‘อีสปอร์ตเวียดนาม’ เล็งเห็นโอกาสทองทางธุรกิจ ท่ามกลางวิกฤติโควิด-19

ผู้เชี่ยวชาญ ชี้ว่าองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์และเอกลักษณ์ที่ผสมผสานของเยาวชนคนรุ่นใหม่ ทำให้เวียดนามสามารถตามทันกระแสของอีสปอร์ตและยังเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตที่น่าสนใจ โดยเวียดนามมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ 77% ของทั้งประเทศ จำนวนผู้คนกว่า 61 ล้านคนที่ใช้สมาร์ทโฟน และพบว่าเด็กรุ่นใหม่ “Gen Z” ส่วนใหญ่ 90% เป็นฐานลูกค้าหลักของธุรกิจเกมหรืออีสปอร์ต (E-Sport) ทั้งนี้ ตามรายงานการวิจัย เปิดเผยว่าตลาดเกมส์ในประเทศ ปี 2563 สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานราว 40 ล้านคน ในขณะที่ผู้เล่นอีก 18 ล้านคนที่ชอบแข่งขันอีสปอร์ตและอีกประมาณ 86 ล้านคนที่เป็นผู้ชมอีสปอร์ต ซึ่งจากผลงานวิจัยชี้ให้เห็นถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์สินค้าอีกด้วย นอกจากนี้ ตามรายงานของผู้ให้บริการอย่าง Appota ชี้ว่าผู้คนกว่า 80% ส่วนใหญ่ชื่นชอบดูผลงานของครีเอเตอร์เกมในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโรค โดยใช้เวลาเล่นเกมและดูการแข่งขัน E-Sport เฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1164078/viet-nams-e-sports-present-golden-opportunities.html

 

ม.มหิดล ร่วมเสนอแนวคิดฟื้นฟูภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกหลังวิกฤติ COVID-19 ผ่านยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน BCG

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคณะทำงานจาก 21 ประเทศกลุ่มสมาชิกความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) โดยได้กล่าวถึงแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤติ COVID-19 เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการระบาดระลอกใหม่อย่างยั่งยืนว่าภาคส่วนต่างๆ โดยมหาวิทยาลัยมหิดลสามารถใช้ศักยภาพที่มีอยู่ในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG ในคลัสเตอร์ เช่น ด้านอาหารและการเกษตร (Food and Agriculture) รวมไปถึงด้านการแพทย์และสุขภาพ (Medical and Wellness) ภายใต้นโยบาย BCG นี้ มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถร่วมสร้างมูลค่าเพิ่มในด้านอาหารและการเกษตร ผ่านการพัฒนาโภชนเภสัช การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ การเพิ่มผลผลิต และการทำการเกษตรแม่นยำสูง และในด้านการแพทย์และสุขภาพ ได้มุ่งเน้นไปสู่การแพทย์แม่นยำสูง เทคโนโลยีจีโนมิกส์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร และสมุนไพรที่มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ รวมไปถึงการส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางทางด้านการแพทย์ (medical hub) เป็นต้น

 

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3300783

‘เวียดนาม’ เผยโฉมแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ 15.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19

เวียดนามวางแผนเปิดแพ็คเกจการใช้จ่ายเงินมูลค่า 347 ล้านล้านดอง หรือประมาณ 15.25 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงปี 2565-66 เพื่อรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโรคโควิด-19 และเยียวผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการที่เข็มงวด โดยแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งล่าสุดนั้น มีมูลค่าต่ำกว่าที่เสนอไว้ที่ 800 ล้านล้านดองในเดือน พ.ย. รวมถึงมาตรการลดดอกเบี้ยเงินกู้และการชะลอการชำระคืนเงินกู้ของกิจการ ทั้งนี้ ตามแพ็คเกจดังกล่าว ธนาคารกลางเวียดนามจะดำเนินการขายพันธบัตรรัฐบาลคิดเป็นมูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับในประเทศ เพื่อใช้ในการแทรกแซงตลาดและบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้มีเสถียรภาพ นอกจากนี้ เศรษฐกิจเวียดนามในปี 2564 เพิ่มขึ้น 2.58% ชะลอตัวลงจากปีก่อนที่เติบโต 2.91%

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20220105/vietnam-seeks-153-bln-stimulus-package-to-prop-up-virushit-economy/65064.html

เวียดนาม’ เผยปี 64 บริษัทปิดกิจการ 120,000 ราย เหตุพิษโควิด

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ระบุว่าผู้ประกอบการประกาศเลิกกิจการในปี 64 จำนวน 119,800 ราย เพิ่มขึ้น 17.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นผลกระทบทางลบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลอดจนมาตรการล็อกดาวน์ที่เข็มงวดและมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมที่ยือเยื้อ โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 3 ซึ่งในกลุ่มบริษัทที่ประกาศเลิกกิจการนั้น พบว่าจำนวนผู้ประกอบการปิดกิจการชั่วคราวราว 55,000 ราย เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบปีต่อปี ในขณะที่จำนวนผู้ประกอบการหยุดดำเนินกิจการระหว่างรอขั้นตอนการปิดกิจการ 48,100 ราย เพิ่มขึ้น 27.8% โดยเฉลี่ยแล้ว จำนวนธุรกิจประกาศเลิกกิจการกว่า 10,000 แห่งต่อเดือน เหตุจากไม่สามารถเอาตัวรอดในยุคโควิด-19

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1111515/nealy-120000-firms-leave-market-in-2021-due-to-covid-19-pandemic.html

รัฐบาลกัมพูชาทุ่มงบ 2.3 พันล้านดอลลาร์ บรรเทาวิกฤตโควิดเศรษฐกิจ

รัฐบาลกัมพูชาทุ่มงบประมาณมากกว่า 2.3 พันล้านดอลลาร์ ในการกระตุ้นและเยียวยาเศรษฐกิจ หลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นระยะเวลากว่า 2 ปี โดย รมว.กระทรวงการคลัง แถลงข่าวไปเมื่อวานนี้ (14 ธ.ค.) ณ สำนักงานคณะรัฐมนตรี ระบุว่า รัฐบาลกัมพูชากำลังวางแผนกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ในระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในทุกภาคส่วนและปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะ 4 ภาคส่วน ที่ได้รับการจัดลำดับความสำคัญ ได้แก่ ภาคเกษตรกรรม ภาคการท่องเที่ยว เสื้อผ้าและสิ่งทอ และภาคการผลิต รวมถึงสนับสนุนกลไกทางการเงินในภาคเอกชน ซึ่งรัฐบาลได้เตรียมเงินสำหรับการปล่อยสินเชื่อวงเงินมูลค่า 250 ล้านดอลลาร์ ผ่านทางธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของกัมพูชา (SMEs) บนอัตราดอกเบี้ยต่ำสำหรับภาคส่วนสำคัญบางกลุ่มในปี 2022

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50988679/govt-spends-over-2-3-bil-to-ease-economic-crisis/

ธนาคารโลกคาดเศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตร้อยละ 2.2 ในปี 2021

ธนาคารโลกคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาที่ร้อยละ 2.2 ในปีนี้ ซึ่งภาคบริการ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมาคือภาคการก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลทำให้เศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตอย่างชะลอตัว โดยปัจจัยในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา คือ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป สินค้าสำหรับเดินทาง รองเท้า และจักรยาน ตลอดจนภาคการเกษตร ที่มีส่วนช่วยในการหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ตามรายงาน “Living with Covid-19” ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดของธนาคารโลกที่รายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจของกัมพูชา แต่อย่างไรก็ตามธนาคารโลกได้ทำการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาไว้ที่ร้อยละ 4.5 ในปี 2022 โดยยังคงต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงสำคัญในการฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50986115/world-bank-projects-slow-growth-for-cambodias-economy-in-2021/

ความต้องการเมล็ดงาในเมียนมาลดฮวบ ! ส่งผลราคาดิ่งลง

ผลผลิตเมล็ดงาที่เก็บเกี่ยวใหม่ราคาลดฮวบเหลือ 220,000 จัตต่อถุง ลดลง 20,000 จัต เมื่อเทียบกับราคาเมื่อช่วงต้นเดือนพ.ย.64 ที่ 240,000 จัตต่อถุงในต้นเดือนพ.ย. โดยทั้งเมล็ดงาดิบและเมล็ดงาแปรรูปที่เพิ่มมูลค่าถูกแล้วส่งออกไปยังจีน และเมื่อมาตรการผ่อนคลายหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้คลี่คลาย ตลาดเมล็ดงาจะกลับมาคึกคักอีกครั้งแน่นอน ปกติแล้วเมียนมาส่งออกเมล็ดงาประมาณ 80% ไปยังต่างประเทศ โดยตลาดหลักๆ จะเป็น จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหภาพยุโรป และไต้หวัน ซึ่งเมล็ดงามีการปลูกตลอดทั้งปี โดยเขตมะกเว ถือว่าเป็นหลักเพาะปลูกและเป็นผู้ผลิตเมล็ดงารายใหญ่ของประเทศ สำหรับพืชน้ำมันที่ใช้สำหรับการประกอบอาหาร เมล็ดงาเป็นพืชที่ใช้พื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด คิดเป็น 51.3% ของพื้นที่เพาะปลูกพืชน้ำมันทั้งหมด มีผลผลิตประมาณ 600,000-800,000 ตันต่อปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fresh-sesame-supply-brings-down-price/

สปป.ลาวตื่นตัว Omicron Covid-19 Variant

หน่วยงานเฉพาะกิจด้านการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 แห่งชาติสปป.ลาว Taskforce  กล่าวว่าประเทศอยู่ในการแจ้งเตือนระดับสูงสำหรับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ B1.1.529 ที่มีชื่อเรียกว่า “โอไมครอน” ซึ่งตรวจพบเจอครั้งแรกในแอฟริกาใต้เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ตามคำแถลงของ Taskforce เมื่อวานนี้ ตัวแปรใหม่นี้สามารถแพร่เชื้อได้มากกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้าและสามารถทำลายเซลล์ภูมิต้านทานได้ดีกว่าไวรัสตัวเก่า ขณะนี้หน่วยเฉพาะกิจของลาวได้เรียกร้องให้ผู้อยู่อาศัยใช้มาตรการป้องกันเพิ่มเติมจากโควิด-19 อย่างเข้มงวด โดยกล่าวว่าตัวแปรดังกล่าวอาจปรากฏในประชากรเมื่อใดก็ได้ นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ทุกคนได้รับการฉีดวัคซีนโดยเร็วที่สุด ด้านรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับตัวแปร Omicron และตัดสินใจว่าควรใช้มาตรการใหม่เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามหรือไม่ ทั้งนี้หากมีการระบาดของไวรัสสายพันธุ์นี้ จะไม่เพียงแค่ผลกระทบด้านสาธารณะสุขแต่ยังร่วมไปถึงภาวะเศรษฐกิจที่กำลังเปาะบางอย่างมากของสปป.ลาวก็จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจนนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจครั้งใหญ่

ที่มา : https://laotiantimes.com/2021/11/29/laos-on-alert-for-omicron-covid-19-variant/

ชี้โควิดพันธุ์ใหม่ กระทบเศรษฐกิจไทยจำกัด

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังและอดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต กล่าวถึงความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งตัวลงอย่างรุนแรง ราคาน้ำมันในตลาดโลกก็ทรุดตัวลงเช่นเดียวกัน เบื้องต้นคาดกระทบบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินไทยอย่างจำกัดในระยะแรกหากควบคุมไม่ให้เข้ามาระบาดในประเทศได้และองค์การอนามัยโลกและประเทศต่างๆ ได้ร่วมมือกันในการจำกัดการแพร่ระบาดให้อยู่ในเฉพาะ 6 ประเทศในแอฟริกา ซึ่งหากสำรวจดูพบว่า 5 ปีที่ผ่านมา (2559-2563) การค้าระหว่างไทยกับประเทศในทวีปแอฟริกาใน มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 9,861 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น คิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 0.50% ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย ประเทศไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ามาตลอด

ที่มา: https://www.naewna.com/business/618808

สถานภาพธุรกิจ SME ไทย หลังโควิด-19 ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจ สถานภาพธุรกิจไทย หลังโควิด-19 ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 625 ราย ผลการสำรวจ ดังนี้

สถานการณ์ยอดขายเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด ยอดขายของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ลดลง 65.2% โดยประเภทธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ การค้า 75.8% รองลงมาคือ ภาคบริการ 67.1% นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ประกอบการมีต้นทุนที่สูงขึ้น 60.7% ซึ่งภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบยังเป็นกลุ่มการค้า และกลุ่มบริการ ส่งผลให้กำไรลดลงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 20.6%  และจากการสำรวจผู้ประกอบการจากปัจจัยต่าง ๆ กว่า 40.1% มีโอกาสที่ผู้ประกอบการจะปิดธุรกิจสูงมาก โดยกลุ่มธุรกิจการค้าและการบริการ เป็นกลุ่มที่เสี่ยงปิดสูง โดยต้องการวงเงินเข้ามาช่วยเหลือกิจการเพื่อเสริมสภาพคล่องเฉลี่ยอยู่ที่ 654,924 บาท และคาดว่าธุรกิจจะกลับมาเป็นปกติภายในไตรมาสที่ 4/65 แต่ปัญหาของผู้ประกอบการที่เข้าไม่ถึง คือ การไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน งบการเงินไม่ดี มีประวัติ ไม่รู้จะติดต่อธนาคารอย่างไร ดังนั้น จึงต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแล และมีมาตรการช่วยเหลือเพราะเห็นว่ามาตรการที่รัฐออกมานั้นยังน้อย

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย