แรงงานเมียนมาเตรียมย้ายจากมาเลเซีย หลังประกาศกำหนดเส้นตายวีซ่า

เจ้าหน้าที่จากสหพันธ์หน่วยงานจัดหางานในต่างประเทศ (MOEAF) ของเมียนมา กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลมาเลเซียประกาศว่าแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุมัติให้เรียกวีซ่าจะถูกคัดเลือกในมาเลเซียภายในวันที่ 31 พฤษภาคม แรงงานเมียนมาจำนวนมากก็กระตือรือร้นที่จะไปที่นั่น ดังนั้นคนหนุ่มสาวจึงต้องระมัดระวังเกี่ยวกับการฉ้อโกง ทั้งนี้ ธุรกิจในมาเลเซียจะต้องดำเนินการยื่นวีซ่าเรียกให้เสร็จสิ้นก่อนวันที่ 31 มีนาคม สำหรับแรงงานต่างชาติที่ได้รับการอนุมัติจาก KSM แล้ว ซึ่งยังมีเงื่อนไขอยู่ ธุรกิจของมาเลเซียจะรับสมัครแรงงานต่างชาติที่ได้รับวีซ่าเรียกจากกรมตรวจคนเข้าเมืองภายในวันที่ 31 พฤษภาคม เข้าสู่มาเลเซีย ตามประกาศดังกล่าว อย่างไรก็ดี เมื่อแผนการสรรหาบุคลากรของมาเลเซียหยุดชะงัก จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหันไปให้ความสนใจมากขึ้นสำหรับการไปทำงานในเกาหลีใต้และไทย นอกจากนี้ ในเดือนมีนาคม รัฐบาลมาเลเซียหยุดการอนุมัติ KSM สำหรับการหาแรงงานต่างชาติตามโรงงาน และบริษัทต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ หน่วยงานที่ส่งคนงานเมียนมาไปมาเลเซียโดยเฉพาะอาจหยุดการดำเนินงาน ตามที่เจ้าของตัวแทนจัดหางานในต่างประเทศระบุ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/many-myanmar-workers-prepare-to-go-to-malaysia-after-announcement-on-deadline-for-submission-of-calling-visa/

เกาหลีใต้เพิ่มโควตาคนงาน สปป.ลาว ไปทำงานในฟาร์ม

กรมแรงงานและสวัสดิการสังคม นครหลวงเวียงจันทน์ ได้เปิดให้แรงงาน สปป.ลาว มาสมัครงานเพื่อไปเป็นคนงานฟาร์มที่ประเทศเกาหลีใต้ โดยการเปิดรับคนงานครั้งนี้ เป็นการรับแรงงานวัยรุ่นจากประเทศต่างๆ ในอาเซียน รวมถึง สปป.ลาว เพื่อทำงานให้กับบริษัทเกษตรกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาลและมีสัญญาจ้างระยะสั้นเพียง 3-5 เดือนเท่านั้น หลังจากผ่านกระบวนการคัดเลือกภายใต้การดูแลของตัวแทนบริษัทเกาหลีใต้ นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งงานในภาคอุตสาหกรรมเช่นกัน โดยผู้สมัครจะต้องมีอายุ 18-39 ปี ทั้งนี้ โอกาสในการทำงานที่เกาหลีใต้นั้นน่าดึงดูด แต่พนักงานจะต้องสามารถจัดการกับความยากลำบากที่ต้องเผชิญอันเป็นผลมาจากการทำงานในวัฒนธรรมที่แตกต่าง โดยแรงงานจะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำเริ่มต้นที่ 1,400ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_09_SouthKorea_y24.php

‘เวียดนาม’ เผยค่าแรงเพิ่ม 6.9% ในปี 66

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) รายงานว่าในปีที่แล้ว คนงานเวียดนามมีรายได้ต่อเดือน เพิ่มขึ้น 6.9% คิดเป็นเม็ดเงินอยู่ที่ 7.1 ล้านดอง เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยแรงงานเพศชายมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 8.1 ล้านดองต่อเดือน ในขณะที่แรงงานเพศหญิงมีรายได้ที่ 6 ล้านดองในปี 2566 ทั้งนี้ คนงานในทุกภาคส่วนของระบบเศรษฐกิจมีความพึงพอใจต่อการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 โดยเฉพาะแรงงานที่อยู่ในเขตราบลุ่มปากแม่น้ำโขงที่ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นมากที่สุด รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 8.7 ล้านดอง เพิ่มขึ้น 3.5% ในขณะเดียวกัน แรงงานที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ปรับขึ้นค่าแรงต่ำที่สุดที่ 2.3% อย่างไรก็ดีแรงงานยังคงมีรายได้เฉลี่ย 9 ล้านดองต่อเดือน

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnamese-worker-incomes-rise-by-6-9-in-2023/

‘เวียดนาม’ ส่งแรงงานไปต่างประเทศ 10 เดือนแรกปีนี้ เกือบ 132,000 คน

กระทรวงแรงงาน และกิจการสังคมของเวียดนาม (MoLISA) เปิดเผยว่าเวียดนามส่งแรงงานไปยังต่างประเทศ มากกว่า 132,000 คน ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ โดยตัวเลขเป้าหมายที่กำหนดไว้ทั้งปี อยู่ที่ระดับ 20% ทั้งนี้ จากกลุ่มแรงงานที่ส่งไปยังต่างประเทศ พบว่าแรงงานส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง และประเทศญี่ปุ่นยังคงเป็นจุดหมายอันดับต้นๆ ของแรงงานชาวเวียดนาม มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 67,550 คน ตามมาด้วยไต้หวัน (จีน) 50,960 คน, เกาหลีใต้ 6,000 คน และจีน 1,700 คน ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-sends-over-132000-labourers-abroad-in-10-months/270880.vnp

สมาคมต่างๆ ในกัมพูชา พร้อมขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้กับภาคแรงงาน

สมาคมต่างๆ ในภาคการผลิตสินค้ากลุ่มรองเท้าและสินค้าเพื่อการเดินทาง ต่างยินดีกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำสำหรับภาคแรงงานในปี 2024 โดยเชื่อว่าจะช่วยให้มาตรฐานการครองชีพของภาคแรงงานปรับตัวดีขึ้น ด้านสมาคมผู้ผลิตรองเท้ากัมพูชา ได้กล่าวเสริมว่าการเจรจาเรื่องค่าแรงขั้นต่ำได้ดำเนินการทางเทคนิคแล้ว โดยอิงตามเกณฑ์ทางสังคมและเศรษฐกิจ ตามมาตรฐานสากลที่กำหนดโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ซึ่งสนับสนุนในการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 204 ดอลลาร์ต่อเดือน เพิ่มขึ้นจาก 200 ดอลลาร์ต่อเดือน ภายในปีหน้า และมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลได้กำหนด เพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่ให้กับภาคแรงงาน และเสริมสร้างการดึงดูดการลงทุนต่อไป ซึ่งการปรับขึ้นค่าแรงสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน สำหรับอุตสาหกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้า รองเท้า และสินค้าเพื่อการเดินทาง ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างมากของกัมพูชา โดยปัจจุบันกัมพูชามีโรงงานกลุ่มดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 1,332 แห่ง มีการจ้างงานประมาณกว่า 840,000 คน ด้านตัวเลขการส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าวมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 5.2 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี คิดเป็นกว่าร้อยละ 52 ของการส่งออกทั้งหมด ที่มูลค่า 10.09 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501369455/associations-welcome-minimum-wage-hike/

โอกาสสำหรับนักธุรกิจอเมริกาในประเทศกัมพูชา

สหรัฐอเมริกายังคงเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชา โดยมีสินค้าส่งออกรวมร้อยละ 37 ของยอดการส่งออกทั้งหมดที่มูลค่า 4.2 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 กล่าวโดยนายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต หลังเข้าพบกับสมาชิกสมาคมกลุ่มนักธุรกิจอเมริกันในวันศุกร์ที่ผ่านมา (22 ก.ย.) ในระหว่างงาน “US-Cambodia Business Forum” ในนครนิวยอร์ก ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับภาคธุรกิจของอเมริกันในการพบปะกับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของกัมพูชา รวมถึงกัมพูชาพร้อมที่จะสนับสนุนต่อบริษัทอเมริกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้ามาลงทุนยังกัมพูชาเพิ่มขึ้น เพื่อหวังดึงการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันกัมพูชาถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนกัมพูชา เนื่องด้วยกัมพูชาสามารถเป็นซัพพลายเชนส่งต่อไปยังประเทศในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงมีโอกาสในการเป็นเจ้าของธุรกิจแบบ 100% ในการครอบครองธุรกิจ

อีกทั้งภาคแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานคนหนุ่มสาวกว่าร้อยละ 65 ของกลุ่มประชากร รวมถึงกัมพูชายังอยู่ภายใต้โครงการ สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) ที่เอื้อต่อภาคการส่งออกของกัมพูชา และกัมพูชายังมีสิทธิพิเศษอื่นๆ อาทิเช่น ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และ ข้อตกลงทางการค้าระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้ (CKFTA) เอื้อต่อภาคการส่งออกของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501365721/an-opportunity-for-american-business-in-cambodia/

รมว.แรงงานกัมพูชา วอน JICA สนับสนุนการฝึกอาชีพ หวังดัน GDP โต 7%

Heng Sour รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมวิชาชีพ ได้ร้องขอให้หน่วยงานความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ในกัมพูชา ดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการฝึกอบรมด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาต่อไป เพื่อเพิ่มแรงผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาเป็นถึงร้อยละ 7 โดยคำร้องขอดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างการประชุมกับ Sanui Kazumasa ประธาน JICA ณ กระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งรัฐมนตรีเน้นย้ำว่าการเสริมสร้างการฝึกอบรมด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาเป็นกุญแจสำคัญในการดึงดูดการลงทุนมายังกัมพูชามากขึ้น โดยเฉพาะจากนักลงทุนชาวญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญสำหรับกัมพูชาในการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ถึงประมาณน้อยละ 7 ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือต่อไป เพื่อเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในขณะที่รัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลญี่ปุ่นยังได้ยกระดับความสัมพันธ์เป็น “หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุม” ภายในปี 2023

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501361304/labour-minister-asks-jica-to-continue-vocational-technical-training-to-boost-cambodias-economic-growth-to-7/

‘กองทุนสวิส’ เผยเวียดนามยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่มีเสียรภาพของนักลงทุน

ซินเย่ว โหว (Xinyue Hou) ผู้จัดการกองทุนจาก Bellecapital สัญชาติสวิส ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเวียดนามในกรุงเจนีวา เปิดเผยว่าเวียดนามมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ และเศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในขณะที่แรงงานเวียดนามมีชื่อเสียงในด้านความขยัน ความคิดสร้างสรรค์และจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ โดยสังเกตมาจากความพยายามของแรงงานที่ต้องการสะสมความมั่งคั่ง และแรงงานส่วนใหญ่เลือกที่จะกู้เงินทุนมากขึ้น เพื่อเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง อีกทั้ง นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเวียดนามจนถึงปี 2568 แสดงให้เห็นถึงความพยายามที่จะเสริมสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจมหภาคและการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-remains-stable-destination-for-investors-swiss-fund/267721.vnp

คาดการขาดแคลนแรงงานใน สปป.ลาว ส่งผลกระทบต่อภาคการลงทุนในประเทศ

แรงงาน สปป.ลาว เดินทางออกนอกประเทศเป็นจำนวนมากเพื่อแสวงหาโอกาสด้านการจ้างงานในต่างประเทศท่ามกลางค่าครองชีพในประเทศที่พุ่งสูงขึ้น ด้วยสถานการณ์ดังกล่าวทำให้รัฐบาล สปป.ลาว ต้องพยายามหาหนทางในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อเสริมอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ ซึ่งในช่วงเดือนมิถุนายนปีนี้รัฐบาล สปป.ลาว ได้ประกาศความตั้งใจที่จะดึงดูดการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น และบรรเทาปัญหาทางการเงินของประเทศ ลดการพึ่งพาการนำเข้า และลดภาระหนี้ของภาคประชาชน แต่ถึงอย่างไรก็ตามปัญหาการขาดแคลนแรงงานในระยะยาวจะส่งผลเป็นอย่างมากต่ออุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานภายในประเทศ สะท้อนมาจากเสียงของผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่มในประเทศ นอกจากนี้รัฐบาล สปป.ลาว ยังได้อนุญาตและอำนวยความสะดวกให้แก่คนงานในการหางานชั่วคราวในต่างประเทศ อย่างเช่น ในเกาหลีใต้ ไทย และญี่ปุ่น ผ่านโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศ และเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการลงทุนและการสนับสนุนภาคแรงงาน นักลงทุนและรัฐบาลจำเป็นต้องพิจารณาปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ และส่งเสริมให้แรงงานเข้าศึกษาในระดับอาชีวศึกษามากขึ้น เพื่อให้มีทักษะในวิชาชีพมากขึ้น

ที่มา : https://laotiantimes.com/2023/08/30/laos-labor-shortage-plagues-local-industries-hurts-foreign-investment-drive/

แรงงานกัมพูชาส่งเงินกลับบ้าน ปี 2022 แตะ 1.25 พันล้านดอลลาร์

แรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชาส่งเงินกลับบ้านเพิ่มขึ้นจาก 1.15 พันล้านดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้นเป็น 1.25 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 สูงเป็นอันดับสามในกลุ่มประเทศอาเซียน คิดเป็นร้อยละ 4.4 ของ GDP ประเทศ รองจากฟิลิปปินส์และเวียดนาม รายงานโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ในระหว่างการประชุม “12th Annual ADBI–OECD–ILO Roundtable on Labour Migration: Recovering from Covid-19: What does It Mean for Labor Migration in Asia?” โดยไทยมีแรงงานกัมพูชาเดินทางไปทำงานมากที่สุดอยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านคน ในปี 2021 เกาหลีใต้มีแรงงานเกือบ 46,000 คน ตามมาด้วยมาเลเซีย 23,000 คน ญี่ปุ่นเกือบ 12,000 คน และสิงคโปร์ประมาณ 800 คน ซึ่งสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทยเป็นประเทศปลายทางหลักสำหรับแรงงานข้ามชาติในอาเซียน โดยปัจจุบันโลกกำลังเผชิญอยู่กับความไม่แน่นอนหลายประการ อาทิเช่น สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ภัยคุกคามทางด้านสิ่งแวดล้อม การหยุดชะงักของอุปทาน และความไม่มั่นคงทางการเงินระดับโลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการย้ายถิ่นฐานของแรงงานไปยังเอเชีย ทั้งแรงงานมีทักษะสูงและทักษะน้อย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501317625/cambodias-remittances-rise-to-1-25b/