Fitch Solutions ชี้เศรษฐกิจเวียดนามโต 6.5% ต่อปีในอีก 10 ปีข้างหน้า
Fitch Solutions คาดการณ์เศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโต 6.5% ต่อปี ในอีก 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากรัฐบาลส่งเสริมการกระจายตลาดส่งออกและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน โดยข้อตกลงการค้าเสรีจะเป็นแรงผลักดันให้เวียดนามเข้าถึงตลาดต่างประเทศและลดการพึ่งพาคู่ค้ารายเดียว อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่อการผลักดันไปข้างหน้า คือการที่ภาครัฐฯ ตั้งเป้าที่จะก้าวไปสู่ห่วงโซ่คุณค่าและส่งเสริมอุตสาหกรรมไฮเทค ทั้งนี้ ด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานนั้น ในอีก 5 ปีข้างหน้า เวียดนามเล็งสร้างทางด่วนเหนือ-ใต้ และช่วงเฟสแรกจะเป็นของสนามบินนานาชาติลองแถ่ง (Long Thanh) และถนนเลียบชายฝั่งกว่า 1,700 กม. จากจังหวัดกว๋างนิญไปยังจังหวัดก่าเมา นอกจากนี้แล้ว ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนาม เติบโต 2.9% ในปีที่แล้ว เหตุจากสถานการณ์การแพร่เชื้อของไวรัสโควิด-19 ถึงแม้ว่าจะเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่บรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เวียดนามเผยราคาข้าวทำสถิติสูงสุดรอบใหม่
ตามรายงานของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ระบุว่าราคาข้าวทำสถิติสูงสุดรอบใหม่ อยู่ที่ 567 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในขณะที่ราคายังคงปรับตัวสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค อาทิ ไทย อินเดียและปากีสถาน สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าราคาข้าวขาวหัก 5% ส่งออกของเวียดนาม อยู่ที่ราว 513-517 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และราคาข้าวขาวหัก 25% อยู่ที่ราว 488-492 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับข้าวประเภทเดียวกัน พบว่าราคาข้าวของเวียดนามสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศไทย 5-7 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และแพงกว่าทั้งอินเดียและปากีสถาน อย่างไรก็ตาม ทางสมาคมมองว่าข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ช่วยกระตุ้นการส่งออกข้าวของเวียดนาม ตลอดจนผลบังคับใช้ของข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรปและเวียดนาม (EVFTA) คาดว่าจะช่วยให้เวียดนามรุกตลาดยุโรป นอกจากนี้ นาย Dao The Anh รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร กล่าวว่าในปีนี้ จะเห็นแนวโน้มการเติบโตของการส่งออกข้าวในทิศทางที่ดี ทั้งในแง่ของมูลค่าและขีดความสามารถที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย
ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnamese-rice-records-new-price-peak-841926.vov
เวียดนามเล็งเปิดเผยรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ
นาง Nguyen Thi Thanh Huong รองผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติของเวียดนาม กล่าวในที่ประชุมจังหวัดกว๋างนิญว่าเวียดนามจะไม่เปิดประเทศอย่างเต็มที่ จึงจะต้องเลือกตลาดต่างประเทศที่มีความต้องการสูงและมีความพร้อมท่องเที่ยวแบบแพ็คเกจทัวร์เหมาจ่าย แต่ว่ารีสอร์ทต้องมีพื้นที่การแยกกักและไม่มีการถ่ายเทอากาศ ทั้งนี้ คุณ Nguyen Manh Tien รองประธานคณะกรรมการสมัชชาแห่งชาติ เรียกร้องให้ทางกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกกฎระเบียบและมาตรการ เพื่อดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมา อย่างไรก็ตาม เมื่อมองดูประเทศเพื่อนบ้าน พบว่าประเทศไทยเล็งที่จะเปิดพรมแดนระหว่างประเทศอีกครั้ง เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาแต่ว่าต้องมีหลักฐานการฉัดวัคซีน COVID-19 แล้ว นอกจากนี้ ในปัจจุบัน เวียดนามมีวัคซีน AstraZeneca จำนวน 117,600 โดสที่ได้รับเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
เวียดนามเผยการเบิกจ่ายโครงการลงทุนภาครัฐ พุ่ง 10.6% ช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้
สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ มีการเบิกจ่ายโครงการลงทุนภาครัฐ ประมาณ 40.9 ล้านล้านดอง (1.77 พันล้านเหรียญสหรัฐ) คิดเป็น 9% ของแผนปีนี้ ถือว่าอยู่ในระดับสูงสุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้น 10.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมีการเบิกจ่ายเงินทุนจากส่วนกลางถึง 5.6 ล้านล้านดอง (242.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) ทั้งนี้ กระทรวงการก่อสร้าง รายงานว่าอัตราการเบิกสูงสุด 10.2% ของแผนปีนี้ ตามมาด้วยกระทรวงสาธารณธสุข 9.4% และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 9.1% นอกจากนี้ สำนักงานฯ ระบุว่าสถานะการเบิกจ่ายลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ‘เทศกาลตรุษจีน’ และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในบางจังหวัด ทำให้ความคืบหน้าของบางโครงการชะลอตัวลง
RCEP ช่วยให้เวียดนามเข้าร่วมห่วงโซ่อุปทานโลกได้ง่ายขึ้น
นาง Nguyen Thi Thu Trang ผู้อำนวยการ WTO และหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) กล่าวว่าการร่วมลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุมระดับภูมิภาค (RCEP) จากงานประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 37 ในปี 2563 ชี้ให้เห็นว่าเวียดนามแสดงถึงความน่าเชื่อถือและความสำเร็จในฐานะที่เป็นประธานอาเซียน โดยข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าว ได้สร้างโอกาสที่จะให้เวียดนามสามารถเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบใหญ่ที่สุด และยังเป็นตลาดการบริโภคที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ตลอดจนครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยเหตุนี้ จึงช่วยสร้างความเชื่อมต่อระหว่างเวียดนามกับสมาชิก RCEP และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากข้อตกลงดังกล่าว เวียดนามต้องปรับปรุง 3 แนวทางด้วยกัน ได้แก่ ปฏิรูปหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำธุรกิจและกำหนดนโยบายอุตสาหกรรมให้ชัดเจน
ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/rcep-smooths-way-for-vietnam-to-join-global-supply-chains/197191.vnp
เวียดนามเป็นจุดหมายปลางทางเชิงกลยุทธ์ทางด้านการวิจัยของซัมซุง
ผู้อำนวยการซวง จู โฮ ผู้อำนวยการทั่วไปซัมซุง กล่าวว่าซัมซุงเวียดนามวางแผนที่จะขยายการลงทุนในเวียดนาม โดยจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อสร้างความร่วมมือกับองค์กรในประเทศและมีส่วนร่วมในโครงสร้างพื้นฐานอีกด้วย ตามบทสัมภาษณ์ของหนังสือพิมพ์ “Tuoi tre” เปิดเผยถึงระยะเวลาในการก่อสร้างของศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งใหม่ที่ฮานอย มีกำหนดการเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2565 ทั้งนี้ เมื่อมองย้อนกลับไปจะพบว่าในปี 2563 บริษัทซัมซุงเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ทำให้การส่งออกลดลงในช่วงครึ่งแรกของปี ก่อนที่จะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลัง ทำให้ในปีนี้ ธุรกิจทำรายได้จากการส่งออกราว 57 พันล้านเหรียญสหรัฐ ต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้เล็กน้อย แต่ยังถือว่าอยู่ในทิศทางเป็นบวกท่ามกลางการระบาด นอกจากนี้ ผู้อำนวยการซัมซุง กล่าวเสริมว่าเวียดนามไม่เพียงแต่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตระดับโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดหมายปลางทางเชิงกลุยธ์ทางด้านการวิจัยและพัฒนาของซัมซุง
ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-a-strategic-destination-for-samsungs-rd-activities/197190.vnp
สหรัฐฯ ก้าวขึ้นเป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรรายใหญที่สุดของเวียดนาม
ตามรายงานล่าสุดของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท แสดงให้เห็นว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ยอดส่งออกและนำเข้าสินค้าเกษตรโดยรวม อยู่ที่ประมาณ 11 พันล้านเหรียญสหรัฐ หากจำแนกพบว่าการส่งออก มีมูลค่าราว 6.17 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.6% และการนำเข้า มีมูลค่า 4.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 13.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทำให้เวียดนามเกินดุลการค้า 1.37 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญของเวียดนามที่มีการเติบโตได้ดี ได้แก่ ยางพารา มีมูลค่า 516 ล้านเหรียญสหรัฐ (โต 9.9%) รองลงมาใบชา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผัก ไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ หวายและไม้ไผ่ นอกจากนี้ สหรัฐฯ เป็นลูกค้าสินค้าเกษตรของเวียดนามรายใหญ่ที่สุดในช่วงเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงฯ มุ่งเน้นไปที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการค้า รวมถึงศึกษากฎระเบียบของตลาดและอุปสรรคทางเทคนิคในเขตการค้าเสรี (FTAs) เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19