่งรายงานจาก MEF ณ ปี 2562 หนี้สาธารณะของกัมพูชาอยู่ที่ 7.6 พันล้านดอลลาร์ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นอยู่ที่เพียงร้อยละ 0.01 ต่อปีและครบกำหนด 40 ปีตามรายงาน ซึ่ง ADB เพิ่งอนุมัติเงินกู้ 250 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลกัมพูชาในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของ COVID-19 และกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับธุรกิจ โดยกัมพูชาเก็บภาษีได้ 6 พันล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้วเพิ่มขึ้นกว่า 1.485 พันล้านดอลลาร์จากเป้าหมายของรัฐบาลที่ 4.56 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเวลาดังกล่าว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50744111/widening-foreign-debt-sources-to-boost-economic-growth/